เช็กอาการไทรอยด์เป็นพิษเบื้องต้นง่าย ๆ จากสัญญาณที่ร่างกายแจ้งเตือน แล้วถ้าเป็นไฮเปอร์ไทรอยด์จะรักษาหายไหม ลองมาดู
ไทรอยด์ เป็นต่อมที่อยู่บริเวณลำคอ
ด้านหน้าลูกกระเดือก ติดกับหลอดลม มีลักษณะคล้ายผีเสื้อ
หน้าที่ของต่อมไทรอยด์คือผลิตฮอร์โมนในการทำงานของร่างกาย
ช่วยในกระบวนการเผาผลาญต่าง ๆ รักษาอุณหภูมิและการหลั่งเหงื่อ
รวมทั้งกระตุ้นการเต้นของหัวใจ แต่เมื่อใดก็ตามที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
ร่างกายก็จะมีความผิดปกติตามไปด้วย อย่างโรคไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyriod)
หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ที่พอป่วยปั๊บ จะสังเกตอาการได้ไม่ยากเท่าไร
และวันนี้เราจะพามาทำความเข้าใจโรคไทรอยด์เป็นพิษกัน
หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าไทรอยด์เป็นพิษจะทำให้อ้วนง่าย แต่จริง ๆ แล้วไทรอยด์เป็นพิษ หรือ ไฮเปอร์ไทรอยด์ คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน จนระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูงเกินไป ส่งผลให้ระบบการเผาผลาญทำงานมากขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษจึงมีน้ำหนักลดผิดปกติ
ตรงข้ามกับภาวะไทรอยด์ต่ำ (ไฮโปไทรอยด์) คือมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดต่ำ ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายช้า ระบบการเผาผลาญของร่างกายก็จะไม่ค่อยดี ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์จึงอ้วนขึ้นได้ง่าย
มีหลายสาเหตุที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ จนส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น
* โรค Graves’ disease จัดเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ ผู้ป่วยโรคนี้อาจจะมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตาโปน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
* พันธุกรรม หากคนในครอบครัวป่วยไทรอยด์เป็นพิษ ก็มีความเสี่ยงโรคนี้เพิ่มขึ้นได้
* การติดเชื้อที่ต่อมไทรอยด์ การติดเชื้อหรือเกิดการอักเสบที่ต่อมไทรอยด์ก็เป็นการกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติได้
* การได้รับไอโอดีนมากเกินไป
โดยเฉลี่ยแล้วร่างกายควรได้รับไอโอดีนประมาณ 100-200 ไมโครกรัม เพื่อเสริมการทำงานของต่อมไทรอยด์ และป้องกันโรคคอพอก แต่หากร่างกายได้รับไอโอดีนมากจนเกินไป โดยเฉพาะวัยผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ อาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูง (Thyrotoxicosis) เพราะไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเสียสมดุลของฮอร์โมนไทรอยด์ จนเป็นสาเหตุของต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งก็คือฮอร์โมนเพศ โดยพบว่าเพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าเพศชายประมาณ 5-10 เท่า รวมทั้งการกินยาลดความอ้วน ที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนไทรอยด์ ก็จะกระตุ้นให้ร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์เยอะเกิน เช่นเดียวกับการมีความเครียดทางจิตใจก็อาจส่งผลให้เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
เราสามารถสังเกตอาการไทรอยด์เป็นพิษได้จากอาการดังต่อไปนี้
* น้ำหนักตัวลดลงผิดปกติ แม้จะกินมากกว่าเดิม
* ใจสั่น เพราะหัวใจถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น ในรายที่เป็นมาก ๆ จะมีภาวะหัวใจเต้นเร็วแบบผิดจังหวะได้
