โรคพิษสุนัขบ้า ป่วยขึ้นมาแล้วตายทุกราย รีบทำความเข้าใจโรคร้ายก่อนจะสาย ถ้าถูกสุนัขกัด แมวข่วนต้องทำอย่างไร ฉีดวัคซีนป้องกันได้ไหม บัตรทอง-ประกันสังคมจ่ายให้หรือเปล่า
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่ออันตรายที่อยู่ใกล้ตัวคนเราเป็นอันดับต้น ๆ และที่น่ากลัวยิ่งไปกว่านั้นก็คือ โรคนี้เมื่อแสดงอาการป่วยออกมาแล้วจะเสียชีวิตทุกรายทั้งคนและสัตว์ เพราะจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มียารักษา ดังนั้นเราจึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักโรคนี้ให้ชัดขึ้นผ่านคำถาม-คำตอบเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำที่หลายคนสงสัย เพื่อจะได้รู้ทันโรคร้ายที่อันตรายกว่าที่คิด
1. โรคพิษสุนัขบ้าพบได้เฉพาะหน้าร้อนใช่ไหม ?
หลายคนเข้าใจผิดว่า โรคพิษสุนัขบ้าพบเฉพาะในหน้าร้อนเนื่องจากอากาศร้อนทำให้สัตว์เครียดง่าย แต่จริง ๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลไหน อากาศเป็นอย่างไร ก็สามารถพบโรคพิษสุนัขบ้าได้ทั้งปี เพราะโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies) ซึ่งทำให้เกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว ลิง หนู ค้างคาว กระรอก โค กระบือ รวมทั้งมนุษย์ ไม่เกี่ยวกับว่าอากาศร้อนทำให้สัตว์เครียดจนเป็นบ้า ดังนั้นเราจึงพบโรคพิษสุนัขบ้านี้ได้ทั่วโลกเลยค่ะ
2. สุนัขจรจัดมีความเสี่ยงกว่าสุนัขบ้าน ?
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าจากสถิติผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่เกิดจากถูกสัตว์เลี้ยงที่มีเจ้าของกัดมากกว่า เพราะคนเลี้ยงอาจชะล่าใจหรือไม่ใส่ใจพาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีน ดังนั้นหากใครเลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ต้องพาไปฉีดวัคซีนด้วยนะคะ แม้จะบอกว่าเลี้ยงอยู่ในบ้านก็ตาม อย่างไรก็มีสิทธิ์รับเชื้ออยู่ดี หรือแม้เป็นเพียงลูกสุนัข ลูกแมวตัวเล็ก ๆ ก็สามารถติดเชื้อได้หากไปสัมผัสหรือถูกสัตว์ที่ติดเชื้อกัด
ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์จรจัด หากเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ก็มีโอกาสติดเชื้อพิษสุนัขบ้าได้ทั้งสิ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการได้ 2 แบบคือ
- แบบดุร้าย สัตว์จะมีอาการหงุดหงิด ไล่กัดคนและสัตว์อื่น ๆ บางครั้งสุนัขจะกัดจนฟันหัก ลิ้นเป็นแผล ม่านตาขยาย ไม่ตอบสนองต่อแสง มีอาการประมาณ 2-3 วัน จากนั้นจะกระวนกระวาย ลุกขึ้นเดินวนไปมา ดุร้ายมากขึ้น ก่อนจะอ่อนเพลียลง ขาหลังไม่มีแรง เดินโซเซ และตายในที่สุด รวมระยะเวลาประมาณ 10 วัน
- แบบเซื่องซึม สัตว์จะมีอาการปากอ้า หุบไม่ได้ ลิ้นมีสีแดงคล้ำ มีสิ่งสกปรกติดอยู่ และลิ้นจะห้อยออกมานอกปาก มีอาการคล้ายกระดูกติดคอ สุนัขจะเอาขาหน้าตะกุยบริเวณแก้ม ปาก และคอจนบวม จะลุกนั่ง ยืน และเดินไปมาบ่อย ๆ กินของแปลก ๆ เช่น ใบไม้ ก้อนหิน หรือบางตัวจะกินปัสสาวะของตัวเอง แต่สุนัขไม่กัด ถ้าไม่ถูกรบกวน สุนัขแบบหลังนี้จะสังเกตอาการยากมากว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ดังนั้น หากสุนัขตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรตัดหัวไปพิสูจน์ก่อน
ส่วนแมวที่ป่วยจะมีอาการคล้ายสุนัขแต่ไม่ชัดเจนเท่า และพบอาการแบบดุร้ายมากกว่าแบบซึม
4. คนที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้ามีอาการแบบไหน ?
เชื้อเรบีส์จะมีระยะฟักตัวประมาณ 2-8 สัปดาห์ แต่ในบางคนอาจมีระยะเวลาเพียง 5 วันก็แสดงอาการออกมาแล้ว ขณะที่บางคนอาจกินเวลานานกว่า 1 ปีก็มี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความรุนแรงของบาดแผล ปริมาณของปลายประสาทที่ตำแหน่งของแผล และระยะทางแผลไปยังสมอง รวมทั้งการล้างทำความสะอาดบาดแผลด้วย
ทั้งนี้ หากเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ก็จะเข้าสู่ระบบประสาท สมอง และไขสันหลังตามลำดับ เมื่อเชื้อเดินทางมาถึงสมองแล้วภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนก็จะป้องกันไม่ได้ และหากมีอาการแสดงออกว่าติดเชื้อพิษสุนัขบ้าแล้วก็หมดหนทางที่จะรักษาให้หายได้ โดยอาการแสดงว่าติดเชื้อคือ
- ระยะอาการเริ่มแรก
ผู้ป่วยจะมีการอักเสบที่สมองและเยื่อสมองในระยะ 2-3 วันแรก โดยอาจปวดเมื่อยตัว มีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คันหรือปวดแสบบริเวณที่ถูกกัด ทั้ง ๆ ที่แผลอาจหายเป็นปกติแล้ว
- ระยะอาการทางระบบประสาท
จะเริ่มหงุดหงิด กระสับกระส่าย อาละวาด ไม่อยู่สุข โดยจะมีอาการเช่นนี้ประมาณ 2-3 วัน จากนั้นจะเริ่มซึมเศร้า และมีอาการกลัว ทั้งไม่ชอบแสงสว่าง ลม เสียงดัง กลัวน้ำ ซึ่งอาจพบอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ มีน้ำลายไหล กลืนอาหารลำบากและเจ็บ เพราะเกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน แต่ยังพูดจารู้เรื่อง
- ระยะสุดท้าย
มีอาการเอะอะมากขึ้น สงบสลับกับชัก บางรายอาจเป็นอัมพาต หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด เพราะส่วนที่สำคัญของสมองถูกทำลายไปหมด โดยเฉลี่ยจะเสียชีวิตใน 2-6 วัน เนื่องจากการอัมพาตของกล้ามเนื้อ ระบบทางเดินหายใจ เพราะโรคลุกลามไปอย่างรวดเร็ว
5. ต้องโดนกัดเท่านั้นใช่ไหมถึงจะติดเชื้อ ?
มีผู้ป่วยพิษสุนัขบ้าหลายคนที่ติดเชื้อเสียชีวิตทั้งที่ไม่ได้ถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัดด้วยซ้ำ นั่นเพราะเชื้อเรบีส์ไม่ได้เข้าแค่ทางแผลที่ถูกกัดเท่านั้น แต่เชื้อสามารถเข้าสู่เยื่อเมือกทุกแห่งในร่างกายเราได้ เพราะเชื้อจะอยู่ในน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรค
เช่น หากน้ำลายของสัตว์ที่มีเชื้อกระเด็นมาเข้าตา เข้าปาก หรือสัตว์มาเลียร่างกายโดยที่เราไม่รู้ว่าผิวหนังเรามีรอยข่วน รอยถลอกอยู่เล็กน้อย เชื้อก็สามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่ายเลย หรือแม้แต่ถูกสัตว์ข่วนหรืองับเบา ๆ แล้วมีเลือดออก หากน้ำลายสัตว์ตัวนั้นมีเชื้ออยู่ เราก็ติดเชื้อเรบีส์ได้
6. โดนสุนัขกัดต้องทำยังไง ?
หากโดนสุนัข-แมวกัดสิ่งที่ควรทำมี 5 ขั้นตอน คือ
- ล้างแผล : ใช้น้ำเปล่าชะล้างแผลและฟอกสบู่อย่างน้อย 15 นาที เพื่อกำจัดเชื้อออกไปให้ได้มากที่สุด
- ใส่ยา : เมื่อล้างแผลและใช้ผ้าก๊อซซับให้แห้งแล้ว ให้เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ โดยควรใช้โพวิโดนไอโอดีน (Povidone iodine) หรือฮิบิเทนในน้ำ (Hibitane in water) แต่ถ้าไม่มียาฆ่าเชื้อเหล่านี้ สามารถใช้แอลกอฮอล์ 70% หรือทิงเจอร์ไอโอดีน เช็ดเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่แผลได้
- กักสัตว์ : กักสัตว์ที่กัดไว้ดูอาการอย่างน้อย 10-15 วัน โดยให้น้ำและอาหารตามปกติ และถ้าสัตว์ตัวนั้นหนีหายไปให้ถือว่าสัตว์นั้นเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ต้องไปรับวัคซีนพิษสุนัขบ้าทันที
- หาหมอ : หลังจากถูกกัดแล้วให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ยาปฏิชีวนะ รวมทั้งยาแก้ปวดตามอาการ
- ฉีดวัคซีน : กรณีถูกสัตว์จรจัดกัด หรือสัตว์นั้นตาย ผู้ถูกกัดต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 5 เข็ม และหากมีบาดแผลฉกรรจ์ หรือกัดถูกอวัยวะสำคัญ ต้องฉีดเซรุ่มรอบแผลทุกแผลด้วย
ศึกษาวิธีปฐมพยาบาลอย่างละเอียดได้ที่ วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกสุนัขกัดหรือแมวข่วนในเบื้องต้น พร้อมการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า
7. วัคซีนพิษสุนัขบ้า ฉีดกี่เข็มถึงป้องกันได้ ?
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค มี 2 แบบ คือ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ กับฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ซึ่งจะฉีดแบบไหนนั้นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนค่ะ และจำนวนเข็มที่ฉีดในแต่ละแบบจะไม่เท่ากัน คือ
กรณีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
- หากไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อน แล้วมาถูกสัตว์กัด จะต้องฉีดทั้งหมด 5 เข็มที่กล้ามเนื้อต้นแขน โดยฉีดในวันที่ 0 (วันที่เริ่มฉีด) วันที่ 3, 7, 14 และวันที่ 28 แต่หากแผลที่ถูกสัตว์กัดอยู่ใกล้อวัยวะที่มีเส้นประสาทไปเลี้ยงมาก เช่น ใบหน้า หรือมีแผลฉกรรจ์มาก จะต้องฉีดเซรุ่ม หรือวัคซีนอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) เพิ่มด้วย เนื่องจากวัคซีนต้องใช้เวลาในการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง แต่โรคพิษสุนัขบ้าเป็นแล้วตายจึงรอไม่ได้ จึงจำเป็นต้องได้รับวัคซีนร่วมกับเซรุ่มทันที โดยฉีดรอบแผลทุกแผลร่วมกับการฉีดวัคซีนในวันที่ 0
- หากเคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อนแล้วครบตามจำนวน แล้วมาถูกสุนัขกัดอีก ก็ไม่ต้องเริ่มฉีดใหม่ เพียงแค่ฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มอีก 1 เข็มในวันที่โดนกัด (กรณีวันที่ฉีดเข็มสุดท้ายผ่านมาไม่เกิน 6 เดือน) หรือ 2 เข็ม (กรณีวันที่ฉีดเข็มสุดท้ายผ่านมาเกิน 6 เดือนแล้ว) ในวันที่ 0 และ 3 โดยไม่ต้องฉีดเซรุ่ม
กรณีฉีดเข้าชั้นผิวหนัง
- หากไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อนแล้วมาถูกสัตว์กัด จะต้องฉีดวัคซีนเข้าผิวหนัง 4 ครั้ง ครั้งละ 2 จุด คือต้นแขนทั้ง 2 ข้าง ฉีดในวันที่ 0 (วันที่เริ่มฉีด), 3, 7 และวันที่ 28
- หากเคยฉีดวัคซีนป้องกันมาแล้วครบตามจำนวน แล้วมาถูกกัดอีก ก็เพียงแค่ฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มเช่นกัน โดยฉีด 1 เข็ม 1 จุด หากช่วงที่ถูกกัดห่างจากการฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายมาน้อยกว่า 6 เดือน แต่หากฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายมานานกว่า 6 เดือน ก็ต้องฉีดกระตุ้นอีก 2 เข็ม ครั้งละ 1 จุด ในวันที่ 0 และวันที่ 3 และไม่ต้องฉีดเซรุ่มด้วย
8. วัคซีนพิษสุนัขบ้า ต้องฉีดภายในกี่วัน กี่ชั่วโมงหลังถูกกัด ?
หากถูกกัดแล้วควรไปฉีดวัคซีนป้องกันทันที โดยเข็มแรกควรฉีดภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังถูกกัด และต้องได้รับวัคซีนครบ 3 เข็มภายใน 7 วัน ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้เพียงพอต่อการป้องกันโรค ส่วนเข็มที่ 4 และ 5 จะเป็นการฉีดกระตุ้นเพื่อป้องกันโรคได้นาน 1 ปี
9. ฉีดพิษสุนัขบ้า ไม่ครบ ไม่ตรงวัน ลืมไปฉีดจะเป็นอะไรไหม ?
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้ได้ผล ควรฉีดให้ตรงวัน โดยเฉพาะ 3 เข็มแรก (วันที่ 0, 3, 7) เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ส่วนเข็มที่ 4 และ 5 ซึ่งจะฉีดในวันที่ 14 และ 28 เป็นแค่การฉีดกระตุ้น หากเราสังเกตเห็นสัตว์ที่กัดไม่เป็นอะไร ยังคงปกติในช่วง 10-15 วัน แสดงว่าสัตว์ไม่ได้ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า เราก็อาจไม่ไปฉีด 2 เข็มที่เหลือก็ได้ค่ะ เท่ากับว่า 3 เข็มแรกที่ฉีดไปเป็นการฉีดป้องกันล่วงหน้าแล้ว หากถูกกัดซ้ำขึ้นมาอีก ก็ค่อยไปฉีดกระตุ้นอีก 1-2 เข็มเท่านั้น
แต่ทางที่ดีแนะนำให้ไปฉีดวัคซีนให้ครบจำนวนจะดีกว่า เพราะการฉีดกระตุ้นจะทำให้ภูมิคุ้มกันอยู่ครบ 1 ปี แต่หากไม่สะดวกไปฉีดตรงวันในเข็มที่ 4 และ 5 ก็สามารถคลาดเคลื่อนไปเล็กน้อยได้ 1-2 วัน เพราะเข็มที่ 4 และ 5 จะเป็นการฉีดกระตุ้นเท่านั้น ส่วนเข็มที่ 1-3 เป็นการฉีดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน กรณีนี้จำเป็นต้องไปให้ตรงวันเพื่อให้วัคซีนมีประสิทธิภาพสูงสุด
แต่หากฉีดได้เพียง 1 เข็มแล้วลืม ไม่ได้มาฉีดอีก กรณีนี้ร่างกายจะไม่มีภูมิคุ้มกัน เท่ากับว่าเรายังไม่ได้ฉีดวัคซีน ดังนั้นหากถูกสัตว์กัด ก็ต้องเริ่มฉีดวัคซีนใหม่ตั้งแต่ต้นเลย
10. วัคซีนพิษสุนัขบ้า ราคาเท่าไร ฉีดที่ไหนได้บ้าง ?
ราคาวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้านั้น ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลแต่ละแห่ง โดยในโรงพยาบาลรัฐ ราคาวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจะอยู่ที่เข็มละประมาณ 120-1,000 บาท/เข็ม และควรฉีดให้ครบโดสตามที่แพทย์นัด เฉลี่ยแล้วค่าบริการวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในโรงพยาบาลรัฐจะมีค่าใช้จ่ายราว ๆ 2,000-4,000 บาท ส่วนราคาวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในโรงพยาบาลเอกชน อาจมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000-7,000 บาท ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ให้บริการ
แต่หากต้องฉีดเซรุ่มด้วยจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพราะเซรุ่มตัวนี้ราคาจะค่อนข้างแพง โดยเฉลี่ยแล้วราคาวัคซีนและเซรุ่มที่ต้องฉีดอาจอยู่ที่ประมาณ 10,000-40,000 บาท เพราะการฉีดเซรุ่มจะคำนวณปริมาณเซรุ่มจากน้ำหนักตัวของผู้ป่วย ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็ขึ้นอยู่กับทางสถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษาด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ โดยปกติแล้วโรงพยาบาลทุกโรงพยาบาลหรือแม้แต่ในคลินิก อนามัย หรือสถานพยาบาลเกือบทุกแห่งจะมีวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำรองไว้ เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคฉุกเฉินที่ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน และเป็นโรคที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องในทุกฤดูกาล หากถูกสุนัขกัดก็สามารถไปรับบริการฉีดวัคซีนในสถานพยาบาลใกล้บ้านได้เลยค่ะ
ภาพจาก TaTae THAILAND/Shutterstock
11. ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ใช้บัตรทอง-ประกันสังคมได้ไหม ?
