หมอเจด เผย 5 อาการสมองเสื่อม เช็กกันดูเลยว่า แค่ลืม หรือเริ่มอัลไซเมอร์ พร้อมวิธีไม่ยากถ้าอยากชะลออัลไซเมอร์ ทำได้ทุกวัน
![หมอเจด เผย 5 อาการสมองเสื่อม หมอเจด เผย 5 อาการสมองเสื่อม]()
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2568 นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา โพสต์ให้ความรู้ด้านสุขภาพผ่านเฟซบุ๊ก หมอเจด ว่าด้วยเรื่องของ 5 อาการสมองเสื่อม ที่ให้เช็กกันดูเลยว่าแค่ลืม หรือเริ่มอัลไซเมอร์
โดยระบุว่า จริง ๆ โรคอัลไซเมอร์ไม่ได้มาแบบปุ๊บปั๊บ แต่ค่อย ๆ มีอาการ ซึ่งบางทีเราก้ไม่ได้สังเกต หลายคนคิดว่าแค่ลืมบ้างตามวัย แต่ความจริงถ้ารู้ทันสัญญาณตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถช่วยชะลอโรคนี้ได้มาก โดยสามารถสังเกต 5 สัญญาณเตือนอัลไซเมอร์ ได้ดังนี้
ลืมแบบปกติ กับลืมเพราะอัลไซเมอร์ มันไม่เหมือนกันนะ ถ้าคุณลืมว่าวางกุญแจไว้ไหน แล้วนึกขึ้นได้ทีหลัง หรือจำไม่ได้ว่าวานนี้กินข้าวกับใคร แต่อีกวันก็นึกออก แบบนี้ยังถือว่าโอเค แต่ถ้าคุณ หรือคนที่บ้านเริ่มมีอาการเช่น
- ถามเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ในระยะเวลาแค่ไม่กี่นาที
- ลืมว่าเพิ่งกินข้าวไป
- ดูซีรีส์จบไปแล้ว 5 นาที ถามซ้ำว่าเนื้อเรื่องเป็นยังไง
- หรือแม้แต่หลงทางกลับบ้าน ทั้งที่ไปเส้นนี้มาเป็นสิบปี
อันนี้น่ากังวล เพราะเป็นอาการของ ความจำระยะสั้นเริ่มเสีย ซึ่งมักเป็นสัญญาณแรก ๆ ของอัลไซเมอร์
ถ้าจู่ ๆ คนที่เคยทำกับข้าวอร่อย เริ่มจำไม่ได้ว่าใส่น้ำปลา หรือซีอิ๊วดีกว่า หรือเคยเก่งเรื่องจัดการค่าใช้จ่ายในบ้าน แต่จ่ายบิลผิดจ่ายซ้ำ จ่ายขาดบ่อย ๆ นี่คือสัญญาณว่า "สมองส่วนที่ใช้คิดวางแผนเริ่มมีปัญหา"
ลองสังเกตจากเรื่องเล็ก ๆ
- หุงข้าวไม่ใส่น้ำ
- ลืมปิดแก๊ส
- หรือแต่งตัว ผิดข้างซ้ายขวา
เพราะอัลไซเมอร์เริ่มรบกวนสมองส่วนที่เรียกว่า executive function คือส่วนที่ทำให้เราคิด วางแผน จัดการเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น
คนสูงอายุอาจมีงง ๆ เรื่องวันหรือเดือนบ้าง เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าถึงขั้น...
- ตื่นมาตี 2 แล้วลุกมาทำกับข้าว เพราะคิดว่าเช้าแล้ว
- ไปห้างแล้วหลง ลืมว่ามากับใคร
- หรือจำไม่ได้ว่านี่วันอะไร เดือนอะไร ปีอะไร
นี่ไม่ใช่แค่ความชราธรรมดาแล้วนะครับ เป็นเพราะโรคเริ่มไปกระทบสมองส่วนที่เรียกว่า ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ซึ่งควบคุมเรื่อง "เวลาและสถานที่"
อัลไซเมอร์ไม่ได้มีแค่เรื่องลืมอย่างเดียว แต่มันเปลี่ยนคนทั้งคนได้เลย หลายคนจากที่เคยนิ่ง ๆ ใจเย็น กลายเป็นโมโหง่ายขึ้น หรือบางคนเคยเฮฮา ร่าเริง กลับเก็บตัวเฉยเมย พูดจาห้วนขึ้น หรือมีอาการระแวง เช่น คิดว่าคนในบ้านขโมยของ ทั้งที่ไม่มีใครทำ
อาการเหล่านี้เพราะโรคเริ่มกระทบ สมองส่วนหน้า (frontal lobe) ซึ่งควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ถ้าคนที่บ้านเริ่มมีอารมณ์แปรปรวน แปลกจากตัวตนเดิม และเป็นบ่อยขึ้น อาจไม่ใช่แค่หงุดหงิดธรรมดา ลองพาไปประเมินดูครับ
เคยคุยกับคนแก่แล้วเขาเรียก "ช้อน" ว่า "อันนั้น ๆ" ไหม หรือเล่าเรื่องค้าง ๆ คิดคำไม่ออก หรือใช้คำผิดไปหมด
ตัวอย่างเช่น
- เรียกหลานผิดเป็นชื่อหมา
- จะบอกให้หยิบสบู่ แต่พูดว่า แปรงฟัน
- หรือเล่าเรื่องเดียวกันทุกวัน
อันนี้เป็นเพราะโรคอัลไซเมอร์เริ่มกระทบสมองส่วนที่เกี่ยวกับภาษา ทำให้การหาคำ การพูด หรือการเล่าเรื่อง สะดุดมากขึ้น
สรุปว่าอัลไซเมอร์ไม่ได้เกิดกับคนแก่ทุกคน แต่มันเริ่มได้ตั้งแต่เรายังไม่รู้ตัว หลายคนคิดว่า "ก็แค่ลืม" แต่จริง ๆ แล้ว อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคก็ได้
เราสามารถชะลอสมองเสื่อมได้ แค่ใส่ใจพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ทำได้จริง ดังนี้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือเต้นวันละ 30 นาที เพราะการไหลเวียนเลือดดี = สมองสดชื่น
- นอนให้พอ อย่างน้อย 7–8 ชั่วโมงต่อคืน เพราะสมองจะได้เวลาซ่อมแซมและเคลียร์ของเสียออกตอนเรานอน
- กินอาหารดีต่อสมอง ลดของหวาน น้ำตาล อาหารแปรรูป และไขมันทรานส์ เพิ่มผักหลากสี ธัญพืชเต็มเมล็ด และไขมันดี โดยเฉพาะ โอเมก้า 3 หรือจะเพิ่มเป็นอาหารเสริมก็ได้นะ
- ฝึกใช้สมองอยู่เสมอ เช่น อ่านหนังสือ ฝึกเกมความจำ ลองอะไรใหม่ ๆ หรือแม้แต่สวดมนต์–ท่องบทสั้น ๆ ก็ช่วยได้
- อย่าอยู่คนเดียวเกินไป เจอเพื่อน พูดคุย เข้ากลุ่มกิจกรรมบ้าง เพราะสมองชอบการเข้าสังคม มันช่วยให้เราไม่จมอยู่กับความเครียดหรือเหงา
ส่วนใครที่มีอาการตามที่ระบุไว้ข้างต้น แนะนำให้รีบเข้ารับการตรวจ

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2568 นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา โพสต์ให้ความรู้ด้านสุขภาพผ่านเฟซบุ๊ก หมอเจด ว่าด้วยเรื่องของ 5 อาการสมองเสื่อม ที่ให้เช็กกันดูเลยว่าแค่ลืม หรือเริ่มอัลไซเมอร์
โดยระบุว่า จริง ๆ โรคอัลไซเมอร์ไม่ได้มาแบบปุ๊บปั๊บ แต่ค่อย ๆ มีอาการ ซึ่งบางทีเราก้ไม่ได้สังเกต หลายคนคิดว่าแค่ลืมบ้างตามวัย แต่ความจริงถ้ารู้ทันสัญญาณตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถช่วยชะลอโรคนี้ได้มาก โดยสามารถสังเกต 5 สัญญาณเตือนอัลไซเมอร์ ได้ดังนี้
1. ลืมบ่อย ลืมซ้ำ เรื่องเดิม ๆ ที่เพิ่งเกิด
ลืมแบบปกติ กับลืมเพราะอัลไซเมอร์ มันไม่เหมือนกันนะ ถ้าคุณลืมว่าวางกุญแจไว้ไหน แล้วนึกขึ้นได้ทีหลัง หรือจำไม่ได้ว่าวานนี้กินข้าวกับใคร แต่อีกวันก็นึกออก แบบนี้ยังถือว่าโอเค แต่ถ้าคุณ หรือคนที่บ้านเริ่มมีอาการเช่น
- ถามเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ในระยะเวลาแค่ไม่กี่นาที
- ลืมว่าเพิ่งกินข้าวไป
- ดูซีรีส์จบไปแล้ว 5 นาที ถามซ้ำว่าเนื้อเรื่องเป็นยังไง
- หรือแม้แต่หลงทางกลับบ้าน ทั้งที่ไปเส้นนี้มาเป็นสิบปี
อันนี้น่ากังวล เพราะเป็นอาการของ ความจำระยะสั้นเริ่มเสีย ซึ่งมักเป็นสัญญาณแรก ๆ ของอัลไซเมอร์
2. งานที่เคยง่าย กลายเป็นยากเฉยเลย
ถ้าจู่ ๆ คนที่เคยทำกับข้าวอร่อย เริ่มจำไม่ได้ว่าใส่น้ำปลา หรือซีอิ๊วดีกว่า หรือเคยเก่งเรื่องจัดการค่าใช้จ่ายในบ้าน แต่จ่ายบิลผิดจ่ายซ้ำ จ่ายขาดบ่อย ๆ นี่คือสัญญาณว่า "สมองส่วนที่ใช้คิดวางแผนเริ่มมีปัญหา"
ลองสังเกตจากเรื่องเล็ก ๆ
- หุงข้าวไม่ใส่น้ำ
- ลืมปิดแก๊ส
- หรือแต่งตัว ผิดข้างซ้ายขวา
เพราะอัลไซเมอร์เริ่มรบกวนสมองส่วนที่เรียกว่า executive function คือส่วนที่ทำให้เราคิด วางแผน จัดการเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น
3. เวลาไม่ตรง หลงที่ หลงทาง
คนสูงอายุอาจมีงง ๆ เรื่องวันหรือเดือนบ้าง เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าถึงขั้น...
- ตื่นมาตี 2 แล้วลุกมาทำกับข้าว เพราะคิดว่าเช้าแล้ว
- ไปห้างแล้วหลง ลืมว่ามากับใคร
- หรือจำไม่ได้ว่านี่วันอะไร เดือนอะไร ปีอะไร
นี่ไม่ใช่แค่ความชราธรรมดาแล้วนะครับ เป็นเพราะโรคเริ่มไปกระทบสมองส่วนที่เรียกว่า ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ซึ่งควบคุมเรื่อง "เวลาและสถานที่"
4. อารมณ์เปลี่ยน หงุดหงิดง่าย ไม่เหมือนเดิม
อัลไซเมอร์ไม่ได้มีแค่เรื่องลืมอย่างเดียว แต่มันเปลี่ยนคนทั้งคนได้เลย หลายคนจากที่เคยนิ่ง ๆ ใจเย็น กลายเป็นโมโหง่ายขึ้น หรือบางคนเคยเฮฮา ร่าเริง กลับเก็บตัวเฉยเมย พูดจาห้วนขึ้น หรือมีอาการระแวง เช่น คิดว่าคนในบ้านขโมยของ ทั้งที่ไม่มีใครทำ
อาการเหล่านี้เพราะโรคเริ่มกระทบ สมองส่วนหน้า (frontal lobe) ซึ่งควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ถ้าคนที่บ้านเริ่มมีอารมณ์แปรปรวน แปลกจากตัวตนเดิม และเป็นบ่อยขึ้น อาจไม่ใช่แค่หงุดหงิดธรรมดา ลองพาไปประเมินดูครับ
5. พูดวน พูดซ้ำ คิดคำไม่ออก
เคยคุยกับคนแก่แล้วเขาเรียก "ช้อน" ว่า "อันนั้น ๆ" ไหม หรือเล่าเรื่องค้าง ๆ คิดคำไม่ออก หรือใช้คำผิดไปหมด
ตัวอย่างเช่น
- เรียกหลานผิดเป็นชื่อหมา
- จะบอกให้หยิบสบู่ แต่พูดว่า แปรงฟัน
- หรือเล่าเรื่องเดียวกันทุกวัน
อันนี้เป็นเพราะโรคอัลไซเมอร์เริ่มกระทบสมองส่วนที่เกี่ยวกับภาษา ทำให้การหาคำ การพูด หรือการเล่าเรื่อง สะดุดมากขึ้น
สรุปว่าอัลไซเมอร์ไม่ได้เกิดกับคนแก่ทุกคน แต่มันเริ่มได้ตั้งแต่เรายังไม่รู้ตัว หลายคนคิดว่า "ก็แค่ลืม" แต่จริง ๆ แล้ว อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคก็ได้
วิธีป้องกันสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ ที่ทำได้ทุกวัน
เราสามารถชะลอสมองเสื่อมได้ แค่ใส่ใจพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ทำได้จริง ดังนี้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือเต้นวันละ 30 นาที เพราะการไหลเวียนเลือดดี = สมองสดชื่น
- นอนให้พอ อย่างน้อย 7–8 ชั่วโมงต่อคืน เพราะสมองจะได้เวลาซ่อมแซมและเคลียร์ของเสียออกตอนเรานอน
- กินอาหารดีต่อสมอง ลดของหวาน น้ำตาล อาหารแปรรูป และไขมันทรานส์ เพิ่มผักหลากสี ธัญพืชเต็มเมล็ด และไขมันดี โดยเฉพาะ โอเมก้า 3 หรือจะเพิ่มเป็นอาหารเสริมก็ได้นะ
- ฝึกใช้สมองอยู่เสมอ เช่น อ่านหนังสือ ฝึกเกมความจำ ลองอะไรใหม่ ๆ หรือแม้แต่สวดมนต์–ท่องบทสั้น ๆ ก็ช่วยได้
- อย่าอยู่คนเดียวเกินไป เจอเพื่อน พูดคุย เข้ากลุ่มกิจกรรมบ้าง เพราะสมองชอบการเข้าสังคม มันช่วยให้เราไม่จมอยู่กับความเครียดหรือเหงา
ส่วนใครที่มีอาการตามที่ระบุไว้ข้างต้น แนะนำให้รีบเข้ารับการตรวจ