กลั้นไอ กลั้นจาม อันตรายกว่าที่คิด ทั้งเสี่ยงลมรั่วเข้าสมอง หลอดลม คอหอย หรือแม้แต่อาการหูดับ !
โดยจากรายงานในวารสาร BMJ Case Reports เผยว่า กรณีที่เนื้อเยื่อคอหอยจะฉีกขาด หรือมีช่องโหว่ขึ้นมาอย่างทันทีทันใด พบได้ไม่บ่อยนัก นอกจากเคสที่มีอาการอาเจียน อาการขย้อน หรือผู้ป่วยที่มีอาการไออย่างรุนแรง รวมไปถึงผู้ป่วยหนักที่มีอาการบาดเจ็บอย่างสาหัส เป็นต้น ดังนั้นเคสผู้ป่วยชาวอังกฤษคนนี้จึงน่าแปลกใจไม่น้อยว่าเขามีลมรั่วเข้าคอหอยและหลอดลมได้อย่างไร
ซึ่งด้วยการซักประวัติก็ทำให้ทราบว่า ผู้ป่วยมีพฤติกรรมกลั้นจาม ทำให้ลมพยายามหาทางออกจากร่างกายด้วยการกระจายตัวไปตามเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อหน้าอก ซึ่งด้วยความดันของแรงลมที่ย้อนกลับจากการกลั้นจามนี้ ส่งผลให้เกิดเสียงดังจากลำคอลงไปถึงซี่โครงและไม่ใช่แค่อาการเจ็บร้าวจากคอไปจนถึงซี่โครงเท่านั้นที่เกิดขึ้นกับเขา แต่พฤติกรรมกลั้นจาม ยังส่งผลให้ผู้ป่วยรายนี้เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อที่ลำคอ ซึ่งแพทย์ก็ต้องให้อาหารทางสายยางและให้ยาปฏิชีวนะไปจนกว่าอาการบวมจากการติดเชื้อจะหายไปในที่สุด โดยในรายงานระบุว่า เคสนี้ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลกันเป็นสัปดาห์เลยนะคะ กว่าจะหายดีและกลับบ้านได้
อย่างไรก็ตาม
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนาสิกวิทยาจาก University of New South Wales and
Macquarie University เผยว่า แม้เคสผู้ป่วยในลักษณะนี้จะเจอไม่บ่อย
ทว่าก็มีรายงานทางการแพทย์ที่แสดงให้เห็นถึงอันตรายของการกลั้นจาม
ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะมีอากาศในเนื้อเยื่อ (Emphysema ) ขึ้นมาได้
โดยศาสตราจารย์นายแพทย์ Richard Harvey ก็อธิบายว่า ภาวะมีอากาศในเนื้อเยื่อสามารถเกิดขึ้นได้กับช่องอก ลำคอ หรือแม้กระทั่งบริเวณสมอง โดยเมื่อลมจากการจามผ่านออกทางจมูกหรือปากไม่ได้ ลมจะย้อนกลับและผ่านท่อยูสเตเชี่ยน ซึ่งเชื่อมระหว่างช่องจมูกกับหูชั้นกลางไปจนถึงเยื่อแก้วหู ซึ่งอาจส่งผลทำให้แก้วหูแตก หรืออาจจะเป็นสาเหตุเล็ก ๆ ของอาการเส้นเลือดในตาเปราะขาดหรือแตก เสี่ยงมีความผิดปกติต่อกระบังลมได้อีกด้วย
แต่ในบางเคส
ลักษณะทางกายภาพบางคน
ลมจากการกลั้นจามอาจทะลุผ่านกระโหลกใต้สมองเข้าสมองได้ในที่สุด
ซึ่งนอกจากความผิดปกติ เช่น มีอาการเบลอ พูดไม่ชัด คอบวม เสียงหาย
ยังพบว่ามีเคสผู้ป่วยกลั้นจามแล้วหูดับ หูหนวกถาวรด้วยเช่นกัน
ฉะนั้นจึงมีการเตือนว่าอย่ากลั้นจาม รวมไปถึงการสั่งน้ำมูกแรง ๆ ก็ไม่ควรทำอย่างเด็ดขาด เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะมีลมในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายได้ เนื่องจากอัตราความเร็วของการจามเคยวัดได้สูงสุดกว่า 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว ดังนั้น ท่องไว้นะคะว่าการจามดัง ๆ ยังดีซะกว่าพยายามอดกลั้นไว้แล้วส่งผลร้ายต่อสุขภาพในภายหลัง
อ๊ะ ! แต่อย่างไรก็ตาม เวลาจามควรปิดปากทุกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจายไปสู่คนรอบข้าง แต่ถ้าจะให้ปลอดภัยจริง ๆ แนะนำให้งอของศอกขึ้นมาปิดปากเมื่อจามก็จะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนอื่น เพราะถ้าเราใช้มือปิดปากแล้วไม่ล้างมือ เผลอเอามือไปจับตามที่ต่าง ๆ หรือจับคนอื่นก็ยังเป็นการแพร่เชื้อได้เหมือนกันนะคะ แต่ทว่า หากอยู่ในสถานการณ์ที่จามไม่ได้จริง ๆ นาสิกแพทย์ก็แนะนำให้ถูจมูกเบา ๆ วิธีนี้อาจจะช่วยให้อาการอยากจามหายไปก็ได้ค่ะ
ส่วนใครที่กำลังสงสัยว่า “การจาม” มีพลังทำลายล้างได้ขนาดนี้เชียวหรือ เราแนะนำให้อ่าน 9 เรื่องน่ารู้ของการจาม เซอร์ไพรส์จนคาดไม่ถึง !
ขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊กหมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC
abc.net
time
เตือนภัยคนที่ชอบกลั้นจาม
หรือพยายามจะไม่ไอ
ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพได้มากกว่าลมรั่วเข้าสมอง พูดไม่ชัด
มีอาการเบลอ เพราะความดันของลมเมื่อร่างกายต้องการจาม
มีพลังทำลายล้างมากถึงขนาดทำให้ปอดฉีก หูดับ หรือส่งผลกระทบต่อดวงตา หน้าอก
และหูเลยทีเดียว
จากกรณีที่มีข่าวหญิงชราวัย 82 ปี ตรวจพบลมรั่วเข้าทางสมอง จากพฤติกรรมกลั้นจาม กระทั่งก่อให้เกิดอาการพูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก โดยเรื่องราวนี้ถูกเผยผ่านทางเฟซบุ๊กหมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ซึ่งออกมาเตือนประชาชนว่าอย่ากลั้นจาม บีบจมูก เม้มปาก เวลาจะจามเด็ดขาดเพราะอาจทำให้ลมรั่วเข้าสมองได้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : อันตราย แพทย์เตือนห้ามเอามือบีบจมูก-เม้มปากเวลาจาม ทำลมรั่วเข้าสมองได้)
จากกรณีที่มีข่าวหญิงชราวัย 82 ปี ตรวจพบลมรั่วเข้าทางสมอง จากพฤติกรรมกลั้นจาม กระทั่งก่อให้เกิดอาการพูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก โดยเรื่องราวนี้ถูกเผยผ่านทางเฟซบุ๊กหมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ซึ่งออกมาเตือนประชาชนว่าอย่ากลั้นจาม บีบจมูก เม้มปาก เวลาจะจามเด็ดขาดเพราะอาจทำให้ลมรั่วเข้าสมองได้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : อันตราย แพทย์เตือนห้ามเอามือบีบจมูก-เม้มปากเวลาจาม ทำลมรั่วเข้าสมองได้)
แต่ภัยของการกลั้นจามยังไม่หมดเพียงเท่านั้นนะคะ
เพราะมีเคสผู้ป่วยชาวอังกฤษที่กลั้นจาม แล้วมีอาการคอหอยบวม
แถมเสียงยังหายโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่พอ MRI เท่านั้นแหละ แพทย์ถึงพบช่องลม
(Air pocket) อยู่ด้านหลังคอหอย และยังพบว่ามีลมค้างอยู่ใกล้ ๆ
บริเวณหลอดลมของผู้ป่วยรายนี้อีกด้วย
โดยจากรายงานในวารสาร BMJ Case Reports เผยว่า กรณีที่เนื้อเยื่อคอหอยจะฉีกขาด หรือมีช่องโหว่ขึ้นมาอย่างทันทีทันใด พบได้ไม่บ่อยนัก นอกจากเคสที่มีอาการอาเจียน อาการขย้อน หรือผู้ป่วยที่มีอาการไออย่างรุนแรง รวมไปถึงผู้ป่วยหนักที่มีอาการบาดเจ็บอย่างสาหัส เป็นต้น ดังนั้นเคสผู้ป่วยชาวอังกฤษคนนี้จึงน่าแปลกใจไม่น้อยว่าเขามีลมรั่วเข้าคอหอยและหลอดลมได้อย่างไร
ซึ่งด้วยการซักประวัติก็ทำให้ทราบว่า ผู้ป่วยมีพฤติกรรมกลั้นจาม ทำให้ลมพยายามหาทางออกจากร่างกายด้วยการกระจายตัวไปตามเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อหน้าอก ซึ่งด้วยความดันของแรงลมที่ย้อนกลับจากการกลั้นจามนี้ ส่งผลให้เกิดเสียงดังจากลำคอลงไปถึงซี่โครงและไม่ใช่แค่อาการเจ็บร้าวจากคอไปจนถึงซี่โครงเท่านั้นที่เกิดขึ้นกับเขา แต่พฤติกรรมกลั้นจาม ยังส่งผลให้ผู้ป่วยรายนี้เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อที่ลำคอ ซึ่งแพทย์ก็ต้องให้อาหารทางสายยางและให้ยาปฏิชีวนะไปจนกว่าอาการบวมจากการติดเชื้อจะหายไปในที่สุด โดยในรายงานระบุว่า เคสนี้ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลกันเป็นสัปดาห์เลยนะคะ กว่าจะหายดีและกลับบ้านได้
โดยศาสตราจารย์นายแพทย์ Richard Harvey ก็อธิบายว่า ภาวะมีอากาศในเนื้อเยื่อสามารถเกิดขึ้นได้กับช่องอก ลำคอ หรือแม้กระทั่งบริเวณสมอง โดยเมื่อลมจากการจามผ่านออกทางจมูกหรือปากไม่ได้ ลมจะย้อนกลับและผ่านท่อยูสเตเชี่ยน ซึ่งเชื่อมระหว่างช่องจมูกกับหูชั้นกลางไปจนถึงเยื่อแก้วหู ซึ่งอาจส่งผลทำให้แก้วหูแตก หรืออาจจะเป็นสาเหตุเล็ก ๆ ของอาการเส้นเลือดในตาเปราะขาดหรือแตก เสี่ยงมีความผิดปกติต่อกระบังลมได้อีกด้วย
ฉะนั้นจึงมีการเตือนว่าอย่ากลั้นจาม รวมไปถึงการสั่งน้ำมูกแรง ๆ ก็ไม่ควรทำอย่างเด็ดขาด เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะมีลมในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายได้ เนื่องจากอัตราความเร็วของการจามเคยวัดได้สูงสุดกว่า 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว ดังนั้น ท่องไว้นะคะว่าการจามดัง ๆ ยังดีซะกว่าพยายามอดกลั้นไว้แล้วส่งผลร้ายต่อสุขภาพในภายหลัง
อ๊ะ ! แต่อย่างไรก็ตาม เวลาจามควรปิดปากทุกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจายไปสู่คนรอบข้าง แต่ถ้าจะให้ปลอดภัยจริง ๆ แนะนำให้งอของศอกขึ้นมาปิดปากเมื่อจามก็จะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนอื่น เพราะถ้าเราใช้มือปิดปากแล้วไม่ล้างมือ เผลอเอามือไปจับตามที่ต่าง ๆ หรือจับคนอื่นก็ยังเป็นการแพร่เชื้อได้เหมือนกันนะคะ แต่ทว่า หากอยู่ในสถานการณ์ที่จามไม่ได้จริง ๆ นาสิกแพทย์ก็แนะนำให้ถูจมูกเบา ๆ วิธีนี้อาจจะช่วยให้อาการอยากจามหายไปก็ได้ค่ะ
ส่วนใครที่กำลังสงสัยว่า “การจาม” มีพลังทำลายล้างได้ขนาดนี้เชียวหรือ เราแนะนำให้อ่าน 9 เรื่องน่ารู้ของการจาม เซอร์ไพรส์จนคาดไม่ถึง !
ขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊กหมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC
abc.net
time