แคลเซียม ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 เลือกซื้ออย่างไรให้ช่วยเสริมกระดูกและฟัน

           แคลเซียม ยี่ห้อไหนดี สำหรับคนที่อยากเสริมความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน มาดูกันว่าเราควรได้รับแคลเซียมปริมาณเท่าไร กินตอนไหน ห้ามกินกับอะไร เพื่อประสิทธิภาพที่ดี
แคลเซียม

           แคลเซียม แร่ธาตุสำคัญที่ปกติได้จากการรับประทานอาหาร เช่น นม ชีส โยเกิร์ต ผักใบเขียว ถั่วเปลือกแข็ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม บางคนอาจไม่ค่อยได้กินอาหารประเภทนี้ ทำให้ร่างกายขาดแคลเซียม หรือในคนบางกลุ่ม เช่น สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนที่กินเจ ก็ควรได้รับแคลเซียมในปริมาณสูงกว่าปกติ จึงสนใจหาซื้อแคลเซียมเสริมมารับประทาน แต่ก่อนจะเลือกอาหารเสริมแคลเซียม เราควรทราบถึง ข้อควรระวังต่าง ๆ และอาหารที่ห้ามกินร่วมกับแคลเซียม เพื่อให้ได้รับผลดีต่อสุขภาพ อย่างที่ควรจะเป็น

ประโยชน์ของแคลเซียม

  • ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและฟัน

  • ช่วยกระตุ้นการทำงานของโปรตีนที่ช่วยในกระบวนการสร้างและสลายกระดูก

  • ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในกระดูก กระดูกอ่อน และน้ำหล่อลื่นไขข้อ

  • ช่วยลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนในผู้สูงวัย 

  • ช่วยควบคุมการหดตัวหรือคลายตัวของกล้ามเนื้อ รวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ

  • ช่วยควบคุมความดันโลหิต

  • ช่วยในการแข็งตัวของเลือด 

  • ช่วยส่งสัญญาณต่อระบบประสาท

  • ช่วยควบคุมความสมดุลของกรด

เราควรได้รับแคลเซียมวันละเท่าไร

อาหารที่มีแคลเซียมสูง

          กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดปริมาณแคลเซียมที่ควรบริโภคในแต่ละวันตามกลุ่มอายุ และไม่ควรบริโภคเกินกว่าปริมาณสูงสุด ดังนี้

  • ทารก 0-5 เดือน ต้องการแคลเซียม 210 มิลลิกรัมต่อวัน

  • ทารก 6-11 เดือน ต้องการแคลเซียม 260 มิลลิกรัมต่อวัน

  • เด็กอายุ 1-3 ขวบ ต้องการแคลเซียม 500 มิลลิกรัมต่อวัน

  • เด็กอายุ 4-8 ขวบ ต้องการแคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวัน

  • วัยรุ่นชาย-หญิง อายุ 9-18 ปี ต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

  • ผู้ใหญ่ชาย-หญิง อายุ 19-50 ปี ต้องการแคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวัน

  • ผู้ใหญ่ชาย-หญิง อายุ 51 ปีขึ้นไป ต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

  • หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร อายุ 14-18 ปี ต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

  • หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร อายุ 19-50 ปี ต้องการแคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวัน

          ทั้งนี้ ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์แคลเซียมได้เอง จึงต้องรับประทานจากอาหารที่มีแคลเซียมสูง หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียม

แคลเซียม ยี่ห้อไหนดี ปี 2024

1. ไบโอเธนทิค แคลเซียม (Biothentic Calcium)

แคลเซียม ไบโอเธนทิค

ภาพจาก : lazada.co.th

          แคลเซียมจากไบโอเธนทิค ใน 1 เม็ด ประกอบด้วย แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต 881.92 มิลลิกรัม (ให้ calcium ion 113.92 มิลลิกรัม) เสริมด้วยแมกนีเซียม 200 มิลลิกรัม วิตามินดี 3 และซิงก์ ที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้ดียิ่งขึ้น

  • วิธีรับประทาน : วันละ 2 เม็ด หลังอาหารเช้าหรือเย็น

  • ขนาด : 1 ขวด (บรรจุ 30 เม็ด)

  • ราคาปกติ : 960 บาท

คำเตือน 

  • เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน

2. แคลอาร์ค (Calark)

แคลอาร์ค

ภาพจาก : zenjibioplus.com

          แคลอาร์ค (Calark) แบรนด์นี้ใช้สารสกัดนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ใน 1 เม็ด ประกอบด้วย แคลเซียม อะมิโน แอซิด คีเลต 500 มิลลิกรัม ซึ่งเกลือแคลเซียมชนิดนี้สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ถึง 95% รวมทั้งมีแมกนีเซียม อะมิโน แอซิด คีเลต ทำหน้าที่เป็นตัวนำพาแคลเซียมเข้าสู่ภายในเซลล์กระดูก และยังมีส่วนผสมของคอลลาเจนจากปลาแซลมอน คอลลาเจนไทป์ทู สาหร่ายเคลป์ สารสกัดจากงาดำที่มีประโยชน์ต่อกระดูกและข้อ

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1-2 แคปซูล หลังอาหาร 45 นาที

  • ขนาด : 1 ขวด (บรรจุ 30 แคปซูล)

  • ราคาปกติ : 690 บาท

คำเตือน 

  • เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน

3. โอเอ็มจี แคลตินั่ม (OMG Caltinum)

แคลตินั่ม

ภาพจาก : omgthailand.net

          ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากโอเอ็มจี แคลตินั่ม (OMG Caltinum) ทางเลือกสำหรับผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าและกระดูก โดยแต่ละเม็ดมีส่วนผสมของแคลเซียม แอล-ทรีโอเนต 500 มิลลิกรัม มาพร้อมแมกนีเซียม วิตามินดี 3 วิตามินซี เพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และคอลลาเจน ไทป์ทู ที่ช่วยเสริมความแข็งแรงเรื่องกระดูกและข้อ นอกจากนี้ยังมีน้ำมันปลา ผงแดนดิไลออน ผงใบบัวบก สารสกัดจากเคลป์ บรรจุมาในแคปซูลขนาดใหญ่ 1,000 มิลลิกรัม จึงเหมาะกับคนที่ไม่ชอบกินยาหลาย ๆ เม็ด

  • วิธีรับประทาน : วันละ 2 แคปซูล  โดยแบ่งเป็น 2 มื้อ เพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ดีที่สุด เมื่ออาการดีขึ้นแล้วสามารถลดเหลือวันละ 1 แคปซูลได้

  • ขนาด : 1 ขวด (บรรจุ 30 แคปซูล)

  • ราคาปกติ : 1,250 บาท

คำเตือน

  • เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน

  • ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค

  • อ่านคําเตือนในฉลากก่อนบริโภค

  • ควรกินอาหารหลากหลายให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจํา

  • ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ถั่วเหลือง ปลาทะเลหรือน้ำมันปลา

  • ควรระวังในผู้ที่เลือดแข็งตัวช้า หรือผู้ที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือแอสไพริน

4. เอเนล แคลแม็ก ดีพลัส (ENEL CalMag DPlus)

เอเนล แคลแม็ก ดีพลัส

ภาพจาก : enelthailand.com

          เอเนล แคลแม็ก ดีพลัส (ENEL CalMag DPlus) กล่องนี้มีส่วนประกอบของแคลเซียม แอล-ทรีโอเนต 950 มิลลิกรัม สกัดจากข้าวโพด Non-GMO ที่ผ่านการรับรองสิทธิบัตรจากสหรัฐอเมริกา และยังมีแมกนีเซียม, โบรอน, แมงกานีส, สารสกัดจากเมล็ดถั่วเหลือง, สารสกัดจากงา, กรดอะมิโนต่าง ๆ และวิตามินดี ซึ่งเป็นสารอาหารที่ดีต่อกระดูกและข้อรวม 12 ชนิด

  • วิธีรับประทาน : อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป จนถึงผู้สูงอายุ ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1-2 ครั้ง เวลาใดก็ได้ (แนะนำหลังอาหารดีที่สุด เพื่อเพิ่มการดูดซึมวิตามินดี) 

  • ขนาด : 1 กล่อง (บรรจุ 30 เม็ด)

  • ราคาปกติ : 990 บาท

5. แคลเทรตซิลเวอร์ 50+

แคลเทรตซิลเวอร์ 50+

ภาพจาก : caltratethailand.com

          แคลเทรต ซิลเวอร์ 50+ เกลือแคลเซียมขวดนี้เหมาะสำหรับเสริมแคลเซียมในผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยมีส่วนผสมของแคลเซียมคาร์บอเนต 600 มิลลิกรัม และวิตามินดี 400 ไอยู ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ซึ่งในเอกสารกำกับยาระบุว่า ใช้เพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง และมีส่วนช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1 เม็ด พร้อมอาหารหรือตามแพทย์สั่ง 

  • ขนาด : 1 กล่อง (บรรจุ 120 เม็ด)

