
รักษาใจให้แข็งแรง กันโรคเลือดไม่พอไปเลี้ยงหัวใจ (ไทยรัฐ)
อาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติ โดยไม่ทราบสาเหตุ อาการเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกถึงอาการ "โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด"
จำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งทำให้บั่นทอนคุณภาพชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมาก โรคหัวใจชนิดหนึ่งที่คนไทยเป็นกันมากขึ้น คือ โรคหลอดเลือดโคโรนารี่ตีบตัน หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ผู้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้อาจมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย ด้วยเครื่องมือวินิจฉัยโรคไวใจโดยเฉพาะ เช่น เครื่องทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (Exercise Stress Test-EST) การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo) เครื่องบันทึกคลื่นหัวใจที่พกติดตัวได้ (Holter onitoring) หรือการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ

เกิดจากการตีบแคบหรืออุดตันในหลอดเลือดโคโรนารี่ที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่าง ๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ถ้าท่านเจ็บหน้าอก และมีอาการร่วมอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้น และหรือเจ็บนานเกิน 15-20 นาที ควรรีบไปโรงพยาบาลโดยเร่งด่วน เพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที











หลังได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ การรักษานอกจากการให้ยารับประทานแล้ว แพทย์จะแนะนำวิธีการปฏิบัติตัว และนัดให้มาตรวจในระยะเวลาที่เหมาะสม และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตน เพื่อการรักษาสุขภาพ และเพิ่มความแข็งแรงของหัวใจ ได้แก่







ในการพบแพทย์แต่ละครั้ง แพทย์อาจจะให้คำแนะนำในการเพิ่มหรือลดขนาดยาตามความเหมาะสม หากรับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น หรืออาการของโรคทรุดลง แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดสารทึบรังสีหลอดเลือดหัวใจ เพื่อตรวจสอบหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เช่น การขยายหลอดเลือดที่ตีบตันด้วยบัลลูน และขดลวดหรือการผ่าตัด หากแพทย์พบข้อจำกัดในการขยายหลอดเลือดที่ตีบตันด้วยบัลลูนและขดลวด แพทย์จะแนะนำให้ทำการรักษาโดยการผ่าตัด เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจมากขึ้น

1.ผ่าตัดโดยใช้เครื่องปอด และหัวใจเทียม (ON-PUMP CABG)
2.ผ่าตัดโดยไม่ใช้เครื่องปอด และหัวใจเทียม (OFF-PUMP CABG) ซึ่งประหยัดกว่า และเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า
โรคหัวใจขาดเลือดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาเพื่อให้มีชีวิตเช่นคนปกติได้ ถ้ายอมหยุดปัจจัยเสี่ยง และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำ
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
