การบริจาคสเต็มเซลล์ หนึ่งวิธีต่อชีวิตให้ผู้ป่วยที่กำลังรอปาฏิหาริย์ มาทำความรู้จักวิธีบริจาคสเต็มเซลล์และขั้นตอนสมัครอาสาบริจาคสเต็มเซลล์กันค่ะ
ดังนั้นใครเคยแต่บริจาคเลือด แต่ยังไม่เคยบริจาคสเต็มเซลล์ หรืออยากลองบริจาคสเต็มเซลล์ดูสักครั้ง ทว่ากำลังหาข้อมูลเพิ่มเติมอยู่ วันนี้กระปุกดอทคอมได้นำรายละเอียดเรื่องการบริจาคสเต็มเซลล์มาให้ศึกษากันตรงนี้ พร้อมพาทุกท่านไปทำความรู้จักเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตหรือ Stem cell ว่ามีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร
สเต็มเซลล์ คืออะไร
สเต็มเซลล์ (Stem cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต คือ เซลล์ตัวอ่อนของโลหิตซึ่งยังไม่เจริญเติบโตเต็มวัย แต่เซลล์ตัวอ่อนของโลหิตสามารถเติบโตไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และส่วนประกอบต่าง ๆ ของเลือดได้ โดยสเต็มเซลล์จะพบมากในบริเวณไขกระดูก โดยเฉพาะในโพรงกระดูกส่วนแกนกลางกระดูกท่อนใหญ่ ๆ ของร่างกาย เช่น กระดูกแขน กระดูกขา และกระดูกเชิงกราน เป็นต้น
แต่แม้สเต็มเซลล์จะถูกสร้างจากไขกระดูกเป็นส่วนใหญ่ ทว่าเราอาจพบสเต็มเซลล์ในกระแสเลือดได้บ้าง เนื่องจากสเต็มเซลล์บางส่วนจะไหลเวียนปนมากับโลหิตในร่างกาย ดังนั้นสายสะดือและรกเด็กแรกเกิดก็เป็นส่วนที่อุดมไปด้วยสเต็มเซลล์ด้วยเช่นกัน
สเต็มเซลล์มีหน้าที่อะไร สำคัญขนาดไหนต่อร่างกายเรา
สเต็มเซลล์หรือตัวอ่อนของเซลล์เม็ดโลหิต มีหน้าที่เติบโตไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ดังนั้นหากใครมีสเต็มเซลล์ไม่เพียงพอ หรือมีความบกพร่องในการสร้างสเต็มเซลล์ในร่างกาย ก็อาจก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับเม็ดเลือดได้
นอกจากนี้สเต็มเซลล์ยังมีความสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคทางระบบโลหิต เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย, โรคโลหิตจางชนิดไขกระดูกฝ่อ, โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันหรือเรื้อรัง รวมไปถึงโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและโรคมะเร็งมัลติเพิลมัยอิโลมา ซึ่งการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้างเม็ดเลือด สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ดังนั้นสเต็มเซลล์จึงเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงสำคัญของชีวิต ที่หากขาดหรือมีไม่พอ ก็อาจทำให้ชีวิตไม่สามารถไปต่อได้
การบริจาคเลือดเป็นการนำโลหิตประมาณ
350-450 ซี.ซี. ออกจากร่างกายของผู้บริจาค
เพื่อส่งโลหิตนั้นไปให้ผู้ป่วยที่ต้องการเลือดไปหล่อเลี้ยงชีวิตต่อไป
ซึ่งการบริจาคเลือดไม่มีขั้นตอนที่ซับซ้อนและยุ่งยากเท่าไร
ขอแค่เป็นเลือดกรุ๊ปเดียวกันหรือสามารถใช้กรุ๊ปอื่นทดแทนกันได้เท่านั้น
การบริจาคเลือดก็ถือว่าจบสิ้นกระบวนการต่อลมหายใจ
