หักนิ้วมือเป็นสิ่งที่หลายคนมักจะเผลอทำต่อหน้าคนอื่นอยู่บ่อย ๆ แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าเสียงดังกร๊อบที่ได้ยินตอนหักนิ้วมาจากอะไรกันแน่ ถ้าเล่นบ่อย ๆ อันตรายหรือเปล่า
หักนิ้วเล่นบ่อย ๆ ทำให้ข้อต่อเสื่อมหรือเปล่านะ ?
นายแพทย์ Donald L. Unger ได้ทำการศึกษาอย่างต่อเนื่องมายาวนานกว่า 60 ปี กับตนเองเพื่อหาข้อสรุปว่าการเล่นหักนิ้วเป็นประจำสามารถทำให้เกิดไขข้อเสื่อมได้หรือไม่ ซึ่งนายแพทย์ Unger ได้ทำการทดลองเล่น ๆ กับมือของตัวเองข้างหนึ่ง พบว่าการหักนิ้วเล่นบ่อย ๆ เป็นเวลานานไม่ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้มือทั้ง 2 ข้างแตกต่างกันแต่อย่างใด
แต่ถึงอย่างไรก็ตามในการศึกษาปี 1990 ในอาสาสมัครกว่า 300 คนพบว่า การเล่นหักนิ้วเป็นประจำอาจทำให้เกิดอาการบวมของข้อนิ้ว และทำให้ความแข็งแรงของมือลดลงได้ เช่น กำลังการบีบมือน้อยลงเพราะเอ็นรอบข้อไม่แข็งแรง
ส่วนที่หลายคนสงสัยว่า การหักข้อนิ้วมือเป็นสาเหตุของอาการนิ้วล็อกหรือไม่ ก็ตอบตรงนี้เลยว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกันค่ะ แต่การหักนิ้วประจำอาจทำให้กระดูกนิ้วโปนใหญ่กว่าคนปกติ เพราะข้อนิ้วมีอาการบวมนั่นเอง
ทราบแบบนี้แล้วก็ไม่ควรหักนิ้วบ่อย ๆ เพราะแม้จะไม่ส่งผลต่อสุขภาพอะไรมากมาย แต่ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไร แถมยังอาจจะสร้างความรำคาญให้กับคนรอบข้างได้เหมือนกันนะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
เคยสังเกตกันบ้างหรือเปล่าว่าเวลาที่เราเล่นหักข้อนิ้วหรือข้อต่ออื่น ๆ นั้น เรามักจะได้ยินเสียงดังกร๊อบ คนที่ไม่เคยหักนิ้วมาก่อนก็กลัวว่ากระดูกนิ้วจะหัก หรือบางคนก็เชื่อว่าการหักนิ้วบ่อย ๆ จะทำให้ข้อนิ้วใหญ่ แล้วตกลงว่าความจริงเป็นยังไงกันแน่นะ
หักนิ้วแล้วมีเสียงดัง "กร๊อบ" เป็นเพราะอะไร ?
