
อาการไมเกรน ปัญหาปวดหัวจี๊ดที่สะเทือนชีวิต ลองมองหาวิธีรักษาไมเกรนกันดูสักหน่อย เผื่อจะหายจากอาการแสนทรมานนี้ได้เร็ว ๆ
คนเป็นโรคไมเกรนคงรู้ดีว่าเวลาอาการปวดหัวกำเริบขึ้นมาทีนั้น รู้สึกสะเทือนขนาดไหน ยิ่งโดยเฉพาะฤดูร้อน อาการยิ่งหนัก เพราะอากาศร้อนเป็นเหตุกระตุ้นให้โรคนี้กำเริบได้ แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรงแต่ก็จำเป็นต้องได้รับการรักษา นพ.สุรเกียรติ อาซานานุภาพ จึงให้ข้อมูลเคล็ดลับในการดูแลรักษาโรคไมเกรนไว้ในนิตยสารหมอชาวบ้านจะได้หายจากโรคอันแสนทรมานนี้เสียที
ไมเกรน : โรคที่น่าทรมานแต่ไม่ร้ายแรง
ไมเกรนพบได้ประมาณร้อยละ 10-20 ของคนทั่วไป เริ่มเป็นครั้งแรกตั้งแต่วัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว และหลังจากนั้นมีโอกาสกำเริบเป็นครั้งคราวไปจนหลังอายุ 55 ปี มีคนไม่น้อยที่อาจเป็นไปจนตลอดชีวิต ส่วนจะเป็นบ่อยแค่ไหนขึ้นกับแต่ละคนที่ที่โอกาสไปเจอกับเหตุกำเริบมากหรือน้อยเพียงใด
แม้จะกำเริบบ่อย แต่ไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมาแต่อย่างใด เพียงทำให้รู้สึกทรมานเสียอารมณ์ เสียงงานเสียการ อาจต้องลางานหยุดงานบ่อย
อาการที่โดดเด่น คือ ปวดตุบ ๆ (ตามจังหวะชีพจร) ที่ขมับข้างเดียวเป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยอาจเป็นพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง และมักคลำได้เส้นเลือดที่ขมับนั้นพองโตขึ้นกว่าปกติ มักมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย อาการจะแย่ลงเมื่อโดนแสง เสียง หรือยังผืนเคลื่อนไหนไปมา หากปล่อยไว้ไม่ดูแลรักษา ก็จะปวดติดต่อกันอยู่นาน 4-72 ชั่วโมง ก็จะทุเลาไปได้เอง อาการปวดไม่ถึงกับรบกวนการนอนหลับ คือกลางคืนหลับได้ แต่หลังนอนตื่นขึ้นมาก็จะปวดต่อจนครบระยะของมัน

เหตุกำเริบโรคนี้มีความผิดปกติที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ทุกครั้งที่กำเริบจะมีสาเหตุกระตุ้น ส่วนใหญ่เป็นสิ่งเร้าที่กระตุ้นผ่านเครื่องกับสัมผัสทั้ง 6 แต่ละคนจะมีสิ่งกระตุ้นหลายอย่าง แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างเดียวกันทุกคน
เหตุกำเริบที่พบบ่อย ได้แก่






เคล็ดลับในการรักษาโรคไมเกรน
มี 2 ข้อ ได้แก่

1. รีบกินยาแก้ปวดทันทีที่รู้สึกมีอาการกำเริบ
บางคนอาจมีอาการเตือนก่อนปวด เช่น เห็นภาพแปลก ๆ (เห็นแสงสว่างวับ ๆ หรือเห็นภาพพร่ามัว) บางคนมีอาการมึน ๆ หรือปวดกรุ่น ๆ ก่อนจะปวดแบบตุบ ๆ ให้รีบกินยาแก้ปวดทันที อย่ารอให้มีอาการนานเกินครึ่งชั่วโมง ซึ่งยาจะได้ผลน้อย และจะปวดนาน หลังกินยาให้นอนพักหรือนั่งพักในห้องเงียบ ๆ แสงสลัว อากาศโล่งโปร่งสบาย และหยุดทำกิจกรรมทุกอย่างไว้ชั่วคราว อาการมักจะทุเลาได้ภายใน 30-60 นาที
ยาแก้ปวด ได้แก่ พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด แม้จะเป็นยาพื้น ๆ แต่หากรู้จักกินให้ถูกเวลา (กินทันทีที่มีอาการ) ก็ช่วยให้สบายได้ถึงร้อยละ 70-80
หากลองใช้อย่างถูกหลักแล้วไม่ได้ผล ก็ควรไปปรึกษาแพทย์อาจให้ยาแก้ปวดชนิดอื่นแทน ซึ่งมีให้เลือกหลายตัว ถ้าได้ผล ควรใช้ยานั้นตามที่แพทย์สั่งให้ใช้ ไม่ควรนำตัวอย่างยาไปซื้อกินเอง เพราะหากใช้พร่ำเพรื่อเกินจำเป็น จะกลายเป็นติดยา ขาดยาไม่ได้ และยาบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีส่วนผสมของเออร์โกทามีน มีผลข้างเคียง ทำให้หลอดเลือดแดงตีบทั่วร่างกาย หากใช้ติดต่อกันนาน ๆ หรือใช้ร่วมกับยาบางชนิด ก็อาจทำให้หลอดเลือดแดงตีบหนัก เป็นอันตรายได้ เช่น ขาขาดเลือดไปเลี้ยง (จนเกิดเนื้อตาย ต้องตัดทิ้ง) โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น
2. สังเกตให้ได้ว่ามีเหตุกำเริบจากอะไรบ้าง
แล้วหาทางหลีกเลี่ยง ก็จะช่วยให้อาการห่างหายไปได้เช่น อย่าอดนอน อย่ากินอาหารผิดเวลา อย่าโดนแสงจ้า หรือใช้สายตามากเกิน (เช่น เล่นสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์) อย่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่ากินยาเม็ดคุมกำเนิด (หากจำเป็นให้เปลี่ยนไปใช้ยาฉีดคุมกำเนิดแทน) เป็นต้น
หากเลี่ยงไม่ได้ แล้วกำเริบจนเสียงานเสียการบ่อยมาก ก็ควรปรึกษาแพทย์ แพทย์อาจพิจารณาให้ยามากินป้องกันซึ่งควรกินทุกวันติดต่อกันนาน 3-6 เดือน
สรุป
ไมเกรนถึงแม้จะเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังชั่วชีวิต แต่เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง อันตรายเกิดจากการใช้ยาผิด ๆ มากกว่า เช่น กินยามากเกิน ติดยา เกิดอันตรายจากยาบางชนิด ดังนั้นจึงควรใช้ยาตามที่แพทย์สั่งใช้อย่างเคร่งครัด
ผู้ป่วยควรเรียนรู้เคล็ดลับ 2 ข้อในการดูแลรักษาตัวเอง คือ พกยาพาราเซตามอล กินทันทีที่มีอาการและพยายามหลีกเลี่ยงเหตุกำเริบ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
