
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลทดสอบไส้กรอกที่วางขายตามท้องตลาดพบหลายยี่ห้อใช้สารกันบูดเกินกว่าค่ามาตรฐาน แนะประชาชนไม่ควรบริโภคไส้กรอกเกินความจำเป็น หวั่นกระทบสุขภาพ
วันที่ 4 พฤษภาคม 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์ทดสอบนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แถลงข่าวผลการสุ่มตรวจไส้กรอกเพื่อหาวัตถุเจือปนอาหาร หรือ สารกันบูด ในไส้กรอก 15 ตัวอย่างที่วางขายตามท้องตลาด โดย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการตรวจสอบไส้กรอกในท้องตลาด ทั้งหมด 15 ตัวอย่าง ได้มีการเน้นตรวจสอบหาสารไนเตรทและไนไตรท์หรือดินประสิว ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้ถูกนำมาใช้ถนอมอาหาร และรักษาสภาพอาหารให้สีสดสวย น่ารับประทาน จากผลการทดสอบไส้กรอก 15 ตัวอย่าง มีเพียง 1 ตัวอย่างที่ไม่มีการเจือปนของสารทั้ง 2 ชนิด คือ ไทยซอสเซส และค็อกเทล ซอสเซส
1. บีลัคกี้
2. มิสเตอร์ ซอสเซส
3. บุชเชอร์
4. JPM
5. เซเว่นเฟรช
6. PGM
7. MyChoice
8. BMP
9. S&P
10. PPork
11. เบทาโกร
ขณะที่อีก 3 ยี่ห้อ ตรวจพบว่า มีการใส่สารเกินมาตรฐานกำหนด ได้แก่
1. บางกอกแฮม ไส้กรอกหมูค็อกเทล พบการเจือปนของสารไนเตรทและไนไตรท์ 148.61 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
2. ไบร์ทหมู พบการเจือปนของสารไนเตรทและไนไตรท์ 132.33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
3. ตราเอโร่ ไส้กรอกฮอตดอก พบการเจือปนของสารไนเตรทและไนไตรท์ 91.27 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ส่วนการแสดงฉลากข้อมูลการใช้สารดังกล่าว มีเพียง 6 ตัวอย่างที่แสดงข้อมูล แต่เป็นการแสดงข้อมูลโดยใช้รหัส ซึ่งผู้บริโภคเข้าใจได้ยาก
น.ส.สารี กล่าวทิ้งว่า อยากให้ผู้บริโภคใช้ข้อมูลในการบริโภคเพื่อจะได้ใช้สิทธิ์ในการเลือกซื้อสินค้าที่ปลอดภัย แม้ว่าไส้กรอกที่นำมาทดสอบส่วนใหญ่ยังใช้ไนเตรทและไนไตรท์ในปริมาณที่ไม่เกินที่กฎหมายกำหนด แต่การรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดผลเสียต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ท้องเสียรุนแรง โดยเฉพาะผู้มีอาการแพ้อาจส่งผลต่อระบบหายใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว หมดสติหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลายและเหมาะสม
ภาพและข้อมูลจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค