
ภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่สปาฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม
แพทย์แผนไทยไม่เป็นสองรองใคร โดยเฉพาะเรื่องการนวด รักษาอาการปวดเจ็บของร่างกายที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ สามารถช่วยฟื้นฟูสุขภาพได้จริง ลองมารู้จักภูมิปัญญาพื้นบ้านในรูปแบบสปาที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม จาก ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่ให้ความรู้ไว้ในนิตยสาร Happy+ กันค่ะ
ในทางการแพทย์แผนไทย มีแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับร่างกายของคนเราว่า ประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ทำงานอย่างสัมพันธ์กัน เมื่อใดที่ความสัมพันธ์ระหว่างธาตุทั้งสี่เสียสมดุล อันเป็นผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อาหารการกิน พฤติกรรม สถานที่อยู่ ฤดูกาล วัย เพศ เป็นต้น ก็อาจเกิดการเจ็บป่วยขึ้นได้ ทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จึงได้ทำการรวบรวมศาสตร์และองค์ความรู้จากการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้านที่มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ยาอาบ ยาอบ ยาแช่ ยาพอก ที่มีมากมายหลายสูตร ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในริการสปาซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้อย่างลงตัว อาทิ

เป็นการเข้าถึงการปรับสมดุลด้วยการนวดแบบไทย แต่ให้ความสำคัญกับน้ำหนักที่เหมาะสมกับเจ้าเรือนของแต่ละบุคคล เพื่อให้กลับคืนสู่สมดุล โดยแบ่งออกเป็น





เป็นการนวดที่เน้นการปรับสมดุลทั้งโครงสร้างและอารมณ์ ความชุ่มของน้ำมันจะช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเกร็งลง ส่วนกลิ่นหอมของอโรมาจะช่วยปรับสมดุลอารมณ์ให้เกิดความผ่อนคลาย ตามสไตล์ของแต่ละเจ้าเรือน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น




เป็นการนวดเพื่อปรับสมดุลระบบย่อยอาหารระบบขับถ่าย และปรับระบบการไหลเวียนของพลังงาน หรือเลือดลมให้เดินได้ดีขึ้น เพราะบริเวณท้องนั้นนับว่าเป็นหัวใจของสุขภาพ เป็นที่ตั้งของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารและขับถ่าย โดยเฉพาะบริเวณสะดือ ที่เป็นจุดกำเนิดของเส้นประธานสิบ หรือเส้นพลังงานในทฤษฎีการแพทย์แผนไทย

กะบังหน้า หรือด้านหลังของช่องคลอด หรือมีการเคลื่อนต่ำลงมาของมดลูก ภาวะเช่นนี้มักพบได้ในสตรีที่มีบุตรมาก มีการคลอดบุตรยากและสตรีสูงอายุ หรือวัยหมดประจำเดือน ซึ่งการแพทย์แผนไทยมีองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพสตรีมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการนวดกะบังลมหย่อน ซึ่งนับว่าได้ผลดีเป็นอย่างมาก และยังเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้รับบริการอีกด้วย


เป็นการปรับสมดุลธาตุภายในร่างกาย เพราะแม่หลังคลอดจะมีการสูญเสียไฟธาตุในร่างกายไปมาก การอยู่ไฟ การนวด และการอบหรือการอาบ จึงช่วยเติมในสิ่งที่แม่ขาดไป และยังช่วยคืนความสมดุลโครงสร้างที่แม่จะต้องอุ้มท้องมากกว่า 9 เดือน ทำให้ข้อกระดูกสะโพกขยาย หลุดหลวม กล้ามเนื้ออ่อนล้าจากการรับน้ำหนักลูกน้อยในครรภ์
การดูแลหลังการคลอดประกอบด้วย การทับหม้อเกลือที่ท้อง การเข้าตะเกียบ การขัดหรือพอกผิวกายด้วยสมุนไพรตามธาตุเจ้าเรือนการอบสมุนไพรตามธาตุเจ้าเรือน การอบหญ้ารีแพร์ ที่ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ แผลฝีเย็บสมานตัวเร็วขึ้น การให้ดื่มน้ำเสน่ห์จันทน์ขาว เพื่อปรับสมดุลเลือดลมในร่างกาย การอาบสมุนไพร และการนวดหน้าตามเจ้าเรือน
ศาสตร์และองค์ความรู้จากการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้านเหล่านี้ เป็นกระบวนการการรักษาเยียวยาของวัฒนธรรมไทยที่สั่งสมกันมาอย่างยาวนาน ผ่านการกลั่นกรองจากครอบครัว ชุมชน จนเป็นศาสตร์ที่มีความละเอียดอ่อน และสัมพันธ์กับกลไกการทำงานของร่างกายที่ซับซ้อน ซึ่งไม่อาจอธิบายได้ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของการแพทย์แผนปัจจุบันแต่เพียงอย่างเดียว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

เรื่องโดย ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร