ประโยชน์ของคลอโรฟิลล์ สารที่พบในพืชผักใบเขียว ที่เขาบอกสรรพคุณคลอโรฟิลล์มาดี๊ดี เรื่องนี้จริงหรือลวง ?
คลอโรฟิลล์เป็นสารที่มีสีในตัวเอง พบได้ในพืชทั่ว ๆ ไป และด้วยความที่คลอโรฟิลล์มีสีในตัวเอง จึงต้องคอยทำหน้าที่ดักจับพลังงานที่ส่องผ่านใบมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นในชั้นคลอโรพลาสต์ (Chloroplasts) ของใบพืช โดยสารคลอโรฟิลล์จริง ๆ ไม่ได้อยู่ในพืชใบเขียวเพียงสีเดียว แต่ยังสามารถพบได้ในหมู่พืชชั้นต่ำ เช่น สาหร่าย ซึ่งคลอโรฟิลล์ที่อยู่ในพืชกลุ่มนี้ก็จะมีสีที่แตกต่างกันไป ดังนั้นคลอโรฟิลล์จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม อันประกอบไปด้วย
1. คลอโรฟิลล์ a มีสีเขียวแกมน้ำเงิน พบในพืชชั้นสูงทุกชนิดที่สังเคราะห์แสงได้
2. คลอโรฟิลล์ b มีสีเขียวแกมเหลือง พบในพืชชั้นสูงทุกชนิดและในสาหร่ายสีเขียว
3. คลอโรฟิลล์ c พบในสาหร่ายสีน้ำตาลและสาหร่ายสีทอง แต่ไม่พบในพืชชั้นสูง
4. คลอโรฟิลล์ d พบในสาหร่ายสีแดง แต่ไม่พบในพืชชั้นสูง
ประโยชน์ของคลอโรฟิลล์
จากงานวิจัยทางเภสัชวิทยาทำให้ทราบว่า คลอโรฟิลล์มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ โดยกำจัดอนุมูลอิสระที่มีอยู่ได้ ทว่ากลไกการกำจัดอนุมูลอิสระของคลอโรฟิลล์จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพก็ต่อเมื่ออยู่ในรูปโมเลกุลที่ไม่ละลายน้ำเท่านั้น รวมทั้งคลอโรฟิลล์ยังมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ แต่ก็มีในปริมาณที่น้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับยาฆ่าเชื้อชนิดอื่น ๆ
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ประโยชน์ของคลอโรฟิลล์ด้านการต้านอนุมูลอิสระในมนุษย์ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันแน่ชัดว่าทำได้จริง เนื่องจากผลิตภัณฑ์คลอโรฟิลล์ที่มีอยู่ทุกวันนี้จะต้องทำการละลายก่อนรับประทานทั้งนั้น อีกทั้งหากต้องการใช้คลอโรฟิลล์ฆ่าเชื้อ ประโยชน์ข้อนี้อาจหวังผลไม่ได้มากนัก
ทั้งนี้แม้องค์การอาหารและยาของอเมริกาจะกำหนดคุณสมบัติของคลอโรฟิลล์ไว้เป็นยาระงับกลิ่นปาก และลดกลิ่นปัสสาวะ ทว่าก็ยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ที่แน่ชัดว่า คลอโรฟิลล์จะมีสรรพคุณช่วยล้างพิษ ดีท็อกซ์ลำไส้ ป้องกันมะเร็ง ช่วยให้ผิวพรรณสดใส หรือสมานแผลโรคกระเพาะและลำไส้ได้อย่างที่อวดอ้างกัน อีกทั้งสำนักงานอาหารและยาแห่งประเทศไทยยังเตือนว่าไม่ควรบริโภคคลอโรฟิลล์เกินวันละ 450 มิลลิลิตรด้วยนะคะ
น้ำคลอโรฟิลล์ กินแล้วผิวใสจริงหรือมั่ว ?
