6 ความเชื่อเรื่องร่างกายที่เคยได้ยิน...จริงหรือไม่จริง มาหาคำตอบกัน

          ค้นหาคำตอบ 6 ความเชื่อเรื่องสุขภาพที่เขาว่ากันว่ามาแบบนี้ พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลสุขภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่ช่วยให้เราใส่ใจตัวเองได้ทุกวัน
ความเชื่อเรื่องสุขภาพ

          มีหลายความเชื่อเรื่องสุขภาพที่ได้ยินกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ เพราะถูกถ่ายทอดบอกต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนคุ้นชินและคิดว่าเป็นความจริง ทว่าหลายเรื่องที่ "เขาว่ากันว่า…" อาจจะไม่ใช่อย่างที่คิด วันนี้ขอชวนทุกคนมาค้นหาข้อเท็จจริงเรื่องสุขภาพร่างกายว่ามีประเด็นไหนบ้างที่เราเข้าใจผิดมาตลอด

6 ความเชื่อเรื่องสุขภาพที่คนมักเข้าใจผิด

1. เส้นผม : ยิ่งถอนผมหงอก ผมหงอกยิ่งขึ้น

ยิ่งถอนผมหงอก ผมหงอกยิ่งขึ้น

          ได้ยินคนพูดกันมานานว่า "อย่าถอนผมหงอกบ่อย ๆ ยิ่งถอนจะยิ่งขึ้นเยอะกว่าเดิม" แต่คำกล่าวนี้ "ไม่เป็นความจริง" เนื่องจากผมหงอกก็คือเส้นผมที่เกิดจากรากผมส่วนนั้นผลิตเม็ดสีเมลานินน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น ทำให้เส้นผมกลายเป็นสีเทาหรือสีขาว เมื่อถอนผมหงอกเส้นนั้นออกไปแล้ว เส้นผมที่ขึ้นมาใหม่จากรากผมเดิมก็จะยังเป็นสีเทาหรือขาว แต่ไม่ได้ส่งผลให้เส้นผมในบริเวณอื่นเป็นสีขาวไปด้วย 

          ส่วนที่หลายคนเข้าใจว่า ยิ่งถอนผมหงอก ผมหงอกยิ่งเพิ่มจำนวน อาจเป็นเพราะเมื่ออายุมากขึ้น รากผมเส้นอื่น ๆ ผลิตเม็ดสีเมลานินได้น้อยลงเช่นกัน เส้นผมที่ขึ้นมาใหม่จึงกลายเป็นสีเทาหรือสีขาว เลยดูเหมือนว่ามีผมหงอกเพิ่มขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การถอนผมบ่อย ๆ มีส่วนทำให้อายุขัยของรากผมสั้นลง นำไปสู่ปัญหารากผมอ่อนแอ ผมร่วง ผมบาง ดังนั้น จึงควรดูแลเส้นผมให้แข็งแรงด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารช่วยบำรุงเส้นผม อย่างเช่น
  • ไบโอติน หรือวิตามินบี 7 : เป็นสารอาหารที่พบมากในไข่แดง เนื้อสัตว์ ปลาแซลมอน ถั่วเปลือกแข็ง อะโวคาโด ฯลฯ มีส่วนช่วยในการสร้างเคราตินให้เส้นผมแข็งแรงขึ้น ลดการหลุดร่วง  
     
  • ซิงก์ หรือสังกะสี : มีส่วนช่วยกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผม เพิ่มความแข็งแรงและป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผม มักพบในเนื้อสัตว์ หอยนางรม หอยแมลงภู่ เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ผักโขม
     
  • กรดอะมิโนแอล-ซิสทีน (L-Cystine) : เป็นกรดอะมิโนที่พบในเนื้อสัตว์ ไข่แดง หอยนางรม นม ถั่วเหลือง เป็นต้น ซึ่งมีงานวิจัยรองรับว่า เมื่อรับประทานกรดอะมิโนแอล-ซิสทีน ปริมาณ 1,000 มิลลิกรัม เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สามารถช่วยลดผมขาดหลุดร่วงได้ 40% และกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผมได้อย่างมีนัยสำคัญ (1) 

2. เล็บ : รอยขาวบนโคนเล็บที่ดูคล้ายพระจันทร์เสี้ยวเป็นสัญญาณบอกโรคร้าย

เล็บบอกโรค

          เรื่องนี้ "ไม่จริง" อีกเช่นกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า รอยขาวครึ่งวงกลมคล้ายพระจันทร์เสี้ยวที่ปรากฏบนโคนเล็บ หรือที่เรียกว่า Lunula เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเซลล์เล็บที่พบได้ทุกคน ไม่ได้เกิดจากการเป็นโรค และไม่ได้บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพใด ๆ 

          ทั้งนี้ เล็บที่มีสุขภาพดีต้องมีสีชมพูจาง ๆ จากสีผิวของเนื้อข้างใต้เล็บ เล็บมีความหนาพอสมควร พื้นผิวเรียบ ผิวหนังรอบเล็บแข็งแรง ทว่าหากใครสังเกตเห็นว่า เล็บของตัวเองเปราะและแตกง่าย เป็นร่อง มีรอยขีดข่วน สีซีด อาจเกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด ควรเติมวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงเล็บให้กับร่างกาย อาทิ

  • ไบโอติน หรือวิตามินบี 7 : มีส่วนช่วยเสริมสร้างให้เซลล์เล็บแข็งแรงขึ้น หารับประทานได้จากอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ ไข่แดง นม ปลาแซลมอน อะโวคาโด 
     
  • ซิงก์ หรือสังกะสี : มีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์ใหม่ให้เล็บเจริญเติบโตได้ดีขึ้น จึงควรเติมซิงก์ให้ร่างกายด้วยการรับประทานเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว และเมล็ดพืชต่าง ๆ
     
  • ธาตุเหล็ก : เป็นแร่ธาตุที่ช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่จะนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงเล็บ พบมากในอาหารประเภทเนื้อแดง ไข่แดง ผักใบเขียวเข้ม

3. ดวงตา : กินผักบุ้งช่วยบำรุงสายตา

กินผักบุ้งช่วยบำรุงสายตา

          "กินผักบุ้งช่วยให้สายตาดี"... ต้องบอกว่าความเชื่อนี้ก็ "ไม่ถูกต้อง" ถึงแม้ผักบุ้งจะมีวิตามินเอสูง แต่วิตามินเอนั้นไม่ได้ช่วยให้สายตาสั้นหรือสายตายาวกลับมาดีขึ้น เพราะปัญหาเรื่องสายตาเกิดจากความไม่สมดุลของโครงสร้างของลูกตาที่เป็นปัจจัยสำคัญ

          อย่างไรก็ดี วิตามินเอเป็นหนึ่งในสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของจอประสาทตาที่มีผลต่อการมองเห็นภาพชัด ทว่าจอประสาทตาจะนำวิตามินเอไปใช้ในสัดส่วนที่ไม่มาก และร่างกายของเราได้รับวิตามินเอจากอาหารหลายชนิดอยู่แล้ว หากร่างกายได้รับวิตามินเอเกินความต้องการก็จะขับส่วนเกินออกมาตามกลไกปกติ เท่ากับว่าการรับประทานผักบุ้งมาก ๆ อาจไม่ได้มีผลต่อดวงตามากอย่างที่คิด ในกรณีที่ต้องการดูแลสุขภาพดวงตาจึงควรเลือกรับประทานสารอาหารที่หลากหลาย อย่างเช่น

  • ลูทีนและซีแซนทิน : สารสำคัญที่พบในจอประสาทตา โดยช่วยในการโฟกัสภาพ มีส่วนช่วยกรองแสงสีน้ำเงินที่ทำร้ายดวงตา และมีส่วนช่วยชะลอการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม พบมากในไข่แดง ผักโขม ผักคะน้า ฟักทอง และข้าวโพด
     
