แค่รู้สึกโกรธก็บั่นทอนสุขภาพไปตั้งเท่าไร และถ้ายิ่งทำพฤติกรรมต้องห้ามยามโกรธเหล่านี้ด้วยแล้ว ก็ยิ่งย่ำแย่ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตเลยนะจ๊ะ ถ้าอย่างนั้นมาศึกษาไว้แล้วเลี่ยงให้ไกลเลยดีกว่า
ความโกรธไม่ได้ทำให้เราอารมณ์เสียอย่างเดียวแล้วล่ะค่ะ เพราะทางเว็บไซต์ Huffington Post เขาได้หยิบงานวิจัยจากสถาบันสุขภาพมากระซิบบอกเราต่อว่า
อารมณ์โกรธในตัวบุคคล อาจส่งผลกระทบไปถึงพฤติกรรม
ก่อให้เกิดอันตรายได้มากมาย และยิ่งถ้าทำพฤติกรรมต้องห้ามยามโกรธ 10
พฤติกรรมเหล่านี้ด้วยแล้ว อารมณ์ขุ่นมัวก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทบทวีคูณ เผลอ
ๆ ก็อาจจะเจ็บตัวถึงขั้นเลือดตกยางออกได้เชียวนะ
1. อย่านอนหลับไปพร้อมความโกรธ
ก่อนที่เราจะล้มตัวลงนอนหลับ สมองจะประมวลผลอารมณ์และความคิดของเรา ณ ขณะนั้นเอาไว้ในหน่วยความทรงจำ ดังนั้นหากคุณนอนหลับไปพร้อมกับความว้าวุ่นในใจ ความคิดแค้น หรือแม้แต่ความไม่พอใจเล็ก ๆ อารมณ์ในแง่ลบเหล่านี้ก็จะเข้าไปก่อกวนคุณแม้ยามนอนหลับพักผ่อน เปรียบเสมือนตัวกักเก็บอารมณ์โกรธให้ทรงประสิทธิภาพเอาไว้ และในขณะที่ตื่นนอนขึ้นมา ความกรุ่นโกรธก็ยังไม่จางหายไปไหน สร้างความขุ่นมัวต่อเนื่องไปอีกเรื่อย ๆ เลยนะคะ ฉะนั้นก่อนจะล้มตัวลงนอนหลับ ก็ทำใจให้สบาย และปล่อยวางความโกรธเอาไว้ไกล ๆ เลยดีกว่า
2. ห้ามขับรถเด็ดขาด
อารมณ์โกรธมักจะทำให้เราหุนหันพลันแล่น และอยู่ในสภาะวะเกือบจะขาดสติ ดังนั้นหากคุณขับรถในขณะที่โกรธ โอกาสเกิดอุบัติโดยไม่คาดฝันก็เป็นไปได้สูงเลยทีเดียว ซึ่งก็สอดคล้องกับงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงเปอร์เซ็นต์การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของคนขับรถในยามโกรธ ที่พุ่งขึ้นสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ขับขี่ในอารมณ์ปกติ เนื่องมาจากวิสัยทัศน์ของคนที่ตกอยู่ในอารมณ์ฉุนเฉียว มักจะด้อยประสิทธิภาพกว่าคนที่มีสภาวะทางอารมณ์มั่นคง จนหลายครั้งก็มองไม่เห็นคนที่เดินอยู่ข้างถนน หรือความโกรธก็ผลักดันให้คุณตัดสินใจฝ่าไฟแดง เป็นต้น
3. ระบายอารมณ์แรง ๆ แน่ใจหรือว่าหายโกรธแน่
บางคนโกรธแล้วชอบทำลายข้าวของ ตะโกนเสียงดัง หรือออกอาการฟึดฟัดน่ากลัว ซึ่งจิตแพทย์ก็อธิบายว่า การระบายความโกรธด้วยพฤติกรรมเหล่านี้ อาจจะช่วยลดระดับอารมณ์ของคุณลงมาได้ แต่กลับไม่ได้ช่วยให้คุณรู้สึกโกรธน้อยลงแต่อย่างใด เผลอ ๆ อาจจะเพิ่มความรู้สึกโกรธในตัวเองให้มากขึ้น ส่งผลเสียระยะยาวต่อนิสัยส่วนตัว และลดทอนความรู้สึกดีต่อคนรอบข้างของคุณไปทีละเล็กละน้อย ทั้งยังอาจเปลี่ยนคุณเป็นคนที่มีนิสัยก้าวร้าวในอนาคตอีกต่างหาก
4. โกรธแล้วกิน ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก
สำหรับคนที่ไม่ว่าจะอยู่ในอารมณ์ไหนก็กินแหลก หรือโกรธ เศร้า เหงาก็กิน ต่อไปนี้ลองเปลี่ยนตัวเองใหม่เพื่อสุขภาพที่ไฉไลขึ้นดีกว่า เพราะถ้าลองสังเกตตัวเองสักนิด เราจะเห็นได้เลยว่า อาหารที่เราเลือกกินตอนที่โกรธ หรืออยู่ในสภาวะอารมณ์ที่ไม่ปกติ จะค่อนไปทางอาหารที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น อาหารหวาน ๆ เน้นแป้ง แคลอรี่สูง เป็นต้น นอกจากนี้เราอาจจะไม่รู้ว่า ในยามที่เราโกรธ ระบบในร่างกายก็จะแปรปรวน ทำงานผิดปกติไปด้วย จนบางทีก็เกิดอาการอาหารไม่ย่อย หรือกินอาหารเข้าไปก็เกิดอาการท้องเสีย หรือท้องผูกขึ้นมาซะอย่างนั้น
5. อย่าต่อปากต่อคำ
เชื่อว่าหลายคนเคยเสียใจกับคำพูดของตัวเองในยามโกรธมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย ซึ่งแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า ความโกรธทำให้เราขาดสติ และไม่รู้จักกรองคำพูดของตัวเองให้ดีก่อนเอ่ยวาจาออกไป ฉะนั้นหากไม่อยากเสียใจเพระความปากไวอย่างนั้นอีก ก็เลี่ยงการโต้เถียง หรือต่อปากต่อคำในเวลาที่คุณกำลังรู้สึกโกรธไปเลยดีกว่าเนอะ
6. โพสต์เฟซบุ๊กถึงอารมณ์ในแง่ลบ เรียกคืนไม่ได้แล้วนะ
สังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กเป็นพื้นที่ส่วนตัวของคุณก็จริง แต่การโพสต์ทุกสิ่งอย่างโดยไม่คำนึงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง เช่น โพสต์ข้อความที่แสดงถึงความโกรธ หรือโพสต์ระบายความรู้สึกในแง่ลบลงไป อาจลดคุณค่าของคุณได้ง่าย ๆ เช่นกัน เพราะไม่ว่าใครก็คงไม่อยากได้เห็น หรือได้ยินอะไรที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจหรอกจริงไหม และแม้ว่าคุณจะกดลบข้อความนั้นทิ้งเมื่อได้สติกลับคืนมา ก็ใช่ว่าจะลบความรู้สึกของเพื่อนที่เห็นโพสต์นี้ลงไปด้วยได้นะคะ
7. ส่งอีเมลระบายอารมณ์
มีคนจำนวนไม่น้อยที่ชอบระบายความอัดอั้นตันใจด้วยการเขียนสิ่งที่คิด และรู้สึกในขณะนั้นส่งต่อไปให้เพื่อนร่วมรับรู้ โดยลืมฉุกคิดไปว่า สิ่งที่ระบายออกไปอาจจะไม่ใช่ข้อความที่สมควรส่งต่อแต่อย่างใด และพอเรียกสติคืนกลับมาได้ ก็เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ทันซะแล้ว ฉะนั้นแทนที่เราจะส่งอีเมลระบายความโกรธ หรือโพสต์เฟซบุ๊กระงับอารมณ์ ก็เปลี่ยนเป็นเขียนไดอารี่เพื่อเรียกสมาธิ และสติอยู่ในโลกของตัวเองดีกว่า จะได้ไม่เป็นภาระต่อใครทั้งสิ้นนะจ๊ะ
8. ดื่มแอลกอฮอล์ย้อมใจ
ไม่ว่าจะเป็นตอนโกรธ หรืออกหักก็ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ด้วยประการทั้งปวงค่ะ เพราะในสภาวะที่พร้อมจะขาดสติแบบนี้ แอลกอฮอล์จะช่วยผลักดันให้คุณกล้าแสดงความบ้าบิ่นแบบไม่ยั้งคิดมากขึ้นไปอีก ดังนั้นแทนที่จะสงบเงียบ และปล่อยให้ความโกรธเจือจางไป ก็จะกลายเป็นสร้างวีรกรรมความโกรธเอาไว้ให้คนอื่นร่วมรับรู้ หรือบางครั้งอาจจะร้ายแรงถึงขั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เป็นตราบาปในใจที่คุณไม่อาจลืมได้ในชีวิตนี้เลยทีเดียว
9. อย่าละเลยความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ
โดยเฉพาะในรายที่มีประวัติ หรือความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจมาก่อน ในยามที่โกรธอาจจะต้องฉุกคิดถึงปัญหาสุขภาพในข้อนี้ของตัวเองด้วย เพราะโดยปกติแล้ว อารมณ์โกรธจะเร่งอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้ความดันโลหิตเราพุ่งสูงขึ้นราว ๆ 2 ชั่วโมง นับตั้งแต่เริ่มรู้สึกโกรธ ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าความโกรธจะผลักดันให้อาการเหล่านี้กำเริบ จนส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยตรง
10. หมกมุ่นอยู่กับความโกรธ
สำหรับคนที่ยิ่งโกรธก็ยิ่งย้อนไปคิดถึงต้นเหตุที่ทำให้รู้สึกโกรธ หรือความไม่ยุติธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับคุณ ขอบอกตรงนี้เลยค่ะว่า พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้คุณสงบลง หรือหายโกรธเลยสักนิด แต่ในทางกลับกันมันยิ่งทำให้คุณสะสมความคิดแค้น สร้างความหมกมุ่นกับความรู้สึกในแง่ลบเกินเหตุ จนในที่สุดก็แสดงออกมาทางสีหน้าท่าทาง เปลี่ยนคุณที่สดใสให้กลายเป็นคนที่มัวหมองไปด้วยความโกรธ ดับเสน่ห์และรัศมีในตัวคุณไปอย่างน่าเสียดาย
ตราบใดที่เรายังต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคม และโลกใบนี้ ก็แน่นอนว่าเราห้ามไม่ได้ที่จะเกิดอารมณ์โกรธขึ้นมาบ้าง แต่อย่างน้อยเราก็มีทางเลือกระบายอารมณ์ และระงับความโกรธไม่ให้พลุ่งพล่านจนยั้งไม่อยู่ได้นี่เนอะ
1. อย่านอนหลับไปพร้อมความโกรธ
ก่อนที่เราจะล้มตัวลงนอนหลับ สมองจะประมวลผลอารมณ์และความคิดของเรา ณ ขณะนั้นเอาไว้ในหน่วยความทรงจำ ดังนั้นหากคุณนอนหลับไปพร้อมกับความว้าวุ่นในใจ ความคิดแค้น หรือแม้แต่ความไม่พอใจเล็ก ๆ อารมณ์ในแง่ลบเหล่านี้ก็จะเข้าไปก่อกวนคุณแม้ยามนอนหลับพักผ่อน เปรียบเสมือนตัวกักเก็บอารมณ์โกรธให้ทรงประสิทธิภาพเอาไว้ และในขณะที่ตื่นนอนขึ้นมา ความกรุ่นโกรธก็ยังไม่จางหายไปไหน สร้างความขุ่นมัวต่อเนื่องไปอีกเรื่อย ๆ เลยนะคะ ฉะนั้นก่อนจะล้มตัวลงนอนหลับ ก็ทำใจให้สบาย และปล่อยวางความโกรธเอาไว้ไกล ๆ เลยดีกว่า
2. ห้ามขับรถเด็ดขาด