สาว ๆ เห็นประโยชน์ของคลอโรฟิลล์ข้อนี้แล้วคงอยากลองกันแน่ ๆ แต่ช้าก่อนค่ะ เพราะอย่างที่บอกไปว่าแม้คลอโรฟิลล์จะมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระอยู่ก็จริง ทว่าคุณสมบัตินี้จะโดดเด่นก็ต่อเมื่อคลอโรฟิลล์ต้องอยู่ในรูปของสารที่ไม่ละลายน้ำเท่านั้น ฉะนั้นน้ำคลอโรฟิลล์ที่ถูกเจือจางไปกับน้ำจนกลายเป็นของเหลวดื่มง่ายอย่างที่เห็น ดื่มเข้าไปแล้วก็คงจะได้รับประโยชน์จากคลอโรฟิลล์แบบเบาบางมาก ๆ ดังนั้นแพทย์และนักโภชนาการจึงแนะนำให้รับสารคลอโรฟิลล์ที่ไม่ผ่านการสังเคราะห์จากพืชผักโดยตรงจะได้ประโยชน์กว่า
โทษของคลอโรฟิลล์ มีหรือเปล่า ?
เนื่องจากคลอโรฟิลล์ในรูปผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในทุกวันนี้เป็นสารสกัดจากคลอโรฟิลล์อีกที ซึ่งก็ทำให้คลอโรฟิลล์ที่ได้ ไม่ใช่สารจากธรรมชาติ ฉะนั้นหากบริโภคเกินวันละ 450 มิลลิลิตร สำนักงานอาหารและยาก็เตือนว่าการบริโภคคลอโรฟิลล์จากสารสกัดมากเกินไป อาจเกิดอาการแพ้ เกิดผดผื่นคัน อุจจาระร่วง ลิ้นเป็นสีเหลืองหรือดํา และทําให้สีของปัสสาวะหรืออุจจาระเปลี่ยนเป็นสีเขียวในผู้บริโภคบางรายอีกด้วย
ทั้งยังอาจทำให้ไตทำงานหนักจากสารอะซีโตนและแอลกอฮอล์ที่เป็นสารทำละลายคลอโรฟิลล์ที่นำมาจากพืช จนเป็นสาเหตุให้สุขภาพไตไม่แข็งแรง ที่สำคัญสำนักงานอาหารและยายังมีข้อห้ามไม่ให้เด็กและสตรีมีครรภ์บริโภคอาหารเสริมคลอโรฟิลล์เด็ดขาด เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะหากบริโภคในปริมาณที่เข้มข้นเกิน 450 มิลลิลิตรนะคะ
คลอโรฟิลล์ช่วยทดแทนสารอาหารจากผักและผลไม้ได้ไหม
ถึงตรงนี้หลายคนสงสัยว่า เราจะสามารถรับประทานคลอโรฟิลล์เพื่อไปเติมเต็มสารอาหารทดแทนพืชผักได้ไหม ซึ่งก็ต้องบอกตามตรงค่ะว่า คลอโรฟิลล์ในรูปที่ถูกสกัดออกมาเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว ปริมาณสารอาหารและประโยชน์ก็ถูกสกัดออกไปจนแทบไม่เหลือเค้าเดิมของคลอโรฟิลล์ที่อยู่ในพืชเลย ดังนั้นอาจจะต้องลดความคาดหวังในเรื่องประโยชน์ของคลอโรฟิลล์ลงบ้าง แล้วหันมารับประทานผัก-ผลไม้ให้มากขึ้นเพื่อให้ร่างกายได้รับคลอโรฟิลล์จากพืชผักโดยตรง
ดูแล้วเหมือนผลิตภัณฑ์คลอโรฟิลล์จะมีประโยชน์สู้คลอโรฟิลล์ในพืชผักไม่ได้เลยนะคะ ฉะนั้นหากเรารับประทานผัก-ผลไม้สดเป็นประจำ ร่างกายก็แทบไม่ต้องการสารสกัดคลอโรฟิลล์เพิ่มแต่อย่างใด โดยเฉพาะหากคุณสามารถรับประทานผักโขม 1 ถ้วย ก็จะได้คลอโรฟิลล์ถึง 23.7 มิลลิกรัม หรือหากสายแข็ง ชอบรับประทานผักชีฝรั่ง ในผักชนิดนี้ปริมาณ 1 ถ้วยตวง ก็ให้คลอโรฟิลล์สูงถึง 38 มิลลิกรัมเลยทีเดียว
ขอบคุณข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข, เดลินิวส์, สสส., เภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
คลอโรฟิลล์แบบสกัดเป็นผง
