
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ผู้ป่วยโรคหัวใจมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี พ.ศ. 2558 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้เก็บรวบรวมสถิติของผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่ขอใช้บริการผ่านสายด่วน 1669 ด้วยอาการทางโรคหัวใจ พบมีมากถึง 130,942 คน โดยแบ่งเป็นอาการหายใจลำบาก ติดขัด มากที่สุด 99,052 คน รองลงมาคือ เจ็บแน่นทรวงอก 31,035 คน และหัวใจหยุดเต้น 855 คน และผู้ป่วยเหล่านี้จะประสบกับภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
โดยในคู่มือจะระบุรายละเอียด การเรียนรู้ขั้นตอนในการแจ้งเหตุฉุกเฉินผ่านสายด่วน 1669 แนวทางในการให้การช่วยเหลือจากสายด่วน 1669 การเรียนรู้เรื่องระบบปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน การเรียนรู้เรื่องอาการฉุกเฉินกว่า 16 อาการ อาทิ การหมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หรือมีสิ่งแปลกปลอมอุดตันทางเดินหายใจ การหายใจเร็วและเหนื่อยหอบอย่างรุนแรง และหายใจมีเสียงดัง การชักต่อเนื่องไม่หยุด อาการชักในหญิงตั้งครรภ์ งูพิษกัด และมีอาการหนังตาตกหรือหายใจลำบาก การเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรงซีกเดียวอย่าเงฉียบพลัน การเรียนรู้เรื่องการช่วยชีวิตฉุกเฉิน การเรียนรู้เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และเรียนรู้แผนผังการช่วยชีวิตฉุกเฉิน 10 ขั้นตอน พร้อมทั้งเรียนรู้การใช้งานเครื่องเออีดีด้วย

1. ปลอดภัยไว้ก่อน โดยเมื่อเราจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยฉุกเฉินจะต้องตรวจสอบความปลอดภัยของผู้เข้าให้ความช่วยเหลือก่อน ซึ่งถ้าหากอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เช่น ไฟฟ้าช็อต ไฟไหม้ ตึกถล่ม ห้ามเข้าไปให้การช่วยเหลือโดยเด็ดขาด และหากประเมินแล้วว่าสถานการณ์ในการเข้าให้ความช่วยเหลือปลอดภัยต่อผู้เข้าให้การช่วยเหลือก็สามารถเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้
2. ปลุก เรียก ตบไหล่ ตรวจสอบดูว่าผู้ป่วยหมดสติหรือไม่

4. ประเมินผู้หมดสติ โดยตรวจดูว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่ หากไม่รู้สึกตัวไม่หายใจหรือหายใจเฮือกต้องรีบกดหน้าอก
5. กดหน้าอกโดยจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงายโดยผู้ช่วยเหลือนั่งคุกเข่าอยู่ด้านข้างของผู้ป่วย วางส้นมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก และวางอีกข้างทับประสานกันไว้ แขนสองข้างเหยียดตรง โดยให้แนวแขนตั้งฉากกับหน้าอกผู้ป่วยและเริ่มกดหน้าอกผู้ป่วย


8. ปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่องเออีดี

10. ส่งต่อผู้ป่วยเมื่อทีมกู้ชีพมาถึง
"การเรียนรู้ตาม 10 ขั้นตอนในคู่มือสำหรับประชาชนในการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นด้วยการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจชนิดอัตโนมัติ หรือ เออีดี จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาลที่วันหนึ่งอาจเป็นคนที่เรารักเองก็ได้ โดยประชาชนทุกท่านสามารถดาวน์โหลดคู่มือไปศึกษาด้วยตนเองได้ที่ลิงก์ดังกล่าวนี้ www.thaiemsinfo.com" นพ.อนุชา กล่าว
ภาพและข้อมูลจาก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน
***หมายเหตุ : อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อเวลา 13.46 น. วันที่ 1 ธันวาคม 2559