
ผักที่มีกลิ่นฉุน ส่วนใหญ่จะมีสารประกอบบางอย่าง เช่น กำมะถัน หรือที่เรียกว่า ซัลเฟอร์ เมื่อร่างกายของเราย่อยสลาย สารเหล่านั้นจะถูกขับออกมาทางเหงื่อ ปัสสาวะ และลมหายใจ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้กลิ่นตัวเปลี่ยนไปเป็นกลิ่นฉุน กลิ่นเปรี้ยว หรือกลิ่นคล้ายกำมะถันได้ และหากไม่อยากมีกลิ่นตัวเหม็นเฉ่า ๆ ลองเช็กเลยว่ามีผักอะไรบ้างที่กินแล้วสร้างเรื่องกลิ่นตัว
ผักที่มีกลิ่นฉุน กินแล้วมีกลิ่นตัว
ผักเหม็นที่ส่งกลิ่นตั้งแต่ยังไม่ได้กินเลย และจัดเป็นผักที่ทำให้มีกลิ่นตัวได้ เช่น
1. ผักตระกูลกะหล่ำ

ทั้งกะหล่ำปลี บรอกโคลี กะหล่ำดอก คะน้า และหัวไชเท้า เป็นกลุ่มผักที่มีกำมะถันสูง โดยสารประกอบกำมะถันเหล่านี้เมื่อถูกย่อยสลายในร่างกายจะเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่มีกลิ่นฉุนคล้ายไข่เน่า ซึ่งจะถูกขับออกทางเหงื่อและลมหายใจ ทำให้เกิดกลิ่นตัวหรือกลิ่นปากได้
ประโยชน์กะหล่ำปลี ผักดีต้องกิน กับคุณค่าทางโภชนาการอันยอดเยี่ยม
2. หัวไชเท้าฝรั่ง (Radish)

3. หน่อไม้ฝรั่ง

หน่อไม้ฝรั่งเป็นอีกหนึ่งผักที่หลายคนสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของกลิ่นหลังจากรับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลิ่นปัสสาวะที่ฉุนขึ้น ซึ่งก็เป็นเพราะกรดในหน่อไม้ฝรั่งผลิตสารกำมะถันในปริมาณมาก ทำให้ปัสสาวะมีกลิ่นเหมือนก๊าซไข่เน่า ฉุนจัด และกลิ่นมักจะเกิดขึ้นหลังกินหน่อไม้ฝรั่งได้เพียง 15-30 นาที สามารถติดทนในร่างกายได้นานที่สุดถึง 35 ชั่วโมงเลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายแต่ละคนด้วยนะคะ
4. กระเทียม

กระเทียมมีสารสำคัญชื่อ (allicin) ที่เมื่อถูกย่อยสลายจะปล่อยสารกำมะถันออกมา ทำให้เกิดกลิ่นปากและกลิ่นตัวได้ชัดเจน โดยกลิ่นอาจติดนานหลายชั่วโมงหรือทั้งวัน แต่กระเทียมก็เป็นสมุนไพรที่ช่วยต้านเชื้อโรคและลดไขมันได้ดีเช่นกัน
5. หัวหอม

6. พริก

แม้กลิ่นพริกจะไม่ได้เหม็นชัดเจน แต่อาจเป็นอีกหนึ่งตัวการที่ทำให้กลิ่นตัวเปลี่ยนไปได้ เพราะสารแคปไซซิน (Capsaicin) ในพริกจะกระตุ้นต่อมเหงื่อให้ทำงานมากขึ้น ซึ่งเมื่อเหงื่อออกมาก ผสมกับเชื้อแบคทีเรียที่อยู่บนร่างกายของเรา ก็อาจทำให้มีกลิ่นตัวที่แรงขึ้นตามไปด้วย
7. สะตอ

สะตอ เป็นผักที่มีกลิ่นแรงที่สุดชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีสารโพลีซัลไฟด์ (polysulfides) และสารกำมะถันอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดกลิ่นติดปาก ติดตัว และออกทางปัสสาวะหรือเหงื่อได้ง่าย กลิ่นของสะตออาจคงอยู่ได้นานหลายชั่วโมงเลยด้วย แต่การกินมะเขือเปราะ 2-3 ลูก หลังกินสะตอยังพอช่วยลดกลิ่นปากได้บางส่วน
8. ชะอม

