สรรพคุณของต้นอังกาบหนูไม่ธรรมดา แต่จะเป็นสมุนไพรเทวดาอย่างที่ชาวบ้านเรียกขานหรือไม่ มาเช็กข้อมูลกัน อังกาบหนู สรรพคุณดียังไง
ต้นอังกาบหนูที่กำลังเลื่องลือถึงสรรพคุณของอังกาบหนูว่าเด็ดดวง ช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ โดยมีชาวบ้าน จ.สุโขทัย ลองกินสมุนไพรอังกาบหนูแล้วอาการมะเร็งดีขึ้น (อ่านข่าว พบสมุนไพรรักษามะเร็ง "ต้นอังกาบหนู" คนสุโขทัยกินแล้วหายกว่า 10 ราย วอนรัฐวิจัยด่วน) ทว่างานวิจัยที่แน่ชัดถึงสรรพคุณของอังกาบกับการรักษาโรคมะเร็งยังไม่เคยมีรายงานให้เราได้ทราบกัน แต่วันนี้กระปุกดอทคอมจะพามารู้จักสรรพคุณต้นอังกาบหนู ว่ามีดียังไงบ้าง
อังกาบหนู สมุนไพรตัวจี๊ด
อังกาบหนูมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Barleria prionitis L. เป็นพืชในวงศ์ ACANTHACEAE ภาษาอังกฤษ เรียก Porcupine flower ส่วนในบ้านเรามีชื่อท้องถิ่นเรียกขานกันทั้ง ต้นอังกาบหนู ก้านชั่ง ลืมเฒ่าใหญ่ อังกาบกานพลู ทองระอา มันไก่ เขี้ยวเนื้อ เขี้ยวแก้ว และคันชั่ง
อังกาบหนู ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นอย่างไร
ต้นอังกาบหนูเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-1.5 เมตร ตามโคนต้นจะมีหนามแหลมยาวประมาณครึ่งเซนติเมตร กิ่งก้านของต้นอังกาบหนูจะแตกออกไปรอบ ๆ ต้น ส่วนใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นทรงรี ปลายและโคนใบจะแหลม ส่วนกลางใบจะกว้างประมาณ 0.5-1 นิ้ว ยาว 1.5-2 นิ้ว ขอบใบเรียบ มีสีเขียวอ่อน
ต้นอังกาบมีดอกออกเป็นช่อค่อนข้างแน่น ดอกมีหลายสี ทั้งสีเหลืองสด สีฟ้า สีขาว สีม่วงอ่อนแกมชมพู ที่โคนช่อดอกมีใบประดับรูปขอบขนานยาว ขอบใบเว้า ดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-4 เซนติเมตร ด้านนอกมีขนและมีเกสรผู้ 4 อัน แบ่งเป็นเกสรสั้น 2 เกสรยาว 2 ผลอังกาบหนูเป็นฝักรูปยาวรี ปลายและโคนแหลม ด้านในมีเมล็ดประมาณ 4 เมล็ดซ่อนอยู่
ต้นอังกาบหนูเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-1.5 เมตร ตามโคนต้นจะมีหนามแหลมยาวประมาณครึ่งเซนติเมตร กิ่งก้านของต้นอังกาบหนูจะแตกออกไปรอบ ๆ ต้น ส่วนใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นทรงรี ปลายและโคนใบจะแหลม ส่วนกลางใบจะกว้างประมาณ 0.5-1 นิ้ว ยาว 1.5-2 นิ้ว ขอบใบเรียบ มีสีเขียวอ่อน
ต้นอังกาบมีดอกออกเป็นช่อค่อนข้างแน่น ดอกมีหลายสี ทั้งสีเหลืองสด สีฟ้า สีขาว สีม่วงอ่อนแกมชมพู ที่โคนช่อดอกมีใบประดับรูปขอบขนานยาว ขอบใบเว้า ดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-4 เซนติเมตร ด้านนอกมีขนและมีเกสรผู้ 4 อัน แบ่งเป็นเกสรสั้น 2 เกสรยาว 2 ผลอังกาบหนูเป็นฝักรูปยาวรี ปลายและโคนแหลม ด้านในมีเมล็ดประมาณ 4 เมล็ดซ่อนอยู่
อังกาบหนู สรรพคุณที่ควรรู้จัก
ข้อมูลจากตำรับยาพื้นบ้าน และภูมิปัญญาหมอชาวบ้าน พบว่า สรรพคุณของต้นอังกาบใช้ได้หลายส่วนและบำบัดอาการได้หลายโรค ดังนี้
ข้อมูลจากตำรับยาพื้นบ้าน และภูมิปัญญาหมอชาวบ้าน พบว่า สรรพคุณของต้นอังกาบใช้ได้หลายส่วนและบำบัดอาการได้หลายโรค ดังนี้
* ใบอังกาบหนู
- ต้มใบกินแก้ปวดฝี ถอนพิษร้อนอักเสบ
- แก้ไข้ แก้หวัด โดยคั้นน้ำต้มใบอังกาบมากินเป็นยา