แคปซูล หรือแม้แต่น้ำคลอโรฟิลล์บรรจุขวดพร้อมดื่ม
เดี๋ยวนี้เห็นวางขายให้เกลื่อนตามเทรนด์คนรักสุขภาพ
แต่เจ้าคลอโรฟิลล์ที่แต่เดิมแล้วอยู่ในพืชผัก
เมื่อมาอยู่ในร่างกายของเราแล้วจะให้ประโยชน์ในแง่ไหน
หรือจะมีอันตรายกับสุขภาพหรือเปล่า เรามาคลายข้อสงสัยเรื่องคลอโรฟิลล์กัน
คลอโรฟิลล์ คืออะไร
คลอโรฟิลล์เป็นสารที่มีสีในตัวเอง พบได้ในพืชทั่ว ๆ ไป และด้วยความที่คลอโรฟิลล์มีสีในตัวเอง จึงต้องคอยทำหน้าที่ดักจับพลังงานที่ส่องผ่านใบมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นในชั้นคลอโรพลาสต์ (Chloroplasts) ของใบพืช โดยสารคลอโรฟิลล์จริง ๆ ไม่ได้อยู่ในพืชใบเขียวเพียงสีเดียว แต่ยังสามารถพบได้ในหมู่พืชชั้นต่ำ เช่น สาหร่าย ซึ่งคลอโรฟิลล์ที่อยู่ในพืชกลุ่มนี้ก็จะมีสีที่แตกต่างกันไป ดังนั้นคลอโรฟิลล์จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม อันประกอบไปด้วย
1. คลอโรฟิลล์ a มีสีเขียวแกมน้ำเงิน พบในพืชชั้นสูงทุกชนิดที่สังเคราะห์แสงได้
2. คลอโรฟิลล์ b มีสีเขียวแกมเหลือง พบในพืชชั้นสูงทุกชนิดและในสาหร่ายสีเขียว
3. คลอโรฟิลล์ c พบในสาหร่ายสีน้ำตาลและสาหร่ายสีทอง แต่ไม่พบในพืชชั้นสูง
4. คลอโรฟิลล์ d พบในสาหร่ายสีแดง แต่ไม่พบในพืชชั้นสูง
ประโยชน์ของคลอโรฟิลล์
จากงานวิจัยทางเภสัชวิทยาทำให้ทราบว่า คลอโรฟิลล์มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ โดยกำจัดอนุมูลอิสระที่มีอยู่ได้ ทว่ากลไกการกำจัดอนุมูลอิสระของคลอโรฟิลล์จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพก็ต่อเมื่ออยู่ในรูปโมเลกุลที่ไม่ละลายน้ำเท่านั้น รวมทั้งคลอโรฟิลล์ยังมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ แต่ก็มีในปริมาณที่น้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับยาฆ่าเชื้อชนิดอื่น ๆ
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ประโยชน์ของคลอโรฟิลล์ด้านการต้านอนุมูลอิสระในมนุษย์ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันแน่ชัดว่าทำได้จริง เนื่องจากผลิตภัณฑ์คลอโรฟิลล์ที่มีอยู่ทุกวันนี้จะต้องทำการละลายก่อนรับประทานทั้งนั้น อีกทั้งหากต้องการใช้คลอโรฟิลล์ฆ่าเชื้อ ประโยชน์ข้อนี้อาจหวังผลไม่ได้มากนัก
ทั้งนี้แม้องค์การอาหารและยาของอเมริกาจะกำหนดคุณสมบัติของคลอโรฟิลล์ไว้เป็นยาระงับกลิ่นปาก และลดกลิ่นปัสสาวะ ทว่าก็ยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ที่แน่ชัดว่า คลอโรฟิลล์จะมีสรรพคุณช่วยล้างพิษ ดีท็อกซ์ลำไส้ ป้องกันมะเร็ง ช่วยให้ผิวพรรณสดใส หรือสมานแผลโรคกระเพาะและลำไส้ได้อย่างที่อวดอ้างกัน อีกทั้งสำนักงานอาหารและยาแห่งประเทศไทยยังเตือนว่าไม่ควรบริโภคคลอโรฟิลล์เกินวันละ 450 มิลลิลิตรด้วยนะคะ
น้ำคลอโรฟิลล์ กินแล้วผิวใสจริงหรือมั่ว ?
