รู้สึกเกลียดชังคนแปลกหน้า ต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรมกับเรา อาจเข้าข่าย Xenophobia
Xenophobia คืออะไร
Xenophobia แปลว่า ความเกลียดกลัวชาวต่างชาติ โดยคำว่า Xenophobia มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก “xenos” ที่แปลว่าคนแปลกหน้าหรือชาวต่างชาติ และคำว่า “phobos” ที่หมายถึงความกลัว ความรู้สึกเกลียดอะไรบางอย่าง เมื่อสองคำนี้มารวมกันจึงเป็นคำว่า Xenophobia ซึ่งหมายถึง ความเกลียดกลัวชาวต่างชาตินั่นเอง
![Xenophobia Xenophobia]()
![Xenophobia Xenophobia]()
![Xenophobia Xenophobia]()

เห็นชาวต่างชาติแล้วรู้สึกแปลก ๆ มีทั้งความไม่ไว้ใจ หวาดระแวง หรือรู้สึกแย่อย่างบอกไม่ถูก อาการที่เป็นอยู่จะเรียกว่าไม่ปกติไหมลองมาเช็กกันหน่อยค่ะ พร้อมกับทำความเข้าใจภาวะ Xenophobia คืออะไรกันแน่
Xenophobia แปลว่า ความเกลียดกลัวชาวต่างชาติ โดยคำว่า Xenophobia มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก “xenos” ที่แปลว่าคนแปลกหน้าหรือชาวต่างชาติ และคำว่า “phobos” ที่หมายถึงความกลัว ความรู้สึกเกลียดอะไรบางอย่าง เมื่อสองคำนี้มารวมกันจึงเป็นคำว่า Xenophobia ซึ่งหมายถึง ความเกลียดกลัวชาวต่างชาตินั่นเอง
ทั้งนี้ความหมายของคำว่า Xenophobia ยังใช้อธิบายถึงภาวะความเกลียดชังหรือกลัวผู้ที่มีชาติพันธุ์ที่แตกต่างจากตัวเองอย่างเห็นได้ชัด (ซึ่งมักจะหมายถึงชนกลุ่มน้อย) ทว่าในทางจิตวิทยาคำว่า Xenophobia แปลว่า อาการหรือภาวะกลัวหรือเกลียดคนแปลกหน้า ชาวต่างชาติ คนเชื้อชาติอื่น ศาสนาอื่น คนที่มีวัฒนธรรมต่างไปจากตนเอง รวมไปถึงคนที่ใช้ภาษาอื่นและมีอุปนิสัยที่แตกต่างจากตนเองอย่างสิ้นเชิงด้วย

Xenophobia สาเหตุคืออะไร
นักจิตวิทยาสันนิษฐานว่า อาการกลัวชาวต่างชาติเกิดจากความคิดที่ขัดแย้งกับสิ่งที่ตนเองเป็น โดยเฉพาะในแง่ของวัฒนธรรมที่คุ้นชินมาตั้งแต่เกิด ทั้งนี้นักจิตวิทยายังมองถึงสาเหตุสำคัญของอาการ Xenophobia ซึ่งก็คือความคิดหรือการมองคนที่แตกต่างกับเราในแง่ร้าย โดยเฉพาะในแง่ของการก่ออาชญากรรม ก่อให้เกิดความรู้สึกกลัว หวาดระแวง เกลียดชัง จนถึงขั้นมีสภาวะจิตใจผิดปกติไป ยกตัวอย่างเช่น มองว่าชาวมุสลิมเป็นผู้ก่อการร้าย หรือนับถือศาสนาที่ส่งเสริมให้ฆ่าคนนอกรีต หรือมองว่าชาวจีนเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีมารยาท ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างรุนแรง แต่สำหรับคนที่มีภาวะ Xenophobia จะคิดและเชื่ออะไรทำนองนี้อย่างปักใจ
นอกจากนี้ Xenophobia ยังอาจเกิดจากสภาวะทางสังคม เช่น มีการแย่งงานของต่างด้าว หรือชาวต่างชาติ หรือแม้แต่การเหยียดสีผิว ความรู้สึกดูถูก เหยียดหยามชาวต่างชาติก็อาจพัฒนาให้เป็นโรค Xenophobia ได้เช่นกัน
นักจิตวิทยาสันนิษฐานว่า อาการกลัวชาวต่างชาติเกิดจากความคิดที่ขัดแย้งกับสิ่งที่ตนเองเป็น โดยเฉพาะในแง่ของวัฒนธรรมที่คุ้นชินมาตั้งแต่เกิด ทั้งนี้นักจิตวิทยายังมองถึงสาเหตุสำคัญของอาการ Xenophobia ซึ่งก็คือความคิดหรือการมองคนที่แตกต่างกับเราในแง่ร้าย โดยเฉพาะในแง่ของการก่ออาชญากรรม ก่อให้เกิดความรู้สึกกลัว หวาดระแวง เกลียดชัง จนถึงขั้นมีสภาวะจิตใจผิดปกติไป ยกตัวอย่างเช่น มองว่าชาวมุสลิมเป็นผู้ก่อการร้าย หรือนับถือศาสนาที่ส่งเสริมให้ฆ่าคนนอกรีต หรือมองว่าชาวจีนเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีมารยาท ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างรุนแรง แต่สำหรับคนที่มีภาวะ Xenophobia จะคิดและเชื่ออะไรทำนองนี้อย่างปักใจ
นอกจากนี้ Xenophobia ยังอาจเกิดจากสภาวะทางสังคม เช่น มีการแย่งงานของต่างด้าว หรือชาวต่างชาติ หรือแม้แต่การเหยียดสีผิว ความรู้สึกดูถูก เหยียดหยามชาวต่างชาติก็อาจพัฒนาให้เป็นโรค Xenophobia ได้เช่นกัน

