Plant-Based Protein โปรตีนพืช ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 เติมโปรตีนให้ร่างกายแบบอิ่มอยู่ท้อง ไม่มีคอเลสเตอรอล

           Plant-Based Protein คืออะไร ทำไมคนรักสุขภาพ คนออกกำลังกาย หรือสายวีแกน ถึงดื่มโปรตีนพืช แล้วถ้าสนใจจะเลือกซื้อยี่ห้อไหนดี
โปรตีนพืช

           สำหรับคนที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ฟื้นฟูร่างกาย แต่ไม่สามารถรับประทานโปรตีนจากอาหารได้อย่างเพียงพอ คงมองหาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีน เช่น เวย์โปรตีน เป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ทว่าก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นสายมังสวิรัติ กินเจ หรือแพ้นม กินเวย์ไม่ได้ การเสริมด้วย Plant-Based Protein หรือ โปรตีนพืช ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ก่อนจะรับประทานโปรตีนพืช ควรทำความเข้าใจก่อนว่า โปรตีนพืช คืออะไร เหมาะกับใคร มีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง และจะเลือกซื้อโปรตีนพืช ยี่ห้อไหนดี ถึงตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด

โปรตีนพืช คืออะไร
มีอะไรบ้าง

โปรตีนพืช มีอะไรบ้าง

           โปรตีนพืช คือ โปรตีนที่สกัดออกมาจากพืชชนิดต่าง ๆ มักใช้รับประทานแทนโปรตีนจากสัตว์ เพราะมีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลต่ำกว่า อีกทั้งเป็นแหล่งใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่ดี โดยพืชที่นิยมนำมาสกัดโปรตีนก็อย่างเช่น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วอัลมอนด์ ถั่วแระญี่ปุ่น ถั่วชิกพี เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดเจีย เมล็ดกัญชง ควินัว ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง งาดำ มันฝรั่ง ฯลฯ ซึ่งในที่กล่าวมานี้ โปรตีนจากถั่วเหลืองและควินัวเป็นแหล่งโปรตีนที่ครบถ้วนที่สุด เพราะมีกรดอะมิโนจำเป็นทั้ง 9 ชนิดที่ร่างกายต้องการ

โปรตีนพืช vs โปรตีนสัตว์
ต่างกันอย่างไร

  • แหล่งที่มา : โปรตีนพืชมีที่มาจากพืช เช่น พืชตระกูลถั่ว ธัญพืชต่าง ๆ ในขณะที่โปรตีนสัตว์ มาจากเนื้อสัตว์ ไข่ ปลา นม เป็นต้น

  • กรดอะมิโนจำเป็น : โปรตีนพืชส่วนใหญ่เป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete Protein) คือมีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ จึงต้องรับประทานโปรตีนจากพืชหลายชนิดเพื่อให้ได้กรดอะมิโนครบถ้วน ยกเว้นถั่วเหลืองที่มีกรดอะมิโนค่อนข้างครบ ต่างจากโปรตีนสัตว์ที่เป็นโปรตีนสมบูรณ์ (Complete Protein) เช่น แค่ไข่ขาวเพียงอย่างเดียวก็มีกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 9 ชนิด และมีคุณค่าทางอาหารสูง

  • สารอาหารอื่น ๆ : ทั้งสองชนิดมีแร่ธาตุ วิตามิน สารอาหารพอ ๆ กัน ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชหรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เลือกรับประทาน แต่อาจจะแตกต่างตรงที่วิตามินบี 12 วิตามินดี ธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปของฮีม กรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งพบได้ในโปรตีนสัตว์เท่านั้น แต่หาไม่ค่อยได้ในโปรตีนพืช

  • ปริมาณไขมัน : โปรตีนพืชมีไขมันอิ่มตัวต่ำ คอเลสเตอรอลต่ำ จัดเป็นไขมันดี (HDL) มีช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ตรงข้ามกับโปรตีนสัตว์ที่มักมีไขมันอิ่มตัวสูง คอเลสเตอรอลสูงกว่า และจัดเป็นไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน ไขมันพอกตับ เป็นต้น

