เป็นคนชอบพูดกับตัวเองจนคนรอบข้างหันมามองอย่างสงสัย ไม่ก็เป็นตัวเราเองนี่แหละที่สังเกตเห็นคนรอบตัวคุยกับตัวเองบ่อย ๆ เอ...อาการนี้น่าเป็นห่วงหรือเปล่าหว่า
บ่อยครั้งที่เราชอบคิดอะไรในใจเงียบ ๆ คนเดียว แต่บางครั้งความคิดนั้นก็ดังไปหน่อย ออกมาเป็นการพูดงึมงำ ๆ กับตัวเอง จนบางคนเริ่มสงสัยว่าอาการชอบพูดคนเดียวหรือ Self Talk ถือเป็นภาวะทางจิตอะไรหรือเปล่า งั้นเรามาทำความเข้าใจอาการชอบพูดกับตัวเองกันค่ะ
ชอบพูดคนเดียว บ้าไหม
อยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่า อาการป่วยที่เข้าข่ายเป็นโรคทางจิตเวชนั้นต้องดูอาการประกอบหลาย ๆ อย่าง และแม้อาการชอบพูดคนเดียวจะใช่หนึ่งในอาการจิตเวช ทว่าสิ่งที่อยู่ในความคิดต่างหากที่เป็นสาระสำคัญมากพอจะตัดสินได้ว่า คนชอบพูดคนเดียวมีความเสี่ยงโรคจิตเวชไหม ยกตัวอย่างเช่น หากการพูดคนเดียวนั้นมาจากความคิดทบทวนในสิ่งที่ตัวเองกำลังทำ หรือเป็นการบ่นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยแทนที่จะบ่นในใจก็ลั่นออกมาเป็นคำพูด...
“เอ...เมื่อกี้ล็อกประตูบ้านหรือยังนะ”
“ทำไมอากาศมันร้อนยังงี้เนี่ย...”
“อ้าว ! ลืมร่มไว้ในร้านกาแฟนี่นา”
จะเห็นได้ว่าประโยคเหล่านี้มักจะเป็นประโยคที่เราพูดกับตัวเองบ่อย ๆ ซึ่งจัดว่าเป็นการคุยกับตัวเองซึ่งถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่ได้เสี่ยงต่ออาการทางจิตใด ๆ ค่ะ ทว่าเมื่อไรก็ตามที่มีอาการพูดกับตัวเองในเชิงลบบ่อย ๆ เช่น
“เรานี่แย่จัง เป็นแบบนี้อีกแล้ว”
“เบื่อตัวเองจัง”
“จะทำยังไงให้ดีกว่านี้...”
หากสังเกตตัวเองได้ว่ามีอาการพูดคนเดียวในลักษณะที่ส่อว่าความคิดติดลบอยู่บ่อยครั้ง นั่นอาจแสดงถึงความตึงเครียดที่คุณมีอยู่จนกระทั่งร่างกายต้องหาทางแสดงออกมาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง อย่างการบ่นพึมพำกับตัวเอง เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในการสังเกตอาการผิดปกติทางจิตใจจนเข้าข่ายโรคจิตเวช ควรต้องดูอาการอื่น ๆ ประกอบด้วย โดยคลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา เผยสัญญาณเตือนของอาการที่น่าเป็นห่วงไว้ 8 อาการด้วยกัน ดังนี้
1. แยกตัว มีพฤติกรรมเก็บตัวมากขึ้น
2. มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ผิดแปลกไป เช่น ไม่ดูแลตัวเอง หรือแต่งตัวแปลก ๆ เป็นต้น
3. มีความยากลำบากในการคิดหรือตัดสินใจในสถานการณ์ที่ต้องเจอ
4. หลงลืม ขาดสมาธิ หรือมีสภาวะสมาธิสั้น
5. มีปัญหาในการสื่อสารกับผู้คนรอบตัว
6. มีความคิดไม่เหมือนเดิม โดยเริ่มคิดหรือเชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นความจริง
7. หูแว่ว เห็นภาพหลอน
8. ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด
โดยอาการดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน และอาการจะค่อย ๆ แย่ลงในช่วงเวลาเป็นปี ซึ่งอาการดังกล่่าวกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันด้วย ทั้งนี้อาการพูดคนเดียวที่เป็นโรคจิตเวชก็ต้องไม่ใช่การพูดกับตัวเองอย่างเป็นเรื่องเป็นราว และไม่ได้เกิดจากการที่คุยกับบางสิ่งที่เรามองเห็นคนเดียว คนอื่นมองไม่เห็นเหมือนอย่างเราด้วยนะคะ เพราะนั่นอาจเกิดจากอาการหูแว่วและเห็นภาพหลอน ซึ่งเคสนี้ควรมาพบแพทย์ดีที่สุดค่ะ
สำหรับใครที่กังวลว่าอาการพูดคนเดียวของตัวเองจะผิดปกติหรือเปล่า ก็เอาเป็นว่าให้สังเกตสาระสำคัญของความคิดที่ทำให้เราต้องเปล่งเสียงพูดออกมาว่าออกเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ ซึ่งหากสังเกตได้ว่ามักจะพูดในเชิงลบบ่อย ๆ อาจต้องปรับความคิดเสียใหม่ เช่น แทนที่จะพูดว่า ทำไมเราทำไม่ได้สักที ก็ให้คิดว่า ลองพยายามอีกนิดเดี๋ยวก็ทำได้เองแหละ อย่างนี้เป็นต้นค่ะ หรือทางที่ดีจะลองไปปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาก็ได้นะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊กคลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา, healthline, psychologytoday
ชอบพูดคนเดียว บ้าไหม
อยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่า อาการป่วยที่เข้าข่ายเป็นโรคทางจิตเวชนั้นต้องดูอาการประกอบหลาย ๆ อย่าง และแม้อาการชอบพูดคนเดียวจะใช่หนึ่งในอาการจิตเวช ทว่าสิ่งที่อยู่ในความคิดต่างหากที่เป็นสาระสำคัญมากพอจะตัดสินได้ว่า คนชอบพูดคนเดียวมีความเสี่ยงโรคจิตเวชไหม ยกตัวอย่างเช่น หากการพูดคนเดียวนั้นมาจากความคิดทบทวนในสิ่งที่ตัวเองกำลังทำ หรือเป็นการบ่นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยแทนที่จะบ่นในใจก็ลั่นออกมาเป็นคำพูด...