  • บิลเบอร์รี : ผลไม้สีม่วงลูกเล็ก ๆ ชนิดนี้มีสารสำคัญ คือ แอนโทไซยานิน สารต้านอนุมูลอิสระที่ส่งเสริมสุขภาพของดวงตา ลดอาการอ่อนของดวงตา และยังมีงานวิจัยพบว่า แอนโทไซยานินที่สกัดจากบิลเบอร์รีมีส่วนช่วยป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตา (2)

4. สมอง : สมองซีกซ้ายควบคุมด้านเหตุผล สมองซีกขวาควบคุมด้านอารมณ์และความคิดสร้างสรรค์

สมองซีกซ้ายควบคุมด้านเหตุผล สมองซีกขวาควบคุมด้านอารมณ์และความคิดสร้างสรรค์

          ความเชื่อที่ว่า มนุษย์ถนัดสมองซีกใดซีกหนึ่ง อย่างคนเก่งเลข เก่งภาษา ถนัดใช้สมองซีกซ้าย ส่วนคนเก่งศิลปะ ดนตรี แสดงว่าถนัดใช้สมองซีกขวา "ไม่เป็นความจริง" อย่างที่เข้าใจกัน 

          แม้มีทฤษฎีที่บอกว่า สมองซีกซ้ายควบคุมเรื่องการใช้ตรรกะเหตุผล การคิดคำนวณ การใช้ภาษา ส่วนสมองซีกขวาควบคุมเรื่องความคิดสร้างสรรค์ การใช้จินตนาการ การแสดงอารมณ์ แต่จากการศึกษาในปัจจุบันกลับไม่พบหลักฐานว่าสมองซีกซ้ายหรือซีกขวาทำงานเด่นกว่ากันในขณะที่ทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เพราะในความเป็นจริงแล้วสมองไม่ได้แยกทำงานทีละซีก แต่ทำงานร่วมกันและเชื่อมต่อกันผ่านเส้นใยประสาทอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ไม่ว่าจะคิดเลขหรือวาดภาพ สมองจะทำงานทั้งสองซีก เพื่อให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

          ทั้งนี้ เราสามารถเพิ่มพลังให้สมองทำงานได้อย่างราบรื่นขึ้นด้วยการฝึกสมาธิ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง เล่นเกมที่ช่วยกระตุ้นความคิด รวมทั้งเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบประสาทและสมอง ไม่ว่าจะเป็น…

  • วิตามินบี 1 : พบมากในเนื้อหมู ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ นมถั่วเหลือง ถั่ว งา เป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ หากได้รับไม่เพียงพออาจมีอาการปวดศีรษะ หงุดหงิดง่าย  
     
  • วิตามินบี 12 : ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง ถ้าร่างกายขาดวิตามินบี 12 จะมีอาการเหนื่อยล้าผิดปกติ จึงควรรับประทานเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และผลิตภัณฑ์จากนม เพื่อเติมวิตามินให้ร่างกาย
     
  • ทอรีน : เป็นกรดอะมิโนที่พบมากในสมอง จึงช่วยเรื่องการทำงานของระบบประสาทและสมอง แม้ร่างกายสามารถสร้างทอรีนได้เอง แต่ปริมาณการสร้างจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยล้า ขาดพลัง การรับประทานเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และผลิตภัณฑ์จากนม จะช่วยเติมทอรีนให้กับร่างกาย 

5. กระดูก : โรคกระดูกพรุนเป็นโรคของผู้สูงอายุ

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคของคนแก่

          โรคกระดูกพรุนพบบ่อยในผู้สูงอายุก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าโรคนี้จะเกิดขึ้นกับวัยอื่น ๆ ไม่ได้ นี่จึงเป็น "ความเชื่อที่ผิด"

          โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่กระดูกเปราะและหักง่ายกว่าปกติ เนื่องจากกระดูกสูญเสียความหนาแน่นและความแข็งแรง สาเหตุหลักมาจากการที่กระบวนการสลายตัวของกระดูกเกิดขึ้นเร็วกว่ากระบวนการสร้างกระดูกใหม่ ทำให้มวลกระดูกและความหนาแน่นของกระดูกลดลงเรื่อย ๆ แต่โรคนี้เกิดขึ้นได้แม้อยู่ในวัยหนุ่มสาว หากมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ รวมถึงมีพฤติกรรมการใช้ร่างกายที่ส่งผลเสียต่อกระดูกและข้อ เช่น นั่งไขว่ห้าง ยกของหนัก ล้วนเป็นปัจจัยเร่งให้กระดูกพรุนและข้อเสื่อมได้เร็วขึ้น 

          อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพตั้งแต่อายุยังน้อย ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำร้ายกระดูก และได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพกระดูก สามารถช่วยชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ โดยสารอาหารที่ควรรับประทาน ได้แก่

  • แคลเซียมและฟอสฟอรัส : เป็นส่วนประกอบหลักในการสร้างเนื้อเยื่อกระดูก ทำให้กระดูกมีความแข็งแรงทนทาน ซึ่งควรรับประทานแคลเซียมและฟอสฟอรัสในอัตราส่วน 2:1 เพื่อลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน (3) สามารถเติมแคลเซียมให้ร่างกายได้จากผลิตภัณฑ์นม ผักใบเขียวเข้ม ปลาเล็กปลาน้อย ในขณะที่ฟอสฟอรัสจะพบมากในเนื้อสัตว์ ปลา ไข่แดง ถั่ว และธัญพืช
     
  • วิตามินดี 3 : พบมากในปลาทะเล ตับ ไข่แดง นม เนย เป็นต้น เป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหารเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น และมีงานวิจัยในปี 2022 พบว่า ผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารเสริมวิตามินดี 3 และแคลเซียมเสริมทุกวัน มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหากระดูกสะโพกและกระดูกนอกกระดูกสันหลังหักลดลง (4)  
     
  • วิตามินเค 2 : มีบทบาทในการนำแคลเซียมที่ดูดซึมได้ไปสะสมที่เนื้อเยื่อกระดูก ช่วยให้กระดูกหนาแน่นแข็งแรงมากขึ้น จึงมีส่วนช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน อย่างไรก็ตาม สารอาหารชนิดนี้ส่วนใหญ่จะพบในอาหารหมักดอง เช่น นัตโตะ มิโสะ หรือชีสบางชนิด


          นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า การรับประทานแคลเซียม ร่วมกับวิตามินดี 3 และวิตามิน เค 2 สามารถเพิ่มความหนาแน่นมวลกระดูกในผู้หญิงอายุ 50-75 ปี ได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อรับประทานต่อเนื่อง 1 ปี (5)    

6. ระบบภูมิคุ้มกัน : ฝนตกหรืออากาศเย็นทำให้เป็นหวัด

ฝนตกหรืออากาศเย็นทำให้เป็นหวัด

          ฝนตกหรืออากาศเย็น "ไม่ใช่สาเหตุโดยตรง" ของเรื่องนี้ เพราะโรคหวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจส่วนบน และภูมิคุ้มกันของร่างกายในขณะนั้นอ่อนแอไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ จึงมีอาการเจ็บป่วย อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศที่ชื้นและเย็นอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพทางเดินหายใจในทางอ้อม เนื่องจากเอื้อให้ไวรัสเจริญเติบโตได้ดีและแพร่กระจายได้ง่ายขึ้น 

          อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิต่ำ หลอดเลือดจะหดตัวเพื่อกักเก็บความร้อนให้ร่างกาย ส่งผลให้เลือดไหลเวียนช้าลง การเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาวไปยังบริเวณที่ติดเชื้อก็ช้าลงตามไปด้วย เมื่อระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองช้า เราจึงมีโอกาสเป็นหวัดได้ง่ายขึ้น ดังนั้น สิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นหวัดท่ามกลางสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงก็คือ การดูแลระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงอย่างการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะการรับประทานสารอาหารที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดขาวที่คอยกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ดังเช่นวิตามินเหล่านี้

  • วิตามินซี : มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดที่กำจัดเชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อไวรัส และเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดที่คอยกำจัดเชื้อโรคในเนื้อเยื่อของร่างกายโดยตรง อีกทั้งช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคจากเชื้อไวรัส เราสามารถรับวิตามินซีได้จากผักใบเขียว เช่น คะน้า บรอกโคลี และผลไม้อย่างส้ม สตรอว์เบอร์รี ฝรั่ง มะขามป้อม เป็นต้น
     
  • วิตามินดี 3 : มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวหรือเซลล์ภูมิคุ้มกัน เพื่อกำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย โดยแหล่งที่พบวิตามินดี 3 ได้แก่ ปลาทะเล ไข่แดง น้ำมันตับปลา รวมถึงการสัมผัสแสงแดดอ่อน ๆ ในช่วงเช้าประมาณ 15-20 นาที
     
  • ซิงก์ หรือสังกะสี : เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยมีส่วนช่วยเสริมสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวที่คอยกำจัดเชื้อโรค และยังมีรายงานข้อมูลการทดลองทางคลินิกสนับสนุนว่า สังกะสีมีส่วนช่วยลดระยะเวลาและความรุนแรงของอาการไข้หวัด เมื่อรับประทานสังกะสีภายใน 24 ชั่วโมง หลังเริ่มมีอาการหวัด (6) ซึ่งแหล่งอาหารที่มีปริมาณสังกะสีสูง ได้แก่ หอยนางรม ปู กุ้ง ปลา  


          ทั้งนี้ ยังมีอีกหนึ่งการศึกษาที่พบว่า การรับประทานวิตามินซี ร่วมกับวิตามินดี และซิงก์ มีส่วนช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ดีขึ้น อีกทั้งช่วยลดระยะเวลาและความรุนแรงของอาการเป็นหวัด (7) 

เคล็ดลับเพิ่มการใส่ใจสุขภาพได้ง่าย ๆ ทุกวัน 

          เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เราสามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้หลากหลายชนิดดังที่กล่าวมา หรืออีกหนึ่งทางเลือกที่สอดคล้องกับเทรนด์คนยุคใหม่ที่ใส่ใจตัวเองมากขึ้น นั่นก็คือ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยเติมเต็มความต้องการของร่างกาย อย่างที่บริษัท อินโนบิก นูทริชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของอินโนบิก เอเซีย ภายใต้กลุ่ม ปตท. ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 5 สูตร ดังนี้
innobic nutrition

อินโนบิก ซิงค์ ไบโอติน พลัส

          เป็นสูตรที่มีส่วนประกอบของไบโอติน 900 ไมโครกรัม ซึ่งมีส่วนช่วยคงสภาพปกติของเส้นผม, สังกะสี 55 มิลลิกรัม ที่มีส่วนช่วยคงสภาพปกติของเส้นผมและเล็บ พร้อมกับกรดอะมิโนแอล-ซิสทีน (L-Cystine) 650 มิลลิกรัม ร่วมกับสารสกัดจากหญ้าหางม้า ซีลีเนียม คอปเปอร์ และวิตามินบี 3 บี 6 บี 8 

อินโนบิก ลูทีน สารสกัดบิลเบอร์รี พลัส

          ประกอบด้วยสูตรที่มีอัตราส่วนลูทีนและซีแซนทิน 5:1 (ลูทีน 6 มิลลิกรัม : ซีแซนทิน 1.2 มิลลิกรัม) และยังมีวิตามินเอ ที่มีส่วนช่วยในการคงสภาพปกติของการมองเห็น รวมทั้งวิตามินอี ทองแดง และซีลีเนียม ที่มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ 

อินโนบิก มัลติ-บี อะมิโน พลัส

          ประกอบด้วยวิตามินบี 12 ปริมาณ 600 ไมโครกรัม ซึ่งมีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของระบบประสาทและสมอง พร้อมทั้งวิตามินบีรวม 7 ชนิด คือ วิตามินบี 1, บี 2, บี 3, บี 5, บี 6, บี 7 และบี 9 ที่มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์กรดอะมิโนตามปกติ เสริมด้วยทอรีนและกรดอะมิโนจำเป็น 6 ชนิด

อินโนบิก แคลเซียม วิตามินดี 3 พลัส วิตามินเค 2

          เป็นสูตรที่มีอัตราส่วนแคลเซียมและฟอสฟอรัส 2:1 (แคลเซียม 580 มิลลิกรัม : ฟอสฟอรัส 290 มิลลิกรัม) มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง อีกทั้งยังมีวิตามินดี 3 ที่มีส่วนช่วยในการดูดซึมตามปกติของแคลเซียมและฟอสฟอรัส รวมถึงวิตามินเค 2 ที่มีส่วนช่วยคงสภาพปกติของกระดูก และสารอื่น ๆ ได้แก่ แมงกานีส โบรอน คอปเปอร์ 

อินโนบิก วิตามินซี 1000 พลัส ดี 3

          ประกอบด้วย วิตามินซี 1,000 มิลลิกรัม วิตามินดี 3 และซิงก์ ที่มีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ร่วมกับซิตรัส ไบโอฟลาโวนอยด์ 50 มิลลิกรัม ที่ช่วยในการดูดซึมวิตามินซีเข้าสู่ร่างกายได้เร็วขึ้น 
          การรับประทานอาหารหลากหลายให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลสุขภาพ ซึ่งควรทำควบคู่กับการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และเพิ่มการใส่ใจตัวเองด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี สามารถหาซื้อได้ที่ร้าน Dr.Pharma, ร้าน SAVE DRUG, ร้าน Lotus Pharmacy, ร้าน Fascino, Tops Vita, LAB Pharmacy, found.&found และร้านขายยาชั้นนำทั่วประเทศ รวมถึงช่องทางออนไลน์ Shopee, Lazada และ TikTok ทั้งนี้ ควรอ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภค

          ศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ www.innobicnutrition.co.th และเฟซบุ๊ก InnobicNutrition

 

อ้างอิงงานวิจัย
1. Journal of Cosmetology & Trichology, “Efficacy and Safety of L-Cystine Associated or not to a Natural Keratin (Kera-Diet®) Hydrolysate on Hair and Nails: Randomised, PlaceboControlled, Clinical Trial on Healthy Females”, Jun, 2019 
2. Jang YP, Zhou J, Nakanishi K, Sparrow JR. Anthocyanins protect against A2E photooxidation and membrane permeabilization in retinal pigment epithelial cells. Photochem Photobiol. 2005;81:529-536. 
3. รศ.นพ.พัชรพล อุดมเกียรติ. “กระดูกพรุน แก้ง่ายเพียงเติมแคลเซียมจริงหรือ.” คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 21 สิงหาคม 2560 
4. Manoj P, Derwin R, George S. What is the impact of daily oral supplementation of vitamin D3 (Cholecalciferol) plus calcium on the incidence of hip fracture in older people? A systematic review and meta-analysis. Int J Older People Nurs. 2023;18(1):e12492. doi:10.1111/opn.12492  
5. Springer Link, “Effect of Low-Dose Vitamin K2 Supplementation on Bone Mineral Density in Middle-Aged and Elderly Chinese: A Randomized Controlled Study” Feb 14, 2020
6. Hulisz D. Efficacy of zinc against common cold viruses: an overview. Journal of the American Pharmacists Association [internet]. 2015 [cited 2024 February 1]; 52, 594-603.  
7. Vitamins & Minerals, “Vitamins C, D and Zinc: Synergistic Roles in Immune Function and Infections”, Jan, 2017 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
6 ความเชื่อเรื่องร่างกายที่เคยได้ยิน...จริงหรือไม่จริง มาหาคำตอบกัน อัปเดตล่าสุด 20 ธันวาคม 2567 เวลา 08:32:37 1,245 อ่าน
TOP