  • ใยอาหาร : โปรตีนพืชมีใยอาหารหรือไฟเบอร์สูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะมีที่มาจากพืช ในขณะที่โปรตีนสัตว์แทบไม่มีใยอาหารเลย

โปรตีนพืช ดีไหม

โปรตีนพืช ดีไหม

          โปรตีนจากพืชมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง อาทิ

  • เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย ดูดซึมเร็ว เหมาะกับคนที่ต้องการเสริมโปรตีนอย่างเร่งด่วน

  • มี BCAAs กรดอะมิโนจำเป็นที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อ ลดการสลายของมวลกล้ามเนื้อ และช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย

  • อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวม

  • มีใยอาหารสูง ช่วยเรื่องการขับถ่าย 

  • กินแล้วอิ่มอยู่ท้อง ไม่หิวบ่อย จึงสามารถดื่มทดแทนมื้ออาหารได้ 

  • ไขมันต่ำและเป็นแหล่งของไขมันดี ไม่มีคอเลสเตอรอล ให้พลังงานต่ำกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์

โปรตีนพืช เหมาะกับใคร

  • คนที่ไม่สามารถรับประทานอาหารประเภทโปรตีนให้เพียงพอในแต่ละวัน

  • ผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารน้อย เบื่ออาหาร หรือต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

  • ผู้ที่มีปัญหาเคี้ยวลำบาก ระบบย่อยอาหารไม่ดี 

  • ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ หรือกินเจ ทำให้ขาดโปรตีน

  • คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ และต้องการเสริมสร้าง ฟื้นฟู ซ่อมแซมกล้ามเนื้อ 

  • คนที่ต้องการกินเวย์โปรตีน แต่แพ้นมวัว แพ้แล็กโทส

  • คนที่รับประทานคีโต หรือทำ IF

  • คนที่กำลังควบคุมน้ำหนัก ต้องการควบคุมความหิว สามารถกินทดแทนขนมหรือมื้ออาหาร

โปรตีนพืช ยี่ห้อไหนดี ปี 2024

           คราวนี้มาพิจารณากันว่า โปรตีนพืช หรือ Plant-Based Protein แบรนด์ไหนน่าสนใจบ้าง

1. MATELL Plant-Based Protein Isolate

โปรตีนพืช matell

ภาพจาก : matell

          แพลนต์เบส โปรตีน ไอโซเลท ตรา มาเทลล์ สกัดจากโปรตีนพืช 7 ชนิด ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าว ฟักทอง ถั่วลันเตา ถั่วเขียว ถั่วชิกพี และดอกทานตะวัน ให้โปรตีน 27 กรัม เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเพิ่มโปรตีนในแต่ละวัน และผู้สูงอายุที่ต้องการเติมโปรตีนให้ร่างกาย สามารถชงดื่มได้ง่าย ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำตาลและคอเลสเตอรอล มีให้เลือก 5 รสชาติ ทั้งรสธรรมชาติ ช็อกโกแลต ดับเบิลช็อกโกแลต ชาเขียวมัทฉะ และวานิลลา

  • วิธีรับประทาน : ครั้งละ 1 ช้อนตวง (32 กรัม) คนให้เข้ากันก่อนดื่ม 

  • ขนาด : 1 ถุง ปริมาณ 2 ปอนด์ หรือ 908 กรัม (รับประทานได้ประมาณ 29 ช้อนตวง) ราคาปกติ 429 บาท

