
พลุระเบิด – หูอื้อ หูดับ เสียงดังแค่ไหนเรียกว่าดัง (ไทยโพสต์)
จากอุบัติเหตุพลุระเบิดในคืนงานฉลองเทศกาลตรุษจีนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บสาหัสจำนวนหนึ่ง และมีผู้ที่หูดับจากเสียงดังของพลุที่ระเบิด
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ จึงได้เผยแพร่ข้อเขียนเกี่ยวกับ "พลุระเบิด – หูอื้อ หูดับ เสียงดังแค่ไหนเรียกว่าดัง" เพื่อเตือนและให้ทุกคนได้ป้องกันไว้ล่วงหน้า ว่า เสียงที่ดังมากไม่ว่าจะเป็นเสียงจากพลุ ประทัด ปืน เสียงปิดประตูแรง ๆ เสียงที่ดังเกินไปในสถานท่องเที่ยวยามราตรี ในโรงภาพยนตร์ หรือแม้เสียงที่ตะโกนใส่หู ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดแรงอัดอากาศกระแทกเยื่อแก้วหูได้ทั้งสิ้น
ทางการแพทย์เรียกการบาดเจ็บจากเสียงดังนี้ว่า noise trauma และเมื่อต้นเดือนเดียวกันนี้ก็เพิ่งมีข่าวครึกโครม กรณีที่เจ้าหน้าที่ที่สนามบินสุวรรณภูมิได้รับบาดเจ็บจากการถูกตบบ้องหูสองข้าง ทำให้หูอื้อและแก้วหูอักเสบ กรณีหลังแตกต่างจากกรณีพลุระเบิดตรงที่ไม่ได้เกิดจากเสียงดังกระแทกแก้วหู แต่เกิดจากแรงอัดอากาศกระแทกแก้วหูอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งจะเรียกการบาดเจ็บจากแรงอัดอากาศนี้ว่า barotraumas (บา-โร-ทรอ-มา) คำว่า "baro" หมายถึง ความดัน ส่วนคำว่า "trauma" ก็คือการบาดเจ็บ

..หูคนเราไม่ควรรับเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล (เสียง 85 เดซิเบล คือเสียงที่ดังจนพูดกันไม่รู้เรื่องในระยะห่าง 1 เมตร) ถ้าท่านทำงานในโรงงานที่เสียงดัง 85 เดซิเบล ท่านไม่ควรทำงานเกิน 8 ชั่วโมง และควรหยุดพักอยู่ในที่เงียบทุก ๆ 5 วันทำงาน และควรใช้เครื่องป้องกันเสียง
เสียงดังเกิน 90 เดซิเบล ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง หรือไม่ควรสัมผัสเลย ส่วนเสียงระเบิด เสียงปืน เสียงในสถานบันเทิงเริงรมย์ เสียงเครื่องบินขณะเครื่องออก ดังได้ถึง 120 เดซิเบล หรือมากกว่านั้น คนเราไม่ควรสัมผัสเสียงดัง 120 เดซิเบลโดยเด็ดขาด
วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าเราฟังเสียงดังเกินไปแล้ว นั่นคือ หูอื้อ หรือหูมีเสียงดังรบกวนหลังรับเสียง แม้อาจเป็นเพียงชั่วคราว ใจเต้นแรงขณะรับเสียง ในระยะ 1 เมตร คุยกันด้วยเสียงดังก็ยังฟังไม่รู้เรื่อง เริ่มมีประสาทหูเสื่อม ต้องพูดหรือฟังเสียงดังมากกว่าเดิมจึงได้ยิน อารมณ์แปรปรวน ถ้าเป็นเด็กอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว
ส่วนอาการที่ทำให้สงสัยว่าแก้วหูทะลุจากแรงอัดอากาศ หรือได้ยินเสียงระเบิด หรือประทัดนั้น ให้สังเกตดังต่อไปนี้





เมื่อมีอาการดังกล่าวไม่ว่าจะมากหรือน้อย ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจให้แน่ชัดว่าเยื่อแก้วหูผิดปกติหรือไม่ จะได้รีบรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ถ้าได้รับการกระทบกระเทือนจนคิดว่าแก้วหูทะลุ หูอื้อปวด ควรรีบไปพบแพทย์หู ไม่ควรไปซื้อยาหยอดหูมาหยอด เพราะจะทำให้แผลทะลุเปียกชื้นและปิดได้ยาก ถ้าเป็นมากแพทย์อาจตรวจการได้ยินเพื่อให้รู้ว่ากระทบกระเทือนถึงกระดูกในหูชั้นกลาง หรือประสาทรับเสียงหรือไม่ แพทย์อาจให้ยากิน แต่ไม่ใช่ยาหยอด
ที่สำคัญคือ การป้องกันไม่ให้แก้วหูบาดเจ็บจากเสียงดัง โดยหลีกเลี่ยงไม่ไปอยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังนานจนเกินไป หรือใช้นิ้วมืออุดหู หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงส่วนบุคคล เช่น สำลีอุดหู แท่งอุดหู (ear plug) ที่ครอบหูป้องกันเสียง (ear muff)
กรณีบ้านพักที่เพื่อนบ้านข้างเคียงเป็นสาเหตุของเสียงที่ดังเกินไป ก็ควรขอร้องหรือขอความร่วมมือให้เพื่อนบ้านหรี่เสียงให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อการได้ยิน และเกิดเหตุรำคาญเกินสมควร หรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทำการควบคุม และจัดการให้แหล่งกำเนิดเสียงต่าง ๆ มีระดับเสียงเบาลงจนถึงระดับที่เราสามารถอาศัยอยู่ได้ โดยไม่ได้รับอันตรายและรำคาญ
"หูและการได้ยินเป็นสิ่งมีค่า" เป็นอวัยวะละเอียดอ่อนที่ธรรมชาติให้มาเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถได้ยินเสียงกระซิบบอกรักเบา ๆ หรือฟังเสียงนกเล็ก ๆ ร้องจิ๊บ ๆ ได้ ไม่ใช่แค่เพียงได้ยินเสียงตะโกนดัง ๆ ก็พอใจแล้ว
คำแนะนำจากองค์การอนามัยโลก เรื่องเสียงดังและเวลาสัมผัสเสียงที่เหมาะสม เพื่อการได้ยินที่ดี
เสียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ | ความดัง (เดซิเบล) | เวลา (ชั่วโมง) |
เสียงนอกบ้าน เดือดร้อนรำคาญ | 50-55 | 16 |
เสียงในบ้านเพื่อการได้ยินที่ดี | 35 | 16 |
เสียงในห้องนอนไม่ให้รบกวนการหลับ | 30 | 8 |
เสียงในห้องเรียน | 35 | เวลาเรียน |
เสียงในโรงงาน-การจราจร | 70 | 24 |
เสียงดนตรีผ่านหูฟัง หูจะเสีย | 85 | 8 |
เสียงในพิธีการ งานวัด สถานบันเทิง | 100 | 4 |
MP3 | 105 | 1 |
เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