  • ราคาปกติ : 435 บาท

คำเตือน

  • ห้ามใช้สำหรับผู้ที่แพ้ตัวยาสำคัญหรือส่วนประกอบใด ๆ ของผลิตภัณฑ์

  • ห้ามใช้สำหรับผู้ที่มีภาวะการทำงานของไตบกพร่อง

  • ห้ามใช้สำหรับผู้ที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcaemia) และแคลเซียมในปัสสาวะสูงขั้นรุนแรง (Severe Hypercalciuria)

  • สตรีมีครรภ์และสตรีระหว่างให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อน

  • ผู้ที่รับประทานร่วมกับยาปฏิชีวนะกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolone antibiotics) เตตราซัยคลิน (Tetracycline) หรือเลโวไทรอกซิน (Levothyroxine) (ยารักษาภาวะไทรอยด์) ยาปฏิชีวนะกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน เตตราซัยคลิน และเลโวไทรอกซิน ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

6. แคลวิ่น พลัส (Calvin Plus)

แคลวิ่น พลัส

ภาพจาก : calvin.in.th

          แคลวิ่น พลัส ขวดสีส้ม สูตรนี้ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล เกลือ และแล็กโทส โดยใน 1 เม็ด ประกอบด้วย แคลเซียมคาร์บอเนต 600 มิลลิกรัม และยังประกอบด้วยสารอาหารอื่น ๆ ที่ช่วยเสริมกระดูก เช่น แมกนีเซียม, วิตามินดี 3, โบรอน, ซิงก์, ทองแดง, แมงกานีส จึงมีส่วนช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ หรือใช้เสริมแคลเซียมสำหรับสตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร บุคคลทั่วไปที่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1-2 เม็ด อาจแบ่งรับประทานในตอนเช้าและตอนเย็นหลังอาหาร

  • ขนาด : 1 กล่อง (บรรจุ 60 เม็ด)

  • ราคาปกติ : 185 บาท

คำเตือน

  • ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม

7. นูทราแคล เดลี่ แคล-ดี-ซี 1000 (NUTRAKAL Deli Cal-D-C 1000)

นูทราแคล เดลี่ แคล-ดี-ซี 1000

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก Nutrakal

          แคลเซียมเม็ดฟู่ รสเลมอน ที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนต 625 มิลลิกรัม และวิตามินดีที่มีส่วนช่วยดูดซึมแคลเซียม เสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมของวิตามินซี 1,000 มิลลิกรัม ที่ดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน และวิตามินบี 6 ที่มีส่วนช่วยเรื่องการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการชาหรือตะคริว

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1 เม็ดฟู่ ละลายในน้ำ 1 แก้ว ดื่มหลังอาหาร หรือใช้ตามคำแนะนำของแพทย์

  • ขนาด : 1 หลอด (บรรจุ 10 เม็ด)

  • ราคาปกติ : 220 บาท (3 หลอด)

คำเตือน

  • ยานี้อาจสะสมในร่างกายจนทำให้เกิดอันตรายได้ จึงไม่ควรใช้เกินขนาดที่กำหนดไว้ หรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นอกจากแพทย์สั่ง

วิธีเลือกซื้ออาหารเสริมแคลเซียม

  • เลือกซื้อแคลเซียมเสริมในรูปแบบที่ต้องการบริโภค เช่น แบบเม็ด ซอฟต์เจลาติน แคปซูล เม็ดฟู่ ผงชงดื่ม เป็นต้น ซึ่งถ้าเป็นซอฟต์เจล แบบเม็ดฟู่หรือผงชง จะรับประทานได้ง่ายและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายง่าย ไม่ค่อยระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ส่วนแบบเม็ดจะแตกตัวช้าและดูดซึมช้ากว่าแบบอื่น แต่ราคาประหยัดกว่า
  • เลือกจากชนิดของแคลเซียม เช่น

          ◇ หากต้องการแคลเซียมในปริมาณมาก ดูดซึมง่าย กินเวลาไหนก็ได้ ควรเลือกซื้อแคลเซียม แอล-ทรีโอเนต เนื่องจากสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากที่สุด คือประมาณ 90% และไม่ตกค้าง ไม่เสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว แต่ราคาจะสูงกว่าแคลเซียมคาร์บอเนตและแคลเซียมซิเตรท
          ◇ แคลเซียมซิเตรท ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ประมาณ 50% ควรรับประทานพร้อมอาหาร
          ◇ แคลเซียมคาร์บอเนตจะดูดซึมได้ประมาณ 10% ต้องรับประทานพร้อมอาหาร และมีผลข้างเคียงคือทำให้ท้องผูกและท้องอืดได้ แต่หาซื้อง่ายและมีราคาถูกกว่า
          ◇ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานแคลเซียมคาร์บอเนต เพราะยิ่งทำให้มีอาการท้องผูกมากขึ้น และควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนซื้อมารับประทาน

