
เนื้องอกในมดลูก ความเสี่ยงสำหรับผู้หญิง (Lisa)
50% ของผู้หญิงไม่รู้ว่าตัวเองมีเนื้องอกที่มดลูก ถ้าเนื้องอกโตขึ้นก็จะไปเบียดอวัยวะใกล้เคียง บางคนอาจปวดท้องขณะมีประจำเดือนหรืออาจไม่มีอาการก็ได้
อดีต รมต.ต่างประเทศ ของสหรัฐฯ คอนโดลิซซ่า ไรซ์ เคยมีเนื้องอกที่มดลูก ทั้งนี้ มีสตรีจำนวนมากที่มีปัญหาเนื้องอกในมดลูก และตัดสินใจไม่ถูกว่า ควรจัดการกับเนื้องอกเจ้าปัญหาอย่างไรดี
ดังนั้น นพ.วิสิทธิ์ สุภัครพงษ์กุล กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลราชวิถี จึงได้ตอบข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ค่ะ

ในมดลูกจะไม่ค่อยมีซีสต์ เพราะองค์ประกอบส่วนใหญ่ของมดลูกเป็นกล้ามเนื้อ ซีสต์มีองค์ประกอบเป็นของเหลว และมักเกิดในอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น รังไข่ ท่อรังไข่ หรือปากมดลูก ที่ผิดปกติในมดลูกมักเป็นเนื้องอกมากกว่า
ทั้งนี้ เนื้องอกของมดลูกมีชนิดธรรมดา และชนิดที่เป็นมะเร็ง โดยเนื้องอกส่นใหญ่เกิดจากชั้นกล้ามเนื้อของมดลูก ที่นี้เรามักพบเจอเนื้องอกธรมดาทั่วไปมากกว่า ซึ่งก็มีเนื้องอก 2 แบบใหญ่ ๆ คือ เกิดจากกล้ามเนื้อโดยตรง หรือเกิดจากมีเนื้ออย่างอื่น (เช่น เนื้อเมนส์) แทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อ แล้วทำให้มันโตขึ้นมา โดยอาจโตแบบกระจาย โตทั้งลูกเท่า ๆ กัน หรือแทรกแบบจุด ๆ แล้วจึงรวมกันเป็นก้อน อาจปูดด้านซ็าน ด้านขวา ด้านบน หรือด้านล่างของมดลูก เป็นต้น
หรืออีกชนิดหนึ่ง คือ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่แทรกเข้ามาในมดลูก หรือมีหลายเม็ดเกาะกันเป็นกลุ่มจนใหญ่ขึ้น ชนิดนี้เป็นเนื้องอกชนิดเยื่อบุมดลูกแทรกเข้ามา คือ งอกผิดที่

อาการของเนื้องอกในมดลูกก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอก คือ ถ้ามันโตขึ้นมา เช่น โตเหมือนคนท้องสามเดือนก็จะคลำได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าใหญ่ไม่มากก็อาจคลำไม่พบและไม่มีอาการ แต่ถ้าเนื้องอกเข้าไปในโพรงมดลูกก็จะมีปัญหา คือ ประจำเดือนมามากผิดปกติ อาจปวดท้องหรือไม่ปวดก็ได้ การปวดของเนื้องอกส่วนใหญ่ชนิดที่ไมโอมา (Myoma) จะปวดก็ต่อเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงในเนื้องอกซึ่งพบบ่อยคือ



ขึ้นอยู่กับขนาดและขึ้นอยู่กับสุภาพสตรีเท่านั้น คือ คนโสดจะไม่ค่อยไปตรวจภายใน จึงทำให้ได้ข้อมูลน้อย ดังนั้น ควรทำประกอบกันสองอย่าง หรือหากจำเป็นก็ทำอัลตราซาวนด์อย่างเดียว

ถ้าเป็นเนื้องอกชนิดธรรมดา ประมาณ 50% ของผู้มีเนื้องอกในมดลูกจะไม่มีอาการ หรือบางคนมีประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือเนื้องอกไปกดอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งแต่ละคนอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แพทย์จะวินิจฉัยโดยการตรวจภายในและอัลตราซาวนด์

พิจารณาจากอายุ ความต้องการมีบุตร และความต้องการของผู้ป่วยเป็นหลัก แล้วก็พิจารณาจากตัวโรค ที่สำคัญคือ ต้องดูอาการ ขนาด และอัตราการโตของเนื้องอก หรือพิจารณาจากอายุ เช่น วัย 45 ปีขึ้นไป ตรวจพบเนื้องอกโดยดูจากตัวโรค แล้วจำเป็นต้องผ่าตัด แพทย์มักแนะนำให้ตัดมดลูก เพราะการรักษาแบบไม่ตัดมดลูกทิ้ง ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะมีเนื้องอกหลงเหลืออยู่
นอกจากนี้ แพทย์บางคนจะแนะนำให้ตัดรังไข่ด้วย เพื่อป้องกันมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการเป็นมะเร็งรังไข่อันตรายมากถึงขั้นเสียชีวิต แต่ข้อเสียก็คือ ทำให้เข้าสู่วัยทองเร็ว หงุดหงิด ไม่สบาย กระดูกพรุนเร็วขึ้น และอาจต้องใช้ฮอร์โมนทดแทน ฉะนั้นการตัดรังไข่ออก ไม่มีคำว่าถูกหรือผิด ในกรณีที่ปกติ แต่ถ้าผ่ามดลูกแล้ว เจอรังไข่เป็นซีสต์ หรืออื่น ๆ ก็ควรเอาออกไปด้วย