* ชีพจรเต้นเร็ว มือสั่น
* อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
* อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
* ถ่ายบ่อย ท้องเสียง่าย เพราะทางเดินอาหารถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น
* นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
* ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก
* ต่อมไทรอยด์บริเวณลำคอโตขึ้น คอพอก
* ตาโปน กลอกตาไม่ได้ เพราะเนื้อเยื่อหลังนัยน์ตาขยายขนาดขึ้น
* ผมร่วง
* ประจำเดือนมาไม่ปกติ
* กระดูกบาง เพราะการที่ร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์มากไป ส่งผลต่อความสามารถในการดูดซึมแคลเซียม
* ขาสองข้างอ่อนแรง (พบไม่บ่อย)
* กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน พบในรายที่ไทรอยด์เป็นพิษแล้วเกิดเกลือแร่โพแทสเซียมต่ำอย่างเฉียบพลัน ทำให้ขยับแขน ขา ไม่ได้
นอกจากอาการผิดปกติของร่างกายดังกล่าวแล้ว เรายังสามารถตรวจต่อมไทรอยด์ด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ดังนี้
- ส่องกระจก ยืดลำคอขึ้น หันทางซ้ายและขวาชัด ๆ เพื่อหาความผิดปกติของลำคอ
- ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือทั้งสองข้างคลำลำคอพร้อม ๆ กันในแต่ละด้าน จากด้านหลังไปด้านหน้า และจากบนลงล่าง
- หากพบการสัมผัสที่ติดขัดเหมือนมีก้อน...ให้ลองคลึงดู
- หากพบก้อนผิดปกติให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ
หากสงสัยว่าอาจป่วยไทรอยด์เป็นพิษ แพทย์จะมีวิธีการตรวจ ดังนี้
- ตรวจร่างกายด้วยการคลำชีพจร คลำก้อนไทรอยด์ ตรวจตา และตรวจการเต้นของหัวใจ
- ตรวจเลือดและฮอร์โมน เพื่อดูค่าฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย
- หากตรวจพบว่าฮอร์โมนมีระดับสูงผิดปกติแล้ว อาจะมีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษให้ชัดเจนต่อไป
ไทรอยด์เป็นพิษ รักษาอย่างไร
การรักษาไทรอยด์เป็นพิษ สามารถทำได้ 3 แนวทาง คือ
1. รับประทานยา
การรักษาไทรอยด์เป็นพิษด้วยการกินยาคือการรักษาหลักของโรคนี้ เพราะยาที่ใช้รักษาจะมีมีฤทธิ์ต่อต้านการทำงานของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์กลับมาทำงานอย่างสมดุล ซึ่งหากรับประทานยาได้ขนาดพอเหมาะ อาการก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ ภายใน 1-2 ปี นอกจากนี้แพทย์อาจให้ยาลดอาการใจสั่นร่วมด้วยในระยะแรก ๆ แต่ทั้งนี้การกินยารักษาไทรอยด์ควรกินอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะจะทำให้อาการกำเริบและควบคุมโรคยากขึ้น
2. ผ่าตัด
ในกรณีที่กินยาต้านฮอร์โมนไทรอยด์แล้วไม่หาย แพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด โดยจะตัดเนื้อไทรอยด์ส่วนเกินออกให้เหลือเนื้อไทรอยด์อยู่ในระดับใกล้เคียงกับคนปกติ โดยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยจะหายจากอาการของไทรอยด์เป็นพิษเกือบ 100% แต่มีข้อเสียคือร่างกายจะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ 100% เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เสียงแหบ มือชา ฯลฯ ทั้งนี้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับฮอร์โมนทดแทนตลอดชีวิต ซึ่งการรับฮอร์โมนทดแทนจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตตามปกติ โดยไม่มีผลกระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย
3. กลืนสารรังสี
หรือที่เรียกว่าการกลืนน้ำแร่ โดยจะเป็นการกลืนน้ำที่ประกอบด้วยสารไอโอดีน กัมมันตรังสี ที่ได้รับการคำนวณขนาดไว้ให้พอดีกับแต่ละบุคคล การรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยให้ต่อมไทรอยด์ฝ่อลงและไทรอยด์เป็นพิษหายไป อัตราการหายเกือบ 100% ในเวลาประมาณ 4-6 เดือน ภายหลังกลืนน้ำแร่ 1-2 ครั้ง
ทั้งนี้ การรักษาด้วยการกลืนสารรังสีมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการผ่าตัด โดยอาจมีภาวะต่อมน้ำลายอักเสบ หรือมีอาการทางตาในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ แต่อย่างไรก็ตาม หลังรักษาต่อมไทรอยด์หายแล้ว อาจมีภาวะไทรอยด์ทำงานไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องกินฮอร์โมนทดแทนเพื่อเสริมการทำงานของต่อมไทรอยด์ไปตลอดชีวิตเหมือนการรักษาไทรอยด์เป็นพิษด้วยการผ่าตัด
นอกจากจะต้องระวังเรื่องอาหารการกินไม่ให้ร่างกายได้รับไอโอดีนมากจนเป็นอันตราย และยังมีอาหารที่ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษควรเลี่ยงให้ไกลด้วย เช่น นม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อาหารที่กินแล้วแพ้ เป็นต้น
- ไทรอยด์เป็นพิษห้ามกินอะไร เลี่ยงไว้เพื่อความชัวร์
ไทรอยด์เป็นพิษ เสี่ยงเสียชีวิตหรือไม่
หากป่วยไทรอยด์เป็นพิษแล้วไม่รับการรักษา อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น ตับอักเสบเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเสี่ยงเสียชีวิตด้วยภาวะพายุไทรอยด์ได้ ทว่าหากเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี ดูแลตัวเองดี ๆ และพบโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ การรักษาไทรอยด์เป็นพิษก็จะง่ายขึ้น ความเสี่ยงเสียชีวิตก็จะลดน้อยลง
ไม่ว่าจะป่วยด้วยโรคอะไรก็ตาม หากสังเกตอาการผิดปกติและรีบไปพบแพทย์ โอกาสที่เราจะหายจากความเจ็บป่วยก็จะมีมาก ดังนั้นอย่าละเลยสัญญาณผิดปกติใด ๆ ของร่างกาย รวมไปถึงคนรอบข้างด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, โรงพยาบาลพญาไท, ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลวิภาวดี, โรงพยาบาลกรุงเทพ, Mahidol Channel มหิดล แชนแนล, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, รายการสถานีศิริราช, กองโภชนาการ กรมอนามัย, Rama Chanel, การประปานครหลวง, รายการชีวิตชีวา
ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร
หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าไทรอยด์เป็นพิษจะทำให้อ้วนง่าย แต่จริง ๆ แล้วไทรอยด์เป็นพิษ หรือ ไฮเปอร์ไทรอยด์ คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน จนระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูงเกินไป ส่งผลให้ระบบการเผาผลาญทำงานมากขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษจึงมีน้ำหนักลดผิดปกติ
ตรงข้ามกับภาวะไทรอยด์ต่ำ (ไฮโปไทรอยด์) คือมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดต่ำ ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายช้า ระบบการเผาผลาญของร่างกายก็จะไม่ค่อยดี ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์จึงอ้วนขึ้นได้ง่าย
ไทรอยด์เป็นพิษ สาเหตุเกิดจากอะไร
มีหลายสาเหตุที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ จนส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น
* โรค Graves’ disease จัดเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ ผู้ป่วยโรคนี้อาจจะมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตาโปน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
