ลิ้นเป็นฝ้าขาว แค่อ้าปากก็เห็นชัดเจน ทำให้ดูไม่งาม แต่อาการนี้เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ แล้วจะต้องรักษาอย่างไรให้หายขาดดี สงสัยอย่างนี้ต้องรีบไปดู
ลิ้นเป็นฝ้า คืออะไร
วิธีรักษาลิ้นเป็นฝ้าขาว
โดยปกติแล้วอาการนี้ก็สามารถหายได้เองตามธรรมชาติ แต่ถ้าหากต้องการให้หายเร็วขึ้นก็สามารถรักษาได้ด้วยวิธีเหล่านี้
วิธีป้องกันฝ้าขาวที่ลิ้น
เห็นไหมล่ะว่าไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะขจัดเจ้าฝ้าขาว ๆ ที่อยู่บนลิ้นให้หมดไป แถมแต่ละวิธีก็ยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย แต่หากใครพบความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกิดร่วมกับลิ้นเป็นฝ้าขาว ก็ลองปรึกษาแพทย์ดูนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
ฝ้าขาวที่ลิ้น
หรือมีลักษณะคล้ายริ้วสีขาว ๆ
เป็นอาการที่เมื่อใครเป็นแล้วก็มักจะตกอกตกใจกันไปมากมายว่านี่เป็นสัญญาณของโรคภัยไข้เจ็บอะไรหรือเปล่า
บางคนถึงกับกังวลจนต้องไปพาหมอฟัน กลัวว่าจะเกิดการติดเชื้ออันตราย แต่จริง ๆ แล้ว การที่ลิ้นเป็นฝ้านั้นเกิดจากอะไร แล้วเป็นอันตรายต่อสุขภาพช่องปากไหม เรามาดูกัน
ลิ้นเป็นฝ้า มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ลิ้นเป็นขน" ซึ่งพบได้ทุกเพศทุกวัย โดยลิ้นเป็นฝ้าเกิดจากการหลุดลอกของเซลล์ที่ตายแล้ว ผสมกับเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือการอักเสบของตุ่มรับรสจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อตัวสะสมหนาขึ้นจนทำให้เห็นเป็นฝ้าขาว ซึ่งปัจจัยดังกล่าวก็ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ยา ลูกอม
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน บุหรี่ หรือแม้แต่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ได้มีเพียงแค่ฝ้าขาวเท่านั้น ปัจจัยเหล่านี้ยังอาจทำให้ลิ้นเป็นฝ้าสีดำ น้ำตาล เหลือง เขียว ส้ม หรือชมพู ตามสีของอาหารหรือสารที่รับผ่านช่องปากไป
อย่างไรก็ตาม ลิ้นเป็นฝ้าขาวคือสีที่พบได้บ่อยที่สุด
ซึ่งอาการของลิ้นเป็นฝ้าไม่ส่งผลอันตรายใด ๆ ต่อร่างกาย กล่าวคือไม่มีโรคที่เกิดจากฝ้าที่ลิ้น เพียงแต่การที่ลิ้นเป็นฝ้าอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก หรืออาจบ่งชี้ภาวะผิดปกติบางอย่างของร่างกายได้ เช่น
- ภาวะพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะหากนอนดึกติดกันหลายคืน
- อาหารไม่ย่อย
- โรคของถุงน้ำดี
- โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร
- เชื้อราในปาก มักพบได้บ่อยในวัยทารกหรือผู้สูงอายุ
- โรคไลเคนพลานัสในช่องปาก (Oral Lichen Planus) ที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
- โรคซิฟิลิส
- โรคเอดส์ หรือการติดเชื้อ HIV
- มะเร็งช่องปาก
- มะเร็งลิ้น
ทั้งนี้หากอาการลิ้นเป็นฝ้าขาวเป็นนานเกิน 2 สัปดาห์ ทำยังไงก็ไม่หาย หรือมีอาการแผลในปาก ลิ้นบวมแดง เจ็บบริเวณลิ้นร่วมด้วย ควรจะไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่แน่ชัดอีกครั้ง
- โรคไลเคนพลานัสในช่องปาก (Oral Lichen Planus) ที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
- โรคซิฟิลิส
- โรคเอดส์ หรือการติดเชื้อ HIV
- มะเร็งช่องปาก
- มะเร็งลิ้น
ทั้งนี้หากอาการลิ้นเป็นฝ้าขาวเป็นนานเกิน 2 สัปดาห์ ทำยังไงก็ไม่หาย หรือมีอาการแผลในปาก ลิ้นบวมแดง เจ็บบริเวณลิ้นร่วมด้วย ควรจะไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่แน่ชัดอีกครั้ง
โดยปกติแล้วอาการนี้ก็สามารถหายได้เองตามธรรมชาติ แต่ถ้าหากต้องการให้หายเร็วขึ้นก็สามารถรักษาได้ด้วยวิธีเหล่านี้
1. แปรงลิ้น
วิธีที่ง่ายที่สุดในการกำจัดฝ้าขาวที่ลิ้นคือการแปรงลิ้นเป็นประจำ ซึ่งสามารถใช้แปรงฟันแปรงลิ้น หรือใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดลิ้นทุกครั้งที่แปรงฟันก็ได้ นอกจากฝ้าที่ลิ้นจะหายแล้ว ยังได้กำจัดกลิ่นปากไปในตัว เพราะเชื้อโรคบนลิ้นนี่แหละค่ะตัวต้นเหตุของกลิ่นปากเลย
2. ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี
สาเหตุอย่างหนึ่งของการที่ลิ้นเป็นฝ้าก็เกิดได้จากสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี ดังนั้นถ้าเราหมั่นรักษาความสะอาดช่องปาก พบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อขูดหินปูน ตรวจฟัน โอกาสที่เชื้อเบคทีเรียหรือเชื้อราที่ก่อปัญหาสุขภาพช่องปากก็จะหมดไป พร้อมกับพาฝ้าที่ลิ้นห่างหายไปจากเราด้วย
3. ปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต
นี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยล่ะค่ะ
เพราะถึงแม้เราจะสามารถรักษาฝ้าขาวที่ลิ้นให้หมดไปได้
แต่ถ้าหากเรายังบริโภคสิ่งเดิม ๆ
ในอนาคตลิ้นก็จะกลับมามีฝ้าขาวสะสมอีกแน่นอน ดังนั้นไม่ว่าจะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ รวมไปถึงพฤติกรรมสูบบุหรี่ ก็ควรลด ละ เลิก เพื่อลิ้นที่สะอาดเกลี้ยงเกลา และเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเอง
4. หมั่นสังเกตสุขภาพตัวเอง
อย่างที่บอกว่าฝ้าที่ลิ้นอาจเป็นตัวบ่งชี้ปัญหาสุขภาพได้ ดังนั้นหากพบความผิดปกติใด ๆ ก็ตามในร่างกาย แม้แต่ลิ้นที่เป็นฝ้าขาวนานแล้วไม่ยอมหาย ก็ต้องพาตัวเองไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพสักหน่อยแล้วล่ะ
เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการลิ้นเป็นฝ้าได้ง่าย ๆ ดังนี้
* งดสูบบุหรี่
* หลีกเลี่ยงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
* หลีกเลี่ยงชาและกาแฟ
* ลดของหวาน อาหารที่มียีสต์ เช่น ขนมปัง เบเกอรีต่าง ๆ รวมไปถึงอาหารหมัก ดอง
* รักษาสุขภาพช่องปากให้ดี
* ตรวจสุขภาพประจำปี
เห็นไหมล่ะว่าไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะขจัดเจ้าฝ้าขาว ๆ ที่อยู่บนลิ้นให้หมดไป แถมแต่ละวิธีก็ยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย แต่หากใครพบความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกิดร่วมกับลิ้นเป็นฝ้าขาว ก็ลองปรึกษาแพทย์ดูนะคะ
*หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563