ตอนนอนเราไม่รู้หรอกว่าเรา กรน ละเมอ หรือนอนกัดฟันหรือเปล่า แต่ถ้าทุกเช้าที่ตื่นนอนรู้สึกปวดขมับ ร่วมกับปวดขากรรไกรเป็นประจำ คุณอาจมีปัญหานอนกัดฟันอยู่ก็ได้
ถ้าเคยได้ยินใครเล่าให้ฟังว่าเรานอนกัดฟันกรอด ๆ ลองเช็กดูเลยค่ะว่ามีอาการปวดกราม ปวดกกหู หรือตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกปวดขมับ ปวดศีรษะบ่อย ๆ ด้วยไหม เพราะสัญญาณเหล่านี้แหละที่ช่วยพิสูจน์ได้ว่าเรามีนิสัยนอนกัดฟันจริง ๆ และเรามีวิธีแก้นอนกัดฟันมาแนะนำ
นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร
แม้จะยังไม่สามารถฟันธงได้ชัดเจนถึงสาเหตุของอาการนอนกัดฟัน ทว่าทางทันตแพทย์ได้สันนิษฐานถึงสาเหตุของการนอนกัดฟันไว้ 2 สาเหตุ กล่าวคือ
1. ความเครียด ความกดดัน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ก่อให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้ในบางคืน
2. ความผิดปกติของโครงสร้างฟัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาฟันเรียงตัวกันอย่างผิดปกติ ฟันซ้อนเก หรือโรคปริทันต์ รวมไปถึงคนที่สูญเสียฟันแท้ไปแล้วไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน อาจทำให้เกิดการบดเคี้ยวของฟันในขณะนอนหลับได้
นอนกัดฟัน จัดฟันเกี่ยวไหม
คนที่จัดฟันอาจสงสัยว่าการจัดฟันของตัวเองมีส่วนทำให้นอนกัดฟันด้วยหรือไม่ ทั้งนี้มีงานวิจัยหลาย ๆ งานที่บ่งชี้ว่า การจัดฟันไม่ส่งผลกระตุ้นให้เกิดปัญหานอนกัดฟัน โดยเราอาจมีนิสัยนอนกัดฟันอยู่ก่อนแล้ว และไม่รู้ตัว เมื่อไปจัดฟันที่ต้องเช็กสภาพฟันทุก ๆ เดือนก็อาจจะพบปัญหาฟันต่าง ๆ และทันตแพทย์อาจแจ้งว่าเกิดจากการนอนกัดฟัน ทำให้เข้าใจไปว่าการจัดฟันก็เป็นสาเหตุของการนอนกัดฟัน ทั้ง ๆ ที่เราอาจมีปัญหานอนกัดฟันอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่ได้มาตรวจเช็กเลยทำให้ไม่รู้ตัวเองว่านอนกัดฟันทุกคืน ๆ ก็เป็นได้
นอนกัดฟัน เกิดกับใครได้บ้าง
ปัญหานอนกัดฟันเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะพบปัญหานอนกัดฟันในวัยรุ่นไปจนถึงวัยทำงานมากที่สุด
นอนกัดฟัน อาการเป็นยังไง
* ขบเคี้ยวฟันตัวเองขณะนอนหลับ
* มีอาการปวดเมื่อยขากรรไกรในช่วงเวลาตื่นนอน
* มีอาการปวดข้อต่อของกระดูก (บริเวณหน้ารูหู) หลังตื่นนอนหรือระหว่างเคี้ยวอาหาร
* ตรวจพบว่าฟันมีการสึกหรอมากผิดปกติ
* เสียวฟันเมื่อดื่มน้ำร้อน น้ำเย็น หรือของหวาน
อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของอาการนอนกัดฟันจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยบางคนอาจมีนิสัยนอนกัดฟันเบา ๆ หรือบางคนอาจมีการขบเคี้ยวฟันที่รุนแรง เป็นต้น
นอนกัดฟัน ส่งผลเสียอย่างไร
การนอนกัดฟันอาจก่อปัญหาทางทันตกรรมอื่น ๆ ตามมา เช่น ฟันสึก ความแข็งแรงของกระดูกและฟันเสื่อมลง มีปัญหาการบดเคี้ยวอาหารไม่สะดวก เนื่องจากฟันสึก หรือมีอาการเสียวฟัน เป็นต้น
นอกจากนี้การนอนกัดฟันยังอาจส่งผลกระทบให้เกิดอาการปวดเมื่อยใบหน้า ขากรรไกร และปวดศีรษะบ่อย ๆ ได้ด้วยนะคะ
นอนกัดฟัน ป้องกันอย่างไร
หากรู้ตัวว่ามีอาการนอนกัดฟัน สามารถป้องกันการนอนกัดฟันได้ตามนี้เลยค่ะ
- พยายามไม่เครียด และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้นอนกัดฟัน
- หากนิสัยนอนกัดฟันของเรามาจากปัญหาทางทันตกรรม ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใส่เฝือกสบฟันในเวลานอนหลับ เพื่อช่วยป้องกันความเสียหายของเหงือกและฟันมากไปกว่าเดิม
- รักษาด้วยยาช่วยลดการทำงานหรือยาที่ออกฤทธิ์ให้กล้ามเนื้อคลายตัว โดยส่วนใหญ่จะเป็นการให้ยาเพื่อลดอาการข้างเคียงของการนอนกัดฟันมากกว่า
- ฉีดโบท็อกซ์เข้ากล้ามเนื้อมัดที่ควบคุมการเคี้ยว ซึ่งจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อลดการทำงานช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ยังสามารถใช้งานหรือเคี้ยวอาหารได้ใกล้เคียงปกติ
- Bio Feedback เป็นวิธีตักเตือนไม่ให้เรานอนกัดฟัน โดยวิธีนี้จะใช้ตัวเซ็นเซอร์ที่กล้ามเนื้อกราม หากกัดเข้าหากันในระดับรุนแแรง เครื่องจะส่งสัญญาณทั้งในรูปแบบเสียงหรือกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ เพื่อปลุกให้รู้สึกตัว ไม่นอนกัดฟันอีก
ทั้งนี้วิธีรักษาอาการนอนกัดฟันที่นิยมที่สุดก็จะเป็นการใส่เฝือกสบฟันนะคะ รวมไปถึงทันตแพทย์อาจแนะนำวิธีบรรเทาอาการข้างเคียงที่เกิดจากการนอนกัดฟัน เช่น ใส่ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณขากรรไกรหากมีอาการปวดเมื่อย เป็นต้น
อย่างไรก็ดี วิธีรักษาอาการนอนกัดฟันให้หายขาดยังไม่มีให้ใช้ มีก็เพียงแต่การป้องกันและบรรเทา ดังนั้นลองสังเกตตัวเองให้ดีว่าเรามีนิสัยนอนกัดฟันหรือเปล่า หรือหากมีคนนอนข้าง ๆ ก็ให้เขาช่วยสังเกตพฤติกรรมการนอนของเราด้วยก็ดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, ทวิตเตอร์ Vudhibhong L. Amata
นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร
แม้จะยังไม่สามารถฟันธงได้ชัดเจนถึงสาเหตุของอาการนอนกัดฟัน ทว่าทางทันตแพทย์ได้สันนิษฐานถึงสาเหตุของการนอนกัดฟันไว้ 2 สาเหตุ กล่าวคือ
1. ความเครียด ความกดดัน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ก่อให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้ในบางคืน
2. ความผิดปกติของโครงสร้างฟัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาฟันเรียงตัวกันอย่างผิดปกติ ฟันซ้อนเก หรือโรคปริทันต์ รวมไปถึงคนที่สูญเสียฟันแท้ไปแล้วไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน อาจทำให้เกิดการบดเคี้ยวของฟันในขณะนอนหลับได้
นอนกัดฟัน จัดฟันเกี่ยวไหม
คนที่จัดฟันอาจสงสัยว่าการจัดฟันของตัวเองมีส่วนทำให้นอนกัดฟันด้วยหรือไม่ ทั้งนี้มีงานวิจัยหลาย ๆ งานที่บ่งชี้ว่า การจัดฟันไม่ส่งผลกระตุ้นให้เกิดปัญหานอนกัดฟัน โดยเราอาจมีนิสัยนอนกัดฟันอยู่ก่อนแล้ว และไม่รู้ตัว เมื่อไปจัดฟันที่ต้องเช็กสภาพฟันทุก ๆ เดือนก็อาจจะพบปัญหาฟันต่าง ๆ และทันตแพทย์อาจแจ้งว่าเกิดจากการนอนกัดฟัน ทำให้เข้าใจไปว่าการจัดฟันก็เป็นสาเหตุของการนอนกัดฟัน ทั้ง ๆ ที่เราอาจมีปัญหานอนกัดฟันอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่ได้มาตรวจเช็กเลยทำให้ไม่รู้ตัวเองว่านอนกัดฟันทุกคืน ๆ ก็เป็นได้
นอนกัดฟัน เกิดกับใครได้บ้าง
ปัญหานอนกัดฟันเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะพบปัญหานอนกัดฟันในวัยรุ่นไปจนถึงวัยทำงานมากที่สุด
นอนกัดฟัน อาการเป็นยังไง
* ขบเคี้ยวฟันตัวเองขณะนอนหลับ
* มีอาการปวดเมื่อยขากรรไกรในช่วงเวลาตื่นนอน
* มีอาการปวดข้อต่อของกระดูก (บริเวณหน้ารูหู) หลังตื่นนอนหรือระหว่างเคี้ยวอาหาร
* ตรวจพบว่าฟันมีการสึกหรอมากผิดปกติ
* เสียวฟันเมื่อดื่มน้ำร้อน น้ำเย็น หรือของหวาน
* ในบางรายอาจมีภาวะฟันสึกลึกไปถึงเนื้อฟันได้
อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของอาการนอนกัดฟันจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยบางคนอาจมีนิสัยนอนกัดฟันเบา ๆ หรือบางคนอาจมีการขบเคี้ยวฟันที่รุนแรง เป็นต้น
นอนกัดฟัน ส่งผลเสียอย่างไร
การนอนกัดฟันอาจก่อปัญหาทางทันตกรรมอื่น ๆ ตามมา เช่น ฟันสึก ความแข็งแรงของกระดูกและฟันเสื่อมลง มีปัญหาการบดเคี้ยวอาหารไม่สะดวก เนื่องจากฟันสึก หรือมีอาการเสียวฟัน เป็นต้น
นอกจากนี้การนอนกัดฟันยังอาจส่งผลกระทบให้เกิดอาการปวดเมื่อยใบหน้า ขากรรไกร และปวดศีรษะบ่อย ๆ ได้ด้วยนะคะ
นอนกัดฟัน ป้องกันอย่างไร
หากรู้ตัวว่ามีอาการนอนกัดฟัน สามารถป้องกันการนอนกัดฟันได้ตามนี้เลยค่ะ
- พยายามไม่เครียด และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้นอนกัดฟัน
- หากนิสัยนอนกัดฟันของเรามาจากปัญหาทางทันตกรรม ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใส่เฝือกสบฟันในเวลานอนหลับ เพื่อช่วยป้องกันความเสียหายของเหงือกและฟันมากไปกว่าเดิม
- รักษาด้วยยาช่วยลดการทำงานหรือยาที่ออกฤทธิ์ให้กล้ามเนื้อคลายตัว โดยส่วนใหญ่จะเป็นการให้ยาเพื่อลดอาการข้างเคียงของการนอนกัดฟันมากกว่า
- ฉีดโบท็อกซ์เข้ากล้ามเนื้อมัดที่ควบคุมการเคี้ยว ซึ่งจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อลดการทำงานช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ยังสามารถใช้งานหรือเคี้ยวอาหารได้ใกล้เคียงปกติ
- Bio Feedback เป็นวิธีตักเตือนไม่ให้เรานอนกัดฟัน โดยวิธีนี้จะใช้ตัวเซ็นเซอร์ที่กล้ามเนื้อกราม หากกัดเข้าหากันในระดับรุนแแรง เครื่องจะส่งสัญญาณทั้งในรูปแบบเสียงหรือกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ เพื่อปลุกให้รู้สึกตัว ไม่นอนกัดฟันอีก
ทั้งนี้วิธีรักษาอาการนอนกัดฟันที่นิยมที่สุดก็จะเป็นการใส่เฝือกสบฟันนะคะ รวมไปถึงทันตแพทย์อาจแนะนำวิธีบรรเทาอาการข้างเคียงที่เกิดจากการนอนกัดฟัน เช่น ใส่ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณขากรรไกรหากมีอาการปวดเมื่อย เป็นต้น
อย่างไรก็ดี วิธีรักษาอาการนอนกัดฟันให้หายขาดยังไม่มีให้ใช้ มีก็เพียงแต่การป้องกันและบรรเทา ดังนั้นลองสังเกตตัวเองให้ดีว่าเรามีนิสัยนอนกัดฟันหรือเปล่า หรือหากมีคนนอนข้าง ๆ ก็ให้เขาช่วยสังเกตพฤติกรรมการนอนของเราด้วยก็ดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, ทวิตเตอร์ Vudhibhong L. Amata