
วิธีคลายเครียดแบบง่าย ๆ แค่อ้าปากให้กว้าง ๆ แล้วหัวเราะออกมาดัง ๆ สุขภาพใจและกายก็เปี่ยมสุขไปทั้งวัน แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็มาฝึกหัวเราะบำบัดไปด้วยกัน แถมช่วยรักษาโรคได้ด้วย
ในสังคมปัจจุบันที่รายล้อมด้วยความเครียด เชื่อหรือไม่ว่า "การหัวเราะ" มีความสำคัญอย่างมาก เพราะไม่เป็นเพียงการแสดงอารมณ์สุขตามธรรมชาติของมนุษย์เท่านั้น ในทางการแพทย์ยังใช้เป็นเครื่องมือบำบัดโรคภัยและอารมณ์ซึมเศร้าได้อีกด้วย ดังที่ ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยา เผยให้ทราบผ่านเว็บไซต์ สสส. ถึงประโยชน์ดี ๆ ที่ได้จากการหัวเราะ
โดย ดร.วัลลภ ให้ข้อมูลว่า "การหัวเราะ" ทำให้ร่างกายหลั่งสารโดพามีนที่ช่วยในการเรียนรู้และความทรงจำ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลดีต่อระบบประสาทของเรา โดยฮอร์โมนโดพามีนจะช่วยลดความเครียด และทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลกลับมาอยู่ในระดับที่สมดุล ซึ่งจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันและร่างกายของเราแข็งแรงขึ้น ผลจากการที่เราไม่เครียดจะทำให้ร่างกายเราได้พักผ่อนเพียงพอ นอนหลับสนิท จิตใจสงบ รู้สึกสดชื่น และยังทำให้มีสมาธิมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ การหัวเราะ ยังทำให้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ ทำให้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายเป็นไปด้วยดี ซึ่งคนที่สามารถสร้างอารมณ์ขันและหัวเราะได้ในสถานการณ์ที่เลวร้าย จะทำให้เกิดพลังในตัวเอง คลายความเศร้าหมอง และช่วยเปิดทัศนคติในการมองโลกให้เป็นไปในทางบวกได้



"การหัวเราะแบบธรรมชาติ" เกิดจากสิ่งกระตุ้นให้เราเกิดอารมณ์ขัน แต่การ "หัวเราะบำบัด" คือ ภายใน โดยผู้หัวเราะจะคอยควบคุมเส้นประสาทสรีระกายตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของเรา รวมทั้งกระบวนการหายใจของเราให้ขยับ ขับเคลื่อนโดยไม่จำเป็นต้องมีสิ่งกระตุ้นเร้า หรือใครทำอะไรให้เราเกิดอารมณ์ขัน
ดร.วัลลภ บอกว่า การหัวเราะบำบัดมีหลายแบบ รวมถึงมีการผสมผสานระหว่างการหัวเราะและควบคุมการหายใจของโยคะเข้าด้วยกัน ซึ่งในอเมริกา แคนาดา อังกฤษ และอีกหลายประเทศ ได้นำการรักษาผู้ป่วยด้วยการหัวเราะเข้ามามีบทบาทแทนที่การบำบัดด้วยการใช้ยาคลายเครียด และยาแก้ปวด เพราะอารมณ์ขันให้ผลเช่นเดียวกับการออกกำลังกาย เป็นการเพิ่มระดับฮอร์โมนฝ่ายดี เช่น ฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยระงับความเจ็บปวด และฮอร์โมนเซโรโทนิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เราอารมณ์ดี ขณะเดียวกันก็ทำให้ระดับฮอร์โมนความเครียดลดลง
สำหรับประเทศไทย ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้คิดค้นการ "หัวเราะบำบัด" โดยผสมผสานการควบคุมการหายใจ การเปล่งเสียงหัวเราะ และการบริหารร่างกายไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นการหัวเราะที่ให้ผลเชิงสุขภาพโดยไม่จำเป็นต้องมีอารมณ์ขัน
การฝึกหัวเราะบำบัด เริ่มจากฝึกหัวเราะเพื่อเคลื่อนไหวอวัยวะภายใน 4 ส่วน ด้วยการเปล่งเสียงต่าง ๆ กัน คือ เสียง "โอ" ทำให้ภายในท้องขยับ, เสียง "อา" ทำให้อกขยับขยาย, เสียง "อู" เสียง "เอ" ทำให้ลำคอเปิดโล่ง และช่วยบริหารใบหน้า ทั้งนี้ แต่ละเสียงมีท่าทางประกอบและมีประโยชน์ในการบำบัดที่ต่างกันเช่น









"เมื่อเริ่มฝึกอย่างต่อเนื่องจะพบว่าทุกส่วนของร่างกายจะโล่ง โปร่ง เบา และสบายขึ้น ความสดชื่นเข้ามาแทนที่ เมื่อชีวิตมีความสดชื่นจะส่งผลไปถึงการมองโลกวิธีคิดหรือมุมมองการใช้ชีวิตเปลี่ยน ทั้งนี้ การดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีแบบองค์รวมจะต้องควบคู่ไปกับการบริโภคที่ดี และออกกำลังกายที่เหมาะสมด้วย" ดร.วัลลภ กล่าวทิ้งท้าย
ได้ยินแบบนี้แล้ว...มาเริ่มเปล่งเสียงหัวเราะเพื่อสุขภาพกายใจที่ดีกันเถอะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

โดย กิดานัล กังแฮ Team Content www.thaihealth.or.th