Xenophobia อาการเป็นอย่างไร
ลองมาเช็กอาการ Xenophobia กันค่ะว่า ถ้ามีภาวะโรคนี้แล้วจะสังเกตอาการได้อย่างไร
1. รู้สึกเครียดและกดดันเมื่อต้องอยู่กับคนต่างชาติ ต่างภาษา หรือเมื่ออยู่ในต่างประเทศ
2. มีความวิตกกังวลและหวาดระแวงเมื่อต้องติดต่อกับชาวต่างชาติ
3. อาจมีพฤติกรรมวางอำนาจหรือทำตัวเหนือกว่าชาวต่างชาติอย่างเห็นได้ชัด
4. ไม่ใว้ใจชาวต่างชาติ มีพฤติกรรมเลือกปฏิบัติ และอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวใส่ชาวต่างชาติอย่างไร้เหตุผล
5. มีความรู้สึกว่าไม่อยากให้ชาวต่างชาติหรือคนที่ตัวเองกลัวได้รับการยอมรับในสังคม
ลองมาเช็กอาการ Xenophobia กันค่ะว่า ถ้ามีภาวะโรคนี้แล้วจะสังเกตอาการได้อย่างไร
1. รู้สึกเครียดและกดดันเมื่อต้องอยู่กับคนต่างชาติ ต่างภาษา หรือเมื่ออยู่ในต่างประเทศ
2. มีความวิตกกังวลและหวาดระแวงเมื่อต้องติดต่อกับชาวต่างชาติ
3. อาจมีพฤติกรรมวางอำนาจหรือทำตัวเหนือกว่าชาวต่างชาติอย่างเห็นได้ชัด
4. ไม่ใว้ใจชาวต่างชาติ มีพฤติกรรมเลือกปฏิบัติ และอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวใส่ชาวต่างชาติอย่างไร้เหตุผล
5. มีความรู้สึกว่าไม่อยากให้ชาวต่างชาติหรือคนที่ตัวเองกลัวได้รับการยอมรับในสังคม
นอกจากนี้ในพื้นที่ที่มีภาวะ Xenophobia อย่างแพร่หลาย อาจมีสถานการณ์หรือการใช้ความรุนแรงกับชาวต่างชาติ เช่น มีการขับไล่ออกนอกประเทศ การไม่ให้งาน หรือมีการกีดกันทางเศรษฐกิจ สังคม และการใช้ชีวิตด้วยค่ะ

Xenophobia แตกต่างจากการเหยียดสีผิวอย่างไร
แม้ Xenophobia และการเหยียดสีผิวจะมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่ก็มีสิ่งที่แตกต่างกันนะคะ โดยการเหยียดสีผิวจะมีความรู้สึกในทางลบกับคนที่มีสีผิว สีผม สีตาที่ต่างจากเรา ทว่า Xenophobia จะมีความรู้สึกในแง่ลบกับคนที่ต่างชนชาติ ต่างความเชื่อ ต่างวัฒนธรรมกับเรา เช่น ผู้ที่เกิดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ อาจดูถูกชาวเอเชียที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เป็นต้น
Xenophobia รักษาอย่างไร
โรคกลัวชนิดนี้มีความแตกต่างและความยากไปกว่าโรคกลัวชนิดอื่น ๆ เนื่องจากคนที่มีภาวะ Xenophobia มักจะมีความเกลียด-กลัวที่หยั่งรากฝังลึก จำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยเหลือดูแล
ที่สำคัญที่สุดคือผู้ป่วยต้องรู้ตัวและเปิดใจยอมรับการรักษา และยอมก้าวไปเรียนรู้โลกใบใหม่ด้วยตัวเองอย่างสมัครใจด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

เฟซบุ๊ก ศาสนวิทยา dr.Sinchai Chaojaroenrat
psychologenie
verywellmind
แม้ Xenophobia และการเหยียดสีผิวจะมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่ก็มีสิ่งที่แตกต่างกันนะคะ โดยการเหยียดสีผิวจะมีความรู้สึกในทางลบกับคนที่มีสีผิว สีผม สีตาที่ต่างจากเรา ทว่า Xenophobia จะมีความรู้สึกในแง่ลบกับคนที่ต่างชนชาติ ต่างความเชื่อ ต่างวัฒนธรรมกับเรา เช่น ผู้ที่เกิดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ อาจดูถูกชาวเอเชียที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เป็นต้น
Xenophobia รักษาอย่างไร
โรคกลัวชนิดนี้มีความแตกต่างและความยากไปกว่าโรคกลัวชนิดอื่น ๆ เนื่องจากคนที่มีภาวะ Xenophobia มักจะมีความเกลียด-กลัวที่หยั่งรากฝังลึก จำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยเหลือดูแล
ที่สำคัญที่สุดคือผู้ป่วยต้องรู้ตัวและเปิดใจยอมรับการรักษา และยอมก้าวไปเรียนรู้โลกใบใหม่ด้วยตัวเองอย่างสมัครใจด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก ศาสนวิทยา dr.Sinchai Chaojaroenrat
psychologenie
verywellmind