อาจารย์จิราพร หุตะกมล อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า จากสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่กำลังปรับตัวหนาวเย็นในช่วงปลายปี หรือเดือนธันวาคม ซึ่งเกิดขึ้นเพียงปีละ 1 ครั้ง ส่งผลให้ประชาชนเตรียมรื้อหาเสื้อกันหนาวตัวเก่งที่เคยเก็บไว้เมื่อปีที่ผ่านมากลับมาใช้อีกครั้ง แต่ทั้งนี้ เสื้อกันหนาวตัวเก่ง อาจเกิดการสะสมของไรฝุ่น เชื้อรา และแบคทีเรีย ที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และทางผิวหนังของบุคคลที่มีอาการภูมิแพ้ หรือภูมิต้านทานต่ำ อาทิ เด็กเล็กและผู้สูงอายุซึ่งอาจก่อให้เกิดผื่นแดง อาการคัน และการหายใจติดขัดได้
ลักษณะเชื้อรา Aspergillus niger ที่พบในเสื้อที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ และใยสังเคราะห์
อาจารย์จิราพร กล่าวต่อว่า ขณะที่เสื้อกันหนาวที่ไม่พบความผิดปกติ หรือการสะสมเชื้อราและแบคทีเรียในลักษณะดังกล่าว สามารถเลือกทำความสะอาดได้ตามชนิดผ้าซึ่งปัจจุบันชนิดผ้าของเสื้อกันหนาวที่ได้รับความนิยมมี 3 ประเภท ดังนี้
1. เสื้อไหมพรม ส่วนมากจะทำมาจากเส้นใยประดิษฐ์ (ใยสังเคราะห์) ซึ่งการดูแลรักษาจะดูแลรักษาง่ายกว่าชนิดผ้าอื่น ๆ เพราะไม่ยับ หรือยับน้อย ไม่ต้องรีด หรือรีดเพียงเล็กน้อย การซักผ้าเส้นใยประดิษฐ์นั้นขึ้นอยู่กับส่วนผสมของเส้นใย ซึ่งส่วนใหญ่สามารถซักได้ในน้ำธรรมดากับสบู่ หรือใช้ผงซักฟอกที่มีด่างเข้มข้นได้ถ้าผ้านั้นมีความสกปรกมาก แต่ไม่ควรใช้สารฟอกขาว และควรตากด้วยการพาดบนราวตากผ้า แทนการแขวนด้วยไม้แขวน เพื่อป้องกันการเสียรูปของเสื้อ เนื่องจากเสื้อไหมพรม มีโครงสร้างผ้าเป็นห่วง (ผ้าถัก) และมีความยืดหยุ่นสูง
2. เสื้อที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ (ฝ้าย, ลินิน) การดูแลรักษาของผ้าธรรมชาติ สามารถใช้ผงซักฟอกทั่วไปได้ แต่ไม่ควรใช้ส่วนผสมที่มีกรดผสมอยู่เพราะจะไปทำลายเส้นใย โดยสามารถนำผ้าไปตากแดดได้ แต่ไม่ควรนานเกินไป เพราะแสงแดดจะเข้าไปทำลายเส้นใยของผ้า ขณะที่การรีดสามารถใช้ความร้อนได้ค่อนข้างสูง แต่ต้องดูลักษณะของเสื้อผ้าด้วยว่ามีเส้นใยอื่น ๆ ผสมอยู่หรือไม่ ขณะที่การเก็บรักษาไม่ควรเก็บในที่ชื้น เพราะจะทำให้เกิดการขึ้นราได้ง่าย
อย่างไรก็ตามหากหมดช่วงฤดูของการสวมใส่เสื้อกันหนาวแล้ว ควรซักทำความสะอาดให้เรียบร้อย พับเก็บใส่ถุงซิปล็อก พร้อมกับรีดเอาอากาศภายในถุงออก เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดเชื้อราจากความชื้นของอากาศในถุง ขณะเดียวกันก็เป็นการป้องกันตัวมอดที่เข้ามากัดกินทำลายโครงสร้างผ้า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ฤดูหนาวในปีถัดไป สามารถนำเสื้อกันหนาวกลับมาใช้ได้เหมือนใหม่อีกครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์