
สธ. ชวนลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ ป้องกันสารอันตราย (กรมอนามัย)
กระทรวงสาธารณสุข ชวนคนไทยลดสร้างปริมาณขยะเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำให้เกิดสารอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2555 พบว่า มีขยะอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นประมาณ 359,070 ตัน คิดเป็นร้อยละ 50.38 ของปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ 712,770 ตัน
โดยสถิติขยะอิเล็กทรอนิกส์ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า แนวโน้มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นิยมใช้ในครัวเรือนมีเพิ่มขึ้น เช่น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น คอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์/เครื่องโทรสาร และโทรศัพท์มือถือ
จากข้อมูลในปี 2552 พบว่า โทรศัพท์มือถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการบริโภคสูงสุดกว่า 15 ล้านเครื่อง รองลงมา ได้แก่ โทรทัศน์ มีการใช้กว่า 3.81 ล้านเครื่อง กล้องดิจิตอลและอุปกรณ์ เอ็ม พี 3 แบบพกพา มีการใช้กันกว่า 3.8 ล้านเครื่อง ส่วนคอมพิวเตอร์ มีการใช้งาน 2.8 ล้านเครื่อง โดยอายุการใช้งานของโทรศัพท์มือถือ มีอายุเฉลี่ย 3 ปี ทีวีจอซีอาร์ทีหรือจอก้นยาว มีอายุเฉลี่ย 6.9 ปี และโทรทัศน์จอบาง มีอายุเฉลี่ย 3.8 ปี คอมพิวเตอร์ มีอายุเฉลี่ย 3.65 ปี ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2559 จะมีซากทีวีเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ 2.8 ล้านเครื่อง โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์อีกประมาณ 10.9 ล้านเครื่อง และ 2.6 ล้านเครื่อง ตามลำดับ

ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวต่อไปว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่มีสารอันตรายที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ได้แก่





"วิธีการป้องกันขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำได้โดยให้ลดการนำเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว (End of Life) นํากลับมาใช้ใหม่ (Re-use & Recycle) เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากปริมาณขยะ"
"ขณะนี้สิ่งที่ประเทศไทยได้ทำคือ การจัดทำกรอบระเบียบเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งเป็นกรอบที่รองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากระเบียบของสหภาพยุโรป กรอบดังกล่าวประกอบด้วย แนวทางการควบคุมที่ต้นทาง โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมภาษีจากผู้นำเข้าสินค้าและผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ แล้วนำเงินไปบริหารจัดการ โดยจะออกกฎหมายเก็บค่าธรรมเนียม การตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม การจัดการซากอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างทาง โดยจะไม่มีกฎหมายบังคับ แต่ใช้มาตรการด้านกลไกตลาด และแนวทางสุดท้ายเป็นการควบคุมที่ปลายทางจะสนับสนุนให้เกิดโรงแยกขยะแบบครบวงจร" อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