- เคี้ยวใบกินแก้ปวดฟัน
- คั้นน้ำใบอังกาบหนูผสมน้ำผึ้งช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
- กินใบสด ๆ แก้ท้องผูก
- น้ำคั้นจากใบใช้หยอดหู แก้อาการหูอักเสบได้
- คั้นใบแก้พิษงู
- น้ำคั้นจากใบใช้รักษาอาการคัน
- น้ำต้มใบแก้ปวดบวม ปวดตามข้อ
- น้ำต้มจากใบช่วยแก้อาหารไม่ย่อย
- น้ำจากใบช่วยฟอกโลหิต
- ต้มใบกินแก้ปวดฝี ถอนพิษร้อนอักเสบ
- แก้ไข้ แก้หวัด โดยคั้นน้ำต้มใบอังกาบมากินเป็นยา
- เคี้ยวใบกินแก้ปวดฟัน
- คั้นน้ำใบอังกาบหนูผสมน้ำผึ้งช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
- กินใบสด ๆ แก้ท้องผูก
- น้ำคั้นจากใบใช้หยอดหู แก้อาการหูอักเสบได้
- คั้นใบแก้พิษงู
- น้ำคั้นจากใบใช้รักษาอาการคัน
- น้ำต้มใบแก้ปวดบวม ปวดตามข้อ
- น้ำต้มจากใบช่วยแก้อาหารไม่ย่อย
- น้ำจากใบช่วยฟอกโลหิต
* ดอกต้นอังกาบหนู
- บำรุงธาตุทั้งสี่ โดยนำดอกอังกาบหนูมาตากแห้งแล้วต้มกินเป็นยา
- น้ำต้มจากดอกอังกาบหนูแห้งใช้ดื่มละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะได้
- บำรุงธาตุทั้งสี่ โดยนำดอกอังกาบหนูมาตากแห้งแล้วต้มกินเป็นยา
- น้ำต้มจากดอกอังกาบหนูแห้งใช้ดื่มละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะได้
* รากต้นอังกาบหนู
- รากชนิดดอกสีเหลืองมีฤทธิ์แก้ไข้ ดับพิษร้อนในร่างกาย รากชนิดดอกสีฟ้าม่วงช่วยขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน
- รากแก้พิษตะขาบ พิษงู
- ต้มรากผสมน้ำมะนาวแก้กลากเกลื้อน
- น้ำต้มจากรากแก้อาหารไม่ย่อย โดยอาจผสมน้ำมะนาวช่วยเพิ่มรสชาติและกระตุ้นระบบย่อยอาหารได้
- รากใช้เป็นยารักษาฝี
- คุมกำเนิด โดยสารสกัดจากรากอังกาบหนูมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสเปิร์ม และทำให้การเคลื่อนไหวของสเปิร์มลดลงในหนูทดลอง แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจนในคน
- รากชนิดดอกสีเหลืองมีฤทธิ์แก้ไข้ ดับพิษร้อนในร่างกาย รากชนิดดอกสีฟ้าม่วงช่วยขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน
- รากแก้พิษตะขาบ พิษงู
- ต้มรากผสมน้ำมะนาวแก้กลากเกลื้อน
- น้ำต้มจากรากแก้อาหารไม่ย่อย โดยอาจผสมน้ำมะนาวช่วยเพิ่มรสชาติและกระตุ้นระบบย่อยอาหารได้
- รากใช้เป็นยารักษาฝี
- คุมกำเนิด โดยสารสกัดจากรากอังกาบหนูมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสเปิร์ม และทำให้การเคลื่อนไหวของสเปิร์มลดลงในหนูทดลอง แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจนในคน
นอกจากนี้ยังมีคนนำทั้ง 5 ส่วนของต้นอังกาบหนู ทั้งใบ ราก ดอก เมล็ด เกสร มาต้มเป็นยาแก้ไขข้ออักเสบด้วยนะคะ เนื่องจากพบว่า ต้นอังกาบหนูมีฤทธิ์ต้านอักเสบ ช่วยลดปวดจากการอักเสบ
ต้นอังกาบหนู ประโยชน์ก็มี
ไม่เพียงแต่สรรพคุณทางยาเท่านั้น แต่ต้นอังกาบหนูยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ตามนี้เลย
- น้ำคั้นจากใบใช้ทาแก้ส้นเท้าแตก
- ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับก็สวยงาม และยังสามารถนำใบ ราก ดอก ของต้นอังกาบมาทำยาสมุนไพรได้อีกด้วย
ต้นอังกาบหนู ประโยชน์ก็มี
ไม่เพียงแต่สรรพคุณทางยาเท่านั้น แต่ต้นอังกาบหนูยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ตามนี้เลย
- น้ำคั้นจากใบใช้ทาแก้ส้นเท้าแตก
- ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับก็สวยงาม และยังสามารถนำใบ ราก ดอก ของต้นอังกาบมาทำยาสมุนไพรได้อีกด้วย
ต้นอังกาบหนู รักษามะเร็งได้จริงไหม
แม้จะมีรายงานว่า พบชาวบ้านจำนวนหนึ่งหายจากโรคมะเร็งด้วยการใช้สมุนไพรต้นอังกาบหนูเป็นประจำ ทว่าก็ยังไม่มีงานวิจัยใดที่สามารถยืนยันสรรพคุณของต้นอังกาบหนูในข้อนี้ได้อย่างชัดเจนนะคะ โดยจากการศึกษาพบว่า สารสกัดต้นอังกาบหนูมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกัน แต่ยังไม่ได้มีฤทธิ์ในการฆ่าเซลล์มะเร็งที่เด่นชัด ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้ต้นอังกาบหนูเพื่อรักษามะเร็งอย่างเพียว ๆ แต่ควรได้รับการรักษาร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการรักษาโรคมะเร็ง และควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะใช้สมุนไพรไม่ว่าจะชนิดใดก็ตาม เพราะสมุนไพรบางชนิดอาจไม่เหมาะสมกับคนแต่ละคน และควรคำนึงถึงปริมาณในการกินด้วย เพราะอาจมีผลกระทบต่อไตได้
ขณะที่ เพจเฟซบุ๊ก Drama-addict ซึ่งแอดมินเพจเป็นคุณหมอ ระบุว่า ที่ผ่านมาเคยมีข่าวลือเรื่องน้ำใบทุเรียนเทศรักษามะเร็ง ซึ่งผู้ที่ดื่มไปหลายรายมีผลข้างเคียง ทั้งตับพัง ไตพัง หรือเป็นพาร์กินสัน จึงเป็นห่วงกระแสการดื่มน้ำใบอังกาบซึ่งยังไม่มีผลวิจัยรองรับใด ๆ ทั้งนี้ผู้ที่โรคมะเร็งหายนั้นอยากให้คิดว่าเป็นเพราะผลของเคมีบำบัดที่รักษามากกว่า จึงไม่แนะนำให้กินเพื่อความปลอดภัย
ด้านเพจหมอแล็บแพนด้า ก็ระบุเช่นกันว่า ใบอังกาบหนูรักษามะเร็งไม่ได้ เพราะไม่มีงานวิจัยรองรับ และถ้าเอาใบอังกาบหนูมาต้มน้ำดื่มแล้วกินต่อเนื่องหลายวัน จะทำให้เกิดพิษ มีฤทธิ์เมาเบื่อ สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ การกินใบอังกาบหนูจะทำมีอาการมึนหัว วิงเวียน เบื่ออาหารเหมือนโดนยาพิษ
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ทดลองใช้ใบอังกาบหนูกับหนูตัวผู้ติดต่อกันนาน 2 เดือน พบว่ามีฤทธิ์รบกวนการสร้างอสุจิ ลดจำนวนสเปิร์ม และทำให้สเปิร์มเคลื่อนไหวช้าอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้กินใบอังกาบหนูเพื่อรักษามะเร็ง
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ทดลองใช้ใบอังกาบหนูกับหนูตัวผู้ติดต่อกันนาน 2 เดือน พบว่ามีฤทธิ์รบกวนการสร้างอสุจิ ลดจำนวนสเปิร์ม และทำให้สเปิร์มเคลื่อนไหวช้าอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้กินใบอังกาบหนูเพื่อรักษามะเร็ง
วิธีปลูกต้นอังกาบหนู
ใครอยากลองปลูกต้นอังกาบหนู ลองมาดูวิธีปลูกตามลิงก์นี้เลยค่ะ
ต้นอังกาบหนูเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณไม่น้อย หากใครหาต้นอังกาบหนูมาปลูกไว้ประดับบ้าน และใช้แก้อาการป่วยเบื้องต้นที่ไม่รุนแรงมากก็น่าจะดีเนอะ แต่หากหวังผลในการรักษาโรค โดยเฉพาะมะเร็ง ขณะนี้ยังไม่มีงานวิจัยใด ๆ รองรับ ขอแนะนำให้เลี่ยงดีกว่าค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย
พืชผัก พืชสมุนไพร
ไทยเกษตรศาสตร์
ขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย
พืชผัก พืชสมุนไพร
ไทยเกษตรศาสตร์