แคลเซียม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 เสริมความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน

          แคลเซียม ผลิตภัณฑ์เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง มีหลายรูปแบบ แล้วถ้าสนใจควรเลือกซื้ออย่างไร
แคลเซียม

          ปกติร่างกายเราจะได้แคลเซียม จากอาหารที่เรารับประทานในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เช่น นม โยเกิร์ต ปลา กุ้งแห้ง กะปิ เต้าหู้ ผักใบเขียว เป็นต้น แต่ก็มีบุคคลบางประเภทที่ต้องการแคลเซียมมากกว่าคนทั่วไป เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน แม่ที่ต้องให้นมบุตร หญิงตั้งครรภ์ หญิงใกล้หมดประจำเดือน เพราะหากขาดแคลเซียมในเลือด ร่างกายจะสลายแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต ซึ่งการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียวอาจได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ อาหารเสริมแคลเซียมจึงเป็นทางเลือกที่หลายคนสนใจ แต่จะเลือกแคลเซียม ยี่ห้อไหนดี ลองอ่านข้อมูลต่อไปนี้

แคลเซียม ประโยชน์มีอะไรบ้าง

          แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย 99% ของแคลเซียมจะอยู่ในกระดูกและฟัน โดยมีประโยชน์ดังนี้

  • ช่วยรักษาและเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ฟัน เล็บ และเส้นผม 

  • ชะลอการสูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูก จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน หรือโรคเกี่ยวกับกระดูกต่าง ๆ 

  • ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของกระดูก

  • ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ โดยส่งสัญญาณไปยังเซลล์ทั่วร่างกายเพื่อให้หลอดเลือดและกล้ามเนื้อหดหรือขยาย 

  • ช่วยในการแข็งตัวของเลือด 

  • ช่วยกระตุ้นการทำงานของโปรตีนที่ช่วยในกระบวนการสร้างและสลายกระดูก

  • ควบคุมความสมดุลของกรดในร่างกาย

  • ควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ

อาหารแคลเซียมสูงมีอะไรบ้าง

แคลเซียม

           อาหารแคลเซียมสูงมีทั้งนมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต ชีส ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ไข่ ปลาตัวเล็ก กุ้งแห้ง ปลาซาร์ดีน กะปิ รวมไปถึงธัญพืชต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง เต้าหู้ งา ข้าวโอ๊ต เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดบัว ขณะที่ในผักที่มีแคลเซียมสูงก็อย่างเช่น ยอ ชะพลู สะเดา แค ตำลึง ขี้เหล็ก ถั่วพู คะน้า เป็นต้น

ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวัน

          กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดปริมาณแคลเซียมที่ควรบริโภคในแต่ละวันตามกลุ่มอายุ ดังนี้

  • ทารก 0-5 เดือน ต้องการแคลเซียม 210 มิลลิกรัมต่อวัน

  • ทารก 6-11 เดือน ต้องการแคลเซียม 260 มิลลิกรัมต่อวัน

  • เด็กอายุ 1-3 ขวบ ต้องการแคลเซียม 500 มิลลิกรัมต่อวัน

  • เด็กอายุ 4-8 ขวบ ต้องการแคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวัน

  • วัยรุ่นชาย-หญิง อายุ 9-18 ปี ต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

  • ผู้ใหญ่ชาย-หญิง อายุ 19-50 ปี ต้องการแคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวัน

  • ผู้ใหญ่ชาย-หญิง อายุ 51 ปีขึ้นไป ต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

  • หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร อายุ 14-18 ปี ต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

  • หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร อายุ 19-50 ปี ต้องการแคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวัน

          จะเห็นว่าในแต่ละวัยมีความต้องการแคลเซียมต่างกัน ซึ่งในความเป็นจริงในแต่ละวันเราอาจได้รับแคลเซียมไม่พอ เพราะรับประทานอาหารบางอย่างหรือยารักษาโรคบางชนิดที่ลดการดูดซึมแคลเซียม สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หลายคนจึงเลือกอาหารเสริมแคลเซียมเป็นตัวช่วยในการเสริมสร้างแคลเซียมเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องการแคลเซียมเพิ่มขึ้นมากกว่าวัยผู้ใหญ่

แคลเซียมเสริมมีกี่ชนิด

แคลเซียม

          แคลเซียมเสริมในท้องตลาดพบได้ทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่

1. แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate)

          เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแคลเซียมอยู่ 40% กล่าวคือ ใน 1 เม็ด 1,000 มิลลิกรัม จะมีแคลเซียมอยู่ 400 มิลลิกรัม เท่านั้น และยังเป็นเกลือแคลเซียมที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อย คือประมาณ 10% ข้อดีคือมีราคาถูกกว่าชนิดอื่น

