![จับตาโรคที่มาพร้อมการเปิดตลาด AEC และวัคซีนป้องกัน จับตาโรคที่มาพร้อมการเปิดตลาด AEC และวัคซีนป้องกัน](http://img.kapook.com/u/kantana/Health/asean.jpg)
จับตาโรคที่มาพร้อมการเปิดตลาด AEC และวัคซีนป้องกัน
ระวังโรคที่มาพร้อมการเปิดประชาคมอาเซียน (AEC) มาดูว่ามีโรคไหน คนไทยต้องเฝ้าระวังให้มากขึ้น
การเฝ้าระวังโรคติดต่อที่จะเข้ามาพร้อมการเปิด AEC เป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเมื่อมีการเปิดเสรีอาเซียนก็จะมีนักท่องเที่ยว หรือกลุ่มแรงงานต่าง ๆ จากประเทศเพื่อนบ้าน ที่อาจจะมีการย้ายถิ่นฐานเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้นตามไปด้วย ถ้าเราไม่มีมาตรการป้องกันที่ดีพอก็อาจกลายเป็นปัญหาระดับชาติได้
นพ.ไพศาล เตชะวลีกุล อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ คลินิกวัคซีนกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดเผยว่า โดยรวมโรคที่มักจะพบในภูมิภาคอาเซียนนั้นไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะสภาพภูมิประเทศและอากาศค่อนข้างคล้ายคลึงกัน แต่อาจจำแนกได้ตามช่องทางการติดเชื้อเป็น 3 กลุ่มใหญ่ โรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ, โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
![จับตาโรคที่มาพร้อมการเปิดตลาด AEC และวัคซีนป้องกัน จับตาโรคที่มาพร้อมการเปิดตลาด AEC และวัคซีนป้องกัน](http://img.kapook.com/u/kantana/Health/chick.jpg)
![](http://img.kapook.com/image/icon/icon_1/e111.gif)
![](http://img.kapook.com/image/icon/aom_za_20060803212904.gif)
การป้องกันสามารถทำได้โดยการล้างมือให้ถูกวิธี การรักษาความสะอาด การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สามารถลดความรุนแรงของโรคลงได้ ซึ่งควรได้รับวัคซีนทุก ๆ 1 ปี และการใช้หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคให้กับบุคคลที่อยู่เคียงข้างเราได้
![](http://img.kapook.com/image/icon/aom_za_20060803212904.gif)
![](http://img.kapook.com/image/icon/aom_za_20060803212904.gif)
ในปัจจุบันมียาที่ใช้ยับยั้งการเจริญของเชื้อไวรัสโรคอีสุกอีใส ควรเริ่มใช้ภายในวันแรกที่มีอาการ มิฉะนั้นอาจไม่ได้ผล หรือได้ผลไม่ดี คุณพ่อคุณแม่จึงสามารถนำบุตรหลานไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสได้ตั้งแต่วัย 1 ปีขึ้นไปซึ่งในผู้ที่ได้รับวัคซีนโรคอีสุกอีใสจนครบในอนาคต ก็จะไม่เป็นงูสวัดอีกด้วย
![](http://img.kapook.com/image/icon/aom_za_20060803212904.gif)
เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย สามารถแพร่กระจายโดยการไอ จาม หายใจรดกัน บางครั้งอาจมีเชื้อที่อยู่ในตัวเองแล้วผู้ป่วยมีการสำลักเอาสารคัดหลั่ง หรือเศษอาหารเข้าไปในปอดทำให้มีการติดเชื้อได้ บางครั้งเชื้อมีการแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด ติดเชื้อในกระแสโลหิต หรือมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้
![จับตาโรคที่มาพร้อมการเปิดตลาด AEC และวัคซีนป้องกัน จับตาโรคที่มาพร้อมการเปิดตลาด AEC และวัคซีนป้องกัน](http://img.kapook.com/u/kantana/Health/a1%20%283%29.jpg)
![](http://img.kapook.com/image/icon/icon_1/e111.gif)
![](http://img.kapook.com/image/icon/aom_za_20060803212904.gif)
สำหรับการป้องกันโรคนี้ทำได้โดยการรักษาสุขอนามัย ความสะอาดของอาหารและน้ำดื่ม และฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ
![](http://img.kapook.com/image/icon/aom_za_20060803212904.gif)
