สธ. ประกาศให้ อีโบลาเป็นโรคติดต่ออันตราย

สธ. เผยภาวะคนไทยป่วยโรคไตสูงจนน่าวิตก
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์

สธ. ประกาศอีโบลาเป็นโรคติดต่ออันตราย (ไอเอ็นเอ็น)

          ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผย ประกาศให้ เชื้ออีโบลา เป็นโรคติดต่ออันตราย ในราชกิจจานุเบกษา พร้อมมีมาตรการป้องกันแล้ว

          เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2557 นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยเกี่ยวกับมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ติดตามประเมินสถานการณ์โรคอย่างต่อเนื่องทุกวันและมีมาตรการป้องกัน 4 มาตรการหลัก คือ 

     1. การเฝ้าระวังโรคผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีปัญหาแพร่ระบาดที่ท่าอากาศยานนานาชาติทุกแห่งทุกวัน 
     2. ความพร้อมด้านการดูแลรักษาของทีมแพทย์ ในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วประเทศ 
     3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำรวดเร็ว 
     4. การให้ความรู้ความเข้าใจประชาชน

          ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า จากการประชุมวอร์รูมติดตามสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในวันนี้สถานการณ์การแพร่ของโรคยังอยู่ที่ 3 ประเทศหลัก คือ กีนี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน จนถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2557 มีผู้ป่วยติดเชื้อ 1,440 ราย จำนวนนี้เสียชีวิตไปแล้ว 887 ราย ผลการเฝ้าระวังผู้โดยสารที่มาจากประเทศดังกล่าวที่ท่าอากาศยานนานาชาติ ในวันที่ 7 ส.ค. 2557 มีจำนวน 5 คน อยู่ในข่ายการติดตามเฝ้าระวังภายใน 21 วัน 1 คน ไม่มีรายใดป่วยหรือมีอาการไข้ ยอดสะสมการเฝ้าระวังตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557-7 สิงหาคม 2557 รวม 381 คน ทุกรายปกติ

          นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า ภายหลังจากประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดต่ออันตรายในราชกิจจานุเบกษาแล้ว มาตรการสำคัญที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องต้องดำเนินการ เช่น 

     1. มาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่ช่องทางและด่านตรวจคนเข้าเมือง 
     2. กรณีที่มีโรคติดต่ออันตรายดังกล่าว ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ทันที 

          หากมีความจำเป็นขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และสอบถามสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง









เรื่องน่าสนใจอื่นๆ
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สธ. ประกาศให้ อีโบลาเป็นโรคติดต่ออันตราย อัปเดตล่าสุด 9 สิงหาคม 2557 เวลา 13:21:12
TOP
x close