สาว ๆ เห็นประโยชน์ของคลอโรฟิลล์ข้อนี้แล้วคงอยากลองกันแน่ ๆ แต่ช้าก่อนค่ะ เพราะอย่างที่บอกไปว่าแม้คลอโรฟิลล์จะมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระอยู่ก็จริง ทว่าคุณสมบัตินี้จะโดดเด่นก็ต่อเมื่อคลอโรฟิลล์ต้องอยู่ในรูปของสารที่ไม่ละลายน้ำเท่านั้น ฉะนั้นน้ำคลอโรฟิลล์ที่ถูกเจือจางไปกับน้ำจนกลายเป็นของเหลวดื่มง่ายอย่างที่เห็น ดื่มเข้าไปแล้วก็คงจะได้รับประโยชน์จากคลอโรฟิลล์แบบเบาบางมาก ๆ ดังนั้นแพทย์และนักโภชนาการจึงแนะนำให้รับสารคลอโรฟิลล์ที่ไม่ผ่านการสังเคราะห์จากพืชผักโดยตรงจะได้ประโยชน์กว่า
โทษของคลอโรฟิลล์ มีหรือเปล่า ?
เนื่องจากคลอโรฟิลล์ในรูปผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในทุกวันนี้เป็นสารสกัดจากคลอโรฟิลล์อีกที ซึ่งก็ทำให้คลอโรฟิลล์ที่ได้ ไม่ใช่สารจากธรรมชาติ ฉะนั้นหากบริโภคเกินวันละ 450 มิลลิลิตร สำนักงานอาหารและยาก็เตือนว่าการบริโภคคลอโรฟิลล์จากสารสกัดมากเกินไป อาจเกิดอาการแพ้ เกิดผดผื่นคัน อุจจาระร่วง ลิ้นเป็นสีเหลืองหรือดํา และทําให้สีของปัสสาวะหรืออุจจาระเปลี่ยนเป็นสีเขียวในผู้บริโภคบางรายอีกด้วย
ทั้งยังอาจทำให้ไตทำงานหนักจากสารอะซีโตนและแอลกอฮอล์ที่เป็นสารทำละลายคลอโรฟิลล์ที่นำมาจากพืช จนเป็นสาเหตุให้สุขภาพไตไม่แข็งแรง ที่สำคัญสำนักงานอาหารและยายังมีข้อห้ามไม่ให้เด็กและสตรีมีครรภ์บริโภคอาหารเสริมคลอโรฟิลล์เด็ดขาด เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะหากบริโภคในปริมาณที่เข้มข้นเกิน 450 มิลลิลิตรนะคะ
คลอโรฟิลล์ช่วยทดแทนสารอาหารจากผักและผลไม้ได้ไหม
ถึงตรงนี้หลายคนสงสัยว่า เราจะสามารถรับประทานคลอโรฟิลล์เพื่อไปเติมเต็มสารอาหารทดแทนพืชผักได้ไหม ซึ่งก็ต้องบอกตามตรงค่ะว่า คลอโรฟิลล์ในรูปที่ถูกสกัดออกมาเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว ปริมาณสารอาหารและประโยชน์ก็ถูกสกัดออกไปจนแทบไม่เหลือเค้าเดิมของคลอโรฟิลล์ที่อยู่ในพืชเลย ดังนั้นอาจจะต้องลดความคาดหวังในเรื่องประโยชน์ของคลอโรฟิลล์ลงบ้าง แล้วหันมารับประทานผัก-ผลไม้ให้มากขึ้นเพื่อให้ร่างกายได้รับคลอโรฟิลล์จากพืชผักโดยตรง
ดูแล้วเหมือนผลิตภัณฑ์คลอโรฟิลล์จะมีประโยชน์สู้คลอโรฟิลล์ในพืชผักไม่ได้เลยนะคะ ฉะนั้นหากเรารับประทานผัก-ผลไม้สดเป็นประจำ ร่างกายก็แทบไม่ต้องการสารสกัดคลอโรฟิลล์เพิ่มแต่อย่างใด โดยเฉพาะหากคุณสามารถรับประทานผักโขม 1 ถ้วย ก็จะได้คลอโรฟิลล์ถึง 23.7 มิลลิกรัม หรือหากสายแข็ง ชอบรับประทานผักชีฝรั่ง ในผักชนิดนี้ปริมาณ 1 ถ้วยตวง ก็ให้คลอโรฟิลล์สูงถึง 38 มิลลิกรัมเลยทีเดียว
ขอบคุณข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข, เดลินิวส์, สสส., เภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล