7 อาการผิดปกติ ส่งสัญญาณเตือน "กรวยไตอักเสบ" โรคนี้เป็นได้ทุกวัย และหากปล่อยไว้นานอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลย
กรวยไตอักเสบ สาเหตุเกิดจาก ?
เมื่อพูดถึงการอักเสบแสดงว่าต้องมีการติดเชื้อ ซึ่ง กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) ก็คือภาวะที่เนื้อไตและกรวยไตติดเชื้อจนอักเสบ โดยส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ลุกลามขึ้นมาจากกระเพาะปัสสาวะ ผ่านเข้ามาทางท่อไต
ทั้งนี้เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยคือ แบคทีเรีย ชนิด อีโคไล (E. Coli) ซึ่งมักปนเปื้อนมากับอุจจาระจึงแพร่กระจายเข้าท่อปัสสาวะได้ หากเข้าไปที่ท่อปัสสาวะจะทำให้มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่หากเชื้อลุกลามขึ้นไปตามท่อไต จนถึงกรวยไต ก็จะทำให้เป็นกรวยไตอักเสบได้ ซึ่งการติดเชื้อดังกล่าวอาจเป็นที่กรวยไตข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างพร้อมกันก็ได้
กรวยไตอักเสบ ใครเสี่ยง ?
กรวยไตอักเสบ เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย และพบผู้ป่วยได้ในทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ (โดยเฉพาะในช่วงอายุน้อยกว่า 1 ขวบ ถึงอายุ 6 ขวบ) วัยรุ่น วัยทำงาน ไปจนถึงผู้สูงอายุ แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ เช่น
- ผู้หญิง มีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย โดยพบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 4-5 เท่า เพราะผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้ทวารหนักมากกว่าผู้ชาย จึงมีโอกาสแปดเปื้อนเชื้อโรคที่ออกมากับอุจจาระได้
- สตรีมีตั้งครรภ์ 7-8 เดือนขึ้นไป เพราะมดลูกจะขยายใหญ่จนไปอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ จึงมีโอกาสติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ รวมทั้งเกิดโรคกรวยไตอักเสบได้
- คนที่ชอบอั้นปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้เชื้อโรคหมักหมมอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้นานขึ้น และเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะที่ตึงตัวขึ้น (จากปริมาณปัสสาวะที่อั้นไว้) จะทำให้ความสามารถในการกำจัดเชื้อโรคได้น้อยลง จึงเกิดการอักเสบขึ้นได้
- คนที่มีคู่นอนหลายคน เพราะสามารถติดเชื้อทางการมีเพศสัมพันธ์ได้
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้
- ผู้ที่เป็นนิ่วหรือเนื้องอกบริเวณทางเดินปัสสาวะ
- ผู้ชายสูงอายุที่มีต่อมลูกหมากโต หรือท่อปัสสาวะตีบตัน
- ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่กินยาสเตียรอยด์มานาน ผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV, ผู้ป่วยมะเร็ง เพราะคนกลุ่มนี้จะมีภูมิต้านทานโรคต่ำ จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติ
- เด็กที่มีภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับ (Vesicoureteral reflux) ซึ่งเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
- ผู้ป่วยอัมพาต เพราะกระเพาะปัสสาวะทำงานได้ไม่เต็มที่
- ผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน หรือต้องใช้สายสวนปัสสาวะ
กรวยไตอักเสบ อาการแบบไหน เช็กให้ชัด !
กรวยไตอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดเฉียบพลัน กับ ชนิดเรื้อรัง ซึ่งมีความอันตรายแตกต่างกัน
กรวยไตอักเสบชนิดเฉียบพลัน (Acute Pyelonephritis)
คืออาการอักเสบติดเชื้อของไตและกรวยไต เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง แต่มี 7 อาการหลัก ๆ ที่สังเกตได้ชัดเจนคือ
- มีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการหนาวสั่นมาก ต้องห่มผ้าหนา ๆ คล้ายกับอาการไข้มาลาเรีย แต่จะจับไข้ไม่เป็นเวลาแน่นอน มีอาการหนาวสั่นเป็นพัก ๆ วันละหลายครั้ง
- ปวดบั้นเอว ปวดหลัง หรือสีข้างขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน อาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง หากลองใช้กำปั้นทุบเบา ๆ ตรงบริเวณที่ปวดจะรู้สึกเจ็บจนสะดุ้ง นอกจากนี้ยังอาจปวดร้าวลงมาถึงบริเวณขาหนีบ
- มีอาการขัดเบา คือ รู้สึกแสบขัดเวลาปัสสาวะ บางครั้งออกกะปริบกะปรอย ออกทีละน้อย แต่ปวดบ่อย ต้องเข้าห้องน้ำทุกชั่วโมงหรือชั่วโมงละหลายครั้ง
- ปัสสาวะมีสีขาวขุ่น บางครั้งอาจข้นเป็นหนอง หรืออาจเป็นสีเลือดจาง ๆ
- ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน แต่จะไม่เป็นหวัด เจ็บคอ หรือไอ
- หน้าท้องอาจมีอาการกดเจ็บหรือท้องเกร็งแข็งเล็กน้อย
- อาจมีหนอง หรือสารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศ เมื่อเกิดการติดเชื้อจากทางเพศสัมพันธ์
หากมีอาการดังกล่าวนี้ ควรรีบไปพบแพทย์
กรวยไตอักเสบชนิดเรื้อรัง (Chronic Pyelonephritis)
ความน่ากลัวของกรวยไตอักเสบชนิดเรื้อรังก็คือ มักจะไม่ปรากฏอาการชัดเจนเหมือนกับชนิดเฉียบพลัน ต้องตรวจปัสสาวะถึงจะพบเชื้อแบคทีเรียและเม็ดเลือดขาวซึ่งบ่งบอกว่าติดเชื้อ ถือว่าเป็นภาวะที่อันตรายพอสมควร เพราะหากไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้ แล้วไม่ได้รับการรักษา อาการกรวยไตอักเสบชนิดเรื้อรังอาจกลายเป็นไตวายหรือไตพิการ ซึ่งเป็นอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้
ดังนั้นหากใครมักมีอาการซีด อ่อนเพลีย มีความดันโลหิตสูง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้ชัดเจน รวมทั้งตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีภาวะโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรังด้วยหรือไม่
วินิจฉัยอย่างไรว่าเป็นกรวยไตอักเสบ
อาการเป็นไข้ หนาวสั่น ปวดเอว ปวดหลัง เป็นอาการที่คล้ายกับโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้มาลาเรีย ปอดอักเสบ ท่อน้ำดีอักเสบ ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าอาการที่เป็นอยู่คือกรวยไตอักเสบจริง ๆ แพทย์จะต้องทำการวินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยการตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอกซเรย์ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย
กรวยไตอักเสบ รักษาหายไหม
หากเป็นโรคนี้ขึ้นมาก็ยังไม่ต้องกังวลมากนัก เพราะสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการกินยาปฏิชีวนะโดยต้องได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์ ส่วนในรายที่เป็นมาก แพทย์อาจให้ยาฉีด ซึ่งอาการจะทุเลาได้ภายใน 3-4 วัน แต่ถึงจะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ยังต้องกินยาปฏิชีวนะต่อไปจนหมดเพื่อฆ่าเชื้อ
แต่หากมีอาการหนัก หรือตรวจพบสาเหตุซ่อนเร้นอื่น ๆ เช่น ต่อมลูกหมากโต มีนิ่ว แพทย์ก็จะให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการแทรกซ้อนนั้น เช่น การผ่าตัด และเมื่อหายดีแล้ว แพทย์จะนัดมาตรวจปัสสาวะทุก ๆ 3-6 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้กลายเป็นกรวยไตอักเสบชนิดเรื้อรัง
กรวยไตอักเสบ กับโรคแทรกซ้อนที่ต้องระวัง
แม้โรคนี้จะรักษาได้ แต่ผู้ป่วยต้องรีบเข้ารับการรักษา อย่าปล่อยให้เป็นนาน เพราะเชื้ออาจลุกลามเข้ากระแสเลือดกลายเป็นภาวะโลหิตเป็นพิษ อาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ หรือหากผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามแพทย์สั่ง กินยาปฏิชีวนะไม่ครบ หรือไม่มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจปัสสาวะ ภาวะที่เป็นอยู่อาจกลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรังได้ ซึ่งหากปล่อยไว้นานอาจกลายเป็นไตวายหรือไตพิการถึงแก่ชีวิตได้เลย
ดูแลตัวเองอย่างไรหากป่วยกรวยไตอักเสบ
- กินยาปฏิชีวนะให้ครบตามขนาดที่แพทย์แนะนำ แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้ว แต่ก็ต้องกินยาให้หมด เพราะหากเชื้อยังหลงเหลืออยู่อาจพัฒนากลายเป็นกรวยไตอักเสบเรื้อรังต่อไปได้
- เมื่ออาการหายดีแล้ว ก็ควรไปพบแพทย์เป็นระยะ ๆ เช่น ทุก 3-6 เดือน เพื่อตรวจปัสสาวะให้แน่ใจว่าไม่มีการอักเสบเรื้อรัง
- อย่าอั้นปัสสาวะไว้นาน ๆ
- ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- รักษาความสะอาดตามสุขอนามัยพื้นฐาน
ป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นกรวยไตอักเสบ
แน่นอนว่าวิธีหลีกเลี่ยงโรคนี้ได้ดีที่สุดก็คือ การป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อทางระบบทางเดินปัสสาวะ พร้อมกับดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง จะได้มีภูมิต้านทานไว้ต่อสู้กับเชื้อโรค ด้วยวิธีต่อไปนี้...
- อย่าอั้นปัสสาวะไว้นาน ๆ เพราะจะทำให้เชื้อโรคสะสมอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้นาน
- ปัสสาวะทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ เพื่อล้างเชื้อแบคทีเรียออกไป
- หลังถ่ายอุจจาระควรใช้กระดาษชำระเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อลดโอกาสที่เชื้อโรคจะเข้าไปในท่อปัสสาวะ
- ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ เพื่อล้างเชื้อโรคออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานโรค
- หากมีโรคที่เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เช่น ท่อปัสสาวะอักเสบ นิ่ว ต่อมลูกหมากโต หรือแม้แต่เบาหวานซึ่งจะทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำ ควรรีบรักษาโรคเหล่านี้ให้หายขาด เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
เชื้อโรคทุกวันนี้มีอยู่รอบตัว แต่ถ้าเราปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี พร้อมกับสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงด้วยหลักการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานที่เรารู้กันดีอยู่แล้ว ก็จะช่วยให้เรารอดพ้นจากเชื้อโรคที่เข้ามาคุกคามได้ค่ะ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
healthline.com
drugs.com
ถ้าอยู่ ๆ
ก็ปวดบั้นเอวขึ้นมาอย่างหนัก นี่อาจไม่ใช่แค่ปวดเมื่อยธรรมดาค่ะ
ยิ่งถ้าเกิดร่วมกับอาการผิดปกติที่ระบบทางเดินปัสสาวะก็อาจสันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า
ตอนนี้สุขภาพไตกำลังมีปัญหาแน่ ๆ และหนึ่งในอาการที่ทำให้ปวดบั้นเอวก็คือ "กรวยไตอักเสบ" ซึ่งโรคนี้ไม่ได้มาเล่น ๆ
แต่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้อยู่เหมือนกันถ้าปล่อยให้เรื้อรัง
วันนี้กระปุกดอทคอมเลยจะพาไปสำรวจอาการของโรคพร้อมวิธีรักษาและป้องกันเบื้องต้น
กรวยไต อยู่ตรงไหน ?
กรวยไต (Renal pelvis) เป็นส่วนที่อยู่เหนือสุดของท่อไต ซึ่งยื่นเข้าไปในเนื้อไต มีรูปร่างเป็นรูปกรวย ลักษณะเป็นโพรง ทำหน้าที่รองรับและกักเก็บปัสสาวะที่กรองออกมาแล้วจากไต ก่อนปล่อยลงสู่ท่อไตแล้วลงไปที่ท่อปัสสาวะ
กรวยไต อยู่ตรงไหน ?
กรวยไต (Renal pelvis) เป็นส่วนที่อยู่เหนือสุดของท่อไต ซึ่งยื่นเข้าไปในเนื้อไต มีรูปร่างเป็นรูปกรวย ลักษณะเป็นโพรง ทำหน้าที่รองรับและกักเก็บปัสสาวะที่กรองออกมาแล้วจากไต ก่อนปล่อยลงสู่ท่อไตแล้วลงไปที่ท่อปัสสาวะ
กรวยไตอักเสบ สาเหตุเกิดจาก ?
เมื่อพูดถึงการอักเสบแสดงว่าต้องมีการติดเชื้อ ซึ่ง กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) ก็คือภาวะที่เนื้อไตและกรวยไตติดเชื้อจนอักเสบ โดยส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ลุกลามขึ้นมาจากกระเพาะปัสสาวะ ผ่านเข้ามาทางท่อไต
ทั้งนี้เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยคือ แบคทีเรีย ชนิด อีโคไล (E. Coli) ซึ่งมักปนเปื้อนมากับอุจจาระจึงแพร่กระจายเข้าท่อปัสสาวะได้ หากเข้าไปที่ท่อปัสสาวะจะทำให้มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่หากเชื้อลุกลามขึ้นไปตามท่อไต จนถึงกรวยไต ก็จะทำให้เป็นกรวยไตอักเสบได้ ซึ่งการติดเชื้อดังกล่าวอาจเป็นที่กรวยไตข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างพร้อมกันก็ได้
กรวยไตอักเสบ ใครเสี่ยง ?
กรวยไตอักเสบ เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย และพบผู้ป่วยได้ในทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ (โดยเฉพาะในช่วงอายุน้อยกว่า 1 ขวบ ถึงอายุ 6 ขวบ) วัยรุ่น วัยทำงาน ไปจนถึงผู้สูงอายุ แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ เช่น
- ผู้หญิง มีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย โดยพบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 4-5 เท่า เพราะผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้ทวารหนักมากกว่าผู้ชาย จึงมีโอกาสแปดเปื้อนเชื้อโรคที่ออกมากับอุจจาระได้
- สตรีมีตั้งครรภ์ 7-8 เดือนขึ้นไป เพราะมดลูกจะขยายใหญ่จนไปอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ จึงมีโอกาสติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ รวมทั้งเกิดโรคกรวยไตอักเสบได้
- คนที่ชอบอั้นปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้เชื้อโรคหมักหมมอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้นานขึ้น และเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะที่ตึงตัวขึ้น (จากปริมาณปัสสาวะที่อั้นไว้) จะทำให้ความสามารถในการกำจัดเชื้อโรคได้น้อยลง จึงเกิดการอักเสบขึ้นได้
- คนที่มีคู่นอนหลายคน เพราะสามารถติดเชื้อทางการมีเพศสัมพันธ์ได้
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้
- ผู้ที่เป็นนิ่วหรือเนื้องอกบริเวณทางเดินปัสสาวะ
- ผู้ชายสูงอายุที่มีต่อมลูกหมากโต หรือท่อปัสสาวะตีบตัน
- ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่กินยาสเตียรอยด์มานาน ผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV, ผู้ป่วยมะเร็ง เพราะคนกลุ่มนี้จะมีภูมิต้านทานโรคต่ำ จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติ
- เด็กที่มีภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับ (Vesicoureteral reflux) ซึ่งเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
- ผู้ป่วยอัมพาต เพราะกระเพาะปัสสาวะทำงานได้ไม่เต็มที่
- ผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน หรือต้องใช้สายสวนปัสสาวะ
กรวยไตอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดเฉียบพลัน กับ ชนิดเรื้อรัง ซึ่งมีความอันตรายแตกต่างกัน
กรวยไตอักเสบชนิดเฉียบพลัน (Acute Pyelonephritis)
คืออาการอักเสบติดเชื้อของไตและกรวยไต เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง แต่มี 7 อาการหลัก ๆ ที่สังเกตได้ชัดเจนคือ
- มีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการหนาวสั่นมาก ต้องห่มผ้าหนา ๆ คล้ายกับอาการไข้มาลาเรีย แต่จะจับไข้ไม่เป็นเวลาแน่นอน มีอาการหนาวสั่นเป็นพัก ๆ วันละหลายครั้ง
- ปวดบั้นเอว ปวดหลัง หรือสีข้างขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน อาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง หากลองใช้กำปั้นทุบเบา ๆ ตรงบริเวณที่ปวดจะรู้สึกเจ็บจนสะดุ้ง นอกจากนี้ยังอาจปวดร้าวลงมาถึงบริเวณขาหนีบ
- มีอาการขัดเบา คือ รู้สึกแสบขัดเวลาปัสสาวะ บางครั้งออกกะปริบกะปรอย ออกทีละน้อย แต่ปวดบ่อย ต้องเข้าห้องน้ำทุกชั่วโมงหรือชั่วโมงละหลายครั้ง
- ปัสสาวะมีสีขาวขุ่น บางครั้งอาจข้นเป็นหนอง หรืออาจเป็นสีเลือดจาง ๆ
- ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน แต่จะไม่เป็นหวัด เจ็บคอ หรือไอ
- หน้าท้องอาจมีอาการกดเจ็บหรือท้องเกร็งแข็งเล็กน้อย
- อาจมีหนอง หรือสารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศ เมื่อเกิดการติดเชื้อจากทางเพศสัมพันธ์
หากมีอาการดังกล่าวนี้ ควรรีบไปพบแพทย์
กรวยไตอักเสบชนิดเรื้อรัง (Chronic Pyelonephritis)
ความน่ากลัวของกรวยไตอักเสบชนิดเรื้อรังก็คือ มักจะไม่ปรากฏอาการชัดเจนเหมือนกับชนิดเฉียบพลัน ต้องตรวจปัสสาวะถึงจะพบเชื้อแบคทีเรียและเม็ดเลือดขาวซึ่งบ่งบอกว่าติดเชื้อ ถือว่าเป็นภาวะที่อันตรายพอสมควร เพราะหากไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้ แล้วไม่ได้รับการรักษา อาการกรวยไตอักเสบชนิดเรื้อรังอาจกลายเป็นไตวายหรือไตพิการ ซึ่งเป็นอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้
ดังนั้นหากใครมักมีอาการซีด อ่อนเพลีย มีความดันโลหิตสูง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้ชัดเจน รวมทั้งตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีภาวะโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรังด้วยหรือไม่
วินิจฉัยอย่างไรว่าเป็นกรวยไตอักเสบ
อาการเป็นไข้ หนาวสั่น ปวดเอว ปวดหลัง เป็นอาการที่คล้ายกับโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้มาลาเรีย ปอดอักเสบ ท่อน้ำดีอักเสบ ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าอาการที่เป็นอยู่คือกรวยไตอักเสบจริง ๆ แพทย์จะต้องทำการวินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยการตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอกซเรย์ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย
กรวยไตอักเสบ รักษาหายไหม
หากเป็นโรคนี้ขึ้นมาก็ยังไม่ต้องกังวลมากนัก เพราะสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการกินยาปฏิชีวนะโดยต้องได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์ ส่วนในรายที่เป็นมาก แพทย์อาจให้ยาฉีด ซึ่งอาการจะทุเลาได้ภายใน 3-4 วัน แต่ถึงจะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ยังต้องกินยาปฏิชีวนะต่อไปจนหมดเพื่อฆ่าเชื้อ
แต่หากมีอาการหนัก หรือตรวจพบสาเหตุซ่อนเร้นอื่น ๆ เช่น ต่อมลูกหมากโต มีนิ่ว แพทย์ก็จะให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการแทรกซ้อนนั้น เช่น การผ่าตัด และเมื่อหายดีแล้ว แพทย์จะนัดมาตรวจปัสสาวะทุก ๆ 3-6 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้กลายเป็นกรวยไตอักเสบชนิดเรื้อรัง
กรวยไตอักเสบ กับโรคแทรกซ้อนที่ต้องระวัง
แม้โรคนี้จะรักษาได้ แต่ผู้ป่วยต้องรีบเข้ารับการรักษา อย่าปล่อยให้เป็นนาน เพราะเชื้ออาจลุกลามเข้ากระแสเลือดกลายเป็นภาวะโลหิตเป็นพิษ อาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ หรือหากผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามแพทย์สั่ง กินยาปฏิชีวนะไม่ครบ หรือไม่มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจปัสสาวะ ภาวะที่เป็นอยู่อาจกลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรังได้ ซึ่งหากปล่อยไว้นานอาจกลายเป็นไตวายหรือไตพิการถึงแก่ชีวิตได้เลย
ดูแลตัวเองอย่างไรหากป่วยกรวยไตอักเสบ
- กินยาปฏิชีวนะให้ครบตามขนาดที่แพทย์แนะนำ แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้ว แต่ก็ต้องกินยาให้หมด เพราะหากเชื้อยังหลงเหลืออยู่อาจพัฒนากลายเป็นกรวยไตอักเสบเรื้อรังต่อไปได้
- เมื่ออาการหายดีแล้ว ก็ควรไปพบแพทย์เป็นระยะ ๆ เช่น ทุก 3-6 เดือน เพื่อตรวจปัสสาวะให้แน่ใจว่าไม่มีการอักเสบเรื้อรัง
- อย่าอั้นปัสสาวะไว้นาน ๆ
- ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- รักษาความสะอาดตามสุขอนามัยพื้นฐาน
ป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นกรวยไตอักเสบ
แน่นอนว่าวิธีหลีกเลี่ยงโรคนี้ได้ดีที่สุดก็คือ การป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อทางระบบทางเดินปัสสาวะ พร้อมกับดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง จะได้มีภูมิต้านทานไว้ต่อสู้กับเชื้อโรค ด้วยวิธีต่อไปนี้...
- อย่าอั้นปัสสาวะไว้นาน ๆ เพราะจะทำให้เชื้อโรคสะสมอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้นาน
- ปัสสาวะทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ เพื่อล้างเชื้อแบคทีเรียออกไป
- หลังถ่ายอุจจาระควรใช้กระดาษชำระเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อลดโอกาสที่เชื้อโรคจะเข้าไปในท่อปัสสาวะ
- ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ เพื่อล้างเชื้อโรคออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานโรค
- หากมีโรคที่เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เช่น ท่อปัสสาวะอักเสบ นิ่ว ต่อมลูกหมากโต หรือแม้แต่เบาหวานซึ่งจะทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำ ควรรีบรักษาโรคเหล่านี้ให้หายขาด เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
เชื้อโรคทุกวันนี้มีอยู่รอบตัว แต่ถ้าเราปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี พร้อมกับสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงด้วยหลักการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานที่เรารู้กันดีอยู่แล้ว ก็จะช่วยให้เรารอดพ้นจากเชื้อโรคที่เข้ามาคุกคามได้ค่ะ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
healthline.com
drugs.com