กรณีที่ต้องการมีบุตรก็ตัดเฉพาะเนื้องอกออกได้ คือ ในคนอายุ 35 ปี ก็ต้องดูขนาดของเนื้องอกในการปล่อยให้ตั้งครรภ์ได้ แต่ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงขณะที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะเมื่อเนื้องอกมีขนาด 5-6 ซม. เพราะอาจแท้งง่าย หรือคลอดยาก เนื่องจากมดลูกไปขวาง ซึ่งอาจต้องผ่าตัดคลอด หรืออาจคลอดก่อนกำหนด เพราะเนื้องอกอาจไปกระตุ้น เบียดพื้นที่มดลูกจากทารกอยู่ไม่ได้ คือ ต้องดูองค์ประกอบหลายอย่างในการมีลูก โดยเฉพาะตำแหน่งและขนาดของเนื้องอก ถ้าเนื้องอกมีขนาด 1 ซม.มีประจำเดือนมาก ปวดท้องมากเวลามีประจำเดือนก็อาจกินยา
แต่ก็ต้องยอมรับว่า ยารักษาเนื้องงอกช่วยได้แค่ชะลอ เป็นยาที่ประกอบด้วยโปรเจสเตอโรน ซึ่งมีในรูปยาฉีดหรือกิน หรืออีกแบบหนึ่งคือ จำลองวัยทอง แต่ถ้าหยุดยาก้อนเนื้องอกก็จะโตได้อีก ถ้าเนื้องอกมีขนาดเล็กประมาณ 2-3 ซม. ก็ต้องตรวจทุก 6 เดือน หรือปีละครั้ง ถ้ามีขนาดเล็ก และไม่มีอาการก็ไม่ต้องทำอะไรกับมัน

องค์ประกอบที่ทำให้เนื้องอกโต ส่วนใหญ่เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ บางคนอาจมีฮอร์โมนปกติ แต่เนื้อมดลูกมีความไวกับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรืออาจเกิดจากฮอร์โมน หรืออาหารที่มีองค์ประกอบเปลี่ยนแปลงให้เกิดเอสโตรเจนมากขึ้น เช่น อาหารแคลอรีสูง (ฟาสต์ฟู้ด) น้ำอัดลมที่มีน้ำตาลสูง

ส่วนใหญ่ตัวมดลูกเองจะไม่กระตุ้นที่รังไข่ แต่ถ้าเป็นมะเร็งที่มดลูก ก็อาจลามไปที่รังไข่ได้ เนื่องจากฮอร์โมนจากรังไข่ส่งมาถึงตัวมดลูก ทำให้มันทำงานผิดปกติ แต่ถ้าปราศจากรังไข่ มดลูกก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย คือ มดลูกจะเหี่ยว ฉะนั้นการตัดมดลูกออก เก็บรังไข่ไว้ ก็ยังมีการสร้างฮอร์โมนต่อไป ผิวหนังของคนเราก็จะไม่เหี่ยว

อัตราการโตขึ้นของเนื้องอกก็สำคัญ เพราะเป็นตัวบ่งชี้มะเร็ง โดยทั่วไปเนื้องอกจะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งน้อย คือ ประมาณ 1% แต่ถ้าโตเร็วและมีเลือดออกมาผิดปกติก็อย่านิ่งนอนใจ ดังนั้น ถ้ารู้ตัวว่ามีเนื้องอกก็อย่ารอให้มีอาการ ควรไปพบแพทย์ตรวจเป็นระยะ เพื่อดูว่าโตขึ้นหรือไม่ เพราะเนื้องอกก็อาจกลายได้ อาจการที่กลายเป็นมะเร็งคือ ก้อนเนื้อโตเร็วผิดปกติ

ปัจจุบันมีหลายโรคและหลายภาวะที่ไม่มีอาการแสดงออก ฉะนั้น การตรวจภายในปีละครั้งก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรค หากรอให้มีอาการก็จะก่อให้เกิดผลเสียหลายประการ แม้ว่าการตรวจจะไม่ได้การันตีว่า ไม่ได้เป็นอะไร แต่อย่างน้อยก็จะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดอันตรายใหญ่ ๆ ได้
ที่สำคัญคือ เรื่องใหญ่ก็อาจกลายเป็นเรื่องเล็ก หรือเรื่องเล็กก็จะบรรเทาลงได้ หากรู้ว่าตัวเราเองมีภาวะผิดปกติ บางครั้งก็เป็นเรื่องดี โดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องที่สามารถช่วยให้เราเตรียมการป้องกัน หรือรักษาก่อนที่โรคจะลุกลาม

การป้องกันไม่ให้เกิดเนื้องอกนั้นเป็นไปได้ยาก แต่การใช้ชีวิตมีส่วนทำให้เนื้องอกโตเร็วขึ้น วิธีป้องกันก็คือ




เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
