
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
อาการท้องเสีย อาเจียน เป็นอาการที่พบได้บ่อยทั่วไป แถมยังสามารถวินิจฉัยได้อีกหลายโรค ไม่ว่าจะเป็น "อาหารเป็นพิษ", "อุจจาระร่วง" หรือว่าจะเป็น "โรคบิด ชิเกลล่า" ฯลฯ
เอ๊ะ...แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า อาการที่เราเป็นเข้าข่าย "บิดชิเกลล่า" หรือเปล่า แล้ว โรคบิด ชิเกลล่า อันตรายหรือไม่อย่างไร วันนี้กระปุกดอทคอมจึงมีข้อมูลของ โรคบิด ชิเกลล่า มาฝากกันด้วย

บิด (Shigellosis) หรือ บิดไม่มีตัว (ไม่สามารถมองเห็นด้วยกล้องจุลทรรศน์) ในปัจจุบันเรียกทับศัพท์กันว่า บิดชิเกลล่า หมายถึงอาการถ่ายอุจจาระกะปริดกะปรอย ออกเป็นมูกหรือมูกปนเลือด ร่วมกับมีความรู้สึกปวดเบ่งถ่าย (อยากถ่าย) อยู่เกือบตลอดเวลา

แน่นอนว่า บิด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ชิเกลล่า (shigella) ซึ่งเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทาน เช่น การรับประทานอาหาร น้ำ ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค อาหารดิบ สุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม ที่มีเชื้อชิเกลล่าอาศัยอยู่ ดังนั้นไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ เพศไหน วัยใดก็สามารถเป็น โรคบิด ชิเกลล่า ได้ทั้งนั้น โดยมีระยะฟักตัว (ตั้งแต่เริ่มรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนมีอาการแสดงออกมา) 1-7 วัน มักแสดงอาการภายใน 24-48 ชั่วโมง

ผู้ป่วยที่รับเชื้อ ชิเกลล่า เข้าไปผ่านทางอาหารแล้ว จะเริ่มมีอาการปวดบิดในท้องก่อนภายใน 1 ชั่วโมง ต่อมาจะเริ่มไข้ขึ้น และถ่ายเหลว ซึ่งหากถ่ายอย่างรุนแรงจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังอาจปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน หลังจากนั้น อาการท้องเดินจะทุเลาลง แต่จะรู้สึกปวดเบ่งที่ก้นและถ่ายเป็นมูก มีหนองสีขาวแทน หรืออาจถ่ายมูกปนเลือด กลิ่นไม่เหม็นมาก ถ้าเป็นในเด็กอาจมีไข้ขึ้นสูงจนชักได้เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม โรคบิดชิเกลล่า ไม่ใช่โรคร้ายแรง ไข้สามารถหายเองได้ภายใน 2-3 วัน ส่วนอาการท้องเดินเป็นบิด จะหายได้เองภายใน 5-7 วัน ในคนที่ไม่ได้ทานยา แต่บางรายก็อาจมีอาการกลับมาใหม่ได้อีก

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า โรคบิด ชิเกลล่า สามารถหายได้เอง แต่ยังมีบางกรณีที่ผู้ป่วยควรจะไปพบแพทย์ เช่น ผู้ที่มีอาการต่อไปนี้





ทั้งนี้ หากผู้ป่วยไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ เพื่อตรวจให้แน่ใจว่าเป็น โรคบิด ชิเกลล่า จริง แล้วจะให้ยามารักษา แต่หากไม่แน่ใจ แพทย์อาจต้องตรวจอุจจาระ และเพาะเชื้อ เพื่อทดสอบในขั้นต่อ ๆ ไป

อย่างที่ทราบกันว่า อาการปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน ร่วมกับเป็นไข้ สามารถวินิจฉัยได้หลายโรค ซึ่งต้องแยกออกจากสาเหตุอื่น เช่น


2.1 บิดอะมีบา (บิดมีตัว) เกิดจากเชื้อโปรโตซัว (สัตว์เซลล์เดียว) ที่มีชื่อว่า อะมีบา (ameba) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเบ่งที่ก้น ถ่ายเป็นมูก หรือมูกปนเลือด กะปริดกะปรอย แต่จะมีกลิ่นเหม็นมากเหมือนหัวกุ้งเน่า บางคนเชื้ออาจลุกลามไปที่ตับกลายเป็นฝีในตับ ซึ่งเป็นภาวะรุนแรงได้ หากสงสัยควรรีบไปพบแพทย์
2.2 โรคลำไส้กลืนกันเอง (intussusception) พบมากในทารกอายุประมาณ 6 เดือน จะมีอาการปวดท้องรุนแรงเป็นพัก ๆ (ทารกจะมีอาการร้องไห้เสียงดังนานหลายนาที เว้นช่วงเงียบไปพักหนึ่ง แล้วร้องขึ้นอีก) อาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย บางครั้งอาจถ่ายเป็นมูกปนเลือดคล้ายเยลลี่ หากสงสัยควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที
2.3 มะเร็งลำไส้ใหญ่ จะมีอาการถ่ายเป็นมูก หรือมูกปนเลือดเรื้อรังนานเป็นสัปดาห์ๆ หรือเป็นเดือน ๆ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด หากสงสัยควรรีบไปพบแพทย์

มักจะวินิจฉัยจากอาการ คือ มีไข้ ปวดท้อง ถ่ายเป็นน้ำ แล้วต่อมามีอาการถ่ายเป็นมูก หรือมูกปนเลือดกะปริดกะปรอย ในรายที่ไม่แน่ใจ อาจต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น นำอุจจาระไปตรวจหาเชื้อ ใช้กล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนคด (sigmoidoscope) เป็นต้น

ผู้ที่เป็น โรคบิด ชิเกลล่า สามารถดูแลรักษาเบื้องต้นได้โดย



นอกจากนี้ยังควรระวังการแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่น โดย





หากแพทย์วินิจฉัยว่า ผู้ป่วยเป็นโรคบิด ชิเกลล่า จะจัดยาปฏิชีวนะกลุ่มอัลฟ่าให้ คือ ยาโคไตรม็อกซาโซล (cotrimoxazole) ผู้ใหญ่ครั้งละ 2 เม็ด เด็กโตครั้งละ 1 เม็ด เด็กเล็กใช้ชนิดน้ำครั้งละ 1-2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้าและเย็น
แต่หากมีประวัติแพ้ยากลุ่มซัลฟา แต่ไม่แพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน แพทย์จะจัดยาอะม็อกซีซิลลิน (amoxycillin) ขนาด 250 มิลลิกรัม ให้รับประทาน ผู้ใหญ่ครั้งละ 1 เม็ด (เด็กครั้งละ 1-2 ช้อนชา) วันละ 4 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจให้ยาลดไข้ สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เพิ่มเติม แต่หากผู้ป่วยมีอาการขาดน้ำรุนแรง แพทย์จะรับตัวไว้ในโรงพยาบาล และให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำหลังอาหารและก่อนนอน
ทั้งนี้ โดยทั่วไปหลังกินยารักษา 24-48 ชั่วโมง อาการจะค่อย ๆ ทุเลา และควรกินยาอย่างน้อย 5 วัน เพื่อให้เชื้อไม่ดื้อยา (ยกเว้น นอร์ฟล็อกซาซิน อาจให้เพียง 3 วัน) แต่หากกินยาแล้วไม่หาย หรือถ่ายเป็นมูก มีกลิ่นเหม็น แพทย์จะตรวจหาสาเหตุอื่นต่อไป

ภาวะแทรกซ้อนของ โรคบิด ชิเกลล่า ที่พบบ่อยคือ ภาวะขาดน้ำ (เกิดจากอาการถ่ายเป็นน้ำ อาเจียน กินไม่ได้) ในเด็กเล็กและคนสูงอายุอาจได้รับอันตราย ถ้ามีภาวะขาดน้ำรุนแรง นอกจากนี้ยังอาจพบเชื้อแพร่กระจายไปที่ข้อ ทำให้เกิดข้ออักเสบชนิดติดเชื้อเฉียบพลัน หรืออาจมีลำไส้ทะลุ และเยื่อบุช่องท้องอักเสบ แต่พบได้น้อย

เราสามารถป้องกัน โรคบิด ชิเกลล่า ได้โดย




เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