ผู้ที่ถือบัตรทอง (สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) และบัตรประกันสังคมสามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ฟรีเลยค่ะ ตามเงื่อนไขดังนี้
กรณีประกันสังคม
- หากรักษาในโรงพยาบาลที่ตนเองมีประกันสังคม สามารถรักษาได้เลยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
- หากไม่ได้รักษาในโรงพยาบาลที่ตนเองมีประกันสังคม สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยฉีดวัคซีนเข็มแรก ณ โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินที่สำรองจ่ายไปก่อน พร้อมใบรับรองแพทย์มาเบิกคืนได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขต/พื้นที่/จังหวัด/สาขาทุกแห่งที่สะดวก
ทั้งนี้ หากเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐ ประเภทผู้ป่วยนอก จะเบิกค่าบริการได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
แต่หากเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลเอกชน ประเภทผู้ป่วยนอก จะเบิกค่าบริการได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 1,000 บาท และจ่ายเพิ่มตามรายการรักษาที่กำหนดตามหลักเกณฑ์ของประกาศคณะกรรมการการแพทย์
กรณีบัตรทอง
สามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ฟรีที่โรงพยาบาลรัฐที่ลงทะเบียนสิทธิที่ระบุไว้ หรือหากถูกสุนัขกัดระหว่างเดินทาง หรือในพื้นที่ที่ไม่ได้ลงทะเบียนสิทธิตามบัตรทอง ก็สามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลรัฐใกล้ที่เกิดเหตุที่ได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าได้เลย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
12. ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าล่วงหน้าดีกว่าฉีดหลังถูกกัดไหม ?
สำหรับคนที่อยู่ในกลุ่มสุ่มเสี่ยงติดเชื้อพิษสุนัขบ้า เช่น ที่บ้านเลี้ยงสัตว์, ต้องเดินผ่านบริเวณที่มีสุนัขจรจัด, คนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าไว้ล่วงหน้าก่อนสัมผัสโรคจะช่วยให้อุ่นใจกว่าค่ะ และไม่ต้องเจ็บตัวมากด้วย เพราะฉีดเพียงแค่ 3 เข็มเท่านั้น ในวันที่ 0 (เข็มที่ 1), วันที่ 7 (เข็มที่ 2) และวันที่ 21 หรือ 28 (เข็มที่ 3) และเมื่อถูกสุนัขกัด ก็จะฉีดกระตุ้นอีก 1-2 เข็มเท่านั้น โดยไม่ต้องฉีดเซรุ่มซึ่งมีความเจ็บปวดค่อนข้างมากและมีราคาแพงด้วย อีกทั้งการฉีดล่วงหน้าเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาก่อนจะมีประสิทธิภาพดีกว่าการฉีดวัคซีนหลังจากถูกกัดแล้ว
อ้อ ! แต่ต้องบอกก่อนว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าล่วงหน้า จะไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองหรือประกันสังคมได้ กรณีนี้ใครไปฉีดจะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง
- วัคซีนพิษสุนัขบ้า ฉีดล่วงหน้าป้องกันโรคกลัวน้ำได้
13. วัคซีนพิษสุนัขบ้า มีผลข้างเคียงไหม คนท้องฉีดได้หรือเปล่า ?
ต้องบอกว่าวัคซีนแบบนี้ไม่มีอันตรายใด ๆ เพราะทำจากเซลล์เพาะเลี้ยงที่มีความบริสุทธิ์สูง อาการแพ้วัคซีนพบได้น้อยมากและไม่ได้รุนแรงอะไร บางคนอาจเพียงแค่มีอาการเหมือนฉีดวัคซีนทั่ว ๆ ไป เช่น มีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยตามตัว เป็นตุ่มบวมแดง คันบริเวณที่ฉีด ซึ่งกินยาลดไข้ก็ช่วยบรรเทาอาการได้
ทั้งนี้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและเซรุ่มสามารถฉีดได้กับคนทุกวัย ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้สูงอายุ รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ก็สามารถฉีดได้โดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ในผู้ป่วยที่กินยากดภูมิคุ้มกันประเภทต่าง ๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน เพราะการฉีดวัคซีนอาจไม่ได้ผล
14. ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า อยู่ได้กี่ปี ต้องฉีดกระตุ้นไหม ?
หากเคยฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้ามาครบทุกเข็มแล้ว เท่ากับว่าร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกันโรคนี้ขึ้นมาแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปฉีดกระตุ้นเพิ่มหากไม่ได้ถูกสุนัขกัดหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงค่ะ แต่ถ้าถูกสุนัขกัดขึ้นมาเมื่อไรก็ตามแม้จะผ่านไปนานหลายปีแล้ว เราก็แค่ไปฉีดกระตุ้นอีก 2 เข็มก็เพียงพอในวันที่รับเชื้อ (วันที่ 0) และวันที่ 3 ไม่ต้องเริ่มฉีดใหม่ตั้งแต่ต้น และไม่ต้องฉีดเซรุ่มด้วย
ย้ำนะคะว่าเราต้องมั่นใจนะว่าเราเคยฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้ามาครบแล้ว หากไม่มั่นใจ หรือจำไม่ได้ว่าเคยฉีดไปกี่เข็มกันแน่ แนะนำให้ไปฉีดใหม่ตั้งแต่ต้นจะดีกว่า เพื่อความมั่นใจว่าร่างกายเราได้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาแล้วจริง ๆ
15. วัคซีนพิษสุนัขบ้า มีที่ไหนฉีดให้ฟรีบ้าง ?
สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคนหลังสัมผัสโรค หากเรามีสิทธิบัตรทองหรือประกันสังคมสามารถใช้สิทธิดังกล่าวฉีดวัคซีนได้ฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐ แต่หากเป็นการฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า กรณีนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเองอย่างที่กล่าวไปแล้วนะคะ
อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีฉีดวัคซีนฟรีในสัตว์เลี้ยง ต้องลองติดตามข่าวสารจากคณะสัตวแพทย์ หรือโรงพยาบาลสัตว์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ดูอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ สำนักงานเขต ฯลฯ ที่อาจเปิดบริการหรือจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ให้เจ้าของนำสัตว์เลี้ยงมาฉีดวัคซีนได้ฟรีเช่นกัน
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรคพิษสุนัขบ้าระบาดก็เพราะคนเลี้ยงไม่นำสัตว์ไปฉีดวัคซีน ซึ่งหากสัตว์เหล่านั้นมีเชื้อก็จะแพร่เชื้อไปยังสัตว์อื่น ๆ รวมทั้งเจ้าของได้โดยง่าย ดังนั้น หากใครเลี้ยงสัตว์ แนะนำให้พาพวกเขาไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ากันไว้ด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยต่อทั้งคนและสัตว์เอง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
Mahidol Channel มหิดล แชนแนล
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สำนักระบาดวิทยา
ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช
เฟซบุ๊ก Drama-addict
หาหมอ
สำนักโรคติดต่อทั่วไป
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่ออันตรายที่อยู่ใกล้ตัวคนเราเป็นอันดับต้น ๆ และที่น่ากลัวยิ่งไปกว่านั้นก็คือ โรคนี้เมื่อแสดงอาการป่วยออกมาแล้วจะเสียชีวิตทุกรายทั้งคนและสัตว์ เพราะจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มียารักษา ดังนั้นเราจึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักโรคนี้ให้ชัดขึ้นผ่านคำถาม-คำตอบเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำที่หลายคนสงสัย เพื่อจะได้รู้ทันโรคร้ายที่อันตรายกว่าที่คิด
1. โรคพิษสุนัขบ้าพบได้เฉพาะหน้าร้อนใช่ไหม ?
หลายคนเข้าใจผิดว่า โรคพิษสุนัขบ้าพบเฉพาะในหน้าร้อนเนื่องจากอากาศร้อนทำให้สัตว์เครียดง่าย แต่จริง ๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลไหน อากาศเป็นอย่างไร ก็สามารถพบโรคพิษสุนัขบ้าได้ทั้งปี เพราะโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies) ซึ่งทำให้เกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว ลิง หนู ค้างคาว กระรอก โค กระบือ รวมทั้งมนุษย์ ไม่เกี่ยวกับว่าอากาศร้อนทำให้สัตว์เครียดจนเป็นบ้า ดังนั้นเราจึงพบโรคพิษสุนัขบ้านี้ได้ทั่วโลกเลยค่ะ
2. สุนัขจรจัดมีความเสี่ยงกว่าสุนัขบ้าน ?
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าจากสถิติผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่เกิดจากถูกสัตว์เลี้ยงที่มีเจ้าของกัดมากกว่า เพราะคนเลี้ยงอาจชะล่าใจหรือไม่ใส่ใจพาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีน ดังนั้นหากใครเลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ต้องพาไปฉีดวัคซีนด้วยนะคะ แม้จะบอกว่าเลี้ยงอยู่ในบ้านก็ตาม อย่างไรก็มีสิทธิ์รับเชื้ออยู่ดี หรือแม้เป็นเพียงลูกสุนัข ลูกแมวตัวเล็ก ๆ ก็สามารถติดเชื้อได้หากไปสัมผัสหรือถูกสัตว์ที่ติดเชื้อกัด
3. สังเกตอย่างไรว่าสัตว์มีอาการพิษสุนัขบ้า ?
ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์จรจัด หากเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ก็มีโอกาสติดเชื้อพิษสุนัขบ้าได้ทั้งสิ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการได้ 2 แบบคือ
- แบบดุร้าย สัตว์จะมีอาการหงุดหงิด ไล่กัดคนและสัตว์อื่น ๆ บางครั้งสุนัขจะกัดจนฟันหัก ลิ้นเป็นแผล ม่านตาขยาย ไม่ตอบสนองต่อแสง มีอาการประมาณ 2-3 วัน จากนั้นจะกระวนกระวาย ลุกขึ้นเดินวนไปมา ดุร้ายมากขึ้น ก่อนจะอ่อนเพลียลง ขาหลังไม่มีแรง เดินโซเซ และตายในที่สุด รวมระยะเวลาประมาณ 10 วัน
- แบบเซื่องซึม สัตว์จะมีอาการปากอ้า หุบไม่ได้ ลิ้นมีสีแดงคล้ำ มีสิ่งสกปรกติดอยู่ และลิ้นจะห้อยออกมานอกปาก มีอาการคล้ายกระดูกติดคอ สุนัขจะเอาขาหน้าตะกุยบริเวณแก้ม ปาก และคอจนบวม จะลุกนั่ง ยืน และเดินไปมาบ่อย ๆ กินของแปลก ๆ เช่น ใบไม้ ก้อนหิน หรือบางตัวจะกินปัสสาวะของตัวเอง แต่สุนัขไม่กัด ถ้าไม่ถูกรบกวน สุนัขแบบหลังนี้จะสังเกตอาการยากมากว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ดังนั้น หากสุนัขตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรตัดหัวไปพิสูจน์ก่อน
ส่วนแมวที่ป่วยจะมีอาการคล้ายสุนัขแต่ไม่ชัดเจนเท่า และพบอาการแบบดุร้ายมากกว่าแบบซึม
4. คนที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้ามีอาการแบบไหน ?
เชื้อเรบีส์จะมีระยะฟักตัวประมาณ 2-8 สัปดาห์ แต่ในบางคนอาจมีระยะเวลาเพียง 5 วันก็แสดงอาการออกมาแล้ว ขณะที่บางคนอาจกินเวลานานกว่า 1 ปีก็มี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความรุนแรงของบาดแผล ปริมาณของปลายประสาทที่ตำแหน่งของแผล และระยะทางแผลไปยังสมอง รวมทั้งการล้างทำความสะอาดบาดแผลด้วย
ทั้งนี้ หากเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ก็จะเข้าสู่ระบบประสาท สมอง และไขสันหลังตามลำดับ เมื่อเชื้อเดินทางมาถึงสมองแล้วภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนก็จะป้องกันไม่ได้ และหากมีอาการแสดงออกว่าติดเชื้อพิษสุนัขบ้าแล้วก็หมดหนทางที่จะรักษาให้หายได้ โดยอาการแสดงว่าติดเชื้อคือ
- ระยะอาการเริ่มแรก
ผู้ป่วยจะมีการอักเสบที่สมองและเยื่อสมองในระยะ 2-3 วันแรก โดยอาจปวดเมื่อยตัว มีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คันหรือปวดแสบบริเวณที่ถูกกัด ทั้ง ๆ ที่แผลอาจหายเป็นปกติแล้ว
- ระยะอาการทางระบบประสาท
จะเริ่มหงุดหงิด กระสับกระส่าย อาละวาด ไม่อยู่สุข โดยจะมีอาการเช่นนี้ประมาณ 2-3 วัน จากนั้นจะเริ่มซึมเศร้า และมีอาการกลัว ทั้งไม่ชอบแสงสว่าง ลม เสียงดัง กลัวน้ำ ซึ่งอาจพบอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ มีน้ำลายไหล กลืนอาหารลำบากและเจ็บ เพราะเกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน แต่ยังพูดจารู้เรื่อง
- ระยะสุดท้าย
มีอาการเอะอะมากขึ้น สงบสลับกับชัก บางรายอาจเป็นอัมพาต หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด เพราะส่วนที่สำคัญของสมองถูกทำลายไปหมด โดยเฉลี่ยจะเสียชีวิตใน 2-6 วัน เนื่องจากการอัมพาตของกล้ามเนื้อ ระบบทางเดินหายใจ เพราะโรคลุกลามไปอย่างรวดเร็ว
มีผู้ป่วยพิษสุนัขบ้าหลายคนที่ติดเชื้อเสียชีวิตทั้งที่ไม่ได้ถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัดด้วยซ้ำ นั่นเพราะเชื้อเรบีส์ไม่ได้เข้าแค่ทางแผลที่ถูกกัดเท่านั้น แต่เชื้อสามารถเข้าสู่เยื่อเมือกทุกแห่งในร่างกายเราได้ เพราะเชื้อจะอยู่ในน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรค
เช่น หากน้ำลายของสัตว์ที่มีเชื้อกระเด็นมาเข้าตา เข้าปาก หรือสัตว์มาเลียร่างกายโดยที่เราไม่รู้ว่าผิวหนังเรามีรอยข่วน รอยถลอกอยู่เล็กน้อย เชื้อก็สามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่ายเลย หรือแม้แต่ถูกสัตว์ข่วนหรืองับเบา ๆ แล้วมีเลือดออก หากน้ำลายสัตว์ตัวนั้นมีเชื้ออยู่ เราก็ติดเชื้อเรบีส์ได้
6. โดนสุนัขกัดต้องทำยังไง ?
หากโดนสุนัข-แมวกัดสิ่งที่ควรทำมี 5 ขั้นตอน คือ
- ล้างแผล : ใช้น้ำเปล่าชะล้างแผลและฟอกสบู่อย่างน้อย 15 นาที เพื่อกำจัดเชื้อออกไปให้ได้มากที่สุด
- ใส่ยา : เมื่อล้างแผลและใช้ผ้าก๊อซซับให้แห้งแล้ว ให้เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ โดยควรใช้โพวิโดนไอโอดีน (Povidone iodine) หรือฮิบิเทนในน้ำ (Hibitane in water) แต่ถ้าไม่มียาฆ่าเชื้อเหล่านี้ สามารถใช้แอลกอฮอล์ 70% หรือทิงเจอร์ไอโอดีน เช็ดเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่แผลได้
- กักสัตว์ : กักสัตว์ที่กัดไว้ดูอาการอย่างน้อย 10-15 วัน โดยให้น้ำและอาหารตามปกติ และถ้าสัตว์ตัวนั้นหนีหายไปให้ถือว่าสัตว์นั้นเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ต้องไปรับวัคซีนพิษสุนัขบ้าทันที
- หาหมอ : หลังจากถูกกัดแล้วให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ยาปฏิชีวนะ รวมทั้งยาแก้ปวดตามอาการ
- ฉีดวัคซีน : กรณีถูกสัตว์จรจัดกัด หรือสัตว์นั้นตาย ผู้ถูกกัดต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 5 เข็ม และหากมีบาดแผลฉกรรจ์ หรือกัดถูกอวัยวะสำคัญ ต้องฉีดเซรุ่มรอบแผลทุกแผลด้วย
ศึกษาวิธีปฐมพยาบาลอย่างละเอียดได้ที่ วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกสุนัขกัดหรือแมวข่วนในเบื้องต้น พร้อมการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า
7. วัคซีนพิษสุนัขบ้า ฉีดกี่เข็มถึงป้องกันได้ ?
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค มี 2 แบบ คือ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ กับฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ซึ่งจะฉีดแบบไหนนั้นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนค่ะ และจำนวนเข็มที่ฉีดในแต่ละแบบจะไม่เท่ากัน คือ
กรณีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
- หากไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อน แล้วมาถูกสัตว์กัด จะต้องฉีดทั้งหมด 5 เข็มที่กล้ามเนื้อต้นแขน โดยฉีดในวันที่ 0 (วันที่เริ่มฉีด) วันที่ 3, 7, 14 และวันที่ 28 แต่หากแผลที่ถูกสัตว์กัดอยู่ใกล้อวัยวะที่มีเส้นประสาทไปเลี้ยงมาก เช่น ใบหน้า หรือมีแผลฉกรรจ์มาก จะต้องฉีดเซรุ่ม หรือวัคซีนอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) เพิ่มด้วย เนื่องจากวัคซีนต้องใช้เวลาในการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง แต่โรคพิษสุนัขบ้าเป็นแล้วตายจึงรอไม่ได้ จึงจำเป็นต้องได้รับวัคซีนร่วมกับเซรุ่มทันที โดยฉีดรอบแผลทุกแผลร่วมกับการฉีดวัคซีนในวันที่ 0
- หากเคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อนแล้วครบตามจำนวน แล้วมาถูกสุนัขกัดอีก ก็ไม่ต้องเริ่มฉีดใหม่ เพียงแค่ฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มอีก 1 เข็มในวันที่โดนกัด (กรณีวันที่ฉีดเข็มสุดท้ายผ่านมาไม่เกิน 6 เดือน) หรือ 2 เข็ม (กรณีวันที่ฉีดเข็มสุดท้ายผ่านมาเกิน 6 เดือนแล้ว) ในวันที่ 0 และ 3 โดยไม่ต้องฉีดเซรุ่ม
กรณีฉีดเข้าชั้นผิวหนัง
- หากไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อนแล้วมาถูกสัตว์กัด จะต้องฉีดวัคซีนเข้าผิวหนัง 4 ครั้ง ครั้งละ 2 จุด คือต้นแขนทั้ง 2 ข้าง ฉีดในวันที่ 0 (วันที่เริ่มฉีด), 3, 7 และวันที่ 28
- หากเคยฉีดวัคซีนป้องกันมาแล้วครบตามจำนวน แล้วมาถูกกัดอีก ก็เพียงแค่ฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มเช่นกัน โดยฉีด 1 เข็ม 1 จุด หากช่วงที่ถูกกัดห่างจากการฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายมาน้อยกว่า 6 เดือน แต่หากฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายมานานกว่า 6 เดือน ก็ต้องฉีดกระตุ้นอีก 2 เข็ม ครั้งละ 1 จุด ในวันที่ 0 และวันที่ 3 และไม่ต้องฉีดเซรุ่มด้วย
8. วัคซีนพิษสุนัขบ้า ต้องฉีดภายในกี่วัน กี่ชั่วโมงหลังถูกกัด ?
หากถูกกัดแล้วควรไปฉีดวัคซีนป้องกันทันที โดยเข็มแรกควรฉีดภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังถูกกัด และต้องได้รับวัคซีนครบ 3 เข็มภายใน 7 วัน ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้เพียงพอต่อการป้องกันโรค ส่วนเข็มที่ 4 และ 5 จะเป็นการฉีดกระตุ้นเพื่อป้องกันโรคได้นาน 1 ปี
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้ได้ผล ควรฉีดให้ตรงวัน โดยเฉพาะ 3 เข็มแรก (วันที่ 0, 3, 7) เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ส่วนเข็มที่ 4 และ 5 ซึ่งจะฉีดในวันที่ 14 และ 28 เป็นแค่การฉีดกระตุ้น หากเราสังเกตเห็นสัตว์ที่กัดไม่เป็นอะไร ยังคงปกติในช่วง 10-15 วัน แสดงว่าสัตว์ไม่ได้ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า เราก็อาจไม่ไปฉีด 2 เข็มที่เหลือก็ได้ค่ะ เท่ากับว่า 3 เข็มแรกที่ฉีดไปเป็นการฉีดป้องกันล่วงหน้าแล้ว หากถูกกัดซ้ำขึ้นมาอีก ก็ค่อยไปฉีดกระตุ้นอีก 1-2 เข็มเท่านั้น
แต่ทางที่ดีแนะนำให้ไปฉีดวัคซีนให้ครบจำนวนจะดีกว่า เพราะการฉีดกระตุ้นจะทำให้ภูมิคุ้มกันอยู่ครบ 1 ปี แต่หากไม่สะดวกไปฉีดตรงวันในเข็มที่ 4 และ 5 ก็สามารถคลาดเคลื่อนไปเล็กน้อยได้ 1-2 วัน เพราะเข็มที่ 4 และ 5 จะเป็นการฉีดกระตุ้นเท่านั้น ส่วนเข็มที่ 1-3 เป็นการฉีดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน กรณีนี้จำเป็นต้องไปให้ตรงวันเพื่อให้วัคซีนมีประสิทธิภาพสูงสุด
แต่หากฉีดได้เพียง 1 เข็มแล้วลืม ไม่ได้มาฉีดอีก กรณีนี้ร่างกายจะไม่มีภูมิคุ้มกัน เท่ากับว่าเรายังไม่ได้ฉีดวัคซีน ดังนั้นหากถูกสัตว์กัด ก็ต้องเริ่มฉีดวัคซีนใหม่ตั้งแต่ต้นเลย
10. วัคซีนพิษสุนัขบ้า ราคาเท่าไร ฉีดที่ไหนได้บ้าง ?
ราคาวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้านั้น ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลแต่ละแห่ง โดยในโรงพยาบาลรัฐ ราคาวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจะอยู่ที่เข็มละประมาณ 120-1,000 บาท/เข็ม และควรฉีดให้ครบโดสตามที่แพทย์นัด เฉลี่ยแล้วค่าบริการวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในโรงพยาบาลรัฐจะมีค่าใช้จ่ายราว ๆ 2,000-4,000 บาท ส่วนราคาวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในโรงพยาบาลเอกชน อาจมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000-7,000 บาท ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ให้บริการ
แต่หากต้องฉีดเซรุ่มด้วยจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพราะเซรุ่มตัวนี้ราคาจะค่อนข้างแพง โดยเฉลี่ยแล้วราคาวัคซีนและเซรุ่มที่ต้องฉีดอาจอยู่ที่ประมาณ 10,000-40,000 บาท เพราะการฉีดเซรุ่มจะคำนวณปริมาณเซรุ่มจากน้ำหนักตัวของผู้ป่วย ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็ขึ้นอยู่กับทางสถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษาด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ โดยปกติแล้วโรงพยาบาลทุกโรงพยาบาลหรือแม้แต่ในคลินิก อนามัย หรือสถานพยาบาลเกือบทุกแห่งจะมีวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำรองไว้ เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคฉุกเฉินที่ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน และเป็นโรคที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องในทุกฤดูกาล หากถูกสุนัขกัดก็สามารถไปรับบริการฉีดวัคซีนในสถานพยาบาลใกล้บ้านได้เลยค่ะ
ภาพจาก TaTae THAILAND/Shutterstock
ผู้ที่ถือบัตรทอง (สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) และบัตรประกันสังคมสามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ฟรีเลยค่ะ ตามเงื่อนไขดังนี้
กรณีประกันสังคม
- หากรักษาในโรงพยาบาลที่ตนเองมีประกันสังคม สามารถรักษาได้เลยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
- หากไม่ได้รักษาในโรงพยาบาลที่ตนเองมีประกันสังคม สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยฉีดวัคซีนเข็มแรก ณ โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินที่สำรองจ่ายไปก่อน พร้อมใบรับรองแพทย์มาเบิกคืนได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขต/พื้นที่/จังหวัด/สาขาทุกแห่งที่สะดวก
ทั้งนี้ หากเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐ ประเภทผู้ป่วยนอก จะเบิกค่าบริการได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
แต่หากเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลเอกชน ประเภทผู้ป่วยนอก จะเบิกค่าบริการได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 1,000 บาท และจ่ายเพิ่มตามรายการรักษาที่กำหนดตามหลักเกณฑ์ของประกาศคณะกรรมการการแพทย์
กรณีบัตรทอง
สามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ฟรีที่โรงพยาบาลรัฐที่ลงทะเบียนสิทธิที่ระบุไว้ หรือหากถูกสุนัขกัดระหว่างเดินทาง หรือในพื้นที่ที่ไม่ได้ลงทะเบียนสิทธิตามบัตรทอง ก็สามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลรัฐใกล้ที่เกิดเหตุที่ได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าได้เลย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
12. ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าล่วงหน้าดีกว่าฉีดหลังถูกกัดไหม ?
สำหรับคนที่อยู่ในกลุ่มสุ่มเสี่ยงติดเชื้อพิษสุนัขบ้า เช่น ที่บ้านเลี้ยงสัตว์, ต้องเดินผ่านบริเวณที่มีสุนัขจรจัด, คนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าไว้ล่วงหน้าก่อนสัมผัสโรคจะช่วยให้อุ่นใจกว่าค่ะ และไม่ต้องเจ็บตัวมากด้วย เพราะฉีดเพียงแค่ 3 เข็มเท่านั้น ในวันที่ 0 (เข็มที่ 1), วันที่ 7 (เข็มที่ 2) และวันที่ 21 หรือ 28 (เข็มที่ 3) และเมื่อถูกสุนัขกัด ก็จะฉีดกระตุ้นอีก 1-2 เข็มเท่านั้น โดยไม่ต้องฉีดเซรุ่มซึ่งมีความเจ็บปวดค่อนข้างมากและมีราคาแพงด้วย อีกทั้งการฉีดล่วงหน้าเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาก่อนจะมีประสิทธิภาพดีกว่าการฉีดวัคซีนหลังจากถูกกัดแล้ว
อ้อ ! แต่ต้องบอกก่อนว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าล่วงหน้า จะไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองหรือประกันสังคมได้ กรณีนี้ใครไปฉีดจะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง
- วัคซีนพิษสุนัขบ้า ฉีดล่วงหน้าป้องกันโรคกลัวน้ำได้
13. วัคซีนพิษสุนัขบ้า มีผลข้างเคียงไหม คนท้องฉีดได้หรือเปล่า ?
ต้องบอกว่าวัคซีนแบบนี้ไม่มีอันตรายใด ๆ เพราะทำจากเซลล์เพาะเลี้ยงที่มีความบริสุทธิ์สูง อาการแพ้วัคซีนพบได้น้อยมากและไม่ได้รุนแรงอะไร บางคนอาจเพียงแค่มีอาการเหมือนฉีดวัคซีนทั่ว ๆ ไป เช่น มีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยตามตัว เป็นตุ่มบวมแดง คันบริเวณที่ฉีด ซึ่งกินยาลดไข้ก็ช่วยบรรเทาอาการได้
ทั้งนี้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและเซรุ่มสามารถฉีดได้กับคนทุกวัย ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้สูงอายุ รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ก็สามารถฉีดได้โดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ในผู้ป่วยที่กินยากดภูมิคุ้มกันประเภทต่าง ๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน เพราะการฉีดวัคซีนอาจไม่ได้ผล
14. ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า อยู่ได้กี่ปี ต้องฉีดกระตุ้นไหม ?
หากเคยฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้ามาครบทุกเข็มแล้ว เท่ากับว่าร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกันโรคนี้ขึ้นมาแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปฉีดกระตุ้นเพิ่มหากไม่ได้ถูกสุนัขกัดหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงค่ะ แต่ถ้าถูกสุนัขกัดขึ้นมาเมื่อไรก็ตามแม้จะผ่านไปนานหลายปีแล้ว เราก็แค่ไปฉีดกระตุ้นอีก 2 เข็มก็เพียงพอในวันที่รับเชื้อ (วันที่ 0) และวันที่ 3 ไม่ต้องเริ่มฉีดใหม่ตั้งแต่ต้น และไม่ต้องฉีดเซรุ่มด้วย
ย้ำนะคะว่าเราต้องมั่นใจนะว่าเราเคยฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้ามาครบแล้ว หากไม่มั่นใจ หรือจำไม่ได้ว่าเคยฉีดไปกี่เข็มกันแน่ แนะนำให้ไปฉีดใหม่ตั้งแต่ต้นจะดีกว่า เพื่อความมั่นใจว่าร่างกายเราได้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาแล้วจริง ๆ
15. วัคซีนพิษสุนัขบ้า มีที่ไหนฉีดให้ฟรีบ้าง ?
สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคนหลังสัมผัสโรค หากเรามีสิทธิบัตรทองหรือประกันสังคมสามารถใช้สิทธิดังกล่าวฉีดวัคซีนได้ฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐ แต่หากเป็นการฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า กรณีนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเองอย่างที่กล่าวไปแล้วนะคะ
อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีฉีดวัคซีนฟรีในสัตว์เลี้ยง ต้องลองติดตามข่าวสารจากคณะสัตวแพทย์ หรือโรงพยาบาลสัตว์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ดูอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ สำนักงานเขต ฯลฯ ที่อาจเปิดบริการหรือจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ให้เจ้าของนำสัตว์เลี้ยงมาฉีดวัคซีนได้ฟรีเช่นกัน
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรคพิษสุนัขบ้าระบาดก็เพราะคนเลี้ยงไม่นำสัตว์ไปฉีดวัคซีน ซึ่งหากสัตว์เหล่านั้นมีเชื้อก็จะแพร่เชื้อไปยังสัตว์อื่น ๆ รวมทั้งเจ้าของได้โดยง่าย ดังนั้น หากใครเลี้ยงสัตว์ แนะนำให้พาพวกเขาไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ากันไว้ด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยต่อทั้งคนและสัตว์เอง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
Mahidol Channel มหิดล แชนแนล
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สำนักระบาดวิทยา
ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช
เฟซบุ๊ก Drama-addict
หาหมอ
สำนักโรคติดต่อทั่วไป