บอลลูนหัวใจ หนึ่งทางเลือกในการรักษาโรคหัวใจที่อยากให้มาทำความรู้จักการทำบอลลูนหัวใจกันสักหน่อย
บอลลูนหัวใจ คืออะไร
การทำบอลลูนหัวใจ (percutaneous transluminal coronary Angioplasty :PTCA) หรือในภาษาอังกฤษอีกชื่อหนึ่งว่า Balloon angioplasty คือ กรรมวิธีที่ใช้เครื่องมือชิ้นเล็กที่มีบอลลูนติดอยู่ตรงปลายท่อเล็ก ๆ สอดเข้าไปผ่านเส้นเลือดใหญ่ที่บริเวณแขนหรือขา ซึ่งจะใช้การเอกซเรย์เป็นตัวนำทางเพื่อสอดท่อบอลลูนเข้าไปถึงหลอดเลือดหัวใจที่ตีบแคบ และเมื่อหัวบอลลูนได้เข้าไปถึงจุดดังกล่าวแล้ว แพทย์จะทำการปล่อยลมให้บอลลูนพองตัวขึ้น ส่งผลให้เส้นเลือดที่ตีบแคบขยายตัวกว้างขึ้น และในขณะเดียวกัน แพทย์ก็จะสอดโลหะที่เป็นลวด (stent) วางไว้ในตำแหน่งเส้นเลือดที่ตีบแคบ เพื่อให้ตัวขดลวดกางออกทำหน้าที่เป็นโครงให้เส้นเลือดอยู่ในลักษณะขยายออกตลอดเวลา ซึ่งตัวขดลวดนี้จะอาบด้วยยา จึงสามารถลดอัตราการตีบตัวของเส้นเลือดได้อีกทางหนึ่ง
การทำบอลลูนหัวใจ เป็นวิธีรักษาโรคหัวใจชนิดไหนบ้าง
การทำบอลลูนหัวใจเป็นหนึ่งในทางเลือกรักษาโรคหัวใจได้ โดยจะใช้รักษาโรคหัวใจชนิดดังต่อไปนี้
1. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
2. โรคลิ้นหัวใจตีบ
3. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
การทำบอลลูนหัวใจ ค่าใช้จ่ายสูงไหม เบิกประกันสังคมได้หรือไม่
ในกรณีที่เป็นผู้ประกันตนและใช้สิทธิประกันสังคม สามารถเบิกจ่ายค่าทำบอลลูนหัวใจได้ตามจริง โดยไม่เกิน 20,000 บาทต่อราย (ในกรณีรักษาโรคลิ้นหัวใจ โดยใช้สายบอลลูนผ่านทางผิวหนัง) และสำหรับการขยายหลอดเลือดหัวใจโดยการใช้บอลลูนอย่างเดียว สามารถเบิกค่าใช่จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินครั้งละ 30,000 บาทต่อราย และสามารถใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง
ทว่าหากไม่มีสิทธิประกันสังคม การทำบอลลูนหัวใจจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 80,000-1,000,000 บาท ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล รวมทั้งอุปกรณ์ในการรักษา (ขดลวดธรรมดาหรือขวดลวดเคลือบตัวยา)
บอลลูนหัวใจ บัตรทองใช้ได้หรือเปล่า
สำหรับคนที่ถือบัตรทอง ก็สามารถเข้ารับการรักษาโดยการทำบอลลูนหัวใจได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ตัวเองถือสิทธิ์ ซึ่งหากทางโรงพยาบาลมีความพร้อมในการรักษาก็สามารถทำบอลลูนหัวใจให้ได้ ทว่าหากทางโรงพยาบาลไม่มีความพร้อมก็อาจต้องทำเรื่องขอส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่นที่สะดวกในการทำบอลลูนหัวใจต่อไป
บอลลูนหัวใจ อยู่ได้กี่ปี
การทำบอลลูนหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจในแต่ละครั้ง หากไม่ได้ใส่ขดลวด (stent) ในกรณีนี้เส้นเลือดอาจกลับไปตีบตันขึ้นได้ราว ๆ 30-40% ภายในระยะเวลา 6 เดือน แต่หากใส่ขดลวดเคลือบยาจะมีโอกาสหลอดเลือดกลับไปตีบตันประมาณ 10% แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองหลังทำบอลลูนหัวใจของผู้ป่วยเองด้วย
การทำบอลลูนหัวใจ อันตรายไหม
แม้การทำบอลลูนหัวใจจะเป็นทางเลือกของการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ง่าย สะดวก เพราะไม่ต้องผ่าตัด และการทำบอลลูนหัวใจมีความเสี่ยงน้อยเพียง 1% แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงของการทำบอลลูนหัวใจอยู่บ้าง โดยภาวะเสี่ยงของการทำบอลลูนหัวใจอาจมีดังต่อไปนี้
- แพ้สารทึบแสงที่แพทย์ทำการฉีดเข้าเส้นเลือดก่อนทำบอลลูนหัวใจ
- ผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดออกและมีการอักเสบตรงบริเวณสอดสายบอลลูน
- เส้นเลือดที่แขน ขา บริเวณที่สอดสายบอลลูนเกิดการอุดตัน
- บางรายอาจเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจหรือกล้ามเนื้อหัวใจทะลุในระหว่างทำการสอดใส่ท่อบอลลูนเข้าไปในเส้นเลือด
อย่างไรก็ตาม การทำบอลลูนหัวใจภายใต้ความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้พอสมควรนะคะ
บอลลูนหัวใจ ผลข้างเคียงมีไหม
หากผู้ป่วยไม่มีอาการแทรกซ้อนดังกล่าว การทำบอลลูนหัวใจอาจไม่มีผลข้างเคียงที่น่ากังวลสักเท่าไร และการทำบอลลูนหัวใจยังใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วัน และหากร่างกายหลังทำบอลลูนหัวใจไม่มีความผิดปกติที่น่าเป็นห่วง ผู้ป่วยก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้
การปฏิบัติตัวหลังทำบอลลูนหัวใจ
1. ผู้ป่วยไม่ควรลุกจากเตียง และไม่งอแขนหรือขาด้านที่แทงเส้นเลือดเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
2. หากพบว่าบริเวณที่แทงเส้นเลือดบวม หรือขาข้างที่แทงเส้นเลือดซีดหรือเย็นกว่าปกติ ควรแจ้งให้พยาบาลทราบ
3. ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ให้รับประทานอาหารได้ตามความเหมาะสม
4. ถ้าปวดแผล สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
5. ในระยะแรก การทำกิจวัตรประจำวันอาจทำไห้เหนื่อยได้ ดังนั้นควรพักผ่อนครั้งละ 20-30 นาที วันละ 2 ครั้งในเวลากลางวัน ไม่จำเป็นต้องนอนพักแค่นั่งพักก็เพียงพอ และพยายามนอนหลับให้ได้ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
6. ควรหลีกเลี่ยงอาหารคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เป็นต้น
7. ควรงดชา กาแฟ และน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และควรงดสูบบุหรี่
8. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง เช่น ข้าวเหนียวทุเรียน ทองหยิบ ทองหยอด ทุเรียน ลำไย เป็นต้น
9. ถ้าต้องใช้น้ำมันปรุงอาหารควรเลือกใช้น้ำมันพืชแทนเนยหรือน้ำมันจากสัตว์ หรือให้วิธีลวก ต้ม นึ่ง และอบแทนการทอด
10. ควรรับประทานผักทุกชนิด และผลไม้ที่ไม่มีรสหวานจัด เช่น มะละกอ พุทรา แอปเปิล ฝรั่ง เป็นต้น
11. ในระยะ 6 เดือนแรก เป็นช่วงสำคัญ ผู้ป่วยควรกินยาและปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด รวมทั้งไปพบหมอตามนัดอย่าให้ขาด
การทำบอลลูนหัวใจกับการทำบายพาสต่างกันอย่างไร
นอกจากการทำบอลลูนหัวใจแล้ว การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถรักษาได้ด้วยการทำบายพาส ซึ่งการทำบอลลูนหัวใจจะมีข้อดีตรงที่ทำง่ายกว่า ไม่ต้องผ่าตัด ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการทำบายพาส ใช้เวลาพักฟื้นสั้นกว่า และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ทว่าการทำบอลลูนหัวใจอาจกลับมามีอาการซ้ำได้อีก
ส่วนการทำบายพาสมีขั้นตอนยุ่งยากกว่า ค่ารักษาสูงกว่า พักฟื้นนานกว่า และผลข้างเคียงในการรักษามากกว่า แต่โอกาสกลับมาป่วยซ้ำก็น้อยกว่า
อย่างไรก็ตาม การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสิรฐ ฉะนั้นหากวันนี้ร่างกายคุณยังแข็งแรง ก็พยายามดูแลรักษาตัวเองให้ดีอยู่เสมอด้วยนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ
สำนักงานประกันสังคม
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
blog นพ.มานิตย์ วัชร์ชัยนันท์
การรักษาโรคหัวใจด้วยการทำบอลลูนหัวใจยังคงมีข้อสงสัยในประเด็นนี้อยู่มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นผลข้างเคียงจากการทำบอลลูนหัวใจ ค่าใช้จ่าย
หรือบางคนก็สงสัยว่าการทำบอลลูนหัวใจจะอันตรายไหม
งั้นวันนี้เรามาศึกษากันดีกว่าค่ะว่า การทำบอลลูนหัวใจ คืออะไร
และเป็นยังไงกันแน่
การทำบอลลูนหัวใจ (percutaneous transluminal coronary Angioplasty :PTCA) หรือในภาษาอังกฤษอีกชื่อหนึ่งว่า Balloon angioplasty คือ กรรมวิธีที่ใช้เครื่องมือชิ้นเล็กที่มีบอลลูนติดอยู่ตรงปลายท่อเล็ก ๆ สอดเข้าไปผ่านเส้นเลือดใหญ่ที่บริเวณแขนหรือขา ซึ่งจะใช้การเอกซเรย์เป็นตัวนำทางเพื่อสอดท่อบอลลูนเข้าไปถึงหลอดเลือดหัวใจที่ตีบแคบ และเมื่อหัวบอลลูนได้เข้าไปถึงจุดดังกล่าวแล้ว แพทย์จะทำการปล่อยลมให้บอลลูนพองตัวขึ้น ส่งผลให้เส้นเลือดที่ตีบแคบขยายตัวกว้างขึ้น และในขณะเดียวกัน แพทย์ก็จะสอดโลหะที่เป็นลวด (stent) วางไว้ในตำแหน่งเส้นเลือดที่ตีบแคบ เพื่อให้ตัวขดลวดกางออกทำหน้าที่เป็นโครงให้เส้นเลือดอยู่ในลักษณะขยายออกตลอดเวลา ซึ่งตัวขดลวดนี้จะอาบด้วยยา จึงสามารถลดอัตราการตีบตัวของเส้นเลือดได้อีกทางหนึ่ง
การทำบอลลูนหัวใจ เป็นวิธีรักษาโรคหัวใจชนิดไหนบ้าง
การทำบอลลูนหัวใจเป็นหนึ่งในทางเลือกรักษาโรคหัวใจได้ โดยจะใช้รักษาโรคหัวใจชนิดดังต่อไปนี้
1. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
2. โรคลิ้นหัวใจตีบ
3. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
การทำบอลลูนหัวใจ ค่าใช้จ่ายสูงไหม เบิกประกันสังคมได้หรือไม่
ในกรณีที่เป็นผู้ประกันตนและใช้สิทธิประกันสังคม สามารถเบิกจ่ายค่าทำบอลลูนหัวใจได้ตามจริง โดยไม่เกิน 20,000 บาทต่อราย (ในกรณีรักษาโรคลิ้นหัวใจ โดยใช้สายบอลลูนผ่านทางผิวหนัง) และสำหรับการขยายหลอดเลือดหัวใจโดยการใช้บอลลูนอย่างเดียว สามารถเบิกค่าใช่จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินครั้งละ 30,000 บาทต่อราย และสามารถใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง
ทว่าหากไม่มีสิทธิประกันสังคม การทำบอลลูนหัวใจจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 80,000-1,000,000 บาท ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล รวมทั้งอุปกรณ์ในการรักษา (ขดลวดธรรมดาหรือขวดลวดเคลือบตัวยา)
บอลลูนหัวใจ บัตรทองใช้ได้หรือเปล่า
สำหรับคนที่ถือบัตรทอง ก็สามารถเข้ารับการรักษาโดยการทำบอลลูนหัวใจได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ตัวเองถือสิทธิ์ ซึ่งหากทางโรงพยาบาลมีความพร้อมในการรักษาก็สามารถทำบอลลูนหัวใจให้ได้ ทว่าหากทางโรงพยาบาลไม่มีความพร้อมก็อาจต้องทำเรื่องขอส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่นที่สะดวกในการทำบอลลูนหัวใจต่อไป
บอลลูนหัวใจ อยู่ได้กี่ปี
การทำบอลลูนหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจในแต่ละครั้ง หากไม่ได้ใส่ขดลวด (stent) ในกรณีนี้เส้นเลือดอาจกลับไปตีบตันขึ้นได้ราว ๆ 30-40% ภายในระยะเวลา 6 เดือน แต่หากใส่ขดลวดเคลือบยาจะมีโอกาสหลอดเลือดกลับไปตีบตันประมาณ 10% แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองหลังทำบอลลูนหัวใจของผู้ป่วยเองด้วย
การทำบอลลูนหัวใจ อันตรายไหม
แม้การทำบอลลูนหัวใจจะเป็นทางเลือกของการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ง่าย สะดวก เพราะไม่ต้องผ่าตัด และการทำบอลลูนหัวใจมีความเสี่ยงน้อยเพียง 1% แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงของการทำบอลลูนหัวใจอยู่บ้าง โดยภาวะเสี่ยงของการทำบอลลูนหัวใจอาจมีดังต่อไปนี้
- แพ้สารทึบแสงที่แพทย์ทำการฉีดเข้าเส้นเลือดก่อนทำบอลลูนหัวใจ
- ผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดออกและมีการอักเสบตรงบริเวณสอดสายบอลลูน
- เส้นเลือดที่แขน ขา บริเวณที่สอดสายบอลลูนเกิดการอุดตัน
- บางรายอาจเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจหรือกล้ามเนื้อหัวใจทะลุในระหว่างทำการสอดใส่ท่อบอลลูนเข้าไปในเส้นเลือด
อย่างไรก็ตาม การทำบอลลูนหัวใจภายใต้ความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้พอสมควรนะคะ
บอลลูนหัวใจ ผลข้างเคียงมีไหม
หากผู้ป่วยไม่มีอาการแทรกซ้อนดังกล่าว การทำบอลลูนหัวใจอาจไม่มีผลข้างเคียงที่น่ากังวลสักเท่าไร และการทำบอลลูนหัวใจยังใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วัน และหากร่างกายหลังทำบอลลูนหัวใจไม่มีความผิดปกติที่น่าเป็นห่วง ผู้ป่วยก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้
การปฏิบัติตัวหลังทำบอลลูนหัวใจ
1. ผู้ป่วยไม่ควรลุกจากเตียง และไม่งอแขนหรือขาด้านที่แทงเส้นเลือดเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
2. หากพบว่าบริเวณที่แทงเส้นเลือดบวม หรือขาข้างที่แทงเส้นเลือดซีดหรือเย็นกว่าปกติ ควรแจ้งให้พยาบาลทราบ
3. ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ให้รับประทานอาหารได้ตามความเหมาะสม
4. ถ้าปวดแผล สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
5. ในระยะแรก การทำกิจวัตรประจำวันอาจทำไห้เหนื่อยได้ ดังนั้นควรพักผ่อนครั้งละ 20-30 นาที วันละ 2 ครั้งในเวลากลางวัน ไม่จำเป็นต้องนอนพักแค่นั่งพักก็เพียงพอ และพยายามนอนหลับให้ได้ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
6. ควรหลีกเลี่ยงอาหารคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เป็นต้น
7. ควรงดชา กาแฟ และน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และควรงดสูบบุหรี่
8. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง เช่น ข้าวเหนียวทุเรียน ทองหยิบ ทองหยอด ทุเรียน ลำไย เป็นต้น
9. ถ้าต้องใช้น้ำมันปรุงอาหารควรเลือกใช้น้ำมันพืชแทนเนยหรือน้ำมันจากสัตว์ หรือให้วิธีลวก ต้ม นึ่ง และอบแทนการทอด
10. ควรรับประทานผักทุกชนิด และผลไม้ที่ไม่มีรสหวานจัด เช่น มะละกอ พุทรา แอปเปิล ฝรั่ง เป็นต้น
11. ในระยะ 6 เดือนแรก เป็นช่วงสำคัญ ผู้ป่วยควรกินยาและปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด รวมทั้งไปพบหมอตามนัดอย่าให้ขาด
การทำบอลลูนหัวใจกับการทำบายพาสต่างกันอย่างไร
นอกจากการทำบอลลูนหัวใจแล้ว การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถรักษาได้ด้วยการทำบายพาส ซึ่งการทำบอลลูนหัวใจจะมีข้อดีตรงที่ทำง่ายกว่า ไม่ต้องผ่าตัด ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการทำบายพาส ใช้เวลาพักฟื้นสั้นกว่า และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ทว่าการทำบอลลูนหัวใจอาจกลับมามีอาการซ้ำได้อีก
ส่วนการทำบายพาสมีขั้นตอนยุ่งยากกว่า ค่ารักษาสูงกว่า พักฟื้นนานกว่า และผลข้างเคียงในการรักษามากกว่า แต่โอกาสกลับมาป่วยซ้ำก็น้อยกว่า
อย่างไรก็ตาม การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสิรฐ ฉะนั้นหากวันนี้ร่างกายคุณยังแข็งแรง ก็พยายามดูแลรักษาตัวเองให้ดีอยู่เสมอด้วยนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ
สำนักงานประกันสังคม
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
blog นพ.มานิตย์ วัชร์ชัยนันท์