Hematidrosis หรือโรคเหงื่อออกเป็นเลือดเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย แต่เพราะเราไม่ค่อยได้เห็นได้เจอกันนี่แหละค่ะ ถึงทำให้ผู้ป่วย Hematidrosis ถูกมองว่าเป็นผู้ป่วยโรคประหลาดไป ฉะนั้นเรามาลองทำความเข้าใจโรคเหงื่อออกเป็นเลือดกัน
Hematidrosis คือภาวะที่คนไข้มีเหงื่อออกเป็นเลือด โดยตำแหน่งที่มีเลือดออกอาจพบได้ตามผิวหนัง หู ตา จมูก ปาก รวมไปถึงเยื่อบุอวัยวะอื่น ๆ
Hematidrosis หรือโรคเหงื่อออกเป็นเลือดอุบัติขึ้นตั้งแต่อดีตกาล โดยมีบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลถึงการเกิดโรคนี้รวมไปถึงในบันทึกของเลโอนาร์โด ดา วินชี ก็เคยเขียนถึงการเกิดโรค Hematidrosis ด้วยเช่นกัน ส่วนหลักฐานทางการแพทย์จริง ๆ นั้น เริ่มมีรายงานการอุบัติของโรคเหงื่อออกเป็นเลือดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 โดยตีพิมพ์ในวารสารประเทศรัสเซียเป็นครั้งแรก
ทว่าจนถึงวันนี้ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจนว่าโรค Hematidrosis ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อไรกันแน่ โดยทั่วโลกพบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 100 ราย ส่วนในประเทศไทยเคยพบผู้ป่วยโรคเหงื่อออกเป็นเลือด 5-6 ราย โดย 1 รายที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชก็ได้รับการตรวจวินิจฉัยและตีพิมพ์เป็นกรณีศึกษาไว้ในวารสาร Journal of Dermatopathology เมื่อปี ค.ศ. 2008 ด้วย ซึ่งปัจจุบันอาการหายดีแล้ว
โรคเหงื่อออกเป็นเลือด สาเหตุคืออะไร
สาเหตุของโรคเหงื่อออกเป็นเลือดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่วงการแพทย์ได้สันนิษฐานว่า โรค Hematidrosis เกิดจากการอักเสบของเส้นเลือดฝอยในผู้ป่วยบางราย หรือบางเคสก็พบว่ามีการขยายตัวของเส้นเลือดมากกว่าปกติในตำแหน่งที่มีเลือดออก ในขณะที่ก็มีการสันนิษฐานไปถึงภาวะความกดดันและความเครียดของผู้ป่วย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเหงื่อออกเป็นเลือดได้เช่นกัน
เนื่องจากเส้นเลือดฝอยเป็นเส้นเลือดขนาดเล็กที่กระจายไปตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีอยู่ใกล้ ๆ ต่อมเหงื่อด้วย ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าเมื่อผู้ป่วยตกอยู่ในสถานการณ์ที่กดดัน เครียด หรือกลัวมาก ๆ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนและคอร์ติซอลออกมาในปริมาณที่มากกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้เส้นเลือดฝอยที่มีความบอบบางเหล่านี้ปริแตกได้ และถูกร่างกายกำจัดออกมาพร้อมกับเหงื่อ
ทั้งนี้ อัตราการเกิดโรคมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยในเพศหญิงจะพบได้มากที่สุดในช่วงอายุก่อนจะมีประจำเดือน คือประมาณ 11-14 ปี
โรคเหงื่อออกเป็นเลือด อาการเป็นอย่างไร
อาการของโรค Hematidrosis ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการมีเลือดไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่พบบาดแผลตามร่างกาย และเลือดที่ไหลออกมานั้นมีลักษณะคล้ายเหงื่อ หรือบางรายจะพบว่ามีอาการน้ำตาไหลเป็นเลือด ทั้ง ๆ ที่เมื่อตรวจเลือดก็ไม่พบภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือพบว่าผู้ป่วยมีภาวะผิดปกติในการแข็งตัวของเลือดที่สามารถอธิบายถึงสาเหตุของอาการเลือดออกได้แต่อย่างใด
โรคเหงื่อออกเป็นเลือด รักษาได้ไหม
แม้การรักษาโรคเหงื่อออกเป็นเลือดยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน ทว่าแพทย์ก็มีวิธีรักษาโดยการตัดชิ้นเนื้อที่ผิวหนังบริเวณที่มีเลือดออกในทันที เพื่อนำไปตรวจหาสาเหตุของภาวะเลือดออกได้อย่างตรงจุด พร้อมทั้งเป็นการตรวจวินิจฉัยไปในตัวด้วยว่า ผู้ป่วยมีโรคที่อาจเป็นสาเหตุของอาการเลือดออกซ่อนอยู่หรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการรักษาตั้งแต่ต้นเหตุต่อไป ดังนั้นผู้ป่วยโรค Hematidrosis จึงจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์เฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ยังมีรายงานการรักษาโรค Hematidrosis ด้วยยาบางกลุ่ม ซึ่งพบว่าช่วยให้อาการของผู้ป่วยโรคเหงื่อออกเป็นเลือดดีขึ้นตามลำดับในบางราย กล่าวคือ อาการเหงื่อออกเป็นเลือดลดลง หรือมีช่วงที่อาการไม่กำเริบยาวนานขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้ป่วยหายขาดจากโรคเหงื่อออกเป็นเลือดหรือไม่
โรคเหงื่อออกเป็นเลือด อันตรายแค่ไหน
โรค Hematidrosis ไม่ใช่โรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม รวมทั้งไม่ใช่โรคติดต่อ การแพร่ระบาดและโอกาสในการเกิดโรคจึงไม่ค่อยน่ากังวลเท่าไรนัก ทว่าในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการเหงื่อออกเป็นเลือดซึ่งมีเลือดออกเป็นจำนวนมาก อาจมีอาการช็อกหรือหมดสติชั่วคราวได้ แต่เคสแนวนี้ก็พบได้ไม่บ่อยนัก ส่วนมากแล้วอาการของผู้ป่วยจะมีเลือดออกพอให้เห็นตามร่างกาย และมักจะหยุดไหลไปได้เองโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยจนอันตรายถึงชีวิต หากมีเลือดออกก็ใช้ผ้าซับให้แห้ง ทำใจให้ปกติ อย่ากลัวหรือตกใจ และต้องพยายามรักษาสภาพจิตใจของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ไม่ให้วิตกกังวล เพราะความเครียดจะทำให้เหงื่อออกและเลือดออกได้
ขณะที่ พญ.ฤดีมน สกุลคู กุมารแพทย์โรงพยาบาลหนองคาย ระบุถึงโรคนี้ด้วยว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยน้อยกว่า 100 ราย ซึ่งจากการติดตามผู้ป่วยพบว่า จะป่วยเป็นระยะเวลา 1-2 ปี แล้วจะหายไปเอง ส่วนโรคลมชัก มักจะสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ป่วยเป็นลมชักทั่วไปจะเป็นโรคนี้ได้
เอาเป็นว่าหากใครมีอาการป่วยด้วยโรค Hematidrosis หรือมีคนรอบข้างป่วยเป็นโรคเหงื่อออกเป็นเลือด ก็อย่าเพิ่งตื่นตูม พาไปรดน้ำมนต์ที่วัดไหน แต่ควรรีบเข้าทำการรักษากับแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุดจะดีกว่านะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
healthline
bloodjournal
อาการเหงื่อออกมากผิดปกติยังทำให้เรากังวลใจอยู่ไม่น้อย
แล้วถ้าเกิดเราหรือคนใกล้ตัวมีเลือดออกซิบ ๆ ตามเนื้อตัว ออกตา ออกปาก หู
หรือจมูก แน่นอนค่ะว่าคงตกใจกันยกตำบลแน่ ๆ