2. Biopure Plant Protein Cocoa

โปรตีนพืช หมอโอ๊ค ไบโอเพียว

ภาพจาก : Dr.Oak

          โปรตีนพืช ไบโอเพียว สูตรคุณหมอโอ๊ค DoctorSixpack รสโกโก้เข้มข้น จากฝรั่งเศส มาในรูปแบบซองแยก ผลิตจากโปรตีนถั่วเหลืองนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา โปรตีนถั่วลันเตา และโปรตีนข้าว จึงดีต่อกล้ามเนื้อ ช่วยควบคุมความหิว และยังมีส่วนผสมของโพรไบโอติก 2 สายพันธุ์ พรีโบโอติกอีก 6,000 มิลลิกรัม ที่ช่วยดูแลลำไส้และระบบขับถ่าย มาพร้อมกับวิตามินอีก 10 ชนิด ไม่มีน้ำตาล ไม่มีคอเลสเตอรอล ไม่มีแป้งขัดสีทุกชนิด 1 ซอง 45 กรัม มีโปรตีนพืช 34 กรัม ให้พลังงานอยู่ที่ 146 กิโลแคลอรี

  • วิธีรับประทาน : ชงกับน้ำเปล่าครั้งละ 1 ซอง  

  • ขนาด : 1 กล่อง มี 10 ซอง ราคาปกติ 1,499 บาท

3. Hooray PEA PROTEIN ISOLATE

โปรตีนพืช hooray

ภาพจาก : drinkhooray

          สำหรับคนแพ้ถั่วเหลือง ลองมาดูแบรนด์นี้ที่เป็นโปรตีนพืชจากถั่วลันเตา 100% นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ไม่มีส่วนผสมของถั่วเหลือง ไม่เติมน้ำตาล ไม่ปรุงแต่งรสชาติใด ๆ เป็นแบบ PURE UNFLAVOR เหมาะกับคนที่อยากเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ควบคุมน้ำหนัก หรือสายมังสวิรัติที่อยากเติมโปรตีนให้ร่างกาย โดย 1 ช้อนตวง (30 กรัม) จะให้โปรตีน 24 กรัม และให้พลังงานที่ 118 กิโลแคลอรี

  • วิธีรับประทาน : ผสมโปรตีน 1 ช้อน กับน้ำเปล่า นม หรือเครื่องดื่ม 100-200 มิลลิลิตร ใช้ช้อนคนหรือใช้แก้วเชคให้ละลายแล้วดื่ม สามารถเติมน้ำตาลหรือสารให้ความหวานเพื่อปรุงแต่งรสชาติได้ โดยดื่มวันละ 1-2 เสิร์ฟตามน้ำหนักตัว หลังออกกำลังกายหรือหลังตื่นนอน

  • ขนาด : 1 ถุง ปริมาณ 2 ปอนด์ หรือ 908 กรัม (รับประทานได้ประมาณ 30 ช้อนตวง) ราคาปกติ 1,300 บาท

4. Plantae Protein Leanfast

โปรตีนพืช plantae

ภาพจาก : Plantae

          โปรตีนสูตรลีนไว จาก Plantae มีส่วนผสมของโปรตีนถั่วเหลือง ถั่วลันเตา เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน โปรตีนจากข้าว และยังมี Acetyl-L-Carnitine ที่ดูดซึมไว เมื่อรับประทานก่อนออกกำลังกายจะช่วยให้การเผาผลาญดีขึ้นและคงสภาพของมวลกล้ามเนื้อ หรือจะดื่มเมื่อรู้สึกหิวให้อิ่มท้องนานขึ้นก็ได้ เหมาะกับคนที่ต้องการดูแลรูปร่าง เลือกได้ 5 รสชาติ คือ รสช็อกโกแลต เมลอน อาซาอิเบอร์รี กาแฟ และ Tropical Blend โดยรับประทานครั้งละ 2 ช้อนตวง จะให้โปรตีน 16 กรัม ให้พลังงานกำลังดีที่ 120 กิโลแคลอรี

  • วิธีรับประทาน : ละลายผลิตภัณฑ์ 2 ช้อนตวง ลงในน้ำธรรมดาหรือน้ำเย็น 250-300 มิลลิลิตร (ปริมาณน้ำปรับได้ตามต้องการ) ใส่ขวดเชคเขย่าแล้วดื่ม 