  • เลือกซื้อแคลเซียมที่มีส่วนผสมของวิตามินดี เพื่อช่วยให้แคลเซียมดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น และวิตามินดียังช่วยควบคุมการทำงานของแคลเซียม
  • เลือกผลิตภัณฑ์ที่ให้ปริมาณแคลเซียมประมาณ 600-800 มิลลิกรัมต่อเม็ด ซึ่งจะดูดซึมได้ดีกว่าแคลเซียมในปริมาณสูง
  • พิจารณาวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆ ที่ผสมมาด้วย เช่น วิตามินซี วิตามินดี แมกนีเซียม คอลลาเจน ซึ่งให้ประโยชน์ต่อสุขภาพแตกต่างกันไป
  • เลือกซื้อจากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ มีชื่อหรือสถานที่ผลิต มีข้อมูลระบุส่วนผสมและวิธีใช้ มีเลขที่ผลิตภัณฑ์ มีเครื่องหมาย อย.
  • ตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ว่าอยู่ในสภาพดี ไม่มีรอยฉีกขาดหรือรอยรั่ว รวมทั้งวันเดือนปีที่ผลิตและวันเดือนปีที่หมดอายุ

แคลเซียมกินตอนไหน

แคลเซียมกินตอนไหน

        แคลเซียมเสริมในท้องตลาดมีอยู่หลายชนิด ที่นิยมก็เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมซิเตรท และแคลเซียม แอล-ทรีโอเนต ซึ่งแต่ละชนิดมีช่วงเวลาในการรับประทานแตกต่างกันไป

        หากเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตและแคลเซียมซิเตรทควรรับประทานพร้อมอาหาร หรือรับประทานหลังอาหารอย่างน้อยไม่เกิน 1 ชั่วโมง เนื่องจากต้องการกรดช่วยให้แคลเซียมแตกตัวได้ดีและดูดซึมได้ง่ายขึ้น ส่วนแคลเซียม แอล-ทรีโอเนต สามารถรับประทานก่อนหรือหลังอาหาร รวมทั้งตอนท้องว่างก็ได้ เพราะสามารถดูดซึมได้ดีโดยไม่ทำให้มีอาการท้องอืดหรือท้องผูก

        ทั้งนี้ แนะนำให้รับประทานแคลเซียมช่วงหลังอาหารเย็น เพราะแคลเซียมจะไหลออกจากกระดูกมากที่สุดในช่วงกลางคืน การเสริมแคลเซียมในช่วงเย็นจะช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกบางได้

แคลเซียมห้ามกินกับอะไร

  • ไม่ควรรับประทานแคลเซียมคู่กับยาเสริมธาตุเหล็ก ยาปฏิชีวนะบางกลุ่ม ยาลดความดันบางกลุ่ม หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางกลุ่ม เนื่องจากแคลเซียมจะไปลดการดูดซึมยา

  • ไม่ควรรับประทานแคลเซียมร่วมกับอาหารที่ลดการดูดซึมแคลเซียม เช่น ผักที่มีออกซาเลตสูงอย่างใบยอ ผักโขม อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม เป็นต้น 

          อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นต้องกินร่วมกัน ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

ข้อควรระวังในการกินแคลเซียมเสริม

โทษของแคลเซียม

  • หากรับประทานแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต หินปูนในเต้านมหรือในหลอดเลือด

  • กรณีรับประทานแคลเซียมคาร์บอเนต หรือแคลเซียมซิเตรท ควรรับประทานพร้อมอาหาร เพื่อป้องกันอาการท้องผูกหรือท้องอืด

  • ผู้ที่รับประทานยาหรืออาหารเสริมประเภทอื่น ๆ อยู่ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานแคลเซียมเสริม

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน

           การรับประทานแคลเซียมเสริมเป็นเพียงทางเลือกในการเติมแคลเซียมให้ร่างกายเท่านั้น เพราะวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพกระดูกและฟันให้แข็งแรงก็คือ การได้รับแคลเซียมจากอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียว ออกไปสัมผัสแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้าเพื่อรับวิตามินดี ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้องกับแคลเซียม

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
แคลเซียม ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 เลือกซื้ออย่างไรให้ช่วยเสริมกระดูกและฟัน อัปเดตล่าสุด 17 มิถุนายน 2567 เวลา 22:07:44 27,048 อ่าน
TOP
x close