การวินิจฉัยโรคที่แน่นอนสามารถทำได้โดยการเพาะเชื้อจากเลือด ปัสสาวะ หรืออุจจาระ การรักษาทำได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ และการรักษาตามอาการ การป้องกันก็สามารถทำได้โดยการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่สะอาด ส่วนวัคซีนป้องกันโรคมีทั้งแบบรับประทาน และแบบฉีด แต่โดยปกติจะไม่ค่อยแนะนำในคนไทย เนื่องจากอาจจะเคยสัมผัสโรคมาก่อน อาจจะทำให้วัคซีนนั้นไม่ได้ผล แต่จะแนะนำสำหรับชาวต่างประเทศในภูมิภาคยุโรปหรืออเมริกาเหนือที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้
![](http://img.kapook.com/image/icon/icon_1/e111.gif)
อาทิ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอชไอวี เชื้อไวรัสสามารถติดต่อผ่านทางเลือด หรือสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น น้ำลาย น้ำอสุจิ หรือน้ำหลั่งในช่องคลอดได้
โรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบบี เริ่มต้นจะมีอาการคล้ายเป็นหวัด มีไข้ต่ำ ๆ เหนื่อยและอ่อนเพลีย บางรายจะเริ่มมีอาการดีซ่าน คือ ตัวเหลืองตาเหลือง สำหรับบางรายอาจไม่มีอาการที่รุนแรงและไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว วิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพคือ การฉีดวัคซีนป้องกัน แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเลือดก่อน เมื่อตรวจพบว่ายังไม่เคยได้รับเชื้อและไม่มีภูมิคุ้มกัน จึงควรเข้ารับการฉีดวัคซีน วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี ที่ใช้ในปัจจุบันเป็นวัคซีนที่มีการใช้มานาน มีความปลอดภัยสูง และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ดี ควรฉีดให้ครบ 3 เข็มในช่วงเวลา 6 เดือน เพื่อให้ได้ผลที่แน่นอน
ส่วนไวรัสตับอักเสบซี และไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอสไอวี ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกัน
![จับตาโรคที่มาพร้อมการเปิดตลาด AEC และวัคซีนป้องกัน จับตาโรคที่มาพร้อมการเปิดตลาด AEC และวัคซีนป้องกัน](http://img.kapook.com/u/kantana/Health/p3.jpg)
ด้าน นพ.พรเทพ สวนดอก กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ ศูนย์กุมารเวชกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ และกรรมการบริหารสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โรคติดเชื้อที่ต้องระวังในเด็ก ประกอบด้วย
![](http://img.kapook.com/image/icon/aom_za_20060803212904.gif)
เด็กเล็กควรให้รับประทานนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ และการอยู่ในที่มีผู้คนแออัด โรคนี้มีความรุนแรงมากโดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ อุบัติการณ์ของโรคในเด็กไทยช่วงอายุนี้อยู่ระหว่าง 5 - 30 ต่อแสนประชากร ที่สำคัญคือ เชื้อมีการดื้อยาปฏิชีวนะสูงมากขึ้น ทำให้โรคมีอาการรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นถ้าเด็กมีอาการไข้สูง กินนมได้น้อย ซึมลง ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยทันที
![](http://img.kapook.com/image/icon/aom_za_20060803212904.gif)
อุบัติการณ์โรคคอตีบในประเทศไทยสูงขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้เป็นผลจากแรงงานต่างด้าวที่ได้รับวัคซีนไม่ครบ มีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานการทำงานและแพร่ระบาดในชุมชน บาดทะยัก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนแผล ทำให้เกิดอาการอัมพาตชนิดกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง กลืนอาหารลำบาก ภาวะหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้
![](http://img.kapook.com/image/icon/aom_za_20060803212904.gif)
นอกจากนี้ยังมีโรคของสตรี เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ของสตรีไทยรองจากมะเร็งเต้านม และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้น ๆ มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งชนิดแรกที่พบว่ามีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิดก่อมะเร็ง
การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกจะได้ผลดีเมื่อสามารถค้นหาโรคได้ในระยะเริ่มแรกโดยการตรวจภายใน และสามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดหรือรังสีรักษา แต่หากพบโรคในระยะท้ายของโรค ผู้ป่วยมักเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้นควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกให้แก่เด็กหญิงตั้งแต่อายุ 11 ปีขึ้นไป การให้วัคซีนในเด็กหญิงก่อนวัยรุ่นได้ประโยชน์ค่อนข้างมาก โดยหวังว่ามีภูมิคุ้มกันก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกและยังไม่มีการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี
ที่สำคัญคือ การให้วัคซีนในเด็กหญิงก่อนวัยรุ่น มีการสร้างภูมิคุ้มกันที่สูงกว่าวัยอื่น ๆ นอกจากนี้ เพศหญิงอายุ 13 ถึง 26 ปีที่ไม่เคยได้รับวัคซีน ควรฉีดวัคซีนให้ด้วย อย่างไรก็ตามแม้ได้รับวัคซีนครบ ก็ต้องมีความตระหนักในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
![จับตาโรคที่มาพร้อมการเปิดตลาด AEC และวัคซีนป้องกัน จับตาโรคที่มาพร้อมการเปิดตลาด AEC และวัคซีนป้องกัน](http://img.kapook.com/u/kantana/Health/p1%20%283%29.jpg)
![](http://img.kapook.com/image/icon/icon_1/e111.gif)
![](http://img.kapook.com/image/icon/aom_za_20060803212904.gif)
ไวรัส RSV ยังไม่มีวัคซีนป้องกันรวมถึงไม่มียารักษาโดยเฉพาะ จึงต้องรักษาตามอาการ แก้ไขภาวะขาดน้ำ ใช้ยาพ่นขยายหลอดลมร่วมกับการให้ออกซิเจนเช็ดตัวลดไข้ หลังจากหายแล้ว หลอดลมของเด็กจะมีอาการอักเสบได้ง่ายเมื่อติดเชื้อทางเดินหายใจซ้ำ การป้องกันไวรัส RSV คือ การล้างมือเด็กและพี่เลี้ยงบ่อย ๆ แยกเด็กและเครื่องใช้ของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
![](http://img.kapook.com/image/icon/aom_za_20060803212904.gif)
กรณีที่มีสมองอักเสบร่วมด้วย มีอาการชักเกร็ง ซึม และเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เชื้อไวรัสติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายผู้ป่วย ตลอดจนการติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู และอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคชนิดนี้ ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค และยังไม่มียารักษาจำเพาะ รักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาชาเฉพาะที่สำหรับแผลในปาก ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยภาวะขาดน้ำ เด็กที่มีอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด
การเฝ้าระวังโรคที่อาจจะเข้ามาพร้อมกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC นั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในสังคมไทยปัจจุบัน เพราะทำให้สามารถควบคุมเหตุการณ์การเกิดโรคระบาดและมีการเตรียมพร้อมวิธีการแก้ไขรับมือได้เป็นอย่างดี ด้วยความที่ประเทศไทยมีระบบทางการแพทย์ และระบบสาธารณสุขที่ดีอยู่แล้วนั้น จึงทำให้ประเทศไทยนั้นได้เปรียบเป็นอย่างมากในเรื่องของการเฝ้าระวังโรค และการฉีดวัคซีนก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยป้องกันโรคระบาดที่อาจจะเกิดขึ้น
ในปัจจุบันวงการสาธารณสุขเมืองไทยจึงมีการตื่นตัวรณรงค์ในเรื่องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคทั้งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับคนไทยและเป็นการป้องกันเชื้อโรคแพร่ระบาดก่อนการอุบัติของโรคจริงเมื่อเปิดประตูเสรีอาเซียน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
โรงพยาบาลกรุงเทพ