x close

ทำอย่างไรดี เมื่อตะคริวถามหา???


ตะคริว

          หลายคนเข้าใจว่า ตะคริว มักเกิดเวลาเราแช่ในน้ำที่เย็นจัดจนเกินไป และแช่ในน้ำเป็นเวลานาน แต่จริง ๆ  แล้ว ตะคริวเกิดได้ในหลาย ๆ เวลาเลยล่ะ

          ไม่ว่าจะช่วงหลังออกกำลังกาย การยืนผิดท่า ในคนที่มีแคลเซียมในเลือดต่ำก็เกิดตะคริวได้ง่าย เพราะเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่สะดวก เช่นเดียวกับในคนที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น คนสูงอายุก็มีโอกาสเป็นตะคริวได้บ่อยขึ้น และอาจเป็นขณะที่เดินนาน ๆ หรือขณะที่อากาศเย็นตอนดึกหรือเช้ามืด เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่ดี หรือในผู้ป่วยที่ร่างกายเสียเกลือโซเดียม เนื่องจากท้องเดิน อาเจียน หรือสูญเสียไปทางเหงื่อเนื่องจากความร้อน ก็เกิดตะคริวขึ้นได้เช่นกัน

          โดยเมื่อตะคริวถามหานั้น เราจะเกิดความรู้สึกว่ากล้ามเนื้อบางส่วน อาจจะเป็นน่องหรือต้นขา แต่ส่วนใหญ่จะเกิดที่น่อง มีการแข็งตัวและปวดมาก ๆ เจ็บมาก จับดูจะสัมผัสได้เลยว่าแข็งเป็นก้อน ถ้ายิ่งขยับในขณะที่ปวดอยู่กล้ามเนื้อส่วนนั้นจะทำให้ยิ่งปวด จนถึงขั้นน้ำตาไหลได้เลยทีเดียว ทำได้แต่เพียงค่อย ๆ นวดบริเวณนั้น ก็ช่วยให้ความปวดทุเลาลง และตะคริวก็จะค่อย ๆ หายไปได้

ตะคริว

การป้องกันตะคริว

          - การออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ เพราะตะคริวมักเกิดในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือคนที่ขาดการออกกำลังกายที่ดีพอ

          - การฝึกการยืดกล้ามเนื้อบ่อย ๆ อาจลดโอกาสการเกิดตะคริวได้ เช่น ที่น่องอาจทำได้โดยการกระดกเท้าขึ้นลง หรือเอามือแตะปลายเท้าขณะเหยียดเข่า ปั่นจักรยานอยู่กับที่ หรือยืนบนส้นเท้าห่างผนัง 1 ฟุตแล้วเอามือทาบผนัง และค่อย ๆ เหยียดแขนออก เพื่อยืดกล้ามเนื้อประมาณ 30 วินาทีแล้วทำใหม่ เป็นต้น

          - ถ้าออกกำลังกายหนัก ควรดื่มน้ำและเกลือแร่ทดแทนให้เพียงพอ

          - ควรพักผ่อนให้เพียงพอ

          - รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

          - ผู้สูงอายุควรค่อย ๆ ขยับแขน ขาช้า ๆ และหลีกเลี่ยงอากาศเย็นมาก ๆ

          - สวมรองเท้าที่พอเหมาะ และอาจใส่ถุงเท้าตอนนอนเพื่อป้องกันการเกร็งของเท้า

          - ในรายที่เป็นบ่อย ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไข


ขอขอบคุณข้อมูลจาก



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ทำอย่างไรดี เมื่อตะคริวถามหา??? อัปเดตล่าสุด 27 ตุลาคม 2559 เวลา 11:42:21 17,113 อ่าน
TOP