เมล็ดแฟลกซ์ ธัญพืชตัวนิด ผลผลิตจากต้นลินิน ของดีสรรพคุณล้ำค่า ทั้งป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดคอเลสเตอรอลตัวร้าย และควบคุมน้ำหนักได้ดีเยี่ยม
ในขณะที่กระแสการรักสุขภาพยังคงแรงอย่างต่อเนื่อง เราก็อาจจะได้ยินชื่อของธัญพืชที่เราไม่ค่อยจะคุ้นเคยเสียเท่าไรหนาหูขึ้นเนื่องด้วยสรรพคุณและคุณค่าทางโภชนาการที่สูงลิบทำให้ธัญพืชเหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมกันมากขึ้น อย่างที่เห็นได้ชัดก็น่าจะเป็นเมล็ดเจียนี่ล่ะค่ะ แต่ยังมีธัญพืชอีกชนิดที่สรรพคุณโดดเด่นไม่แพ้กับธัญพืชชนิดอื่น ๆ นั่นก็คือ เมล็ดแฟลกซ์ อีกหนึ่งเมล็ดพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งคนรักสุขภาพไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่งเลยล่ะ แต่ว่าเจ้าเมล็ดแฟลกซ์ สรรพคุณจะเป็นอย่างไร ดีกับร่างกายของเรามากขนาดไหน ใครบ้างที่รับประทานได้ และมีผลข้างเคียงหรือไม่ เราไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
เมล็ดแฟลกซ์ คืออะไร ?
เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed) หรือเมล็ดจากต้นลินิน (Linseed) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Linum usitatissimum L. เป็นเมล็ดพืชที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีการค้นพบว่าเจ้าเมล็ดพืชชนิดนี้ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงบาบิโลนเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล และในศตวรรษที่ 8 ก็มีความเชื่อว่าเมล็ดแฟลกซ์นั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงเป็นที่นิยมปลูกเพื่อนำมาบริโภคอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เมล็ดแฟลกซ์มีลักษณะคล้ายเมล็ดงาแต่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วคนมักจะนิยมนำเมล็ดแฟลกซ์มาบดก่อนจะนำมารับประทาน เพราะจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารที่อยู่ในเมล็ดได้ดีกว่าการรับประทานเป็นแบบเมล็ด หรือจะรับประทานเป็นแบบน้ำมันสกัด แต่ในน้ำมันสกัดอาจมีคุณค่าทางสารอาหารไม่เท่าแบบบด อย่างสารลิกแนนที่พบในเมล็ดแฟลกซ์แบบบด พอมาอยู่ในรูปน้ำมันสกัดจากเมล็ดแฟลกซ์ กลับพบว่าไม่มีสารลิกแนนอยู่ในน้ำมันสกัดนะคะ
เมล็ดแฟลกซ์ สรรพคุณทรงคุณค่า ประโยชน์ดีที่คู่ควร
จากการศึกษาพบว่าเมล็ดแฟลกซ์นั้นมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่ว่าจะเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 สารลิกแนน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แถมยังมีไฟเบอร์สูง จึงทำให้เจ้าเมล็ดแฟลกซ์นี้มีสรรพคุณที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเมล็ดแฟลกซ์ 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
- พลังงาน 534 กิโลแคลอรี
- โปรตีน 18.26 กรัม
- ไขมัน 42.16 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 28.88 กรัม
- ไฟเบอร์ 27.3 กรัม
- แคลเซียม 255 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 5.73 มิลลิกรัม
- แมกนีเซียม 392 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 642 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 813 มิลลิกรัม
- โฟเลต 87 ไมโครกรัม
- วิตามินเค 4.3 มิลลิกรัม
- ไขมันไม่อิ่มตัวพันธะคู่ (โอเมก้า 3, 6) 28.73 กรัม
นอกจากนี้สรรพคุณของเมล็ดแฟลกซ์ก็ยังโดดเด่นอีกหลายด้าน ทั้งช่วยบำรุงหัวใจ ลดน้ำหนัก หรือแม้แต่ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งอีกหลายชนิด อีกทั้งยังสามารถช่วยควบคุมน้ำหนัก และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย ทั้งนี้เมล็ดแฟลกซ์ยังมีสรรพคุณอีกมากมายดังต่อไปนี้ค่ะ
1. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
มีการศึกษาพบว่าเมล็ดแฟลกซ์สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีได้ โดยการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเติมเมล็ดแฟลกซ์ลงในอาหารนั้น สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลงได้ เนื่องจากในเมล็ดแฟลกซ์มีไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำได้ ซึ่งเจ้าไฟเบอร์ชนิดนี้จะไปช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดนั่นเอง
2. ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
อาหารที่มีส่วนประกอบของผลไม้ ผัก ธัญพืช ถั่วเปลือกแข็ง และพืชตระกูลถั่ว รวมทั้งอาหารที่มีกรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid) สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่ไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือผู้ที่มีโรคหัวใจอยู่แล้วก็สามารถช่วยบรรเทาให้อาการอยู่ในระดับที่ดีได้ ซึ่งในเมล็ดแฟลกซ์นั้นต่างก็มีทั้งไฟเบอร์ที่ดีต่อหัวใจและกรดอัลฟาไลโปอิก รวมทั้งไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีการวิจัยพบอีกด้วยว่าการรับประทานอาหารที่มีไขมันโอเมก้า 3 จะช่วยให้ความดันโลหิตในร่างกายของผู้ที่มีโรคความดันโลหิตลดลงได้อีกด้วย
3. ป้องกันโรคมะเร็ง
สารต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดแฟลกซ์ ถือเป็นอาวุธที่ล้ำค่าในการป้องกันโรคมะเร็งเลยเชียวล่ะ เนื่องจากสารนี้จะเข้าไปป้องกันการถูกทำลายของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ให้เซลล์เหล่านั้นมีความเสี่ยงเป็นเซลล์มะเร็ง โดยมีการค้นพบว่าเจ้าสารต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดแฟลกซ์สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และโรคมะเร็งลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ทั้งนี้ก็ควรระมัดระวังในการใช้ เพราะหากผู้หญิงรับประทานมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน เนื่องจากการได้รับสารไฟโตเอสโตรเจนที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของระบบฮอร์โมนและกลายเป็นโรคมะเร็งเต้านมในที่สุดค่ะ
4. ป้องกันโรควัยทอง
ข่าวดีสำหรับหญิงในวัยหมดประจำเดือนเลยล่ะค่ะ เพราะเจ้าเมล็ดแฟลกซ์นี้มีการศึกษาเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่งพบว่า การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ สามารถทดแทนการรับประทานฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยหมดประจำเดือนได้ โดยการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเมล็ดแฟลกซ์เพียง 40 กรัม มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับยาฮอร์โมนที่ใช้ในการบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน และช่องคลอดแห้งในสตรีวัยทองได้ แต่ถึงอย่างนั้นเองก็ยังมีการศึกษาอื่นออกมาแย้งว่า เมล็ดแฟลกซ์ไม่สามารถรักษาอาการโรควัยทองได้ และไม่สามารถป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกได้
5. อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
การรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระไม่เพียงพอก็อาจจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะความผิดปกติได้ โดยอาจจะทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายได้ง่ายขึ้น รวมทั้งยังอาจจะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน รวมทั้งเกิดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหอบหืด โรคอ้วน และปัญหาเรื่องการเผาผลาญได้มากขึ้น ซึ่งมีการศึกษาพบว่า การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเหล่านี้ได้ และช่วยให้สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายเพิ่มขึ้นอีกด้วย
6. ช่วยระบบขับถ่าย
เมล็ดแฟลกซ์นั้นมีไฟเบอร์ทั้งสองชนิดคือ ชนิดที่ละลายน้ำได้และละลายน้ำไม่ได้ ซึ่งชนิดที่ละลายน้ำไม่ได้นี่ล่ะที่ช่วยสร้างเสริมให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเรื่องท้องผูกบ่อย ๆ และเพราะเหตุนี้นั่นเองจึงทำให้เมล็ดแฟลกซ์ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ เพราะเมื่อระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างเป็นปกติ ความเสี่ยงจากมะเร็งลำไส้ก็จะลดลงค่ะ
7. บำรุงเล็บและเส้นผม
กรดไขมันโอเมก้า 3 ในเมล็ดแฟลกซ์ไม่ได้มีดีแค่ช่วยบำรุงหัวใจเท่านั้น แต่ยังช่วยบำรุงเล็บและเส้นผม ช่วยป้องกันการแห้งเสียของผม รวมทั้งช่วยบำรุงสุขภาพเล็บไม่ให้เปราะบางและหักง่าย อีกทั้งยังทำให้ทั้งเส้นผมและเล็บดูสุขภาพดีอีกด้วย
8. ป้องกันภาวะมีบุตรยาก และมะเร็งต่อมลูกหมาก
ใช่ว่าเมล็ดแฟลกซ์จะดีกับผู้หญิงเพียงอย่างเดียว ไขมันในเมล็ดแฟลกซ์ก็ดีกับคุณผู้ชายเช่นกันค่ะ เพราะสามารถช่วยลดการบวมและการอักเสบของต่อมลูกหมากได้ อีกทั้งยังช่วยสร้างเสริมให้สเปิร์มแข็งแรงและมีสุขภาพดี เพิ่มโอกาสในการมีบุตรได้ นอกจากนี้สารอาหารในเมล็ดแฟลกซ์ก็ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในอวัยวะเพศชายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วยค่ะ
9. รักษาภาวะซึมเศร้า
โรคซึมเศร้านั้นก็มีสาเหตุมาจากภาวะร่างกายที่ไม่สมดุลได้เช่นกัน โดยมีการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นพบว่า การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์สามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้ เนื่องจากในเมล็ดแฟลกซ์นั้นมีทั้ง DHA และ EPA ซึ่งเป็นสารที่มีความสำคัญต่อร่างกาย โดยสารชนิดนี้ก็มีอยู่มากในเนื้อปลาและวอลนัท หากรับประทานเข้าไปแล้วก็จะช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุลในร่างกายได้ และให้ผลดีเช่นเดียวกับการรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้าเลยล่ะค่ะ
10. บำรุงตับ
การศึกษาในประเทศญี่ปุ่นซึ่งถูกเผยเแพร่ในเว็บไซต์ Nutrition Research ได้เปิดเผยว่าการรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ซึ่งมีสารลิกแนนนั้น สามารถลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคตับได้ โดยปริมาณที่ได้ผลดีที่สุดก็คือการรับประทานสารสกัดลิกแนนจากเมล็ดแฟลกซ์ในปริมาณ 100 มิลลิกรัมทุกวัน แต่ทั้งนี้ก็ต้องลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ด้วยตนเองด้วย เช่น การลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ หรือเลิกดื่มไปเลย เพราะถึงแม้จะรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ แต่หากยังดื่มหนักก็ไม่ช่วยลดความเสี่ยงได้หรอกค่ะ
ข้อควรระวังในการใช้เมล็ดแฟลกซ์
แม้ว่าเมล็ดแฟลกซ์จะเป็นธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ว่าการนำมาใช้ก็ยังอาจจะมีผลข้างเคียงกับคนบางกลุ่ม ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ จึงจำเป็นต้องใช้อย่างถูกวิธีและใช้ภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยข้อควรระวังมีดังนี้ค่ะ
1. หญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเมล็ดแฟลกซ์โดยเด็ดขาด เนื่องจากในเมล็ดแฟลกซ์ มีสารลิกแนน (Lignans) ซึ่งเป็นสารไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ที่ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานยืนยันว่าอาจจะเป็นอันตราย แต่หากในร่างกายมีฮอร์โมนกลุ่มเอสโตรเจนมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์บางอย่างได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อความมั่นใจก่อนที่รับประทานเมล็ดแฟลกซ์จะดีกว่าค่ะ
2. ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกมาผิดปกติ การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์จะเข้าไปทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง ดังนั้นหากมีปัญหาสุขภาพดังกล่าว ห้ามใช้เด็ดขาดค่ะ
3. แม้ว่าจะมีบางการศึกษาพบว่าการรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ แต่ถ้าหากใช้ควบคู่กับการรับประทานยารักษาโรคเบาหวานก็อาจจะทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงมากเกินไปจนอยู่ในระดับที่อันตราย ดังนั้นหากจะใช้ควรสังเกตระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิดค่ะ หรือทางที่ดีปรึกษาแพทย์ก่อนดีกว่า
4. ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อุดตันหรือมีหลอดอาหารแคบ และมีภาวะการอักเสบในลำไส้ใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ เพราะปริมาณไฟเบอร์ที่สูงมากเกินไปอาจจะทำให้อาการยิ่งเลวร้ายลงได้ค่ะ
5. ผู้ป่วยที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดแฟลกซ์ เพราะแม้ว่าจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ แต่สารบางชนิดในเมล็ดแฟลกซ์อาจส่งผลให้ระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมากเกินไปจนต้องรับประทานยาควรจะเลี่ยงดีกว่าค่ะ
6. เมล็ดแฟลกซ์สามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตที่สูงได้ แต่สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์จะยิ่งทำให้ความดันโลหิตต่ำยิ่งกว่าเดิม และอาจทำให้เป็นอันตรายได้ ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงค่ะ
เมล็ดแฟลกซ์ ลดน้ำหนักได้จริงหรือ ?
เมล็ดแฟลกซ์เป็นอีกหนึ่งธัญพืชที่มีไฟเบอร์สูง ซึ่งไฟเบอร์นี่ล่ะที่จะช่วยลดความอยากอาหารและช่วยให้อิ่มท้องนานขึ้น ช่วยป้องกันการรับประทานจุบจิบหรือการรับประทานมากเกินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือต้องการลดความอ้วน แต่ทั้งนี้ก็ควรจะรับประทานควบคู่กับอาหารเพื่อสุขภาพจะดีที่สุด เพราะรับประทานเมล็ดแฟลกซ์มากไปอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้
เมล็ดแฟลกซ์ กินอย่างไร ?
แม้ว่าเมล็ดแฟลกซ์จะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักและสามารถนำไปผสมกับอาหารหรือขนมได้ แต่การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ที่ถูกต้องคือ ควรนำเมล็ดไปบดก่อน เนื่องจากเมล็ดแฟลกซ์ที่ยังเป็นเมล็ดอยู่นั้น ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายเพื่อดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้เต็มที่ค่ะ ฉะนั้นเลือกซื้อแบบที่บดสำเร็จแล้วมาใช้จะสะดวกกว่า หรือถ้าหากอยากนำมาบดเองก็สามารถทำได้ โดยวิธีการรับประทานก็ไม่ยาก หากเป็นเมล็ดแฟลกซ์ที่บดแล้วก็สามารถนำมาโรยลงบนอาหารหรือเครื่องดื่มได้ทันที
นอกจากนี้เมล็ดแฟลกซ์ยังมีการสกัดเป็นน้ำมัน หรือสกัดเป็นอาหารเสริมเพื่อไว้รับประทานได้อีกด้วย จะเลือกแบบไหนก็แล้วแต่จะสะดวกเลยล่ะค่ะ
ได้ทราบคุณประโยชน์ดี ๆ ของเจ้าธัญพืชล้ำค่าอย่างเมล็ดแฟลกซ์กันไปแล้ว ใครที่สนใจอยากหามาลองรับประทานละก็ ขอแนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ก่อนจะดีกว่า เนื่องจากเมล็ดแฟลกซ์ก็เป็นธัญพืชที่มีผลข้างเคียงในการใช้ และเพื่อให้ทราบวิธีรับประทานเมล็ดแฟลกซ์อย่างได้สุขภาพได้ประโยชน์อย่างแท้จริงค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
U.S. National Library of Medicine
mensfitness.com
whfoods.org
herbwisdom.com
ในขณะที่กระแสการรักสุขภาพยังคงแรงอย่างต่อเนื่อง เราก็อาจจะได้ยินชื่อของธัญพืชที่เราไม่ค่อยจะคุ้นเคยเสียเท่าไรหนาหูขึ้นเนื่องด้วยสรรพคุณและคุณค่าทางโภชนาการที่สูงลิบทำให้ธัญพืชเหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมกันมากขึ้น อย่างที่เห็นได้ชัดก็น่าจะเป็นเมล็ดเจียนี่ล่ะค่ะ แต่ยังมีธัญพืชอีกชนิดที่สรรพคุณโดดเด่นไม่แพ้กับธัญพืชชนิดอื่น ๆ นั่นก็คือ เมล็ดแฟลกซ์ อีกหนึ่งเมล็ดพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งคนรักสุขภาพไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่งเลยล่ะ แต่ว่าเจ้าเมล็ดแฟลกซ์ สรรพคุณจะเป็นอย่างไร ดีกับร่างกายของเรามากขนาดไหน ใครบ้างที่รับประทานได้ และมีผลข้างเคียงหรือไม่ เราไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
เมล็ดแฟลกซ์ คืออะไร ?
เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed) หรือเมล็ดจากต้นลินิน (Linseed) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Linum usitatissimum L. เป็นเมล็ดพืชที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีการค้นพบว่าเจ้าเมล็ดพืชชนิดนี้ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงบาบิโลนเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล และในศตวรรษที่ 8 ก็มีความเชื่อว่าเมล็ดแฟลกซ์นั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงเป็นที่นิยมปลูกเพื่อนำมาบริโภคอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เมล็ดแฟลกซ์มีลักษณะคล้ายเมล็ดงาแต่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วคนมักจะนิยมนำเมล็ดแฟลกซ์มาบดก่อนจะนำมารับประทาน เพราะจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารที่อยู่ในเมล็ดได้ดีกว่าการรับประทานเป็นแบบเมล็ด หรือจะรับประทานเป็นแบบน้ำมันสกัด แต่ในน้ำมันสกัดอาจมีคุณค่าทางสารอาหารไม่เท่าแบบบด อย่างสารลิกแนนที่พบในเมล็ดแฟลกซ์แบบบด พอมาอยู่ในรูปน้ำมันสกัดจากเมล็ดแฟลกซ์ กลับพบว่าไม่มีสารลิกแนนอยู่ในน้ำมันสกัดนะคะ
เมล็ดแฟลกซ์ สรรพคุณทรงคุณค่า ประโยชน์ดีที่คู่ควร
จากการศึกษาพบว่าเมล็ดแฟลกซ์นั้นมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่ว่าจะเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 สารลิกแนน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แถมยังมีไฟเบอร์สูง จึงทำให้เจ้าเมล็ดแฟลกซ์นี้มีสรรพคุณที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเมล็ดแฟลกซ์ 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
- พลังงาน 534 กิโลแคลอรี
- โปรตีน 18.26 กรัม
- ไขมัน 42.16 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 28.88 กรัม
- ไฟเบอร์ 27.3 กรัม
- แคลเซียม 255 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 5.73 มิลลิกรัม
- แมกนีเซียม 392 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 642 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 813 มิลลิกรัม
- โฟเลต 87 ไมโครกรัม
- วิตามินเค 4.3 มิลลิกรัม
- ไขมันไม่อิ่มตัวพันธะคู่ (โอเมก้า 3, 6) 28.73 กรัม
นอกจากนี้สรรพคุณของเมล็ดแฟลกซ์ก็ยังโดดเด่นอีกหลายด้าน ทั้งช่วยบำรุงหัวใจ ลดน้ำหนัก หรือแม้แต่ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งอีกหลายชนิด อีกทั้งยังสามารถช่วยควบคุมน้ำหนัก และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย ทั้งนี้เมล็ดแฟลกซ์ยังมีสรรพคุณอีกมากมายดังต่อไปนี้ค่ะ
1. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
มีการศึกษาพบว่าเมล็ดแฟลกซ์สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีได้ โดยการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเติมเมล็ดแฟลกซ์ลงในอาหารนั้น สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลงได้ เนื่องจากในเมล็ดแฟลกซ์มีไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำได้ ซึ่งเจ้าไฟเบอร์ชนิดนี้จะไปช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดนั่นเอง
2. ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
อาหารที่มีส่วนประกอบของผลไม้ ผัก ธัญพืช ถั่วเปลือกแข็ง และพืชตระกูลถั่ว รวมทั้งอาหารที่มีกรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid) สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่ไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือผู้ที่มีโรคหัวใจอยู่แล้วก็สามารถช่วยบรรเทาให้อาการอยู่ในระดับที่ดีได้ ซึ่งในเมล็ดแฟลกซ์นั้นต่างก็มีทั้งไฟเบอร์ที่ดีต่อหัวใจและกรดอัลฟาไลโปอิก รวมทั้งไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีการวิจัยพบอีกด้วยว่าการรับประทานอาหารที่มีไขมันโอเมก้า 3 จะช่วยให้ความดันโลหิตในร่างกายของผู้ที่มีโรคความดันโลหิตลดลงได้อีกด้วย
3. ป้องกันโรคมะเร็ง
สารต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดแฟลกซ์ ถือเป็นอาวุธที่ล้ำค่าในการป้องกันโรคมะเร็งเลยเชียวล่ะ เนื่องจากสารนี้จะเข้าไปป้องกันการถูกทำลายของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ให้เซลล์เหล่านั้นมีความเสี่ยงเป็นเซลล์มะเร็ง โดยมีการค้นพบว่าเจ้าสารต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดแฟลกซ์สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และโรคมะเร็งลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ทั้งนี้ก็ควรระมัดระวังในการใช้ เพราะหากผู้หญิงรับประทานมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน เนื่องจากการได้รับสารไฟโตเอสโตรเจนที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของระบบฮอร์โมนและกลายเป็นโรคมะเร็งเต้านมในที่สุดค่ะ
4. ป้องกันโรควัยทอง
ข่าวดีสำหรับหญิงในวัยหมดประจำเดือนเลยล่ะค่ะ เพราะเจ้าเมล็ดแฟลกซ์นี้มีการศึกษาเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่งพบว่า การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ สามารถทดแทนการรับประทานฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยหมดประจำเดือนได้ โดยการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเมล็ดแฟลกซ์เพียง 40 กรัม มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับยาฮอร์โมนที่ใช้ในการบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน และช่องคลอดแห้งในสตรีวัยทองได้ แต่ถึงอย่างนั้นเองก็ยังมีการศึกษาอื่นออกมาแย้งว่า เมล็ดแฟลกซ์ไม่สามารถรักษาอาการโรควัยทองได้ และไม่สามารถป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกได้
5. อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
การรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระไม่เพียงพอก็อาจจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะความผิดปกติได้ โดยอาจจะทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายได้ง่ายขึ้น รวมทั้งยังอาจจะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน รวมทั้งเกิดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหอบหืด โรคอ้วน และปัญหาเรื่องการเผาผลาญได้มากขึ้น ซึ่งมีการศึกษาพบว่า การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเหล่านี้ได้ และช่วยให้สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายเพิ่มขึ้นอีกด้วย
6. ช่วยระบบขับถ่าย
เมล็ดแฟลกซ์นั้นมีไฟเบอร์ทั้งสองชนิดคือ ชนิดที่ละลายน้ำได้และละลายน้ำไม่ได้ ซึ่งชนิดที่ละลายน้ำไม่ได้นี่ล่ะที่ช่วยสร้างเสริมให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเรื่องท้องผูกบ่อย ๆ และเพราะเหตุนี้นั่นเองจึงทำให้เมล็ดแฟลกซ์ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ เพราะเมื่อระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างเป็นปกติ ความเสี่ยงจากมะเร็งลำไส้ก็จะลดลงค่ะ
7. บำรุงเล็บและเส้นผม
กรดไขมันโอเมก้า 3 ในเมล็ดแฟลกซ์ไม่ได้มีดีแค่ช่วยบำรุงหัวใจเท่านั้น แต่ยังช่วยบำรุงเล็บและเส้นผม ช่วยป้องกันการแห้งเสียของผม รวมทั้งช่วยบำรุงสุขภาพเล็บไม่ให้เปราะบางและหักง่าย อีกทั้งยังทำให้ทั้งเส้นผมและเล็บดูสุขภาพดีอีกด้วย
8. ป้องกันภาวะมีบุตรยาก และมะเร็งต่อมลูกหมาก
ใช่ว่าเมล็ดแฟลกซ์จะดีกับผู้หญิงเพียงอย่างเดียว ไขมันในเมล็ดแฟลกซ์ก็ดีกับคุณผู้ชายเช่นกันค่ะ เพราะสามารถช่วยลดการบวมและการอักเสบของต่อมลูกหมากได้ อีกทั้งยังช่วยสร้างเสริมให้สเปิร์มแข็งแรงและมีสุขภาพดี เพิ่มโอกาสในการมีบุตรได้ นอกจากนี้สารอาหารในเมล็ดแฟลกซ์ก็ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในอวัยวะเพศชายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วยค่ะ
9. รักษาภาวะซึมเศร้า
โรคซึมเศร้านั้นก็มีสาเหตุมาจากภาวะร่างกายที่ไม่สมดุลได้เช่นกัน โดยมีการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นพบว่า การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์สามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้ เนื่องจากในเมล็ดแฟลกซ์นั้นมีทั้ง DHA และ EPA ซึ่งเป็นสารที่มีความสำคัญต่อร่างกาย โดยสารชนิดนี้ก็มีอยู่มากในเนื้อปลาและวอลนัท หากรับประทานเข้าไปแล้วก็จะช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุลในร่างกายได้ และให้ผลดีเช่นเดียวกับการรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้าเลยล่ะค่ะ
10. บำรุงตับ
การศึกษาในประเทศญี่ปุ่นซึ่งถูกเผยเแพร่ในเว็บไซต์ Nutrition Research ได้เปิดเผยว่าการรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ซึ่งมีสารลิกแนนนั้น สามารถลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคตับได้ โดยปริมาณที่ได้ผลดีที่สุดก็คือการรับประทานสารสกัดลิกแนนจากเมล็ดแฟลกซ์ในปริมาณ 100 มิลลิกรัมทุกวัน แต่ทั้งนี้ก็ต้องลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ด้วยตนเองด้วย เช่น การลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ หรือเลิกดื่มไปเลย เพราะถึงแม้จะรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ แต่หากยังดื่มหนักก็ไม่ช่วยลดความเสี่ยงได้หรอกค่ะ
ข้อควรระวังในการใช้เมล็ดแฟลกซ์
แม้ว่าเมล็ดแฟลกซ์จะเป็นธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ว่าการนำมาใช้ก็ยังอาจจะมีผลข้างเคียงกับคนบางกลุ่ม ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ จึงจำเป็นต้องใช้อย่างถูกวิธีและใช้ภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยข้อควรระวังมีดังนี้ค่ะ
1. หญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเมล็ดแฟลกซ์โดยเด็ดขาด เนื่องจากในเมล็ดแฟลกซ์ มีสารลิกแนน (Lignans) ซึ่งเป็นสารไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ที่ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานยืนยันว่าอาจจะเป็นอันตราย แต่หากในร่างกายมีฮอร์โมนกลุ่มเอสโตรเจนมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์บางอย่างได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อความมั่นใจก่อนที่รับประทานเมล็ดแฟลกซ์จะดีกว่าค่ะ
2. ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกมาผิดปกติ การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์จะเข้าไปทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง ดังนั้นหากมีปัญหาสุขภาพดังกล่าว ห้ามใช้เด็ดขาดค่ะ
3. แม้ว่าจะมีบางการศึกษาพบว่าการรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ แต่ถ้าหากใช้ควบคู่กับการรับประทานยารักษาโรคเบาหวานก็อาจจะทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงมากเกินไปจนอยู่ในระดับที่อันตราย ดังนั้นหากจะใช้ควรสังเกตระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิดค่ะ หรือทางที่ดีปรึกษาแพทย์ก่อนดีกว่า
4. ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อุดตันหรือมีหลอดอาหารแคบ และมีภาวะการอักเสบในลำไส้ใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ เพราะปริมาณไฟเบอร์ที่สูงมากเกินไปอาจจะทำให้อาการยิ่งเลวร้ายลงได้ค่ะ
5. ผู้ป่วยที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดแฟลกซ์ เพราะแม้ว่าจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ แต่สารบางชนิดในเมล็ดแฟลกซ์อาจส่งผลให้ระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมากเกินไปจนต้องรับประทานยาควรจะเลี่ยงดีกว่าค่ะ
6. เมล็ดแฟลกซ์สามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตที่สูงได้ แต่สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์จะยิ่งทำให้ความดันโลหิตต่ำยิ่งกว่าเดิม และอาจทำให้เป็นอันตรายได้ ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงค่ะ
เมล็ดแฟลกซ์ ลดน้ำหนักได้จริงหรือ ?
เมล็ดแฟลกซ์เป็นอีกหนึ่งธัญพืชที่มีไฟเบอร์สูง ซึ่งไฟเบอร์นี่ล่ะที่จะช่วยลดความอยากอาหารและช่วยให้อิ่มท้องนานขึ้น ช่วยป้องกันการรับประทานจุบจิบหรือการรับประทานมากเกินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือต้องการลดความอ้วน แต่ทั้งนี้ก็ควรจะรับประทานควบคู่กับอาหารเพื่อสุขภาพจะดีที่สุด เพราะรับประทานเมล็ดแฟลกซ์มากไปอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้
เมล็ดแฟลกซ์ กินอย่างไร ?
แม้ว่าเมล็ดแฟลกซ์จะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักและสามารถนำไปผสมกับอาหารหรือขนมได้ แต่การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ที่ถูกต้องคือ ควรนำเมล็ดไปบดก่อน เนื่องจากเมล็ดแฟลกซ์ที่ยังเป็นเมล็ดอยู่นั้น ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายเพื่อดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้เต็มที่ค่ะ ฉะนั้นเลือกซื้อแบบที่บดสำเร็จแล้วมาใช้จะสะดวกกว่า หรือถ้าหากอยากนำมาบดเองก็สามารถทำได้ โดยวิธีการรับประทานก็ไม่ยาก หากเป็นเมล็ดแฟลกซ์ที่บดแล้วก็สามารถนำมาโรยลงบนอาหารหรือเครื่องดื่มได้ทันที
นอกจากนี้เมล็ดแฟลกซ์ยังมีการสกัดเป็นน้ำมัน หรือสกัดเป็นอาหารเสริมเพื่อไว้รับประทานได้อีกด้วย จะเลือกแบบไหนก็แล้วแต่จะสะดวกเลยล่ะค่ะ
ได้ทราบคุณประโยชน์ดี ๆ ของเจ้าธัญพืชล้ำค่าอย่างเมล็ดแฟลกซ์กันไปแล้ว ใครที่สนใจอยากหามาลองรับประทานละก็ ขอแนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ก่อนจะดีกว่า เนื่องจากเมล็ดแฟลกซ์ก็เป็นธัญพืชที่มีผลข้างเคียงในการใช้ และเพื่อให้ทราบวิธีรับประทานเมล็ดแฟลกซ์อย่างได้สุขภาพได้ประโยชน์อย่างแท้จริงค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
U.S. National Library of Medicine
mensfitness.com
whfoods.org
herbwisdom.com