  • ขนาด : 1 กระปุก ปริมาณ 500 กรัม (รับประทานได้ประมาณ 17 เสิร์ฟ โดย 1 เสิร์ฟ เท่ากับ 2 ช้อนตวง) ราคาปกติ 1,190 บาท

5. Vismores Plant Protein Plus

โปรตีนพืช VISMORES

ภาพจาก : VISMORES

          แพลนท์ โปรตีน จากวิสมอร์ส สกัดจากพืช 5 ชนิด คือ ถั่วเหลืองออร์แกนิก ถั่วลันเตาออร์แกนิก ข้าวกล้องออร์แกนิก เมล็ดอัลมอนด์ และฟักทอง ให้กรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน 9 ชนิด โปรตีนสูง 30 กรัม ปราศจากกลูเตนและแล็กโทส อีกทั้งใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาล จึงมีรสชาติอร่อยและหอมกลิ่นวานิลลา สามารถรับประทานได้ทั้งคนที่ต้องการเสริมโปรตีนให้ร่างกายหรือต้องการควบคุมอาหาร 

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1-2 ช้อนตวง ละลายในน้ำเย็น 200-300 มิลลิลิตร แล้วเขย่าก่อนรับประทาน 

  • ขนาด : 1 กระปุก ปริมาณ 910 กรัม (รับประทานได้ประมาณ 30 ช้อนตวง) ราคาปกติ 2,200 บาท

6. WISAMIN PROTEIN PLANT BEVERAGE POWDER FORMULA 2

โปรตีนพืช WISAMIN

ภาพจาก : max-globalshop

          เครื่องดื่มโปรตีนออร์แกนิก 5 in 1 จากข้าว ถั่วลันเตา เมล็ดทานตะวัน ฟักทอง และมันฝรั่ง ปรุงสำเร็จชนิดผง สูตร 2 จากแบรนด์วิษามิน น่าจะถูกใจคนที่อยากเติมโปรตีนให้ร่างกายแบบอร่อยได้ไม่ซ้ำ เพราะมีให้เลือกถึง 8 รสชาติ ทั้งโกโก้ มัทฉะชาเขียว มิกซ์เบอร์รี มันเทศสีม่วง รสชาไทย รสชานมไต้หวัน วานิลลา และโฮจิฉะชาเขียว แพ็กมาในรูปแบบซองแยก ไม่ต้องตวงเอง 1 ซอง ให้โปรตีน 17-18 กรัม ให้พลังงาน 170-180 กิโลแคลอรี (ขึ้นอยู่กับรสชาติ) และแบรนด์นี้ก็ปลอดกลูเตนเช่นกัน

  • วิธีรับประทาน : ชงเครื่องดื่ม 1 ซอง (40 กรัม) ด้วยน้ำอุณหภูมิปกติหรือน้ำเย็น ปริมาณ 250-300 มิลลิลิตร คนจนละลายแล้วสามารถดื่มได้ทันที รับประทานวันละ 1 ซอง

  • ขนาด : 1 กล่อง มี 7 ซอง ราคาปกติ 690 บาท

7. Beanbag Almond Protein Powder

โปรตีนพืช Beanbag Almond

ภาพจาก : Beanbagsuperfood-Official

          Beanbag โปรตีนพืชจากอัลมอนด์ที่ผสมผสานโปรตีนพืชอีก 4 ชนิด คือ โปรตีนถั่ว โปรตีนถั่วเหลือง โปรตีนข้าว และโปรตีนจากเมล็ดฟักทอง 1 ช้อน ให้โปรตีนสูงถึง 27 กรัม ช่วยให้อิ่มท้องได้นานขึ้น นอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโนครบ 9 ชนิด มีวิตามินจำเป็นอีก 13 ชนิด และยังเพิ่ม MCT Oil จากน้ำมันมะพร้าว ซึ่งเป็นกรดไขมันอิ่มตัวสายกลางที่ช่วยเร่งการเผาผลาญให้เบิร์นเร็วและหุ่นลีนกว่าเดิม พร้อมด้วยพรีไบโอติกและแคลเซียม เลือกได้ 7 รสชาติ คือ รสธรรมชาติ รสชาไทย รสชาโฮจิฉะดั้งเดิม รสสตรอว์เบอร์รี รสอาซาอิมิกซ์เบอร์รี รสดาร์กช็อกโกแลต และรสยูซุ บลิส

  • วิธีรับประทาน : ตักผงโปรตีน 1-1.5 ช้อนตวง ผสมกับน้ำเย็นหรือนม 300 มิลลิกรัม แล้วเชคจนเข้ากัน

  • ขนาด : 1 กระปุก ปริมาณ 800 กรัม (รับประทานได้ประมาณ 23 ช้อนตวง) ราคาปกติ 1,890 บาท

วิธีเลือกซื้อโปรตีนพืช

โปรตีนพืช กินตอนไหน

  • เลือกชนิดของพืชที่ต้องการ โดยมีทั้งแบบพืชหลายชนิดผสมกัน หรือแบบพืชชนิดเดียวล้วน ๆ เช่น โปรตีนถั่วเหลือง โปรตีนถั่วลันเตา โปรตีนถั่วอัลมอนด์ โปรตีนจากเมล็ดทานตะวัน โปรตีนจากเมล็ดเจีย เป็นต้น ทั้งนี้ หากต้องการได้รับกรดอะมิโนจำเป็นและสารอาหารอื่น ๆ ที่เพียงพอ ควรเลือกพืชหลายชนิดรวมกันและมีถั่วเหลืองเป็นส่วนผสมด้วย

  • เลือกตามจุดประสงค์ในการรับประทาน โดยบางแบรนด์อาจมีสูตรเฉพาะให้เลือกด้วย เช่น 

    • โปรตีนพืชสูตรเพิ่มกล้ามเนื้อ เหมาะกับนักกีฬา คนที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

    • โปรตีนพืชสูตรลีน ไฟเบอร์สูง จะช่วยเรื่องการเผาผลาญไขมัน เหมาะกับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ดูแลรูปร่าง

    • โปรตีนพืชสูตรที่ช่วยดูแลผิวพรรณ เส้นผม เล็บ และรูปร่าง เหมาะกับผู้หญิงที่ต้องการดูแลตัวเอง

  • พิจารณาปริมาณโปรตีนที่ได้รับต่อ 1 หน่วยบริโภค โดยคนที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อควรเลือกแบรนด์ที่ให้โปรตีนสูง เช่น 20 กรัมขึ้นไป

  • เลือกจากสารอาหารอื่น ๆ ที่เป็นส่วนผสมเพิ่มเติม เช่น บางสูตรอาจเพิ่มวิตามิน คอลลาเจน พรีไบโอติก โพรไบโอติก แคลเซียม แอล-คาร์นิทีน มาให้ด้วย ซึ่งเราต้องพิจารณาว่าต้องการสารอาหารนั้น ๆ ด้วยหรือไม่ 

  • เลือกจากรสชาติที่ชอบ เช่น วานิลลา ช็อกโกแลต ชาเขียว สตอรว์เบอร์รี รสธรรมชาติ

  • เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีน้ำตาลหรือน้ำตาลน้อย ไม่มีส่วนผสมของแล็กโทส กลูเตน มีสารเติมแต่งน้อยที่สุด

  • เลือกรูปแบบของผลิตภัณฑ์ว่าต้องการแบบผงชงดื่ม หรือแบบเม็ดยา เป็นต้น

  • เลือกรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีทั้งแบบกระปุกใหญ่ กระปุกเล็ก เหมาะกับคนที่ต้องการรับประทานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีแบบขวดยา แบบซองเล็ก ๆ เหมาะกับคนที่ต้องการพกพาไปรับประทานนอกสถานที่

  • ตรวจสอบส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่ามีสารอาหารที่ตัวเองแพ้หรือไม่ เช่น หากแพ้ถั่วเหลือง ให้เลือกชนิดที่ไม่มีส่วนผสมของถั่วเหลือง

  • คำนวณราคาต่อ 1 กล่อง หรือ 1 กระปุก มีโปรตีนปริมาณเท่าไร ทั้งกระปุกสามารถรับประทานได้กี่ครั้ง แล้วคิดเป็นราคาเท่าไรต่อ 1 หน่วยบริโภค เพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่า คุ้มราคา 

  • ตรวจสอบรายละเอียดบนกล่องผลิตภัณฑ์ว่ามีชื่อผู้ผลิต วันผลิต วันหมดอายุ เครื่องหมาย อย. รวมทั้งคำแนะนำต่าง ๆ ครบถ้วนหรือไม่

  • ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีนพืชจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ หรือร้านจำหน่ายอาหารเสริมที่มีเภสัชกรคอยให้คำแนะนำ

โปรตีนพืช กินตอนไหนดี

          สามารถรับประทานโปรตีนพืชได้ทุกเวลา ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ได้แก่

  • ตอนเช้า : มีส่วนช่วยป้องกันเรื่องการสลายของกล้ามเนื้อ 

  • ก่อนออกกำลังกาย 30-60 นาที : ช่วยเรื่องการเผาผลาญ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ

  • หลังออกกำลังกาย 30-60 นาที : ช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อส่วนที่สึกหรอ

  • ก่อนเข้านอน : ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ใช้มาทั้งวัน

  • กรณีต้องการควบคุมความหิว ช่วยให้อิ่มท้อง สามารถรับประทานทดแทนมื้ออาหารได้

ข้อควรระวังในการกินโปรตีนพืช

โปรตีนพืช อันตราย

  • คนที่มักแพ้อาหารควรตรวจสอบส่วนผสมให้ดี เพื่อป้องกันอาการแพ้

  • คำนวณปริมาณโปรตีนก่อนรับประทาน เพื่อไม่ให้รับประทานมากเกินความต้องการ โดยคนทั่วไปควรกินโปรตีน 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน ส่วนคนที่ออกกำลังกายหนักเป็นประจำอาจกินโปรตีนได้ถึง 1.5-2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน

  • เมื่อเปิดแล้วควรรับประทานให้หมดภายใน 6 เดือน ปิดฝาให้แน่น

  • เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดด พื้นที่อุณหภูมิสูง หรือบริเวณที่เปียกชื้น

  • เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน

  • ผู้ป่วยที่ต้องจำกัดปริมาณโปรตีนหรือสารอาหารอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

  • โปรตีนพืชไม่มีผลในการป้องกันและรักษาโรค จึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ

  • การรับประทานโปรตีนพืชเพียงอย่างเดียวโดยไม่รับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ อาจทำให้ขาดสารอาหารสำคัญ เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินดี วิตามินบี 12

          การเลือกเติมโปรตีนให้ร่างกายด้วยผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีนพืชก็เป็นอีกวิธีที่สะดวก แต่ก็ควรรับประทานโปรตีนจากสัตว์ควบคู่ไปด้วยหากสามารถรับประทานได้ เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังควรรับประทานอาหารที่หลากหลายให้ครบ 5 หมู่เป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดีโดยรวม 

บทความที่เกี่ยวข้องกับโปรตีน

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
Plant-Based Protein โปรตีนพืช ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 เติมโปรตีนให้ร่างกายแบบอิ่มอยู่ท้อง ไม่มีคอเลสเตอรอล อัปเดตล่าสุด 21 มิถุนายน 2567 เวลา 15:28:39 19,253 อ่าน
TOP
x close