อารมณ์โกรธมักจะทำให้เราหุนหันพลันแล่น และอยู่ในสภาะวะเกือบจะขาดสติ ดังนั้นหากคุณขับรถในขณะที่โกรธ โอกาสเกิดอุบัติโดยไม่คาดฝันก็เป็นไปได้สูงเลยทีเดียว ซึ่งก็สอดคล้องกับงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงเปอร์เซ็นต์การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของคนขับรถในยามโกรธ ที่พุ่งขึ้นสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ขับขี่ในอารมณ์ปกติ เนื่องมาจากวิสัยทัศน์ของคนที่ตกอยู่ในอารมณ์ฉุนเฉียว มักจะด้อยประสิทธิภาพกว่าคนที่มีสภาวะทางอารมณ์มั่นคง จนหลายครั้งก็มองไม่เห็นคนที่เดินอยู่ข้างถนน หรือความโกรธก็ผลักดันให้คุณตัดสินใจฝ่าไฟแดง เป็นต้น
3. ระบายอารมณ์แรง ๆ แน่ใจหรือว่าหายโกรธแน่
บางคนโกรธแล้วชอบทำลายข้าวของ ตะโกนเสียงดัง หรือออกอาการฟึดฟัดน่ากลัว ซึ่งจิตแพทย์ก็อธิบายว่า การระบายความโกรธด้วยพฤติกรรมเหล่านี้ อาจจะช่วยลดระดับอารมณ์ของคุณลงมาได้ แต่กลับไม่ได้ช่วยให้คุณรู้สึกโกรธน้อยลงแต่อย่างใด เผลอ ๆ อาจจะเพิ่มความรู้สึกโกรธในตัวเองให้มากขึ้น ส่งผลเสียระยะยาวต่อนิสัยส่วนตัว และลดทอนความรู้สึกดีต่อคนรอบข้างของคุณไปทีละเล็กละน้อย ทั้งยังอาจเปลี่ยนคุณเป็นคนที่มีนิสัยก้าวร้าวในอนาคตอีกต่างหาก
4. โกรธแล้วกิน ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก
สำหรับคนที่ไม่ว่าจะอยู่ในอารมณ์ไหนก็กินแหลก หรือโกรธ เศร้า เหงาก็กิน ต่อไปนี้ลองเปลี่ยนตัวเองใหม่เพื่อสุขภาพที่ไฉไลขึ้นดีกว่า เพราะถ้าลองสังเกตตัวเองสักนิด เราจะเห็นได้เลยว่า อาหารที่เราเลือกกินตอนที่โกรธ หรืออยู่ในสภาวะอารมณ์ที่ไม่ปกติ จะค่อนไปทางอาหารที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น อาหารหวาน ๆ เน้นแป้ง แคลอรี่สูง เป็นต้น นอกจากนี้เราอาจจะไม่รู้ว่า ในยามที่เราโกรธ ระบบในร่างกายก็จะแปรปรวน ทำงานผิดปกติไปด้วย จนบางทีก็เกิดอาการอาหารไม่ย่อย หรือกินอาหารเข้าไปก็เกิดอาการท้องเสีย หรือท้องผูกขึ้นมาซะอย่างนั้น
5. อย่าต่อปากต่อคำ
เชื่อว่าหลายคนเคยเสียใจกับคำพูดของตัวเองในยามโกรธมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย ซึ่งแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า ความโกรธทำให้เราขาดสติ และไม่รู้จักกรองคำพูดของตัวเองให้ดีก่อนเอ่ยวาจาออกไป ฉะนั้นหากไม่อยากเสียใจเพระความปากไวอย่างนั้นอีก ก็เลี่ยงการโต้เถียง หรือต่อปากต่อคำในเวลาที่คุณกำลังรู้สึกโกรธไปเลยดีกว่าเนอะ
6. โพสต์เฟซบุ๊กถึงอารมณ์ในแง่ลบ เรียกคืนไม่ได้แล้วนะ
สังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กเป็นพื้นที่ส่วนตัวของคุณก็จริง แต่การโพสต์ทุกสิ่งอย่างโดยไม่คำนึงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง เช่น โพสต์ข้อความที่แสดงถึงความโกรธ หรือโพสต์ระบายความรู้สึกในแง่ลบลงไป อาจลดคุณค่าของคุณได้ง่าย ๆ เช่นกัน เพราะไม่ว่าใครก็คงไม่อยากได้เห็น หรือได้ยินอะไรที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจหรอกจริงไหม และแม้ว่าคุณจะกดลบข้อความนั้นทิ้งเมื่อได้สติกลับคืนมา ก็ใช่ว่าจะลบความรู้สึกของเพื่อนที่เห็นโพสต์นี้ลงไปด้วยได้นะคะ
