
กินอย่างไร ? ไม่ให้มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง (ภาพยนตร์บันเทิง)
คัดลอกข้อมูลจาก "กินต้านโรค" โดย พรพรรณ
ใคร ๆ ก็ไม่อยากให้มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
ใคร ๆ ก็ไม่อยากเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
แน่นอน...หากมีคอเลสเตอรอลสูงเกินไป ก็จะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้
คงจะมีคำถามในใจต่อไปอีกว่า แล้วโรคหัวใจขาดเลือดมันอันตรายอย่างไร
อันตรายของโรคหัวใจขาดเลือดก็คือ ทำให้คนเป็นโรคนี้มีอาการช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้ในที่สุด




ไขมันตัวสำคัญที่เจาะพบในเลือด ซึ่งจะบ่งชี้การเป็นโรคนี้ได้ก็คือ คอเลสเตอรอล ไขมันพวกคอเลสเตอรอล จะไปคั่งในผนังชั้นในสุดของหลอดเลือดแดงขนาดกลางและขนาดใหญ่ ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวเสียความยืดหยุ่น ซึ่งจะนำไปสู่โรคคามดันโลหิตสูง เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจน้อย ทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้



ชอบกินแต่อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงเป็นประจำ นอกจากนั้นยังชอบกินของมัน ๆ จากสัตว์ เช่น หนังไก่ หมูหัน ขาหมูมัน ๆ เป็นต้น ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมักจะเกิดในคนที่มีอายุ 40 กว่า

ความผิดปกติในด้านกรรมพันธุ์ มีส่วนทำให้เกิดคอเลสเตอรอลสูงได้ สำหรับพวกที่เป็นทางกรรมพันธุ์นี้ อาจจะแสดงอาการผิดปกติตั้งแต่ยังเป็นเด็กอยู่

เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย และโรคตับ เป็นต้น ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้
แต่ไม่ว่าคอเลสเตอรอลในเลือดจะสูง จากสาเหตุใดก็ตาม ก็สามารถคุกคามทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว จนทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้เหมือนกัน
จากสาเหตุ 3 ประการที่ทำให้มีคอเลสเตอรอลสูงนั้น จะเห็นว่าการควบคุมเรื่องอาหารเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด ที่เราสามารถจะทำได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมาก เข้าสู่วัยเลข 4 เลข 5 กันแล้ว ควรต้องระวังในเรื่องอาหารการกินไว้บ้าง ทั้งการกินอาหารในชีวิตประจำวันและตามงานเลี้ยงต่าง ๆ ที่ได้รับเชิญ ควรเลือกกิน และกินต่อพอประมาณ ไม่กินอาหารมัน ๆ และอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง การกินอาหารที่ถูกต้องจะมีส่วนสำคัญในการควบคุมระดับคอเลสเตอรอล
พ่อบ้านที่ขยันออกไปกินข้าวนอกบ้าน พบปะเพื่อนฝูงในวงเหล้ายิ่งต้องระวังจงหนัก เพราะจากข้อมูลการศึกษาพบว่า ผู้ชายจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าผู้หญิง
ปริมาณของคอเลสเตอรอลในอาหาร 100 กรัม
ชื่ออาหาร | ปริมาณคอเลสเตอรอล |
สมอง | 2000 มก. |
ไข่แดง | 1480 มก. |
ตับไก่ | 746 มก. |
ตับอ่อน (หมู) | 466 มก. |
ตับวัว ตับหมู | 438 มก. |
ไต (หมู) | 375 มก. |
ไข่ปลา | มากกว่า 300 มก. |
หอยนางรม | มากกว่า 200 มก. |
เนยเหลว | 250 มก. |
เนื้อกุ้ง | 150 มก. |
เนื้อปู | 101 มก. |
เนยแข็ง | 90-113 มก. |
น้ำมันหมู | 95 มก. |
เนื้อวัว (ไม่ติดมัน) | 91 มก. |
เนื้อหมู (ไม่ติดมัน) | 89 มก. |
เนื้อไก่ | 80 มก. |
จากตารางแสดงปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารนั้น เราจะเห็นว่าสมองมีสูงที่สุด สมองในที่นี้ หมายถึง สมองจากสัตว์ ซึ่งบางคนชอบบริโภคเป็นพิเศษ ด้วยความเชื่อว่าเป็นยาบำรุงร่างกายช่วยให้มีพละกำลังที่แข็งแรง อย่างพวกสมองลิง เป็นต้น เป็นความเชื่อที่ผิด ๆ และยังเป็นการทารุณสัตว์อีกด้วย คิดว่าในปัจจุบันที่มีการอนุรักษ์สัตว์ป่า คงจะไม่มีใครอุตริไปกินกันอีก

สำหรับไข่นั้นเป็นอาหารที่ให้ประโยชน์มาก ให้โปรตีนประเภทสมบูรณ์ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตในวัยเด็ก เด็ก ๆ จึงไม่ควรงดไข่ ควรกินทุกวัน ในวัยสูงอายุ ถ้าได้มีการออกแรงทำงาน หรือออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันจะกินไข่เกือบทุกวันก็ไม่เป็นไร แต่ควรพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้คอเลสเตอรอลสูงในวันเดียวกัน จะเลือกกินไข่ขาวให้มากกว่าไข่แดง ก็จะยิ่งเป็นการดี เพราะในไข่ขาวนั้น มีโปรตีนที่ย่อยง่าย เหมาะกับผู้สูงอายุและไข่ขาวก็ไม่มีคอเลสเตอรอลเลย
อาหารจำพวกหอยนั้นมีหอยนางรมเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่จัดอยู่ในตารางอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นถ้าหากเราอยากบริโภคอาหารประเภทหอยจะต้องเป็นหอยทะเล เพื่อให้ได้สารอาหารไอโอดีนด้วยแล้ว เราก็สามารถเลือกหอยทะเลชนิดอื่น ๆ เช่น หอยกะพง หอยแมลงภู่ เป็นต้น หรือถ้าชอบหอยนางรมมากก็บริโภคได้ แต่ไม่บ่อยนักเท่านั้น
ตับไก่และตับหมู แม้จะมีคอเลสเตอรอลสูงแต่ก็มีธาตุเหล็ก ซึ่งช่วยบำรุงเลือด จะงดไม่กินเสียเลยก็ไม่ถูกนัก ในคนที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดอยู่ในระดับปกติควรกินตับสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แต่สำหรับคนที่มีคอเลสเตอรอลสูงอยู่ก็ควรลด
การลดคอเลสเตอรอลโดยการควบคุมอาหารนั้น จากการศึกษาในปัจจุบัน มีตัวเลขเสนอแนะว่า ไม่ควรกินให้เกินวันละ 300 มิลลิกรัม

วิธีที่ดีที่สุดจะทราบผลแน่นอนว่ามีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงหรือไม่ ก็คือวิธีการเจาะเลือดตรวจ เพื่อวัดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

ไขมันก็ใช่แต่จะให้โทษไปหมด ไขมันเป็นอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ถ้ารู้จักกินแต่เพียงพอ ไม่มากเกินความต้องการของร่างกาย เพราะไขมันเป็นอาหารที่ให้ทั้งพลังงานความร้อนแก่ร่างกาย สามารถนำไปสร้างน้ำดีและสร้างฮอร์โมนได้ และไขมันในร่างกายยังช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกาย ไขมันยังให้กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายสำหรับช่วยให้การเติบโต และสุขภาพของผิวหนังทารกและเด็ก ยังเป็นแหล่งเกิดและช่วยการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน อย่างเช่น วิตามินเอ ดี อี เค และนอกจากนั้น ไขมันยังช่วยเพิ่ม รส กลิ่น และเนื้อสัมผัสของอาหารให้ดีขึ้น
แต่ก็ไม่ควรกินไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ ที่มีกรดไขมันที่อิ่มตัว เพราะไขมันที่อิ่มตัวเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด
ไขมันในเลือดมี 2 ชนิด คือ ไขมันที่มีกรดไขมันชนิดที่อิ่มตัว และไขมันชนิดที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ผู้ที่มีอายุควรกินอาหาร ที่มีไขมันที่มีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว ไขมันชนิดไม่อิ่มตัวนั้นมีหลายชนิด แต่ที่สำคัญและเกี่ยวสุขภาพของเราคือ กรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็น กรดตัวนี้จะช่วยเร่งการเผาผลาญคอเลสเตอรอล ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลน้อย
เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