จริง ๆ แล้วเสียงที่เราได้ยินกันเวลาที่หักนิ้วนั้นเป็นเสียงที่มาจากน้ำในข้อต่อ ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำเหนียว ๆ เหมือนกับไข่แดงคอยหล่อลื่นให้ข้อต่องอหรือเหยียดได้ โดยของเหลวชนิดนี้จะประกอบด้วยแก๊สชนิดต่าง ๆ เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ เสียงเหล่านั้นจะดังก็ต่อเมื่อเรายืดข้อนิ้วจนสุดแล้วงอลงอย่างรวดเร็ว ทำให้แก๊สเหล่านั้นไหลไปอยู่รวมกันที่จุดเดียวและมีแรงดันทำให้ก๊าซเปลี่ยนเป็นฟองอากาศขึ้น เมื่อฟองอากาศแตกจึงเกิดเสียงดัง "กร๊อบ" อย่างที่เราได้ยินกันค่ะ
แต่ก็ใช่ว่าจะทุกครั้งที่หักนิ้วแล้วจะได้ยินเสียง เพราะกว่าแก๊สจะกระจายตัวเข้าสู่ภาวะปกติก็ต้องใช้เวลาประมาณ 20 นาที ทำให้เวลาที่เราหักนิ้วติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง เสียงก็จะหายไปนั่นเอง ทั้งนี้อาการเหล่านี้ก็ยังสามารถเกิดได้กับทุกข้อต่อในร่างกาย ตัวอย่างเช่นเสียงที่เราได้ยินเวลาที่เราลุกขึ้นยืนไวเกินไปอีกด้วยค่ะ
จริง ๆ แล้วเสียงที่เราได้ยินกันเวลาที่หักนิ้วนั้นเป็นเสียงที่มาจากน้ำในข้อต่อ ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำเหนียว ๆ เหมือนกับไข่แดงคอยหล่อลื่นให้ข้อต่องอหรือเหยียดได้ โดยของเหลวชนิดนี้จะประกอบด้วยแก๊สชนิดต่าง ๆ เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ เสียงเหล่านั้นจะดังก็ต่อเมื่อเรายืดข้อนิ้วจนสุดแล้วงอลงอย่างรวดเร็ว ทำให้แก๊สเหล่านั้นไหลไปอยู่รวมกันที่จุดเดียวและมีแรงดันทำให้ก๊าซเปลี่ยนเป็นฟองอากาศขึ้น เมื่อฟองอากาศแตกจึงเกิดเสียงดัง "กร๊อบ" อย่างที่เราได้ยินกันค่ะ
แต่ก็ใช่ว่าจะทุกครั้งที่หักนิ้วแล้วจะได้ยินเสียง เพราะกว่าแก๊สจะกระจายตัวเข้าสู่ภาวะปกติก็ต้องใช้เวลาประมาณ 20 นาที ทำให้เวลาที่เราหักนิ้วติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง เสียงก็จะหายไปนั่นเอง ทั้งนี้อาการเหล่านี้ก็ยังสามารถเกิดได้กับทุกข้อต่อในร่างกาย ตัวอย่างเช่นเสียงที่เราได้ยินเวลาที่เราลุกขึ้นยืนไวเกินไปอีกด้วยค่ะ
หักนิ้วเล่นบ่อย ๆ ทำให้ข้อต่อเสื่อมหรือเปล่านะ ?
นายแพทย์ Donald L. Unger ได้ทำการศึกษาอย่างต่อเนื่องมายาวนานกว่า 60 ปี กับตนเองเพื่อหาข้อสรุปว่าการเล่นหักนิ้วเป็นประจำสามารถทำให้เกิดไขข้อเสื่อมได้หรือไม่ ซึ่งนายแพทย์ Unger ได้ทำการทดลองเล่น ๆ กับมือของตัวเองข้างหนึ่ง พบว่าการหักนิ้วเล่นบ่อย ๆ เป็นเวลานานไม่ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้มือทั้ง 2 ข้างแตกต่างกันแต่อย่างใด
แต่ถึงอย่างไรก็ตามในการศึกษาปี 1990 ในอาสาสมัครกว่า 300 คนพบว่า การเล่นหักนิ้วเป็นประจำอาจทำให้เกิดอาการบวมของข้อนิ้ว และทำให้ความแข็งแรงของมือลดลงได้ เช่น กำลังการบีบมือน้อยลงเพราะเอ็นรอบข้อไม่แข็งแรง
ส่วนที่หลายคนสงสัยว่า การหักข้อนิ้วมือเป็นสาเหตุของอาการนิ้วล็อกหรือไม่ ก็ตอบตรงนี้เลยว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกันค่ะ แต่การหักนิ้วประจำอาจทำให้กระดูกนิ้วโปนใหญ่กว่าคนปกติ เพราะข้อนิ้วมีอาการบวมนั่นเอง
ทราบแบบนี้แล้วก็ไม่ควรหักนิ้วบ่อย ๆ เพราะแม้จะไม่ส่งผลต่อสุขภาพอะไรมากมาย แต่ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไร แถมยังอาจจะสร้างความรำคาญให้กับคนรอบข้างได้เหมือนกันนะ
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 16 ธันวาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลจาก