ข้าว กข.43 พันธุ์ข้าวขาวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ แถมยังหุงแล้วหอมนุ่มน่ารับประทาน มาทำความรู้จักข้าวพันธุ์ กข.43 กันค่ะ
แหล่งปลูกข้าวพันธุ์ กข.43 ในปัจุจุบันจะพบแหล่งปลูกอยู่ที่จังหวัดชัยนาท และสุพรรณบุรี เป็นส่วนใหญ่
เนื่องจากข้าว กข.43 ควรปลูกในพื้นที่นาชลประทาน
พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน
หรือพื้นที่ที่เกษตรกรมีเวลาทำนาน้อยกว่าพื้นที่ปลูกข้าวอื่น ๆ
รวมไปถึงในพื้นที่ที่มีปัญหาวัชพืชระบาดในนาข้าว ก็เหมาะจะปลูกข้าว กข.43
ด้วยเช่นกัน เนื่องจาก ข้าว กข.43
เป็นพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะเด่นอยู่ที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้น เพียง 95
วันก็เก็บเกี่ยวได้ อีกทั้ง ข้าว กข.43
ยังเป็นพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานต่อโรคใบไหม้และปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในระดับปานกลาง
ในพื้นที่ที่มีปัญหาเพลี้ยกระโดดจึงสามารถปลูกข้าว กข.43 ได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าว กข.43 เพื่อตลาดเฉพาะสำหรับคนรักสุขภาพและขยายสู่ตลาดโลก โดยช่วยกำกับดูแลครอบคลุมตั้งแต่การผลิต เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนคัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ และแปลงผลิตข้าว สถานที่เก็บรักษาข้าว โรงสีข้าว รวมไปถึงขั้นตอนก่อนจะเป็นผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ เพื่อให้การผลิตข้าวพันธุ์ กข.43 ที่ออกสู่ตลาด เป็นข้าวพันธุ์ กข.43 อย่างแท้จริงตรงตามความต้องการของผู้บริโภคนั่นเอง
ข้าว กข.43 ข้าวขาวดัชนีน้ำตาลต่ำ
กรมการข้าว โดยกองวิจัยและพัฒนาข้าว และศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ร่วมกับสถาบันโภชนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการศึกษาหาพันธุ์ข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำมากกว่า 100 พันธุ์ ในประเทศไทย และพบว่า พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพการหุงต้มดี เหนียวนุ่ม รับประทานอร่อย แต่ค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ ได้แก่ ข้าวพันธุ์ กข.43 และข้าวพันธุ์พิษณุโลก 80
โดยการวิจัยได้นำข้าวทั้งสองพันธุ์ไปวิเคราะห์หาปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่แตกตัวเร็วในข้าวสารในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณน้ำตาลในเลือด และจากการวิจัยก็พบว่า ข้าวพันธุ์ กข.43 และพันธุ์พิษณุโลก 80 มีค่าปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่แตกตัวเร็วอยู่ที่ 21.8 และ 23.9 กรัม ต่อ 100 กรัม ตามลำดับ
ซึ่งผลการทดลองนี้ก็สอดคล้องกับการวิเคราะห์ในมนุษย์ โดยสถาบันโภชนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งพบว่า ข้าวพันธุ์ กข.43 และพันธุ์พิษณุโลก 80 มีค่าดัชนีน้ำตาลในข้าวขาว 57.5 และ 59.5 ตามลำดับ น้อยกว่าข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลมากกว่า 69 และมีค่าใกล้เคียงกับข้าวพันธุ์เหลืองประทิว ซึ่งเป็นข้าวอมิโลสสูง ร่วนแข็ง (อมิโลสในข้าว (Apparent amylose-content) คือ คุณภาพข้าวทางเคมีซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้าวสุกมีคุณสมบัติแตกต่างกัน อมิโลสยิ่งสูง ข้าวยิ่งแข็งร่วน อมิโลสต่ำ ข้าวจะนุ่มและเหนียว)
โดยจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ข้าวพันธุ์ กข.43 และพันธุ์พิษณุโลก 80 แม้จะเป็นข้าวที่มีอมิโลสต่ำ แต่กลับมีค่าดัชนีน้ำตาลในระดับปานกลางค่อนไปทางดัชนีน้ำตาลต่ำ เหมาะกับผู้บริโภคที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ห่วงใยสุขภาพ รวมถึงผู้ที่กำลังลดน้ำหนักที่ต้องการจะลดปริมาณน้ำตาลจากข้าวและอาหารที่กินในแต่ละวัน เพราะเมื่อรับประทานอาหารน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) อย่างข้าว กข.43 ร่างกายก็จะเปลี่ยนแป้งไปเป็นน้ำตาลได้ช้าลง ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และช่วยให้เราไม่หิวง่ายด้วยนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เรายังมีลุ้นจะได้รับประทานข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่านี้อีกนะคะ เพราะกรมการข้าวอยู่ในระหว่างการศึกษาพันธุ์ข้าว กข.43 ในรูปข้าวกล้องและข้าวกล้องงอก เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคต่อไป ซึ่งมีแนวโน้มว่ายิ่งรับประทานข้าว กข.43 ในรูปข้าวกล้อง หรือข้าวกล้องงอก จะยิ่งได้ข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าในข้าวขาวลงไปอีก ซึ่งน่าจะตอบโจทย์คนรักสุขภาพและคนที่กลัวอ้วนมากเลยทีเดียว
อ้อ ! แต่เพื่อสุขภาพที่ดีและแข็งแรง ก็ต้องรับประทานข้าว กข.43 ในปริมาณที่เหมาะสมด้วยนะคะ เพราะหากกินมากไปก็อ้วนได้อยู่ดี และก็ไม่ควรกินแต่อาหารเพื่อสุขภาพอย่างเดียวโดยไม่ออกกำลังกาย ถ้าอยากเฮลธ์ตี้มากขึ้น ไม่อ้วน ไม่เป็นโรคเรื้อรัง ก็ควรควบคุมอาหาร ลดอาหารไขมันสูง อาหารที่มีน้ำตาลสูง รวมไปถึงหมั่นออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอทุกวันด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมการข้าว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว
สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว
รัฐบาลไทย
กข43.com
ถ้าพูดถึงข้าวเพื่อสุขภาพ
หรือข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ที่เหมาะกับคนควบคุมน้ำหนักหรือเป็นเบาหวาน
เรามักจะนึกถึงข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอรี
หรือข้าวไม่ขัดสี เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบางคนอาจไม่ค่อยถนัดกับการกินข้าวกล้อง
ข้าวไม่ขัดสีกันเท่าไรใช่ไหมคะ
งั้นเอาเป็นว่าวันนี้เราจะพามารู้จักข้าวขาวพันธุ์หนึ่ง
ซึ่งเป็นข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ หุงแล้วก็นุ่ม กินง่าย คือ ข้าว กข.43
นั่นเอง
ข้าว กข.43 ประวัติและความเป็นมา
ข้าว กข.43 เป็นพันธุ์ข้าวที่ผ่านการคัดเลือกจากการผสมข้าวพันธุ์ลูกผสมเดี่ยว ระหว่างพันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี (พันธุ์แม่) กับพันธุ์สุพรรณบุรี 1 (พันธุ์พ่อ) ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง พ.ศ. 2542 โดยคัดเลือกได้สายพันธุ์ SPR99007-22-1-2-2-1 และได้ปลูกทดสอบผลผลิตในศูนย์วิจัยข้าวและนาเกษตรกรด้วยวิธีหว่านน้ำตมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จนถึงปี พ.ศ. 2551 ซึ่งในที่สุดคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์กรมการข้าว ก็ได้พิจารณารับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552 โดยใช้ชื่อว่า "กข43"
ข้าว กข.43 ลักษณะเป็นอย่างไร
อย่างที่เราบอกว่า ข้าว กข.43 เป็นข้าวขาวค่ะ ซึ่งข้าวขาวในท้องตลาดตอนนี้ก็มีหลากหลายพันธุ์ด้วยกัน ความหอม ความนุ่ม ก็แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับลักษณะข้าว กข.43 พันธุ์นี้ คุณภาพของเมล็ดหลังจากหุงต้มพบว่า ข้าว กข.43 หุงสุกนุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ รับประทานง่าย
ข้าว กข.43 ประวัติและความเป็นมา
ข้าว กข.43 เป็นพันธุ์ข้าวที่ผ่านการคัดเลือกจากการผสมข้าวพันธุ์ลูกผสมเดี่ยว ระหว่างพันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี (พันธุ์แม่) กับพันธุ์สุพรรณบุรี 1 (พันธุ์พ่อ) ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง พ.ศ. 2542 โดยคัดเลือกได้สายพันธุ์ SPR99007-22-1-2-2-1 และได้ปลูกทดสอบผลผลิตในศูนย์วิจัยข้าวและนาเกษตรกรด้วยวิธีหว่านน้ำตมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จนถึงปี พ.ศ. 2551 ซึ่งในที่สุดคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์กรมการข้าว ก็ได้พิจารณารับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552 โดยใช้ชื่อว่า "กข43"
ข้าว กข.43 ลักษณะเป็นอย่างไร
อย่างที่เราบอกว่า ข้าว กข.43 เป็นข้าวขาวค่ะ ซึ่งข้าวขาวในท้องตลาดตอนนี้ก็มีหลากหลายพันธุ์ด้วยกัน ความหอม ความนุ่ม ก็แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับลักษณะข้าว กข.43 พันธุ์นี้ คุณภาพของเมล็ดหลังจากหุงต้มพบว่า ข้าว กข.43 หุงสุกนุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ รับประทานง่าย
ข้าว กข.43 หาได้ที่ไหน
อย่างไรก็ตาม กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าว กข.43 เพื่อตลาดเฉพาะสำหรับคนรักสุขภาพและขยายสู่ตลาดโลก โดยช่วยกำกับดูแลครอบคลุมตั้งแต่การผลิต เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนคัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ และแปลงผลิตข้าว สถานที่เก็บรักษาข้าว โรงสีข้าว รวมไปถึงขั้นตอนก่อนจะเป็นผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ เพื่อให้การผลิตข้าวพันธุ์ กข.43 ที่ออกสู่ตลาด เป็นข้าวพันธุ์ กข.43 อย่างแท้จริงตรงตามความต้องการของผู้บริโภคนั่นเอง
ภาพจาก กรมวิชาการเกษตร
ข้าว กข.43 ข้าวขาวดัชนีน้ำตาลต่ำ
กรมการข้าว โดยกองวิจัยและพัฒนาข้าว และศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ร่วมกับสถาบันโภชนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการศึกษาหาพันธุ์ข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำมากกว่า 100 พันธุ์ ในประเทศไทย และพบว่า พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพการหุงต้มดี เหนียวนุ่ม รับประทานอร่อย แต่ค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ ได้แก่ ข้าวพันธุ์ กข.43 และข้าวพันธุ์พิษณุโลก 80
โดยการวิจัยได้นำข้าวทั้งสองพันธุ์ไปวิเคราะห์หาปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่แตกตัวเร็วในข้าวสารในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณน้ำตาลในเลือด และจากการวิจัยก็พบว่า ข้าวพันธุ์ กข.43 และพันธุ์พิษณุโลก 80 มีค่าปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่แตกตัวเร็วอยู่ที่ 21.8 และ 23.9 กรัม ต่อ 100 กรัม ตามลำดับ
ซึ่งผลการทดลองนี้ก็สอดคล้องกับการวิเคราะห์ในมนุษย์ โดยสถาบันโภชนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งพบว่า ข้าวพันธุ์ กข.43 และพันธุ์พิษณุโลก 80 มีค่าดัชนีน้ำตาลในข้าวขาว 57.5 และ 59.5 ตามลำดับ น้อยกว่าข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลมากกว่า 69 และมีค่าใกล้เคียงกับข้าวพันธุ์เหลืองประทิว ซึ่งเป็นข้าวอมิโลสสูง ร่วนแข็ง (อมิโลสในข้าว (Apparent amylose-content) คือ คุณภาพข้าวทางเคมีซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้าวสุกมีคุณสมบัติแตกต่างกัน อมิโลสยิ่งสูง ข้าวยิ่งแข็งร่วน อมิโลสต่ำ ข้าวจะนุ่มและเหนียว)
โดยจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ข้าวพันธุ์ กข.43 และพันธุ์พิษณุโลก 80 แม้จะเป็นข้าวที่มีอมิโลสต่ำ แต่กลับมีค่าดัชนีน้ำตาลในระดับปานกลางค่อนไปทางดัชนีน้ำตาลต่ำ เหมาะกับผู้บริโภคที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ห่วงใยสุขภาพ รวมถึงผู้ที่กำลังลดน้ำหนักที่ต้องการจะลดปริมาณน้ำตาลจากข้าวและอาหารที่กินในแต่ละวัน เพราะเมื่อรับประทานอาหารน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) อย่างข้าว กข.43 ร่างกายก็จะเปลี่ยนแป้งไปเป็นน้ำตาลได้ช้าลง ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และช่วยให้เราไม่หิวง่ายด้วยนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เรายังมีลุ้นจะได้รับประทานข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่านี้อีกนะคะ เพราะกรมการข้าวอยู่ในระหว่างการศึกษาพันธุ์ข้าว กข.43 ในรูปข้าวกล้องและข้าวกล้องงอก เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคต่อไป ซึ่งมีแนวโน้มว่ายิ่งรับประทานข้าว กข.43 ในรูปข้าวกล้อง หรือข้าวกล้องงอก จะยิ่งได้ข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าในข้าวขาวลงไปอีก ซึ่งน่าจะตอบโจทย์คนรักสุขภาพและคนที่กลัวอ้วนมากเลยทีเดียว
อ้อ ! แต่เพื่อสุขภาพที่ดีและแข็งแรง ก็ต้องรับประทานข้าว กข.43 ในปริมาณที่เหมาะสมด้วยนะคะ เพราะหากกินมากไปก็อ้วนได้อยู่ดี และก็ไม่ควรกินแต่อาหารเพื่อสุขภาพอย่างเดียวโดยไม่ออกกำลังกาย ถ้าอยากเฮลธ์ตี้มากขึ้น ไม่อ้วน ไม่เป็นโรคเรื้อรัง ก็ควรควบคุมอาหาร ลดอาหารไขมันสูง อาหารที่มีน้ำตาลสูง รวมไปถึงหมั่นออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอทุกวันด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมการข้าว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว
สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว
รัฐบาลไทย
กข43.com