เมื่อออกซิเจนลดลง อาจเสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน หรือ Hypoxia ซึ่งนี่คือสาเหตุสำคัญที่ต้องรีบนำตัวทีมหมูป่าออกจากถ้ำหลวง
โดยปกติแล้ว อากาศที่เราหายใจเข้าไปนั้น ไม่ได้มีแค่ออกซิเจนเพียงอย่างเดียว แต่ประกอบด้วยไนโตรเจน ประมาณ 79% และออกซิเจน ประมาณ 21% ซึ่งสภาพเหมาะสมที่คนเราสามารถอยู่ได้อย่างสบายจะต้องมีออกซิเจนอยู่ประมาณ 19.5-23.5%
แต่ถ้าปริมาณออกซิเจนในอากาศลดลงเหลือ 15-17% จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเกิดขึ้น นั่นก็คืออาการของภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) ซึ่งนายแพทย์สุระ เจตน์วาที แพทย์เวชศาสตร์การบิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ชีพชั้นสูงและการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ให้ข้อมูลว่า ปริมาณออกซิเจนที่อยู่ในช่วง 12-15% ถือว่ามีความเสี่ยงต่อร่างกายมนุษย์แล้ว ถ้าเหลือ 12% ถือวาอันตราย และถ้าต่ำถึง 8% เมื่อไร มนุษย์จะเสียชีวิตได้ภายใน 8 นาที
ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) คืออะไร สาเหตุเกิดจากอะไร
ภาวะพร่องออกซิเจนมีอยู่หลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดและถูกพูดถึงในเหตุการณ์ถ้ำหลวงก็คือ ภาวะพร่องออกซิเจน แบบ Hypoxic Hypoxia ซึ่งเกิดจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้มีปริมาณออกซิเจนในเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ต่ำกว่ามาตรฐาน ส่งผลให้การทำงานของร่างกายและสมองบกพร่อง สาเหตุมักเกิดจากการขึ้นไปอยู่ในที่สูง เช่น บนยอดเขา การขึ้นบินบนเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งความกดบรรยากาศลดลง มีออกซิเจนเบาบาง ดังนั้นเมื่อหายใจเข้าไปในแต่ละครั้งจะได้รับออกซิเจนน้อยกว่าเมื่ออยู่ที่ระดับพื้นดิน
นอกจากนั้น ภาวะพร่องออกซิเจน ยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น
- การที่ร่างกายได้รับยาที่มีฤทธิ์ทำให้หายใจช้าลง หรือได้รับสารพิษที่ทำให้เม็ดเลือดแดงเกิดความบกพร่องในการจับออกซิเจน เช่น สารไซยาไนด์, ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์, ยาเสพติด
- ร่างกายได้รับสารพิษบางอย่าง เช่น ควันพิษ, แอลกอฮอล์, สารไซยาไนด์, ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ที่ทำให้ไม่สามารถนำออกซิเจนไปใช้ได้
- อาการป่วยด้วยโรคประจำตัว เช่น โรคหืด โรคปอด โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รวมทั้งภาวะซีดและโรคโลหิตจาง ที่เป็นเหตุให้จำนวนเม็ดเลือดแดงในกระแสโลหิตลงลง หรือภาวะหัวใจล้มเหลว ที่ทำให้ปริมาณแรงดันเลือดจากหัวใจลดลง
ติดถ้ำนาน ทำไมเสี่ยงภาวะพร่องออกซิเจน ?
