อาหารช่วยลดคอเลสเตอรอล คนมีคอเลสเตอรอลสูงกินอะไรดี ลองกินอาหารเพื่อสุขภาพ 8 ชนิดนี้ดูสิ
การควบคุมระดับคอเลสเตอรอล นอกจากจะสามารถใช้ยาในการรักษาได้แล้วนั้น
การรับประทานอาหารบางชนิดก็สามารถช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลอยู่ในระดับปกติได้อีกด้วย
วันนี้กระปุกดอทคอม ได้นำข้อมูลจากเว็บไซต์ health24.com ที่เกี่ยวกับอาหารที่ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลมาฝากกันค่ะ
เราลองไปดูกันดีกว่าว่ามีอาหารชนิดใดบ้างที่ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลได้
1. น้ำมันมะกอกและผลิตภัณฑ์จากมะกอก
น้ำมันมะกอกเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและวิตามินอี ซึ่งมีการวิจัยพบว่า อาหารที่มีระดับของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงนั้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) ในเลือด และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL) ในเลือดได้
2. พืชตระกูลถั่ว
พืชตระกูลถั่วเป็นพืชที่มีใยอาหารสูง ไขมันน้อย อุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ
เช่น แร่ธาตุ, วิตามินบี ไม่มีคอเลสเตอรอล
และยังเป็นพืชที่มีระดับดัชนีน้ำตาลต่ำ ซึ่งสารอาหารต่าง ๆ
ที่อยู่ในถั่วนั้นช่วยบำรุงหัวใจและช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี
โดยในประเทศแอฟริกาใต้ หน่วยงานที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารยังได้แนะนำให้รับประทานถั่วอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่ดี
3. โยเกิร์ตและผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่มีไขมัน
ผลิตภัณฑ์จากนมและชีสส่วนใหญ่มักจะมีไขมันอิ่มตัวสูงซึ่งผู้มีระดับคอเลสเตอรอลสูงควรจะหลีกเลี่ยง แต่ก็ไม่ควรเลิกกินอาหารประเภทชนิดนี้ไปเลย เพราะผลิตภัณฑ์จากนมนั้นมีแคลเซียมและแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย ดังนั้นหากต้องการหลีกเลี่ยงคอเลสเตอรอลก็ควรเปลี่ยนมากินผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำหรือปราศจากไขมันแทน โดยเฉพาะโยเกิร์ตไขมันต่ำ เพราะโยเกิร์ตชนิดนี้เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัสซึ่งช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
4. ผักและผลไม้
ผักและผลไม้ทุกชนิดสามารถช่วยในการลดคอเลสเตอรอลและบำรุงหัวใจ แถมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและริ้วรอยก่อนวัยได้ด้วย นอกจากนี้ในผักและผลไม้ยังมีแร่ธาตุและสารอาหารที่สำคัญอย่างเช่น วิตามินซี และเบต้า-แคโรทีนอีกด้วย
วิตามีนซีมีมากในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว (ส้ม, มะนาว, ส้มโอ และส้มแมนดาริน), ในพืชตระกูลเบอร์รี (แครนเบอร์รี, สตรอว์เบอร์รี, แบล็กเบอร์รี และอื่น ๆ), ฝรั่ง, แตงเมลอน, มะม่วง และผักที่เป็นหัว ได้แก่ กะหล่ำปลี, ผักกาดขาว, บรอกโคลี นอกจากนี้ยังมีในพริกอีกด้วย
ส่วนเบต้า-แคโรทีนนั้นมีอยู่มากในผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองเข้ม อย่างเช่น แอปริคอต, ลูกพีชสีเหลือง, แตงเมลอน, มะม่วง, ฟักทอง, มันเทศ, ฟักบัตเตอร์นัท, แครอต และผักที่มีสีเขียวเข้ม ได้แก่ บรอกโคลี กะหล่ำ และผักโขม เป็นต้น
สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือมีระดับคอเลสเตอรอลสูงนั้นควรจะรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยห้าส่วนต่อวัน
5. กระเทียมและพืชในตระกูลหัวหอม
กระเทียม หัวหอมแดง และหัวหอมใหญ่
เป็นพืชที่สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้และช่วยบำรุงหัวใจ
ซึ่งถูกใช้กันมาอย่างแพร่หลายนับศตวรรษ
โดยส่วนใหญ่มักจะนำไปประกอบอาหารชนิดต่าง ๆ และกินในสลัดผักสด
นักวิจัยเชื่อว่าอาหารในแถบเมดิเตอร์เรเนียนที่มีการใส่กระเทียมเยอะ ๆ นั้น เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาหารประเภทนี้ดีต่อสุขภาพหัวใจ
6. ธัญพืชที่ยังไม่ผ่านการขัดสี
ธัญพืชที่ยังไม่ผ่านการขัดสีหรือดัดแปลงนั้นเป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุ และไฟเบอร์ในปริมาณสูง แถมยังมีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำอีกด้วย โดยเฉพาะข้าวโอ๊ตนั้นยังมีไฟเบอร์ที่สามารถละลายน้ำได้ซึ่งช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้
7. ปลา
นักวิจัยค้นพบว่าผู้ที่รับประทานปลามากกว่าสามครั้งต่อสัปดาห์นั้นจะห่างไกลจากโรคหัวใจและความดันเลือดสูง
เพราะในปลานั้นอุดมไปด้วยไขมันโอเมก้า 3
8. อาหารที่อุดมไปด้วยไขมันโอเมก้า 3
นอกจากปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณที่สูงแล้ว ในปัจจุบันนี้มีอาหารหลายชนิดที่มีการเติมกรดไขมันโอเมก้า 3 ลงไป อย่างเช่น นม, ไข่ไก่ และเนื้อสัตว์ ซึ่งอาหารเหล่านั้นก็สามารถหาซื้อได้ง่ายตามซูเปอร์มาร์เกตขนาดใหญ่
ไม่ใช่แค่เพียงอาหารเท่านั้นที่จะช่วยให้เราสามารถควบคุมระดับคอเลสเตอรอลได้ แต่ยังมีปัจจัยอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญนั่นก็คือตัวเราเอง ซึ่งถ้าหากเราสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและอาหารการกินได้ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยใด ๆ เราก็สามารถรักษาและป้องกันได้ค่ะ
1. น้ำมันมะกอกและผลิตภัณฑ์จากมะกอก
น้ำมันมะกอกเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและวิตามินอี ซึ่งมีการวิจัยพบว่า อาหารที่มีระดับของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงนั้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) ในเลือด และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL) ในเลือดได้
3. โยเกิร์ตและผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่มีไขมัน
ผลิตภัณฑ์จากนมและชีสส่วนใหญ่มักจะมีไขมันอิ่มตัวสูงซึ่งผู้มีระดับคอเลสเตอรอลสูงควรจะหลีกเลี่ยง แต่ก็ไม่ควรเลิกกินอาหารประเภทชนิดนี้ไปเลย เพราะผลิตภัณฑ์จากนมนั้นมีแคลเซียมและแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย ดังนั้นหากต้องการหลีกเลี่ยงคอเลสเตอรอลก็ควรเปลี่ยนมากินผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำหรือปราศจากไขมันแทน โดยเฉพาะโยเกิร์ตไขมันต่ำ เพราะโยเกิร์ตชนิดนี้เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัสซึ่งช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
4. ผักและผลไม้
ผักและผลไม้ทุกชนิดสามารถช่วยในการลดคอเลสเตอรอลและบำรุงหัวใจ แถมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและริ้วรอยก่อนวัยได้ด้วย นอกจากนี้ในผักและผลไม้ยังมีแร่ธาตุและสารอาหารที่สำคัญอย่างเช่น วิตามินซี และเบต้า-แคโรทีนอีกด้วย
วิตามีนซีมีมากในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว (ส้ม, มะนาว, ส้มโอ และส้มแมนดาริน), ในพืชตระกูลเบอร์รี (แครนเบอร์รี, สตรอว์เบอร์รี, แบล็กเบอร์รี และอื่น ๆ), ฝรั่ง, แตงเมลอน, มะม่วง และผักที่เป็นหัว ได้แก่ กะหล่ำปลี, ผักกาดขาว, บรอกโคลี นอกจากนี้ยังมีในพริกอีกด้วย
ส่วนเบต้า-แคโรทีนนั้นมีอยู่มากในผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองเข้ม อย่างเช่น แอปริคอต, ลูกพีชสีเหลือง, แตงเมลอน, มะม่วง, ฟักทอง, มันเทศ, ฟักบัตเตอร์นัท, แครอต และผักที่มีสีเขียวเข้ม ได้แก่ บรอกโคลี กะหล่ำ และผักโขม เป็นต้น
สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือมีระดับคอเลสเตอรอลสูงนั้นควรจะรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยห้าส่วนต่อวัน
นักวิจัยเชื่อว่าอาหารในแถบเมดิเตอร์เรเนียนที่มีการใส่กระเทียมเยอะ ๆ นั้น เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาหารประเภทนี้ดีต่อสุขภาพหัวใจ
6. ธัญพืชที่ยังไม่ผ่านการขัดสี
ธัญพืชที่ยังไม่ผ่านการขัดสีหรือดัดแปลงนั้นเป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุ และไฟเบอร์ในปริมาณสูง แถมยังมีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำอีกด้วย โดยเฉพาะข้าวโอ๊ตนั้นยังมีไฟเบอร์ที่สามารถละลายน้ำได้ซึ่งช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้
7. ปลา
8. อาหารที่อุดมไปด้วยไขมันโอเมก้า 3
นอกจากปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณที่สูงแล้ว ในปัจจุบันนี้มีอาหารหลายชนิดที่มีการเติมกรดไขมันโอเมก้า 3 ลงไป อย่างเช่น นม, ไข่ไก่ และเนื้อสัตว์ ซึ่งอาหารเหล่านั้นก็สามารถหาซื้อได้ง่ายตามซูเปอร์มาร์เกตขนาดใหญ่
ไม่ใช่แค่เพียงอาหารเท่านั้นที่จะช่วยให้เราสามารถควบคุมระดับคอเลสเตอรอลได้ แต่ยังมีปัจจัยอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญนั่นก็คือตัวเราเอง ซึ่งถ้าหากเราสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและอาหารการกินได้ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยใด ๆ เราก็สามารถรักษาและป้องกันได้ค่ะ