7. ส่งอีเมลระบายอารมณ์
มีคนจำนวนไม่น้อยที่ชอบระบายความอัดอั้นตันใจด้วยการเขียนสิ่งที่คิด และรู้สึกในขณะนั้นส่งต่อไปให้เพื่อนร่วมรับรู้ โดยลืมฉุกคิดไปว่า สิ่งที่ระบายออกไปอาจจะไม่ใช่ข้อความที่สมควรส่งต่อแต่อย่างใด และพอเรียกสติคืนกลับมาได้ ก็เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ทันซะแล้ว ฉะนั้นแทนที่เราจะส่งอีเมลระบายความโกรธ หรือโพสต์เฟซบุ๊กระงับอารมณ์ ก็เปลี่ยนเป็นเขียนไดอารี่เพื่อเรียกสมาธิ และสติอยู่ในโลกของตัวเองดีกว่า จะได้ไม่เป็นภาระต่อใครทั้งสิ้นนะจ๊ะ
8. ดื่มแอลกอฮอล์ย้อมใจ
ไม่ว่าจะเป็นตอนโกรธ หรืออกหักก็ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ด้วยประการทั้งปวงค่ะ เพราะในสภาวะที่พร้อมจะขาดสติแบบนี้ แอลกอฮอล์จะช่วยผลักดันให้คุณกล้าแสดงความบ้าบิ่นแบบไม่ยั้งคิดมากขึ้นไปอีก ดังนั้นแทนที่จะสงบเงียบ และปล่อยให้ความโกรธเจือจางไป ก็จะกลายเป็นสร้างวีรกรรมความโกรธเอาไว้ให้คนอื่นร่วมรับรู้ หรือบางครั้งอาจจะร้ายแรงถึงขั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เป็นตราบาปในใจที่คุณไม่อาจลืมได้ในชีวิตนี้เลยทีเดียว
9. อย่าละเลยความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ
โดยเฉพาะในรายที่มีประวัติ หรือความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจมาก่อน ในยามที่โกรธอาจจะต้องฉุกคิดถึงปัญหาสุขภาพในข้อนี้ของตัวเองด้วย เพราะโดยปกติแล้ว อารมณ์โกรธจะเร่งอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้ความดันโลหิตเราพุ่งสูงขึ้นราว ๆ 2 ชั่วโมง นับตั้งแต่เริ่มรู้สึกโกรธ ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าความโกรธจะผลักดันให้อาการเหล่านี้กำเริบ จนส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยตรง
10. หมกมุ่นอยู่กับความโกรธ
สำหรับคนที่ยิ่งโกรธก็ยิ่งย้อนไปคิดถึงต้นเหตุที่ทำให้รู้สึกโกรธ หรือความไม่ยุติธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับคุณ ขอบอกตรงนี้เลยค่ะว่า พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้คุณสงบลง หรือหายโกรธเลยสักนิด แต่ในทางกลับกันมันยิ่งทำให้คุณสะสมความคิดแค้น สร้างความหมกมุ่นกับความรู้สึกในแง่ลบเกินเหตุ จนในที่สุดก็แสดงออกมาทางสีหน้าท่าทาง เปลี่ยนคุณที่สดใสให้กลายเป็นคนที่มัวหมองไปด้วยความโกรธ ดับเสน่ห์และรัศมีในตัวคุณไปอย่างน่าเสียดาย
ตราบใดที่เรายังต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคม และโลกใบนี้ ก็แน่นอนว่าเราห้ามไม่ได้ที่จะเกิดอารมณ์โกรธขึ้นมาบ้าง แต่อย่างน้อยเราก็มีทางเลือกระบายอารมณ์ และระงับความโกรธไม่ให้พลุ่งพล่านจนยั้งไม่อยู่ได้นี่เนอะ