* พันธุกรรม หากคนในครอบครัวป่วยไทรอยด์เป็นพิษ ก็มีความเสี่ยงโรคนี้เพิ่มขึ้นได้
* การติดเชื้อที่ต่อมไทรอยด์ การติดเชื้อหรือเกิดการอักเสบที่ต่อมไทรอยด์ก็เป็นการกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติได้
* การได้รับไอโอดีนมากเกินไป
โดยเฉลี่ยแล้วร่างกายควรได้รับไอโอดีนประมาณ 100-200 ไมโครกรัม เพื่อเสริมการทำงานของต่อมไทรอยด์ และป้องกันโรคคอพอก แต่หากร่างกายได้รับไอโอดีนมากจนเกินไป โดยเฉพาะวัยผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ อาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูง (Thyrotoxicosis) เพราะไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเสียสมดุลของฮอร์โมนไทรอยด์ จนเป็นสาเหตุของต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งก็คือฮอร์โมนเพศ โดยพบว่าเพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าเพศชายประมาณ 5-10 เท่า รวมทั้งการกินยาลดความอ้วน ที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนไทรอยด์ ก็จะกระตุ้นให้ร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์เยอะเกิน เช่นเดียวกับการมีความเครียดทางจิตใจก็อาจส่งผลให้เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
ไทรอยด์เป็นพิษ อาการเป็นอย่างไร
เราสามารถสังเกตอาการไทรอยด์เป็นพิษได้จากอาการดังต่อไปนี้
* น้ำหนักตัวลดลงผิดปกติ แม้จะกินมากกว่าเดิม
* ใจสั่น เพราะหัวใจถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น ในรายที่เป็นมาก ๆ จะมีภาวะหัวใจเต้นเร็วแบบผิดจังหวะได้
* ชีพจรเต้นเร็ว มือสั่น
* อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
* อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
* ถ่ายบ่อย ท้องเสียง่าย เพราะทางเดินอาหารถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น
* นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
* ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก
* ต่อมไทรอยด์บริเวณลำคอโตขึ้น คอพอก
* ตาโปน กลอกตาไม่ได้ เพราะเนื้อเยื่อหลังนัยน์ตาขยายขนาดขึ้น
* ผมร่วง
* ประจำเดือนมาไม่ปกติ
* กระดูกบาง เพราะการที่ร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์มากไป ส่งผลต่อความสามารถในการดูดซึมแคลเซียม
* ขาสองข้างอ่อนแรง (พบไม่บ่อย)
* กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน พบในรายที่ไทรอยด์เป็นพิษแล้วเกิดเกลือแร่โพแทสเซียมต่ำอย่างเฉียบพลัน ทำให้ขยับแขน ขา ไม่ได้
นอกจากอาการผิดปกติของร่างกายดังกล่าวแล้ว เรายังสามารถตรวจต่อมไทรอยด์ด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ดังนี้
- ส่องกระจก ยืดลำคอขึ้น หันทางซ้ายและขวาชัด ๆ เพื่อหาความผิดปกติของลำคอ
- ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือทั้งสองข้างคลำลำคอพร้อม ๆ กันในแต่ละด้าน จากด้านหลังไปด้านหน้า และจากบนลงล่าง
- หากพบการสัมผัสที่ติดขัดเหมือนมีก้อน...ให้ลองคลึงดู
- หากพบก้อนผิดปกติให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ
ไทรอยด์เป็นพิษ ต้องตรวจอะไรบ้าง
หากสงสัยว่าอาจป่วยไทรอยด์เป็นพิษ แพทย์จะมีวิธีการตรวจ ดังนี้
- ตรวจร่างกายด้วยการคลำชีพจร คลำก้อนไทรอยด์ ตรวจตา และตรวจการเต้นของหัวใจ
- ตรวจเลือดและฮอร์โมน เพื่อดูค่าฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย
- หากตรวจพบว่าฮอร์โมนมีระดับสูงผิดปกติแล้ว อาจะมีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษให้ชัดเจนต่อไป
ไทรอยด์เป็นพิษ รักษาอย่างไร
