ผักเพื่อสุขภาพ อุดมด้วยไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุมากมาย แต่รู้หรือไม่ว่า ผักที่มีกลิ่นฉุนบางชนิดอาจทำให้เกิดกลิ่นตัวได้หลังจากกินเข้าไป ผักที่มีกลิ่นฉุน ส่วนใหญ่จะมีสารประกอบบางอย่าง เช่น กำมะถัน หรือที่เรียกว่า ซัลเฟอร์ เมื่อร่างกายของเราย่อยสลาย สารเหล่านั้นจะถูกขับออกมาทางเหงื่อ ปัสสาวะ และลมหายใจ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้กลิ่นตัวเปลี่ยนไปเป็นกลิ่นฉุน กลิ่นเปรี้ยว หรือกลิ่นคล้ายกำมะถันได้ และหากไม่อยากมีกลิ่นตัวเหม็นเฉ่า ๆ ลองเช็กเลยว่ามีผักอะไรบ้างที่กินแล้วสร้างเรื่องกลิ่นตัว ผักเหม็นที่ส่งกลิ่นตั้งแต่ยังไม่ได้กินเลย และจัดเป็นผักที่ทำให้มีกลิ่นตัวได้ เช่น เรดิช เป็นผักในวงศ์เดียวกับกะหล่ำ แต่มักจะถูกฝานบาง ๆ มาใส่ในสลัดผัก หรือถูกนำไปทำเป็นผักดองและกิมจิ ซึ่งเมื่อกินเข้าไปก็จะได้กำมะถันในผักชนิดนี้ และหากกินในปริมาณมาก ๆ ก็ส่งผลให้เกิดกลิ่นตัวได้เช่นกัน หัวหอม ไม่ว่าจะหอมแดงหรือหอมใหญ่ก็มีสารกำมะถันคล้ายกับกระเทียม เมื่อย่อยแล้วจะส่งผลต่อกลิ่นปากและกลิ่นตัวได้เช่นกัน นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยจากหัวหอมยังสามารถซึมออกทางลมหายใจและเหงื่อได้ ทำให้บางคนรู้สึกว่าตัวเองมีกลิ่นตัวแรงขึ้นหลังกินหัวหอม กระถินเป็นผักพื้นบ้านอีกชนิดที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงและมีใยอาหารดีต่อสุขภาพ แต่กลิ่นเฉพาะตัวของกระถินอาจทำให้บางคนรู้สึกว่ามีกลิ่นตัวหรือกลิ่นปากเปลี่ยนแปลงชั่วคราว โดยเฉพาะเมื่อกินกระถินสดในปริมาณมาก หรือกินกระถินร่วมกับเมนูกลิ่นแรง เช่น น้ำพริกกะปิ เป็นต้น อีกหนึ่งผักกลิ่นแรงในตำนานที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้ เพราะหลังกินผักกระเฉดเข้าไปหลายคนก็จะมีกลิ่นเหม็นเขียวของกระเฉดติดปากและลมหายใจไปอีกสักพัก เนื่องจากผักชนิดนี้ก็มีกำมะถันค่อนข้างสูง บวกกับสารให้กลิ่นเฉพาะตัวที่อาจตามไปหลอกหลอนตอนขับถ่าย ! กุยช่ายเป็นผักที่มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัวอีกชนิดหนึ่งที่เรามักจะกินในปริมาณมาก โดยเฉพาะคนที่ชอบกินขนมกุยช่าย และคงเคยมีประสบการณ์กลิ่นกุยช่ายติดปาก แม้จะบ้วนปากหรือแปรงฟันก็ไม่ค่อยจะจางหาย อีกทั้งยังอาจได้กลิ่นเหม็นเขียวออกมาทางลมหายใจหรือกลิ่นเหงื่อได้ด้วย ผักกลิ่นแรงอีกหนึ่งชนิดที่มักนำไปประกอบอาหารที่ต้องการดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะกลิ่นคาวปลา อย่างเมนูปลาผัดขึ้นฉ่าย เป็นต้น ซึ่งหากกินขึ้นฉ่ายเข้าไปก็อาจเพิ่มโอกาสมีกลิ่นปาก กลิ่นตัว หรือกลิ่นเหม็นเขียวติดมือได้ ถ้ากังวลเรื่องกลิ่นตัว กลิ่นปาก หลังกินผักกลิ่นแรงเข้าไป เราก็พอมีวิธีช่วยลดกลิ่นเหม็นฉุนลงไปได้บ้าง เช่น ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ : การดื่มน้ำจะช่วยชะล้างเศษอาหารและน้ำลายในปาก ทำให้ปากชุ่มชื้น ช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย แปรงฟันและบ้วนปากทันที : ควรขูดลิ้นและใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วยก็จะยิ่งกำจัดเศษผักที่ติดอยู่ตามซอกฟันได้ พร้อมกับใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่น เคี้ยวหมากฝรั่ง : การเคี้ยวหมากฝรั่งที่ปราศจากน้ำตาลจะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลาย ซึ่งช่วยชะล้างกลิ่นและแบคทีเรียในช่องปากได้อีกทาง กินผลไม้หรือผักที่มีกากใยสูง : เช่น แอปเปิล ฝรั่ง แตงกวา ให้น้ำและไฟเบอร์ในผัก-ผลไม้เหล่านี้ช่วยล้างปาก ทำความสะอาดเศษอาหารที่ติดค้างในซอกฟันไปในตัว ดื่มนมหรือชาเขียว : เพื่อช่วยกำจัดกลิ่นของกระเทียมที่ติดอยู่ในปาก เราสามารถดื่มนมสด หรือชาเขียวที่มีสารคาเทชิน ช่วยลดกลิ่นกระเทียมได้ แม้ว่าผักเหล่านี้อาจทำให้มีกลิ่นตัวบ้าง แต่ก็เป็นผักที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไม่น้อย ดังนั้นก็ปล่อยใจจอย ๆ และเอร็ดอร่อยกับผักกลิ่นฉุนบ้างในบางโอกาส แล้วค่อยเพิ่มความใส่ใจในสุขอนามัยหลังกินผักที่มีกลิ่นฉุนเข้าไปสักหน่อยก็ได้แล้ว 5 ผักที่กินแล้วตัวหอม เช็กเลยผักเพื่อสุขภาพชนิดไหน กินแล้วให้ประโยชน์นี้ได้ 7 ผักที่ควรกินสุกมากกว่ากินดิบ ปลดล็อกสารอาหารดี ๆ ที่ซ่อนอยู่ 12 ผักรักษาโรค สรรพคุณโชกโชนทุกชนิด 10 ผักคาร์บน้อย แป้งต่ำ เป็นผักเพื่อสุขภาพที่ลดน้ำหนักก็กินดี คุมน้ำตาลในเลือดก็กินได้ 5 ผักที่มีธาตุเหล็กสูง เป็นผักบำรุงเลือด เพื่อสุขภาพ ขอบคุณข้อมูลจาก : ฉลาดซื้อ, disthai, healthline.com (1), (2), health.harvard.edu, britannica.com, verywellhealth.com
แสดงความคิดเห็น