          อย่างไรก็ตาม หากกินแคลเซียมเสริมชนิดนี้ ควรรับประทานพร้อมอาหาร หรือรับประทานหลังอาหารอย่างน้อยไม่เกิน 1 ชั่วโมง เพราะต้องอาศัยกรดในกระเพาะอาหารช่วยทำให้แคลเซียมคาร์บอเนตแตกตัวและละลายน้ำได้ดียิ่งขึ้น แต่มีผลข้างเคียงคือ แคลเซียมส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมอาจทำให้เกิดอาการท้องผูก ท้องอืดได้

2. แคลเซียมซิเตรท (Calcium Citrate)

           เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแคลเซียมอยู่ 21% คือ ในเม็ด 1,000 มิลลิกรัม จะมีแคลเซียมราว ๆ 210 มิลลิกรัม แม้ว่าจะน้อยกว่าแคลเซียมคาร์บอเนต แต่แคลเซียมซิเตรทกลับดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่า คือประมาณ 50% โดยต้องรับประทานพร้อมอาหารเช่นเดียวกับแคลเซียมคาร์บอเนต

3. แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต (Calcium L-Threonate)

          เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแคลเซียมอยู่เพียง 13% แต่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากที่สุด คือประมาณ 90% รับประทานตอนท้องว่างได้ และไม่ทำให้มีอาการท้องอืดหรือท้องผูก แต่ก็เป็นชนิดที่มีราคาแพงที่สุด

แคลเซียมกินตอนไหน

           แคลเซียมเสริมที่มีส่วนประกอบของเกลือแคลเซียมแต่ละชนิดมีช่วงเวลาในการรับประทานแตกต่างกันไป เช่น แคลเซียมคาร์บอเนตและแคลเซียมซิเตรทไม่ควรรับประทานขณะท้องว่าง เพราะต้องการกรดช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม ในขณะที่แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต สามารถรับประทานตอนท้องว่างได้

วิธีเลือกซื้ออาหารเสริมแคลเซียม

แคลเซียม

  1. เลือกซื้อแคลเซียมเสริมรูปแบบตามต้องการ เช่น แบบเม็ดหรือแคปซูล ซอฟต์เจลาติน หรือแคปซูลแบบนิ่ม เม็ดฟู่ เป็นต้น 

  2. ตรวจสอบชนิดของเกลือแคลเซียมว่าอยู่ในรูปแบบใด และใน 1 เม็ดมีปริมาณแคลเซียมเท่าใด โดยอาจจะเลือกปริมาณแคลเซียมต่อเม็ดที่ไม่สูงจนเกินไป เพราะการรับประทานครั้งละน้อย ๆ แต่หลายครั้ง เช่น 500-800 มิลลิกรัม จะทำให้ร่างกายดูดซึมได้ดีกว่าปริมาณมาก ๆ

  3. เกลือแคลเซียมแต่ละชนิดจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้แตกต่างกัน ดังนั้นควรอ่านข้อมูลบนฉลากว่าต้องรับประทานตอนไหน 

  4. เลือกซื้อแคลเซียมเสริมที่มีส่วนผสมของมีวิตามินดี เพื่อช่วยเสริมการดูดซึมแคลเซียม ยกเว้นว่าถ้าเลือกอาหารเสริมแคลเซียม แอล-ทรีโอเนต ก็ไม่จำเป็นต้องมีวิตามินดี เพราะร่างกายสามารถดูดซึมได้เอง

  5. เลือกซื้อจากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ มีชื่อหรือสถานที่ผลิต มีข้อมูลบนฉลากละเอียด มีเลขที่ผลิตภัณฑ์ มีเครื่องหมาย อย. แสดงไว้อย่างชัดเจน

  6. ตรวจสอบวันเดือนปีที่ผลิตและวันเดือนปีที่หมดอายุ

  7. ตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ว่าอยู่ในสภาพดี ไม่มีรอยฉีกขาดหรือรอยรั่ว

แคลเซียม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023

1. Hi-Balanz Calcium D Plus (ไฮบาลานซ์ แคลเซียม ดี พลัส)

แคลเซียม

ภาพจาก : hibalanz.com

         ไฮบาลานซ์ แคลเซียม ดี พลัส มาในรูปแบบเม็ดสีขาว ประกอบด้วยแคลเซียมซิเตรท 1,000 มิลลิกรัม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันโดยไม่ทำให้เกิดหินปูนสะสม ป้องกันโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือน อีกทั้งมีแมกนีเซียม 300 มิลลิกรัม และวิตามินดี ที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เหมาะกับวัยผู้ใหญ่ที่ต้องการเสริมแคลเซียม

