กานพลู สมุนไพรช่วยฆ่าเชื้อ แก้ปัญหาท้องไส้

กานพลู

กานพลู ฆ่าเชื้อ แก้ท้องเสีย ท้องอืดเฟ้อ ช่วยย่อย (ไทยโพสต์)

          กานพลู สมุนไพรที่มีส่วนช่วยฆ่าเชื้อ แก้ปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แถมยังแก้ปวดฟัน ว่าแล้วก็ไปรู้จักสมุนไพรชนิดนี้กันสักหน่อย

          กานพลูเป็นพืชสมุนไพรกลุ่มเครื่องเทศที่มีการบันทึกการใช้ประโยชน์มายาวนานตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ เป็นหนึ่งในเครื่องยาที่ใช้ทำมัมมี่ เป็นหนึ่งในเครื่องเทศที่ทรงอิทธิพลในยุคของการล่าอาณานิคม คนเอเชียใช้การพลูปรุงยารักษาโรค ชาติตะวันตกยังใช้ในเรื่องการแต่งกลิ่นอาหารและเครื่องสำอางมากมาย

          กานพลู หรือ Clove หรือคนภาคเหนือเรียก จันจี่ วงศ์ MYRTACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์ Eugenia caryophyllus  Bullock&Harrison. เป็นพืชที่ชอบอากาศชื้น เป็นพืชพื้นเมืองของฟิลิปินส์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ส่วนที่ใช้เป็นยาคือดอกตูมที่แก่จัด หมอยาจะเก็บดอกช่วงนี้มาตากแห้งเก็บไว้ใช้ ดอกกานพลูที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปมักเป็นดอกที่มีการกลั่นเอาน้ำมันหอมระเหยออกไปก่อนแล้ว    

ในบันทึกตำราสรรพคุณสมุนไพรยังกล่าวถึงสรรพคุณส่วนอื่น คือ

          เถา แก้หืด

          เปลือกต้น แก้ปวดท้อง แก้ลม  คุมธาตุ

          ใบ แก้สะอึก แก้ปวดมวน ดอก แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย แก้ท้องขึ้น ขับลมในลำไส้ แก้ลม แก้เหน็บชา แก้พิษเลือด น้ำเหลืองและน้ำคาวปลา แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ  ฟอกโลหิต ขับเสมหะ แก้อุจจาระให้ปกติ แก้รัตตะปิตตะโรค แก้หืด กระทำให้อาหารงวด แก้ไอ ระงับกระตุก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน ดับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด กระจายลม กระจายเสมหะอันข้น
   
          น้ำมัน ขับลม แก้ท้องขึ้น แก้ปวดท้อง ท้องร่วง แก้ไอ  ฆ่าเชื้อโรค แก้ชาปลายมือปลายเท้า แก้โรคลมระงับปวด  ระงับอาการปวดฟัน ทำให้ผิวหนังชา ระงับกระตุก
 
          ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปากเหม็น ดับกลิ่นสุรา แก้เสมหะอันข้น แก้เสมหะอันเกิดในโลหิตและดี แก้รัตตะปิตตะโรค กระทำให้อาหารงวด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร ลดอาการเกร็งของระบบทางเดินอาหาร แก้ปวดหัว แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดตามข้อรูมาติสม์  แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ เจริญไฟธาตุ บำรุงธาตุ รักษาดีซ่าน แก้หืด แก้ลม แก้ปวดท้อง แก้เหน็บชา ทำให้อุจจาระเป็นปกติ แก้พิษเลือด แก้พิษน้ำเหลือง ขับน้ำคาวปลา แก้มวนในลำไส้ แก้มวนในลำไส้

กานพลู
   
          ข้อมูลฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่ากานพลูมีสารยูจีนอล (eugenol) ที่มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ ช่วยลดการอักเสบและฆ่าเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุอาการแน่นจุกเสียด มีฤทธิ์ขับลม มีฤทธิ์ช่วยขับน้ำดีจึงช่วยย่อย ลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยลดอาการปวดเกร็ง 
   
          ชาวจีนใช้อมรักษากลิ่นปากและแก้ปวดฟัน แก้ท้องเสีย ช่วยย่อย รักษาเชื้อราที่เท้ามานานนับพันปี ส่วนชาวอินเดียใช้เป็นยาขับลม ช่วยย่อย และรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจ ปัจจุบันได้มีการนำน้ำมันหอมระเหยกานพลูใช้ในส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปาก ทั้งยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก และใช้เป็นยาชาแก้ปวดฟัน และยังมีการวิจัยพบว่ากานพลูมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง  ปกป้องตับจากสารอะฟลาทอกซิน และยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง มีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด   
   
          ในตำรับยาไทยมีการใช้กานพลูหลายตำรับ เฉพาะยาสมุนไพรสามัญประจำบ้านและยาในบัญชียาหลัก มีตำรับยาที่กานพลู ได้แก่ ยาธรณีสันฑะฆาต ยาธาตุบรรจบ ยาบำรุงโลหิต ยาประสะกานพลู ยาประสะเจตพังคี ยาประสะเปราะใหญ่ ยามหาจักรใหญ่ ยามันธาตุ ยาวิสัมพยาใหญ่  ยาแสงหมึก ยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฐ ยาหอมอินทจักร์ 
   
          ในตำรับยาประสะกานพลู มีการใช้กานพลูหนักที่สุด ในข้อบ่งใช้ระบุว่า แก้ปวดท้องเนื่องจากธาตุไม่ปกติ มีการติดเชื้อ ท้องเสียมาก หรือใช้แก้อาการท้องอืดเฟ้อจากธาตุไม่ปกติและอุจจาระเป็นฟอง
   
ในการใช้ยากลางบ้านทั่วไป มักใช้แก้ท้องอืดเฟ้อ และปวดฟัน
   
     ดอกแห้งของกานพลูรักษาอาการท้องอืดเฟ้อ แน่น จุกเสียด โดยใช้ดอกแห้ง 5-8 ดอก ต้มน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม นอกจากนี้ดอกกานพลูยังช่วยป้องกันไม่ให้เด็กอ่อนท้องอืดเฟ้อได้ โดยใช้ดอกแห้ง 1 ดอก แช่ไว้ในกระติกน้ำร้อนที่ใช้ชงนมให้เด็กอ่อน
   
    รักษาอาการปวดฟัน กลั่นเอาน้ำมันใส่ฟัน หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยวแล้วอมไว้ตรงบริเวณฟันที่ปวด เพื่อระงับอาการปวดฟัน กานพลูตำพอแหลก ผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะ ใช้สำลีจิ้มอุดฟันที่ปวดและใช้แก้โรครำมะนาด เอาดอกกานพลูแช่เหล้า เอาสำลีชุบใช้หยอดฟัน กานพลูจึงจัดว่าเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณทางยาหลากหลายและเป็นที่นิยม



เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย


     ลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่ค่ะ 





ขอขอบคุณข้อมูลจาก

 





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
กานพลู สมุนไพรช่วยฆ่าเชื้อ แก้ปัญหาท้องไส้ อัปเดตล่าสุด 10 กรกฎาคม 2563 เวลา 18:02:55 64,657 อ่าน
TOP
x close