
แนะวิธีปฐมพยาบาลและเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บในสถานการณ์ชุมนุม (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ)
สถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในสถานการณ์การชุมนุมจึงเป็นสิ่งที่ประชาชนควรศึกษาและเรียนรู้ไว้ และหากเราพบเห็นผู้บาดเจ็บจากสถานการณ์ฉุกเฉินหรือสถานการณ์การชุมนุม เราจะได้ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บให้รอดชีวิตได้อย่างทันท่วงที
สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บจากการชุมนุมนั้น นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ แนะนำว่า ผู้ที่จะเข้าให้การช่วยเหลือหรือผู้ปฐมพยาบาลเองจะต้องมีสติและไหวพริบในการช่วยเหลือ โดยประยุกต์เอาอุปกรณ์ที่มีอยู่รอบตัว อาทิ ผ้าโพกหัว ช้อนส้อม ปากกาดินสอ ผ้าพันคอ เสื้อผ้า มาใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บให้ได้มากที่สุด
โดยส่วนใหญ่ในสถานการณ์การชุมนุมนั้นจะเกิดการบาดเจ็บจากการปะทะ โดนยิง หรือโดนสะเก็ดระเบิด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้บาดเจ็บเสียเลือดมากโดยเฉพาะในบริเวณแขนขาหรือทรวงอก ดังนั้นการเรียนรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะเข้าไปให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญก่อนที่เราจะเข้าให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้บาดเจ็บนั้น เราจะต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกมาจากจุดปะทะอย่างถูกวิธี เพราะหากเราเคลื่อนย้ายอย่างผิดวิธีก็จะยิ่งทำให้ความรุนแรงของการบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้เข้าให้การช่วยเหลือจะต้องเน้นเป็นอันดับแรกในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บคือ ความปลอดภัยของตัวเราเองที่เข้าไปให้การช่วยเหลือ เมื่อเราเห็นแล้วว่าการเข้าไปให้การช่วยเหลือผู้ป่วยนั้นมีความปลอดภัยเราถึงจะดำเนินการเข้าให้การช่วยเหลือและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด เพื่อหาที่ปลอดภัยและทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยรายละเอียดของการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉินมีดังนี้
ข้อห้ามในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน




วิธีเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน



ด้าน พลตรีนายแพทย์เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ได้แนะนำถึงวิธีในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ป่วยที่มีบาดแผลอุกฉกรรจ์บริเวณลำตัวว่า เมื่อเราพบเห็นผู้บาดเจ็บที่มีบาดแผลอุกฉกรรจ์บริเวณลำตัวหรือทรวงอกไม่ว่าจะเป็นแผลจากการโดนยิงหรือแผลจากการถูกสะเก็ดระเบิด สิ่งแรกที่เราจะต้องทำคือการห้ามเลือดโดยอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นหมวก ผ้าพันคอ ผ้าขาวมา หรือผ้าต่าง ๆ เราสามารถที่จะนำมาพับให้มีขนาดกะทัดรัดหรือแน่น และให้นำผ้าเหล่านี้กดไปบริเวณที่มีบาดแผลอุกฉกรรจ์
จากนั้นค่อยห้ามเลือดโดยการใช้ผ้าที่มีลักษณะยาว เช่น แจ็คเก็ตบาง ๆ รัดไว้ให้แน่นเพื่อที่จะทำให้เลือดหยุดไหล ในกรณีที่ผู้ป่วยมีบาดแผลบริเวณหน้าอกไม่ว่าจะเป็นการโดนยิงหรือถูกสะเก็ดระเบิด และหากผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเหนื่อยและการหายใจเหมือนมีลมเข้าออกจะต้องใช้แผ่นพลาสติกปิดไว้ก่อนเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ลมออก

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น สำหรับผู้บาดเจ็บที่ถูกยิงหรือถูกสะเก็ดระเบิดและมีบาดแผลที่บริเวณหน้าอก



ทั้งนี้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้ทีเกี่ยวข้องกับการชุมนุมทุกฝ่าย และประชาชนทั่วไปที่พบเห็นผู้บาดเจ็บสามารถนำไปปฏิบัติได้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะต้องส่งต่อผู้ป่วยให้ถึงมือของเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อนำผู้บาดเจ็บไปรักษาอย่างทันท่วงทีด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