ทว่าการบริจาคสเต็มเซลล์ให้แก่ผู้ป่วยโรคทางระบบโลหิต จำเป็นต้องจับคู่สเต็มเซลล์ที่เข้ากับร่างกายผู้ป่วยได้ ซึ่งโอกาสที่จะเจอสเต็มเซลล์ที่คู่กัน ก็ค่อนข้างยาก โดยหากจะเปรียบเทียบก็คือ โอกาสจะเจอสเต็มเซลล์ที่เข้าคู่กันได้จากพี่น้องท้องเดียวกันมีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น หรือหากเทียบกับคนที่ไม่ใช่ญาติผู้ป่วยและสเต็มเซลล์จากผู้บริจาค มีโอกาสจับคู่กันได้เพียง 1 ใน 10,000 คน หรือเทียบเท่าโอกาสถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 5 เลยทีเดียวค่ะ
ดังนั้นการบริจาคสเต็มเซลล์จากผู้ที่ไม่ใช่ญาติของผู้ป่วยจึงเป็นเรื่องที่ทั่วโลกต้องให้ความร่วมมือกัน เพื่อเพิ่มโอกาสหาคู่แท้สเต็มเซลล์ให้ผู้ป่วยที่กำลังรอความหวังได้มากขึ้น โดยจะมีหน่วยงานหลักซึ่งก็คือ Stem Cell Registry ที่คอยประสานงานรับอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ รวมไปถึงคอยค้นหาคู่แท้ของสเต็มเซลล์ที่ได้รับบริจาคเอาไว้ด้วย ซึ่งในประเทศไทย สภากาชาดไทยก็เป็นหน่วยงานที่คอยดูแลด้านนี้อยู่นั่นเอง
อยากบริจาคสเต็มเซลล์ ต้องทำยังไง
ขั้นตอนการบริจาคสเต็มเซลล์ก็เริ่มจากการลงทะเบียนเหมือนการบริจาคโลหิต โดยผู้ที่สามารถบริจาคสเต็มเซลล์ได้ต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้บริจาคโลหิตทุกประการ ซึ่งสามารถเช็กคุณสมบัติอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ได้จากข้อมูลด้านล่างนี้ค่ะ
ภาพจาก I\'m Cherry / Shutterstock.com
คุณสมบัติผู้บริจาคสเต็มเซลล์
1. มีอายุระหว่าง 18-50 ปี
2. เป็นผู้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 45 กิโลกรัม
3. ไม่มีโรคประจำตัว ไม่ใช่ผู้ที่ต้องรับประทานยาใด ๆ เป็นประจำ
4. ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง
5. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด
6. สตรีไม่ควรอยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
7. เป็นผู้บริจาคโลหิต
บริจาคสเต็มเซลล์ มีขั้นตอนอย่างไร
เมื่อคุณสมบัติผ่านเกณฑ์รับบริจาค ผู้มีความประสงค์จะบริจาคสเต็มเซลล์สามารถเข้าคิวตามขั้นตอน ดังนี้
1. ตรวจคัดกรองความเข้มข้นของเลือด ความดันโลหิต น้ำหนักตัว และเกณฑ์อื่น ๆ ตามคุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต
2. เมื่อผ่านส่วนคัดกรองมาแล้ว ให้ผู้มีความประสงค์จะบริจาคสเต็มเซลล์ แจ้งขอรับใบลงทะเบียนบริจาคสเต็มเซลล์ได้ที่ประชาสัมพันธ์ของสภากาชาดไทย พร้อมเซ็นยินยอมให้นำเลือดไปตรวจหาเนื้อเยื่อ HLA typing
3. จากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการรับบริจาคเลือดตามปกติ แต่จะเก็บตัวอย่างเลือดประมาณหลอดละ 5 ซี.ซี. ไปประมาณ 4 หลอด เพื่อทำการตรวจหาโรคติดต่อทางกระแสเลือด 3 หลอด ส่วนตัวอย่างเลือดอีก 1 หลอด จะถูกนำไปตรวจเนื้อเยื่อ HLA และทำการลงทะเบียนข้อมูลไว้
4. หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการบริจาคโลหิตแล้ว ผู้บริจาคสามารถกลับบ้านได้ตามปกติ
5. รอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ โดยในกรณีที่สเต็มเซลล์ของเราสามารถจับคู่กับผู้ป่วยที่รอรับสเต็มเซลล์ได้ เจ้าหน้าที่จะถามความสมัครใจอีกครั้งหนึ่ง และนัดวันไปตรวจเนื้อเยื่อ HLA อย่างละเอียดทุกตำแหน่งอีกครั้ง (ตรวจ Confirmatory Typing) ซึ่งสามารถเข้ารับการตรวจได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ตามวันและเวลาทำการ
6. หากผลการตรวจเนื้อเยื่อ HLA อย่างละเอียดพบว่า ผู้บริจาคสเต็มเซลล์กับผู้ป่วยมีเนื้อเยื่อ HLA ตรงกัน เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับเพื่อแจ้งให้ผู้บริจาคเข้ามาบริจาคสเต็มเซลล์ได้ที่ Collection Center ซึ่งมีอยู่ 4 แห่งด้วยกันคือ
1. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
2. โรงพยาบาลรามาธิบดี
3. โรงพยาบาลศิริราช
4. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ทั้งนี้ผู้บริจาคจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสุขภาพและความสมบูรณ์ของร่างกาย พร้อมฟังคำอธิบายจากแพทย์ ถึงวิธีการเก็บสเต็มเซลล์ ผลกระทบ รวมทั้งผลข้างเคียงที่อาจได้รับ เพื่อให้ผู้บริจาคทราบอย่างละเอียดอีกครั้ง
7. หากผู้บริจาคมีความพร้อมจะบริจาคสเต็มเซลล์ เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจนับเม็ดเลือดและสารเคมีในเลือด เอกซเรย์ปอด และตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้า ก่อนทำการบริจาคจริง ซึ่งการเก็บสเต็มเซลล์จะมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ
ภาพจาก May Preechaya / Shutterstock.com
1. การเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสเลือด
เป็นวิธีที่นิยมใช้เก็บสเต็มเซลล์ในปัจจุบัน โดยผู้บริจาคจะต้องเข้ารับการฉีดยา G-CSF กระตุ้นเม็ดเลือดขาววันละ 1 เข็ม ในช่วงเวลาเดียวกันทุกครั้ง รวมทั้งสิ้น 4 วัน เพื่อกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวและสเต็มเซลล์ของเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก จะได้ออกจากไขกระดูกมากระจายตัวในกระแสโลหิตให้มากพอที่จะเก็บสเต็มเซลล์ได้ เพราะโดยปกติในกระแสโลหิตจะมีสเต็มเซลล์อยู่น้อยมาก
ทั้งนี้ผู้บริจาคสามารถเดินทางมารับบริการได้ที่โรงพยาบาล Collection Center ทั้ง 4 แห่งข้างต้นที่ใดที่หนึ่งแล้วแต่ความสะดวก และไม่จำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล เมื่อฉีดวัคซีนแล้วสามารถกลับบ้านได้เลย
เมื่อฉีดวัคซีนกระตุ้นเม็ดเลือดขาวครบ 4 วันแล้ว และผู้บริจาคมีความพร้อมแล้ว แพทย์จะทำการเก็บสเต็มเซลล์บริเวณหลอดเลือดดำที่ข้อพับแขน แต่ในกรณีที่ตรวจพบว่าหลอดเลือดดำบริเวณแขนมีขนาดใหญ่ไม่พอ แพทย์จะพิจารณาเก็บสเต็มเซลล์ โดยใส่สายสวนหลอดเลือดดำบริเวณไหปลาร้าแทน และทำการเก็บสเต็มเซลล์โดยใช้เครื่องแยกเม็ดโลหิตอัตโนมัติ ซึ่งเครื่องจะทำการเลือกเก็บเฉพาะสเต็มเซลล์เท่านั้น ส่วนเม็ดโลหิตอื่น ๆ จะให้กลับคืนเข้าร่างกายทั้งหมด
กระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง/วัน และอาจจะต้องใช้เวลาบริจาคสเต็มเซลล์ 2 วัน หากปริมาณสเต็มเซลล์ไม่เพียงพอต่อการรักษา และหลังจากเก็บสเต็มเซลล์ไม่เกิน 3 วัน ผู้บริจาคสามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติทันที
ทั้งนี้ ก่อนและหลังการเก็บสเต็มเซลล์ทุกวัน เจ้าหน้าที่จะตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC) ของผู้บริจาคก่อน ถ้ามีภาวะเม็ดเลือดแดงต่ำ (Hematocrit น้อยกว่า 25%) เกล็ดเลือดต่ำ (น้อยกว่า 60,000 / ลบ.มม.) ผู้บริจาคอาจต้องได้รับเม็ดเลือดแดงและหรือเกล็ดเลือดทดแทน
2. การเก็บสเต็มเซลล์จากไขกระดูก
ผู้บริจาคจะได้รับการดมยาสลบโดยวิสัญญีแพทย์ และแพทย์จะทำการเจาะเก็บสเต็มเซลล์จากบริเวณกระดูกสะโพกด้านหลัง (บริเวณขอบกระดูกเชิงกราน) ในปริมาณไม่เกิน 500 มิลลิลิตร ทั้งนี้ในบางเคส แพทย์อาจจะเก็บโลหิตของผู้บริจาคเอาไว้ประมาณ 1-2 ยูนิต เพื่อนำมาใช้ทดแทนให้ผู้บริจาคหลังการเก็บสเต็มเซลล์เสร็จสิ้น
กระบวนการนี้อาจใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และผู้ป่วยอาจต้องนอนพักที่โรงพยาบาล 1 คืน เพื่อพักฟื้นร่างกาย หลังจากนั้น ผู้บริจาคสามารถกลับบ้านได้ โดยแพทย์อาจสั่งให้พักประมาณ 5-7 วัน โดยในระหว่างนี้จะมีเจ้าหน้าที่ติดตามอาการจนกว่าร่างกายผู้บริจาคสเต็มเซลล์จะแข็งแรงตามปกติ
อย่างไรก็ตาม การบริจาคสเต็มเซลล์ในทุกวิธีและทุกขั้นตอน ผู้บริจาคไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นนะคะ
บริจาคสเต็มเซลล์ ผลข้างเคียงมีไหม
ระหว่างการเก็บสเต็มเซลล์อาจมีอาการข้างเคียง เช่น อาการชาบริเวณมือ เท้า และรอบปาก แต่ทั้งนี้สามารถป้องกันอาการข้างเคียงดังกล่าวได้ด้วยการรับประทานแคลเซียมก่อนบริจาคสเต็มเซลล์
อีกผลข้างเคียงของการบริจาคสเต็มเซลล์ที่อาจพบได้ในวิธีเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสโลหิต คือผู้บริจาคอาจมีอาการปวดเมื่อยร่างกาย หนาวสั่นเหมือนมีไข้ แต่หลังจากบริจาคสเต็มเซลล์เสร็จสิ้นแล้ว อาการข้างเคียงทั้งหมดก็จะหายไป ร่างกายก็จะกลับมาเป็นปกติ รวมไปถึงปริมาณสเต็มเซลล์ที่บริจาคไป ร่างกายก็สามารถผลิตขึ้นมาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้นถ้าคิดอยากบริจาคสเต็มเซลล์ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล นอกจากควรเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการบริจาคสเต็มเซลล์อย่างที่สุด นั่นก็คือการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเท่านั้นเองค่ะ
และแม้การบริจาคสเต็มเซลล์จะไม่ใช่เรื่องที่ทำสำเร็จได้ง่าย ๆ และอาจต้องใช้เวลาในการบริจาคสเต็มเซลล์สักระยะ ทว่าการบริจาคสเต็มเซลล์คือการต่อชีวิตให้ผู้ป่วยที่รอความหวังในการมีชีวิตต่อไป เพราะนี่อาจเป็นเพียงทางรอดสุดท้ายที่เขามีเลยก็ได้...
....หากเรามีความพร้อม และคิดว่าร่างกายเราแข็งแรงมากพอจะส่งต่อพลังชีวิตให้ผู้ที่ต้องการสเต็มเซลล์ สามารถลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาค Stem Cell พร้อมกับบริจาคโลหิต ได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0-2263-9600 ต่อ 1301 หรือ 1310 ได้ทุกวันและเวลาทำการ
แผนที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
stemcellthairedcross
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
PR NBC blooddonationthai
เชื่อว่าหลายคนเคยบริจาคเลือดกันเป็นประจำ
ซึ่งนอกจากในแบบฟอร์มจะมีให้กรอกข้อมูลบริจาคเลือดแล้ว
บางคนอาจยังแอบเหลือบไปเห็นช่องสำหรับให้ทำเครื่องหมายยินยอมบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
หรือที่คุ้นชื่อกันว่า Stem cell กันด้วย
ซึ่งสเต็มเซลล์มีประโยชน์อย่างมากกับผู้ป่วยโรคโลหิตทั้งหลาย
จนทำให้การค้นหาสเต็มเซลล์ที่เข้าคู่กับผู้ป่วยที่ต้องการเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดมาต่อชีวิต
อาจเรียกได้ว่าเป็นการรอคู่แท้และปาฏิหาริย์เลยทีเดียว
ดังนั้นใครเคยแต่บริจาคเลือด แต่ยังไม่เคยบริจาคสเต็มเซลล์ หรืออยากลองบริจาคสเต็มเซลล์ดูสักครั้ง ทว่ากำลังหาข้อมูลเพิ่มเติมอยู่ วันนี้กระปุกดอทคอมได้นำรายละเอียดเรื่องการบริจาคสเต็มเซลล์มาให้ศึกษากันตรงนี้ พร้อมพาทุกท่านไปทำความรู้จักเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตหรือ Stem cell ว่ามีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร
สเต็มเซลล์ คืออะไร
สเต็มเซลล์ (Stem cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต คือ เซลล์ตัวอ่อนของโลหิตซึ่งยังไม่เจริญเติบโตเต็มวัย แต่เซลล์ตัวอ่อนของโลหิตสามารถเติบโตไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และส่วนประกอบต่าง ๆ ของเลือดได้ โดยสเต็มเซลล์จะพบมากในบริเวณไขกระดูก โดยเฉพาะในโพรงกระดูกส่วนแกนกลางกระดูกท่อนใหญ่ ๆ ของร่างกาย เช่น กระดูกแขน กระดูกขา และกระดูกเชิงกราน เป็นต้น
แต่แม้สเต็มเซลล์จะถูกสร้างจากไขกระดูกเป็นส่วนใหญ่ ทว่าเราอาจพบสเต็มเซลล์ในกระแสเลือดได้บ้าง เนื่องจากสเต็มเซลล์บางส่วนจะไหลเวียนปนมากับโลหิตในร่างกาย ดังนั้นสายสะดือและรกเด็กแรกเกิดก็เป็นส่วนที่อุดมไปด้วยสเต็มเซลล์ด้วยเช่นกัน
สเต็มเซลล์หรือตัวอ่อนของเซลล์เม็ดโลหิต มีหน้าที่เติบโตไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ดังนั้นหากใครมีสเต็มเซลล์ไม่เพียงพอ หรือมีความบกพร่องในการสร้างสเต็มเซลล์ในร่างกาย ก็อาจก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับเม็ดเลือดได้
นอกจากนี้สเต็มเซลล์ยังมีความสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคทางระบบโลหิต เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย, โรคโลหิตจางชนิดไขกระดูกฝ่อ, โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันหรือเรื้อรัง รวมไปถึงโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและโรคมะเร็งมัลติเพิลมัยอิโลมา ซึ่งการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้างเม็ดเลือด สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ดังนั้นสเต็มเซลล์จึงเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงสำคัญของชีวิต ที่หากขาดหรือมีไม่พอ ก็อาจทำให้ชีวิตไม่สามารถไปต่อได้
บริจาคสเต็มเซลล์ ต่างจากบริจาคเลือดไหม
ทว่าการบริจาคสเต็มเซลล์ให้แก่ผู้ป่วยโรคทางระบบโลหิต จำเป็นต้องจับคู่สเต็มเซลล์ที่เข้ากับร่างกายผู้ป่วยได้ ซึ่งโอกาสที่จะเจอสเต็มเซลล์ที่คู่กัน ก็ค่อนข้างยาก โดยหากจะเปรียบเทียบก็คือ โอกาสจะเจอสเต็มเซลล์ที่เข้าคู่กันได้จากพี่น้องท้องเดียวกันมีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น หรือหากเทียบกับคนที่ไม่ใช่ญาติผู้ป่วยและสเต็มเซลล์จากผู้บริจาค มีโอกาสจับคู่กันได้เพียง 1 ใน 10,000 คน หรือเทียบเท่าโอกาสถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 5 เลยทีเดียวค่ะ
ดังนั้นการบริจาคสเต็มเซลล์จากผู้ที่ไม่ใช่ญาติของผู้ป่วยจึงเป็นเรื่องที่ทั่วโลกต้องให้ความร่วมมือกัน เพื่อเพิ่มโอกาสหาคู่แท้สเต็มเซลล์ให้ผู้ป่วยที่กำลังรอความหวังได้มากขึ้น โดยจะมีหน่วยงานหลักซึ่งก็คือ Stem Cell Registry ที่คอยประสานงานรับอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ รวมไปถึงคอยค้นหาคู่แท้ของสเต็มเซลล์ที่ได้รับบริจาคเอาไว้ด้วย ซึ่งในประเทศไทย สภากาชาดไทยก็เป็นหน่วยงานที่คอยดูแลด้านนี้อยู่นั่นเอง
ขั้นตอนการบริจาคสเต็มเซลล์ก็เริ่มจากการลงทะเบียนเหมือนการบริจาคโลหิต โดยผู้ที่สามารถบริจาคสเต็มเซลล์ได้ต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้บริจาคโลหิตทุกประการ ซึ่งสามารถเช็กคุณสมบัติอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ได้จากข้อมูลด้านล่างนี้ค่ะ
ภาพจาก I\'m Cherry / Shutterstock.com
คุณสมบัติผู้บริจาคสเต็มเซลล์
1. มีอายุระหว่าง 18-50 ปี
2. เป็นผู้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 45 กิโลกรัม
3. ไม่มีโรคประจำตัว ไม่ใช่ผู้ที่ต้องรับประทานยาใด ๆ เป็นประจำ
4. ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง
5. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด
6. สตรีไม่ควรอยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
7. เป็นผู้บริจาคโลหิต
เมื่อคุณสมบัติผ่านเกณฑ์รับบริจาค ผู้มีความประสงค์จะบริจาคสเต็มเซลล์สามารถเข้าคิวตามขั้นตอน ดังนี้
1. ตรวจคัดกรองความเข้มข้นของเลือด ความดันโลหิต น้ำหนักตัว และเกณฑ์อื่น ๆ ตามคุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต
2. เมื่อผ่านส่วนคัดกรองมาแล้ว ให้ผู้มีความประสงค์จะบริจาคสเต็มเซลล์ แจ้งขอรับใบลงทะเบียนบริจาคสเต็มเซลล์ได้ที่ประชาสัมพันธ์ของสภากาชาดไทย พร้อมเซ็นยินยอมให้นำเลือดไปตรวจหาเนื้อเยื่อ HLA typing
3. จากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการรับบริจาคเลือดตามปกติ แต่จะเก็บตัวอย่างเลือดประมาณหลอดละ 5 ซี.ซี. ไปประมาณ 4 หลอด เพื่อทำการตรวจหาโรคติดต่อทางกระแสเลือด 3 หลอด ส่วนตัวอย่างเลือดอีก 1 หลอด จะถูกนำไปตรวจเนื้อเยื่อ HLA และทำการลงทะเบียนข้อมูลไว้
4. หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการบริจาคโลหิตแล้ว ผู้บริจาคสามารถกลับบ้านได้ตามปกติ
5. รอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ โดยในกรณีที่สเต็มเซลล์ของเราสามารถจับคู่กับผู้ป่วยที่รอรับสเต็มเซลล์ได้ เจ้าหน้าที่จะถามความสมัครใจอีกครั้งหนึ่ง และนัดวันไปตรวจเนื้อเยื่อ HLA อย่างละเอียดทุกตำแหน่งอีกครั้ง (ตรวจ Confirmatory Typing) ซึ่งสามารถเข้ารับการตรวจได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ตามวันและเวลาทำการ
6. หากผลการตรวจเนื้อเยื่อ HLA อย่างละเอียดพบว่า ผู้บริจาคสเต็มเซลล์กับผู้ป่วยมีเนื้อเยื่อ HLA ตรงกัน เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับเพื่อแจ้งให้ผู้บริจาคเข้ามาบริจาคสเต็มเซลล์ได้ที่ Collection Center ซึ่งมีอยู่ 4 แห่งด้วยกันคือ
1. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
2. โรงพยาบาลรามาธิบดี
3. โรงพยาบาลศิริราช
4. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ทั้งนี้ผู้บริจาคจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสุขภาพและความสมบูรณ์ของร่างกาย พร้อมฟังคำอธิบายจากแพทย์ ถึงวิธีการเก็บสเต็มเซลล์ ผลกระทบ รวมทั้งผลข้างเคียงที่อาจได้รับ เพื่อให้ผู้บริจาคทราบอย่างละเอียดอีกครั้ง
7. หากผู้บริจาคมีความพร้อมจะบริจาคสเต็มเซลล์ เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจนับเม็ดเลือดและสารเคมีในเลือด เอกซเรย์ปอด และตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้า ก่อนทำการบริจาคจริง ซึ่งการเก็บสเต็มเซลล์จะมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ
ภาพจาก May Preechaya / Shutterstock.com
1. การเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสเลือด
เป็นวิธีที่นิยมใช้เก็บสเต็มเซลล์ในปัจจุบัน โดยผู้บริจาคจะต้องเข้ารับการฉีดยา G-CSF กระตุ้นเม็ดเลือดขาววันละ 1 เข็ม ในช่วงเวลาเดียวกันทุกครั้ง รวมทั้งสิ้น 4 วัน เพื่อกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวและสเต็มเซลล์ของเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก จะได้ออกจากไขกระดูกมากระจายตัวในกระแสโลหิตให้มากพอที่จะเก็บสเต็มเซลล์ได้ เพราะโดยปกติในกระแสโลหิตจะมีสเต็มเซลล์อยู่น้อยมาก
ทั้งนี้ผู้บริจาคสามารถเดินทางมารับบริการได้ที่โรงพยาบาล Collection Center ทั้ง 4 แห่งข้างต้นที่ใดที่หนึ่งแล้วแต่ความสะดวก และไม่จำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล เมื่อฉีดวัคซีนแล้วสามารถกลับบ้านได้เลย
เมื่อฉีดวัคซีนกระตุ้นเม็ดเลือดขาวครบ 4 วันแล้ว และผู้บริจาคมีความพร้อมแล้ว แพทย์จะทำการเก็บสเต็มเซลล์บริเวณหลอดเลือดดำที่ข้อพับแขน แต่ในกรณีที่ตรวจพบว่าหลอดเลือดดำบริเวณแขนมีขนาดใหญ่ไม่พอ แพทย์จะพิจารณาเก็บสเต็มเซลล์ โดยใส่สายสวนหลอดเลือดดำบริเวณไหปลาร้าแทน และทำการเก็บสเต็มเซลล์โดยใช้เครื่องแยกเม็ดโลหิตอัตโนมัติ ซึ่งเครื่องจะทำการเลือกเก็บเฉพาะสเต็มเซลล์เท่านั้น ส่วนเม็ดโลหิตอื่น ๆ จะให้กลับคืนเข้าร่างกายทั้งหมด
กระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง/วัน และอาจจะต้องใช้เวลาบริจาคสเต็มเซลล์ 2 วัน หากปริมาณสเต็มเซลล์ไม่เพียงพอต่อการรักษา และหลังจากเก็บสเต็มเซลล์ไม่เกิน 3 วัน ผู้บริจาคสามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติทันที
ทั้งนี้ ก่อนและหลังการเก็บสเต็มเซลล์ทุกวัน เจ้าหน้าที่จะตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC) ของผู้บริจาคก่อน ถ้ามีภาวะเม็ดเลือดแดงต่ำ (Hematocrit น้อยกว่า 25%) เกล็ดเลือดต่ำ (น้อยกว่า 60,000 / ลบ.มม.) ผู้บริจาคอาจต้องได้รับเม็ดเลือดแดงและหรือเกล็ดเลือดทดแทน
ผู้บริจาคจะได้รับการดมยาสลบโดยวิสัญญีแพทย์ และแพทย์จะทำการเจาะเก็บสเต็มเซลล์จากบริเวณกระดูกสะโพกด้านหลัง (บริเวณขอบกระดูกเชิงกราน) ในปริมาณไม่เกิน 500 มิลลิลิตร ทั้งนี้ในบางเคส แพทย์อาจจะเก็บโลหิตของผู้บริจาคเอาไว้ประมาณ 1-2 ยูนิต เพื่อนำมาใช้ทดแทนให้ผู้บริจาคหลังการเก็บสเต็มเซลล์เสร็จสิ้น
กระบวนการนี้อาจใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และผู้ป่วยอาจต้องนอนพักที่โรงพยาบาล 1 คืน เพื่อพักฟื้นร่างกาย หลังจากนั้น ผู้บริจาคสามารถกลับบ้านได้ โดยแพทย์อาจสั่งให้พักประมาณ 5-7 วัน โดยในระหว่างนี้จะมีเจ้าหน้าที่ติดตามอาการจนกว่าร่างกายผู้บริจาคสเต็มเซลล์จะแข็งแรงตามปกติ
อย่างไรก็ตาม การบริจาคสเต็มเซลล์ในทุกวิธีและทุกขั้นตอน ผู้บริจาคไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นนะคะ
บริจาคสเต็มเซลล์ ผลข้างเคียงมีไหม
ระหว่างการเก็บสเต็มเซลล์อาจมีอาการข้างเคียง เช่น อาการชาบริเวณมือ เท้า และรอบปาก แต่ทั้งนี้สามารถป้องกันอาการข้างเคียงดังกล่าวได้ด้วยการรับประทานแคลเซียมก่อนบริจาคสเต็มเซลล์
อีกผลข้างเคียงของการบริจาคสเต็มเซลล์ที่อาจพบได้ในวิธีเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสโลหิต คือผู้บริจาคอาจมีอาการปวดเมื่อยร่างกาย หนาวสั่นเหมือนมีไข้ แต่หลังจากบริจาคสเต็มเซลล์เสร็จสิ้นแล้ว อาการข้างเคียงทั้งหมดก็จะหายไป ร่างกายก็จะกลับมาเป็นปกติ รวมไปถึงปริมาณสเต็มเซลล์ที่บริจาคไป ร่างกายก็สามารถผลิตขึ้นมาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้นถ้าคิดอยากบริจาคสเต็มเซลล์ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล นอกจากควรเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการบริจาคสเต็มเซลล์อย่างที่สุด นั่นก็คือการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเท่านั้นเองค่ะ
และแม้การบริจาคสเต็มเซลล์จะไม่ใช่เรื่องที่ทำสำเร็จได้ง่าย ๆ และอาจต้องใช้เวลาในการบริจาคสเต็มเซลล์สักระยะ ทว่าการบริจาคสเต็มเซลล์คือการต่อชีวิตให้ผู้ป่วยที่รอความหวังในการมีชีวิตต่อไป เพราะนี่อาจเป็นเพียงทางรอดสุดท้ายที่เขามีเลยก็ได้...
....หากเรามีความพร้อม และคิดว่าร่างกายเราแข็งแรงมากพอจะส่งต่อพลังชีวิตให้ผู้ที่ต้องการสเต็มเซลล์ สามารถลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาค Stem Cell พร้อมกับบริจาคโลหิต ได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0-2263-9600 ต่อ 1301 หรือ 1310 ได้ทุกวันและเวลาทำการ
แผนที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ภาพจาก stemcellthairedcross
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
stemcellthairedcross
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
PR NBC blooddonationthai