“เอ...เมื่อกี้ล็อกประตูบ้านหรือยังนะ”
“ทำไมอากาศมันร้อนยังงี้เนี่ย...”
“อ้าว ! ลืมร่มไว้ในร้านกาแฟนี่นา”
จะเห็นได้ว่าประโยคเหล่านี้มักจะเป็นประโยคที่เราพูดกับตัวเองบ่อย ๆ ซึ่งจัดว่าเป็นการคุยกับตัวเองซึ่งถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่ได้เสี่ยงต่ออาการทางจิตใด ๆ ค่ะ ทว่าเมื่อไรก็ตามที่มีอาการพูดกับตัวเองในเชิงลบบ่อย ๆ เช่น
“เรานี่แย่จัง เป็นแบบนี้อีกแล้ว”
“เบื่อตัวเองจัง”
“จะทำยังไงให้ดีกว่านี้...”
หากสังเกตตัวเองได้ว่ามีอาการพูดคนเดียวในลักษณะที่ส่อว่าความคิดติดลบอยู่บ่อยครั้ง นั่นอาจแสดงถึงความตึงเครียดที่คุณมีอยู่จนกระทั่งร่างกายต้องหาทางแสดงออกมาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง อย่างการบ่นพึมพำกับตัวเอง เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในการสังเกตอาการผิดปกติทางจิตใจจนเข้าข่ายโรคจิตเวช ควรต้องดูอาการอื่น ๆ ประกอบด้วย โดยคลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา เผยสัญญาณเตือนของอาการที่น่าเป็นห่วงไว้ 8 อาการด้วยกัน ดังนี้
1. แยกตัว มีพฤติกรรมเก็บตัวมากขึ้น
2. มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ผิดแปลกไป เช่น ไม่ดูแลตัวเอง หรือแต่งตัวแปลก ๆ เป็นต้น
3. มีความยากลำบากในการคิดหรือตัดสินใจในสถานการณ์ที่ต้องเจอ
4. หลงลืม ขาดสมาธิ หรือมีสภาวะสมาธิสั้น
5. มีปัญหาในการสื่อสารกับผู้คนรอบตัว
6. มีความคิดไม่เหมือนเดิม โดยเริ่มคิดหรือเชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นความจริง
7. หูแว่ว เห็นภาพหลอน
8. ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด
โดยอาการดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน และอาการจะค่อย ๆ แย่ลงในช่วงเวลาเป็นปี ซึ่งอาการดังกล่่าวกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันด้วย ทั้งนี้อาการพูดคนเดียวที่เป็นโรคจิตเวชก็ต้องไม่ใช่การพูดกับตัวเองอย่างเป็นเรื่องเป็นราว และไม่ได้เกิดจากการที่คุยกับบางสิ่งที่เรามองเห็นคนเดียว คนอื่นมองไม่เห็นเหมือนอย่างเราด้วยนะคะ เพราะนั่นอาจเกิดจากอาการหูแว่วและเห็นภาพหลอน ซึ่งเคสนี้ควรมาพบแพทย์ดีที่สุดค่ะ
สำหรับใครที่กังวลว่าอาการพูดคนเดียวของตัวเองจะผิดปกติหรือเปล่า ก็เอาเป็นว่าให้สังเกตสาระสำคัญของความคิดที่ทำให้เราต้องเปล่งเสียงพูดออกมาว่าออกเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ ซึ่งหากสังเกตได้ว่ามักจะพูดในเชิงลบบ่อย ๆ อาจต้องปรับความคิดเสียใหม่ เช่น แทนที่จะพูดว่า ทำไมเราทำไม่ได้สักที ก็ให้คิดว่า ลองพยายามอีกนิดเดี๋ยวก็ทำได้เองแหละ อย่างนี้เป็นต้นค่ะ หรือทางที่ดีจะลองไปปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาก็ได้นะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊กคลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา, healthline, psychologytoday