การติดอยู่ในถ้ำลึกเป็นเวลานาน และอยู่บนที่สูงด้วยอย่างกรณี 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ถือเป็นจุดที่มีออกซิเจนเบาบางอยู่แล้ว เมื่อมีน้ำท่วมขังในถ้ำเข้าไปอีกจะทำให้น้ำเข้าแทนที่อากาศ ออกซิเจนที่มีอยู่ก็จะยิ่งลดลง หากไม่มีโพรงหรือปล่อง อากาศจากภายนอกก็ไม่สามารถเข้ามาได้
ขณะเดียวกัน หากมีคนอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวจำนวนมาก ก็จะยิ่งใช้ออกซิเจนในการหายใจ แล้วปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ทำให้ทุกครั้งที่หายใจปริมาณออกซิเจนในถ้ำก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้นเราจึงได้ยินข่าวให้เจ้าหน้าที่ที่ไม่จำเป็นออกจากถ้ำ เพื่อจะได้ไม่แย่งอากาศกัน พร้อมกับต้องรีบพาผู้ประสบภัยออกมาโดยเร็ว
ภาวะพร่องออกซิเจน อาการเป็นอย่างไร
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า สภาพที่เหมาะสมคือต้องมีออกซิเจนอยู่ในอากาศประมาณ 19.5-23.5% แต่หากลดลงต่ำกว่า 17% หรือลดต่ำลงเรื่อย ๆ อาจเกิดผลกระทบกับร่างกายได้หลายอาการขึ้นอยู่กับปริมาณของออกซิเจน ดังนี้
- รู้สึกหายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจลำบากขึ้น หายใจถี่ขึ้น ไอ
- หัวใจเต้นเร็วขึ้น
- การรับรู้ตัวลดลง สับสน มึนงง ซึม
- วิงเวียน ปวดศีรษะเนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว
- ผิวหนังซีด หรือเขียวคล้ำ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ วูบวาบตามตัว มีเหงื่อออกมาก
- รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย
- การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน
- การร่วมมือกับบุคคลอื่นลดลง
- มือเท้าชา
- ตาพร่ามัว ลานสายตาแคบลง
- เพ้อ หมดสติ ชัก
- หากออกซิเจนลดลงมาก ๆ จะกระทบต่อระบบหายใจ ระบบเลือด สมอง ประสาท กล้ามเนื้อ และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จนเสียชีวิตได้
ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
ในแต่ละคนอาจเกิดอาการพร่องออกซิเจนได้แตกต่างกัน ระยะเวลาที่เริ่มเป็นและความรุนแรงก็ต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น
- ภาวะทางจิตใจ ความวิตกกังวลจะทำให้เราหายใจสั้นและถี่ขึ้น ทำให้สมองได้ออกซิเจนน้อยลง
อย่างไรก็ตาม ออกซิเจนอาจค่อย ๆ ลดลงโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นถ้าสังเกตตัวเองว่าเริ่มรู้สึกหายใจลำบาก หรือมึนงง ก็เป็นสัญญาณเตือนได้ว่าเราควรรีบออกมาจากบริเวณนั้น เพื่อป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนที่รุนแรงได้
เกณฑ์การแบ่งความรุนแรงของภาวะเลือดพร่องออกซิเจน
สามารถแบ่งความรุนแรงของผู้ป่วยได้ 3 ระดับคือ
- Mild Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) อยู่ระหว่าง 60-80 มิลลิเมตรปรอท
- Moderate Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) อยู่ระหว่าง 40-60 มิลลิเมตรปรอท
ภาวะพร่องออกซิเจน รักษาได้อย่างไร
เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด โดยแพทย์จะรักษาด้วยการให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก หรือสายทางจมูก เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือด ป้องกันไม่ให้เซลล์และอวัยวะสำคัญถูกทำลาย ทั้งนี้จะเป็นการให้ออกซิเจนในระดับต่ำที่สุดที่จะเพียงพอรักษาระดับออกซิเจนในเลือด เพราะหากได้รับออกซิเจนมากเกินความต้องการ จะเกิดภาวะพิษจากออกซิเจนได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีความผิดปกติที่ปอด แพทย์ก็จะรักษาตามความผิดปกตินั้น ๆ หรือการให้ยาขยายหลอดลมเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
หากใครมีโรคประจำตัวที่น่าจะสุ่มเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว ก็ควรหลีกเลี่ยงการไปอยู่ในบริเวณที่มีออกซิเจนเบาบาง เช่น บนยอดเขา แต่หากใครสงสัยว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว ควรรีบออกมาจากบริเวณที่มีออกซิเจนเบาบาง และรีบไปโรงพยาบาลโดยเร็ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คนที่ติดตามข่าว 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงมาตลอดคงทราบว่า สาเหตุหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ต้องเริ่มปฏิบัติการช่วยเหลือเด็ก ๆ ออกมาจากถ้ำหลวงเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมอย่างเร่งด่วน เป็นเพราะปริมาณออกซิเจนภายในถ้ำเหลืออยู่ประมาณ 15% ซึ่งลดน้อยลงจนอาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในถ้ำ และหลังจากนี้อาจเกิดฝนตกลงมาจนทำให้น้ำในถ้ำมีปริมาณสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนลดลงได้อีก และหากลดน้อยลงไปมากกว่านี้ อาจทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
ออกซิเจนในอากาศมีเท่าไร เหลือแค่ไหน เป็นอันตราย !
แต่ถ้าปริมาณออกซิเจนในอากาศลดลงเหลือ 15-17% จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเกิดขึ้น นั่นก็คืออาการของภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) ซึ่งนายแพทย์สุระ เจตน์วาที แพทย์เวชศาสตร์การบิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ชีพชั้นสูงและการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ให้ข้อมูลว่า ปริมาณออกซิเจนที่อยู่ในช่วง 12-15% ถือว่ามีความเสี่ยงต่อร่างกายมนุษย์แล้ว ถ้าเหลือ 12% ถือวาอันตราย และถ้าต่ำถึง 8% เมื่อไร มนุษย์จะเสียชีวิตได้ภายใน 8 นาที
ภาวะพร่องออกซิเจนมีอยู่หลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดและถูกพูดถึงในเหตุการณ์ถ้ำหลวงก็คือ ภาวะพร่องออกซิเจน แบบ Hypoxic Hypoxia ซึ่งเกิดจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้มีปริมาณออกซิเจนในเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ต่ำกว่ามาตรฐาน ส่งผลให้การทำงานของร่างกายและสมองบกพร่อง สาเหตุมักเกิดจากการขึ้นไปอยู่ในที่สูง เช่น บนยอดเขา การขึ้นบินบนเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งความกดบรรยากาศลดลง มีออกซิเจนเบาบาง ดังนั้นเมื่อหายใจเข้าไปในแต่ละครั้งจะได้รับออกซิเจนน้อยกว่าเมื่ออยู่ที่ระดับพื้นดิน
นอกจากนั้น ภาวะพร่องออกซิเจน ยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น
- การที่ร่างกายได้รับยาที่มีฤทธิ์ทำให้หายใจช้าลง หรือได้รับสารพิษที่ทำให้เม็ดเลือดแดงเกิดความบกพร่องในการจับออกซิเจน เช่น สารไซยาไนด์, ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์, ยาเสพติด
- ร่างกายได้รับสารพิษบางอย่าง เช่น ควันพิษ, แอลกอฮอล์, สารไซยาไนด์, ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ที่ทำให้ไม่สามารถนำออกซิเจนไปใช้ได้
- อาการป่วยด้วยโรคประจำตัว เช่น โรคหืด โรคปอด โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รวมทั้งภาวะซีดและโรคโลหิตจาง ที่เป็นเหตุให้จำนวนเม็ดเลือดแดงในกระแสโลหิตลงลง หรือภาวะหัวใจล้มเหลว ที่ทำให้ปริมาณแรงดันเลือดจากหัวใจลดลง
การติดอยู่ในถ้ำลึกเป็นเวลานาน และอยู่บนที่สูงด้วยอย่างกรณี 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ถือเป็นจุดที่มีออกซิเจนเบาบางอยู่แล้ว เมื่อมีน้ำท่วมขังในถ้ำเข้าไปอีกจะทำให้น้ำเข้าแทนที่อากาศ ออกซิเจนที่มีอยู่ก็จะยิ่งลดลง หากไม่มีโพรงหรือปล่อง อากาศจากภายนอกก็ไม่สามารถเข้ามาได้
ขณะเดียวกัน หากมีคนอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวจำนวนมาก ก็จะยิ่งใช้ออกซิเจนในการหายใจ แล้วปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ทำให้ทุกครั้งที่หายใจปริมาณออกซิเจนในถ้ำก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้นเราจึงได้ยินข่าวให้เจ้าหน้าที่ที่ไม่จำเป็นออกจากถ้ำ เพื่อจะได้ไม่แย่งอากาศกัน พร้อมกับต้องรีบพาผู้ประสบภัยออกมาโดยเร็ว
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า สภาพที่เหมาะสมคือต้องมีออกซิเจนอยู่ในอากาศประมาณ 19.5-23.5% แต่หากลดลงต่ำกว่า 17% หรือลดต่ำลงเรื่อย ๆ อาจเกิดผลกระทบกับร่างกายได้หลายอาการขึ้นอยู่กับปริมาณของออกซิเจน ดังนี้
- รู้สึกหายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจลำบากขึ้น หายใจถี่ขึ้น ไอ
- หัวใจเต้นเร็วขึ้น
- การรับรู้ตัวลดลง สับสน มึนงง ซึม
- วิงเวียน ปวดศีรษะเนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว
- ผิวหนังซีด หรือเขียวคล้ำ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ วูบวาบตามตัว มีเหงื่อออกมาก
- รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย
- การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน
- การร่วมมือกับบุคคลอื่นลดลง
- มือเท้าชา
- ตาพร่ามัว ลานสายตาแคบลง
- เพ้อ หมดสติ ชัก
- หากออกซิเจนลดลงมาก ๆ จะกระทบต่อระบบหายใจ ระบบเลือด สมอง ประสาท กล้ามเนื้อ และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จนเสียชีวิตได้
ในแต่ละคนอาจเกิดอาการพร่องออกซิเจนได้แตกต่างกัน ระยะเวลาที่เริ่มเป็นและความรุนแรงก็ต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น
- ระดับความสูงในบริเวณที่อยู่ ยิ่งอยู่ในพื้นที่สูงมาก ความกดบรรยากาศ และความหนาแน่นของอากาศจะยิ่งลดลงตามระดับความสูง
- ระยะเวลาที่อยู่ในระดับความสูงนั้น หากอยู่นานก็มีโอกาสป่วยได้ง่ายกว่า
- ความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย หากเป็นเด็ก คนชรา หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ก็อาจเกิดอาการได้เร็วและรุนแรงกว่านักกีฬา หรือคนที่แข็งแรง
- การเคลื่อนไหวร่างกาย คนที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหวมากกว่า อาจเสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนได้มากขึ้น เพราะยิ่งร่างกายเคลื่อนไหวก็ยิ่งต้องใช้ออกซิเจนมากขึ้นไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ออกซิเจนอาจค่อย ๆ ลดลงโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นถ้าสังเกตตัวเองว่าเริ่มรู้สึกหายใจลำบาก หรือมึนงง ก็เป็นสัญญาณเตือนได้ว่าเราควรรีบออกมาจากบริเวณนั้น เพื่อป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนที่รุนแรงได้
เกณฑ์การแบ่งความรุนแรงของภาวะเลือดพร่องออกซิเจน
สามารถแบ่งความรุนแรงของผู้ป่วยได้ 3 ระดับคือ
- Mild Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) อยู่ระหว่าง 60-80 มิลลิเมตรปรอท
- Moderate Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) อยู่ระหว่าง 40-60 มิลลิเมตรปรอท
- Severe Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) น้อยกว่า 40 มิลลิเมตรปรอท
ทั้งนี้ในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี จะมีระดับออกซิเจนในเลือดแดงลดต่ำลง 1 มิลลิเมตรปรอท ต่ออายุที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ปี
เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด โดยแพทย์จะรักษาด้วยการให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก หรือสายทางจมูก เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือด ป้องกันไม่ให้เซลล์และอวัยวะสำคัญถูกทำลาย ทั้งนี้จะเป็นการให้ออกซิเจนในระดับต่ำที่สุดที่จะเพียงพอรักษาระดับออกซิเจนในเลือด เพราะหากได้รับออกซิเจนมากเกินความต้องการ จะเกิดภาวะพิษจากออกซิเจนได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีความผิดปกติที่ปอด แพทย์ก็จะรักษาตามความผิดปกตินั้น ๆ หรือการให้ยาขยายหลอดลมเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
หากใครมีโรคประจำตัวที่น่าจะสุ่มเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว ก็ควรหลีกเลี่ยงการไปอยู่ในบริเวณที่มีออกซิเจนเบาบาง เช่น บนยอดเขา แต่หากใครสงสัยว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว ควรรีบออกมาจากบริเวณที่มีออกซิเจนเบาบาง และรีบไปโรงพยาบาลโดยเร็ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
mayoclinic.org