ดีไม่ดีอาจคิดว่าคนเหงื่อออกเป็นเลือดโดนเล่นของ ถูกคุณไสยเข้าให้อีก ทั้งที่จริงแล้วอาการเหงื่อเป็นเลือดเป็นภาวะของโรคเหงื่อออกเป็นเลือด หรือ Hematidrosis ซึ่งทางการแพทย์สามารถรักษาได้ และไม่ใช่โรคที่อันตรายจนถึงชีวิตแต่ประการใด
เอาเป็นว่าก่อนจะตระหนกตกใจไปฟรี ๆ
เรามาทำความรู้จักโรคเหงื่อออกเป็นเลือดหรือ Hematidrosis กันดีกว่า
โรคเหงื่อออกเป็นเลือด (Hematidrosis) คืออะไร
Hematidrosis หรือโรคเหงื่อออกเป็นเลือดอุบัติขึ้นตั้งแต่อดีตกาล โดยมีบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลถึงการเกิดโรคนี้รวมไปถึงในบันทึกของเลโอนาร์โด ดา วินชี ก็เคยเขียนถึงการเกิดโรค Hematidrosis ด้วยเช่นกัน ส่วนหลักฐานทางการแพทย์จริง ๆ นั้น เริ่มมีรายงานการอุบัติของโรคเหงื่อออกเป็นเลือดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 โดยตีพิมพ์ในวารสารประเทศรัสเซียเป็นครั้งแรก
ทว่าจนถึงวันนี้ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจนว่าโรค Hematidrosis ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อไรกันแน่ โดยทั่วโลกพบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 100 ราย ส่วนในประเทศไทยเคยพบผู้ป่วยโรคเหงื่อออกเป็นเลือด 5-6 ราย โดย 1 รายที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชก็ได้รับการตรวจวินิจฉัยและตีพิมพ์เป็นกรณีศึกษาไว้ในวารสาร Journal of Dermatopathology เมื่อปี ค.ศ. 2008 ด้วย ซึ่งปัจจุบันอาการหายดีแล้ว
จริง ๆ แล้วโรค Hematidrosis พบได้ไม่บ่อยนัก แต่หากเกิดอาการขึ้นกับใคร ก็มักจะทำให้ทั้งผู้ป่วยและคนรอบข้างตื่นตระหนก เพราะอาจยังไม่ทราบสาเหตุและความเป็นไปของโรค รวมทั้งกลัวว่าจะเกิดอันตรายร้ายแรงขึ้นกับผู้ป่วยได้
สาเหตุของโรคเหงื่อออกเป็นเลือดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่วงการแพทย์ได้สันนิษฐานว่า โรค Hematidrosis เกิดจากการอักเสบของเส้นเลือดฝอยในผู้ป่วยบางราย หรือบางเคสก็พบว่ามีการขยายตัวของเส้นเลือดมากกว่าปกติในตำแหน่งที่มีเลือดออก ในขณะที่ก็มีการสันนิษฐานไปถึงภาวะความกดดันและความเครียดของผู้ป่วย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเหงื่อออกเป็นเลือดได้เช่นกัน
เนื่องจากเส้นเลือดฝอยเป็นเส้นเลือดขนาดเล็กที่กระจายไปตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีอยู่ใกล้ ๆ ต่อมเหงื่อด้วย ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าเมื่อผู้ป่วยตกอยู่ในสถานการณ์ที่กดดัน เครียด หรือกลัวมาก ๆ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนและคอร์ติซอลออกมาในปริมาณที่มากกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้เส้นเลือดฝอยที่มีความบอบบางเหล่านี้ปริแตกได้ และถูกร่างกายกำจัดออกมาพร้อมกับเหงื่อ
ทั้งนี้ อัตราการเกิดโรคมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยในเพศหญิงจะพบได้มากที่สุดในช่วงอายุก่อนจะมีประจำเดือน คือประมาณ 11-14 ปี
โรคเหงื่อออกเป็นเลือด อาการเป็นอย่างไร
อาการของโรค Hematidrosis ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการมีเลือดไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่พบบาดแผลตามร่างกาย และเลือดที่ไหลออกมานั้นมีลักษณะคล้ายเหงื่อ หรือบางรายจะพบว่ามีอาการน้ำตาไหลเป็นเลือด ทั้ง ๆ ที่เมื่อตรวจเลือดก็ไม่พบภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือพบว่าผู้ป่วยมีภาวะผิดปกติในการแข็งตัวของเลือดที่สามารถอธิบายถึงสาเหตุของอาการเลือดออกได้แต่อย่างใด
แม้การรักษาโรคเหงื่อออกเป็นเลือดยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน ทว่าแพทย์ก็มีวิธีรักษาโดยการตัดชิ้นเนื้อที่ผิวหนังบริเวณที่มีเลือดออกในทันที เพื่อนำไปตรวจหาสาเหตุของภาวะเลือดออกได้อย่างตรงจุด พร้อมทั้งเป็นการตรวจวินิจฉัยไปในตัวด้วยว่า ผู้ป่วยมีโรคที่อาจเป็นสาเหตุของอาการเลือดออกซ่อนอยู่หรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการรักษาตั้งแต่ต้นเหตุต่อไป ดังนั้นผู้ป่วยโรค Hematidrosis จึงจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์เฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ยังมีรายงานการรักษาโรค Hematidrosis ด้วยยาบางกลุ่ม ซึ่งพบว่าช่วยให้อาการของผู้ป่วยโรคเหงื่อออกเป็นเลือดดีขึ้นตามลำดับในบางราย กล่าวคือ อาการเหงื่อออกเป็นเลือดลดลง หรือมีช่วงที่อาการไม่กำเริบยาวนานขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้ป่วยหายขาดจากโรคเหงื่อออกเป็นเลือดหรือไม่
โรคเหงื่อออกเป็นเลือด อันตรายแค่ไหน
โรค Hematidrosis ไม่ใช่โรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม รวมทั้งไม่ใช่โรคติดต่อ การแพร่ระบาดและโอกาสในการเกิดโรคจึงไม่ค่อยน่ากังวลเท่าไรนัก ทว่าในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการเหงื่อออกเป็นเลือดซึ่งมีเลือดออกเป็นจำนวนมาก อาจมีอาการช็อกหรือหมดสติชั่วคราวได้ แต่เคสแนวนี้ก็พบได้ไม่บ่อยนัก ส่วนมากแล้วอาการของผู้ป่วยจะมีเลือดออกพอให้เห็นตามร่างกาย และมักจะหยุดไหลไปได้เองโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยจนอันตรายถึงชีวิต หากมีเลือดออกก็ใช้ผ้าซับให้แห้ง ทำใจให้ปกติ อย่ากลัวหรือตกใจ และต้องพยายามรักษาสภาพจิตใจของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ไม่ให้วิตกกังวล เพราะความเครียดจะทำให้เหงื่อออกและเลือดออกได้
ขณะที่ พญ.ฤดีมน สกุลคู กุมารแพทย์โรงพยาบาลหนองคาย ระบุถึงโรคนี้ด้วยว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยน้อยกว่า 100 ราย ซึ่งจากการติดตามผู้ป่วยพบว่า จะป่วยเป็นระยะเวลา 1-2 ปี แล้วจะหายไปเอง ส่วนโรคลมชัก มักจะสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ป่วยเป็นลมชักทั่วไปจะเป็นโรคนี้ได้
เอาเป็นว่าหากใครมีอาการป่วยด้วยโรค Hematidrosis หรือมีคนรอบข้างป่วยเป็นโรคเหงื่อออกเป็นเลือด ก็อย่าเพิ่งตื่นตูม พาไปรดน้ำมนต์ที่วัดไหน แต่ควรรีบเข้าทำการรักษากับแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุดจะดีกว่านะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
healthline
bloodjournal