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1-2 เม็ด หลังอาหาร

  • ขนาด : 1 กล่อง (บรรจุ 30 เม็ด)

  • ราคาปกติ : 750 บาท

2. Bonnex (บ็อนเน็กซ์)

แคลเซียม

ภาพจาก : paradigmistore.com

          บ็อนเน็กซ์ อาหารเสริมแคลเซียมจากสหรัฐอเมริกาในรูปแบบเม็ดแข็งสีขาว ประกอบด้วยแคลเซียมซิเตรท 1,000 มิลลิกรัม ช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟัน มีการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็ว อีกทั้งมีแมกนีเซียม 240 มิลลิกรัม และวิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ พร้อมแร่ธาตุสังกะสี ช่วยเรื่องการเจริญเติบโตและมีส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างกระดูก

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1 เม็ด 

  • ขนาด : 1 ขวด (บรรจุ 60 เม็ด)

  • ราคาปกติ : 290 บาท

3. Amsel Calcium L-Threonate+Collagen Type II (แอมเซล แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต พลัส คอลลาเจน ไทพ์ ทู)

แคลเซียม

ภาพจาก : amselnutraceutical.com

          แคลเซียมกระปุกนี้ประกอบด้วยแคลเซียม แอล-ทรีโอเนต 480 มิลลิกรัม ช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกและเพิ่มมวลกระดูก สามารถรับประทานตอนท้องว่างได้ โดยไม่ทำให้เกิดอาการท้องผูก และไม่ตกค้างในทางเดินอาหาร อีกทั้งมีวิตามินดี วิตามินเค รวมทั้งยังมีคอลลาเจนไทพ์ ทู ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อน ลดการเสื่อมหรือการอักเสบของกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ เหมาะกับผู้มีภาวะกระดูกบาง กระดูกพรุน ปวดตามข้อ ปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1 เม็ด พร้อมมื้ออาหารหรือหลังอาหาร

  • ขนาด : 1 ขวด (บรรจุ 60 เม็ด)

  • ราคาปกติ : 690 บาท

4. Caltrate Plus (แคลเทรตพลัส)

แคลเซียม

ภาพจาก : caltratethailand.com

          แคลเทรตพลัส ในรูปแบบเม็ดสีม่วง ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต 1,500 มิลลิกรัม เทียบเท่าแคลเซียม 600 มิลลิกรัม อีกทั้งมีวิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม พร้อมแร่ธาตุอีก 4 ชนิด ได้แก่ แมกนีเซียม แมงกานีส สังกะสี และทองแดง ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมกระดูก

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1-2 เม็ด พร้อมอาหารหรือตามคำแนะนำของแพทย์

  • ขนาด : 1 กล่อง (บรรจุ 120 เม็ด)

  • ราคาปกติ : 649 บาท

5. CDR Calcium-D-Redoxon (ซีดีอาร์ แคลเซียม-ดี-รีดอกซ์ซอน)

แคลเซียม

ภาพจาก : lazada.co.th

          ซีดีอาร์ แคลเซียม-ดี-รีดอกซ์ซอน รสส้ม แคลเซียมชนิดเม็ดฟู่ละลายน้ำที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่า ตอบโจทย์ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานยาเม็ดและผู้สูงอายุที่กลืนเม็ดยายาก ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต 625 มิลลิกรัม เทียบเท่าแคลเซียม 250 มิลลิกรัม มาพร้อมวิตามินดี วิตามินบี และวิตามินซี 1,000 มิลลิกรัม ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคหวัด ภูมิแพ้ อีกทั้งยังช่วยสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูก

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1 เม็ด ผสมกับน้ำเย็น 1 แก้ว คนให้ละลายจนเกิดฟองฟู่

  • ขนาด : 1 กล่อง (บรรจุ 15 เม็ด)

  • ราคาปกติ : 150 บาท

6. MEGA We care Calcium-D (เมก้า วีแคร์ แคลเซียม-ดี)

แคลเซียม

ภาพจาก : megawecare.co.th

          แคลเซียม-ดี จากเมก้า วี แคร์ ในรูปแบบแคปซูลแบบนิ่ม ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต 1,500 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับแคลเซียม 600 มิลลิกรัม ช่วยเพิ่มมวลกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน พร้อมด้วยวิตามินดี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น และช่วยในการทำงานของระบบสังเคราะห์ฮอร์โมน

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1 เม็ด พร้อมอาหาร

  • ขนาด : 1 ขวด (บรรจุ 90 เม็ด)