การรักษาไทรอยด์เป็นพิษ สามารถทำได้ 3 แนวทาง คือ
1. รับประทานยา
การรักษาไทรอยด์เป็นพิษด้วยการกินยาคือการรักษาหลักของโรคนี้ เพราะยาที่ใช้รักษาจะมีมีฤทธิ์ต่อต้านการทำงานของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์กลับมาทำงานอย่างสมดุล ซึ่งหากรับประทานยาได้ขนาดพอเหมาะ อาการก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ ภายใน 1-2 ปี นอกจากนี้แพทย์อาจให้ยาลดอาการใจสั่นร่วมด้วยในระยะแรก ๆ แต่ทั้งนี้การกินยารักษาไทรอยด์ควรกินอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะจะทำให้อาการกำเริบและควบคุมโรคยากขึ้น
2. ผ่าตัด
ในกรณีที่กินยาต้านฮอร์โมนไทรอยด์แล้วไม่หาย แพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด โดยจะตัดเนื้อไทรอยด์ส่วนเกินออกให้เหลือเนื้อไทรอยด์อยู่ในระดับใกล้เคียงกับคนปกติ โดยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยจะหายจากอาการของไทรอยด์เป็นพิษเกือบ 100% แต่มีข้อเสียคือร่างกายจะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ 100% เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เสียงแหบ มือชา ฯลฯ ทั้งนี้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับฮอร์โมนทดแทนตลอดชีวิต ซึ่งการรับฮอร์โมนทดแทนจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตตามปกติ โดยไม่มีผลกระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย
3. กลืนสารรังสี
หรือที่เรียกว่าการกลืนน้ำแร่ โดยจะเป็นการกลืนน้ำที่ประกอบด้วยสารไอโอดีน กัมมันตรังสี ที่ได้รับการคำนวณขนาดไว้ให้พอดีกับแต่ละบุคคล การรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยให้ต่อมไทรอยด์ฝ่อลงและไทรอยด์เป็นพิษหายไป อัตราการหายเกือบ 100% ในเวลาประมาณ 4-6 เดือน ภายหลังกลืนน้ำแร่ 1-2 ครั้ง
ทั้งนี้ การรักษาด้วยการกลืนสารรังสีมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการผ่าตัด โดยอาจมีภาวะต่อมน้ำลายอักเสบ หรือมีอาการทางตาในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ แต่อย่างไรก็ตาม หลังรักษาต่อมไทรอยด์หายแล้ว อาจมีภาวะไทรอยด์ทำงานไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องกินฮอร์โมนทดแทนเพื่อเสริมการทำงานของต่อมไทรอยด์ไปตลอดชีวิตเหมือนการรักษาไทรอยด์เป็นพิษด้วยการผ่าตัด
นอกจากจะต้องระวังเรื่องอาหารการกินไม่ให้ร่างกายได้รับไอโอดีนมากจนเป็นอันตราย และยังมีอาหารที่ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษควรเลี่ยงให้ไกลด้วย เช่น นม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อาหารที่กินแล้วแพ้ เป็นต้น
- ไทรอยด์เป็นพิษห้ามกินอะไร เลี่ยงไว้เพื่อความชัวร์
ไทรอยด์เป็นพิษ เสี่ยงเสียชีวิตหรือไม่
หากป่วยไทรอยด์เป็นพิษแล้วไม่รับการรักษา อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น ตับอักเสบเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเสี่ยงเสียชีวิตด้วยภาวะพายุไทรอยด์ได้ ทว่าหากเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี ดูแลตัวเองดี ๆ และพบโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ การรักษาไทรอยด์เป็นพิษก็จะง่ายขึ้น ความเสี่ยงเสียชีวิตก็จะลดน้อยลง
ไม่ว่าจะป่วยด้วยโรคอะไรก็ตาม หากสังเกตอาการผิดปกติและรีบไปพบแพทย์ โอกาสที่เราจะหายจากความเจ็บป่วยก็จะมีมาก ดังนั้นอย่าละเลยสัญญาณผิดปกติใด ๆ ของร่างกาย รวมไปถึงคนรอบข้างด้วยนะคะ
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 29 กรกฎาคม 2563