ชะอมเป็นผักพื้นบ้านไทยที่มีไฟเบอร์สูง ช่วยขับลมได้ดี แต่กลิ่นของชะอมที่มาจากสารซัลไฟด์และน้ำมันหอมระเหยเฉพาะตัวก็เป็นกลิ่นฉุนที่เด่นชัดมาก และกลิ่นนี้อาจติดปาก ติดตัว แถมหลังจากกระบวนการย่อยก็อาจยังได้กลิ่นชะอมไปยันปัสสาวะและอุจจาระเลยด้วยซ้ำ
9. กระถิน

10. กระเฉด

11. กุยช่าย

12. ขึ้นฉ่าย

13. ผักชี

บางคนไม่กินผักชีเลยเพราะไม่ชอบกลิ่นเหม็นเขียวจัด ๆ ของผักชนิดนี้ สาเหตุมาจากในผักชีมีสารประกอบกลุ่มอัลดีไฮด์ (Aldehydes) ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งได้กลิ่นแล้วรู้สึกสดชื่น ทว่าคนอีกกลุ่มกลับรู้สึกฉุนเหมือนได้กลิ่นคล้ายสบู่ ขึ้นอยู่กับยีนในเซลล์รับประสาทของแต่ละคนนั่นเอง อย่างไรก็ตาม กลิ่นที่ว่านี่แหละที่อาจทำให้คนกินผักชีมีกลิ่นปากหรือกลิ่นตัวจากน้ำมันหอมระเหยในใบผักชีที่ร่างกายจะขับถ่ายออกมาทางเหงื่อและปัสสาวะ
วิธีลดกลิ่นตัว หลังกินผักมีกลิ่นฉุน
ถ้ากังวลเรื่องกลิ่นตัว กลิ่นปาก หลังกินผักกลิ่นแรงเข้าไป เราก็พอมีวิธีช่วยลดกลิ่นเหม็นฉุนลงไปได้บ้าง เช่น
-
ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ : การดื่มน้ำจะช่วยชะล้างเศษอาหารและน้ำลายในปาก ทำให้ปากชุ่มชื้น ช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย
-
แปรงฟันและบ้วนปากทันที : ควรขูดลิ้นและใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วยก็จะยิ่งกำจัดเศษผักที่ติดอยู่ตามซอกฟันได้ พร้อมกับใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่น
-
เคี้ยวหมากฝรั่ง : การเคี้ยวหมากฝรั่งที่ปราศจากน้ำตาลจะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลาย ซึ่งช่วยชะล้างกลิ่นและแบคทีเรียในช่องปากได้อีกทาง
-
กินผลไม้หรือผักที่มีกากใยสูง : เช่น แอปเปิล ฝรั่ง แตงกวา ให้น้ำและไฟเบอร์ในผัก-ผลไม้เหล่านี้ช่วยล้างปาก ทำความสะอาดเศษอาหารที่ติดค้างในซอกฟันไปในตัว
- ดื่มนมหรือชาเขียว : เพื่อช่วยกำจัดกลิ่นของกระเทียมที่ติดอยู่ในปาก เราสามารถดื่มนมสด หรือชาเขียวที่มีสารคาเทชิน ช่วยลดกลิ่นกระเทียมได้
บทความที่เกี่ยวข้องกับผักเพื่อสุขภาพ
- 5 ผักที่กินแล้วตัวหอม เช็กเลยผักเพื่อสุขภาพชนิดไหน กินแล้วให้ประโยชน์นี้ได้
- 7 ผักที่ควรกินสุกมากกว่ากินดิบ ปลดล็อกสารอาหารดี ๆ ที่ซ่อนอยู่
- 12 ผักรักษาโรค สรรพคุณโชกโชนทุกชนิด
- 10 ผักคาร์บน้อย แป้งต่ำ เป็นผักเพื่อสุขภาพที่ลดน้ำหนักก็กินดี คุมน้ำตาลในเลือดก็กินได้
- 5 ผักที่มีธาตุเหล็กสูง เป็นผักบำรุงเลือด เพื่อสุขภาพ