  • ราคาปกติ : 710 บาท

7. 21ST CENTURY Calcium, Magnesium and Zinc

แคลเซียม

ภาพจาก : 21stcenturyvitamins.com

         ทเวนตี้เฟิร์ส เซนจูรี่ แบรนด์แคลเซียมเสริมนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต 1,000 มิลลิกรัม ช่วยเสริมสร้างสุขภาพกระดูกและฟัน แมกนีเซียม วิตามินดี และสังกะสี อีกทั้งยังมีส่วนผสมของเซลลูโลส ช่วยในการขับถ่ายอีกด้วย

  • วิธีรับประทาน : ครั้งละ 1 เม็ด รับประทาน 3 เวลา

  • ขนาด : 1 ขวด (บรรจุ 90 เม็ด)

  • ราคาปกติ : 290 บาท

8. ZEAVITA Tuna Bone Calcium+ (ซีวิต้า ทูน่า โบน แคลเซียม พลัส)

แคลเซียม

ภาพจาก : zeavitathailand.com

          ซีวิต้า แคลเซียมในรูปแบบเม็ดสีขาวขนาดเล็ก กลืนง่าย มีจุดเด่นคือ เป็นแคลเซียมทำจากผงกระดูกปลาทูน่าธรรมชาติ 100% จดสิทธิบัตรญี่ปุ่น โดยกระดูกปลาทูน่าเป็นโครงสร้างแคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Calcium Hydroxyapatite) มีสัดส่วนแคลเซียมและฟอสฟอรัสเหมือนกับกระดูกมนุษย์ ร่างกายจะย่อยง่ายและดูดซึมนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ให้แคลเซียมประมาณ 125 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม พร้อมคอลลาเจนไดเปปไทด์จากปลา แมกนีเซียม วิตามินดี และสารสกัดจากขมิ้นชัน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

  • วิธีรับประทาน : วันละ 2 เม็ด พร้อมอาหารเย็น

  • ขนาด : 1 ขวด (บรรจุ 60 เม็ด)

  • ราคาปกติ : 1,280 บาท

9. VISTRA CALPLEX CALCIUM 600 mg & MENAQUINONE-7 PLUS (วิสทร้า แคลเพล็กซ์ แคลเซียม 600 มก. แอนด์ มีนาควิโนน-7 พลัส)

แคลเซียม

ภาพจาก : vistra.co.th

          วิสทร้า แคลเพล็กซ์ แคลเซียม 600 มก. แอนด์ มีนาควิโนน-7 พลัส ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต 1,500 มิลลิกรัม เทียบเท่าแคลเซียม 600 มิลลิกรัม อีกทั้งมีวิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม วิตามินเค ช่วยในกระบวนการสร้างกระดูก รวมถึงกรดโฟลิก ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และแร่ธาตุอื่น ๆ ทั้งแมกนีเซียม สังกะสี โบรอน ทองแดง แมงกานีส วิตามินบี 12

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1 เม็ด พร้อมมื้ออาหาร

  • ขนาด : 1 ขวด (บรรจุ 30 เม็ด)

  • ราคาปกติ : 250 บาท

แคลเซียมห้ามกินกับอะไร
และข้อควรระวังในการรับประทาน

  • ไม่ควรรับประทานแคลเซียมร่วมกับอาหารที่ลดการดูดซึมแคลเซียม เช่น อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ผักที่มีออกซาเลตสูงอย่างใบยอ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม 

  • ไม่ควรรับประทานแคลเซียมคู่กับยาปฏิชีวนะบางกลุ่มหรือยาลดความดันบางกลุ่ม เนื่องจากแคลเซียมอาจไปยับยั้งฤทธิ์ของยาได้

  • หากรับประทานแคลเซียมมากเกินความต้องการในแต่ละช่วงวัย อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต หรือหินปูนเกาะในหลอดเลือด 

  • การรับประทานแคลเซียมชนิดดูดซึมไม่ดี ไม่ควรรับประทานตอนท้องว่างหรือช่วงที่มีกรดในกระเพาะต่ำ เพราะอาจทำให้มีอาการท้องผูกหรือท้องอืด

          ทั้งนี้ ใครต้องการรับประทานแคลเซียมเสริม ควรเลือกปริมาณแคลเซียมให้พอเหมาะกับช่วงวัย สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือต้องรับประทานยาเป็นประจำ ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนรับประทาน และถ้าใครต้องการดูแลหรือเพิ่มมวลกระดูกแบบไม่พึ่งพาอาหารเสริม แนะนำให้ออกกำลังกาย ตากแดดเพื่อรับวิตามินดี หรือลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มวลกระดูกลดลง

บทความที่เกี่ยวข้องกับแคลเซียม

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
แคลเซียม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 เสริมความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน อัปเดตล่าสุด 15 มิถุนายน 2566 เวลา 11:51:28 69,004 อ่าน
TOP
x close