ประโยชน์ของหัวไชเท้า สรรพคุณดีอย่างไร เห็นว่าเป็นผักช่วยลดน้ำหนักได้ แถมพ่วงสรรพคุณรักษาฝ้า กระ จริงเท็จแค่ไหนกัน
หัวไชเท้าหรือหัวผักกาด พืชกินหัวสีขาวน่ากิน
หัวไชเท้าหรือที่หลายคนเรียกว่าหัวผักกาด เป็นผักประเภทหัวที่นำมาทำอาหารได้หลากหลาย และยังมีรสอร่อยอยู่ในตัวอีกด้วยนะคะ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะได้เห็นหัวไชเท้าในต้มซุป ต้มจืด และในน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวเป็นประจำ แหม...คุ้นหน้าคุ้นตากันขนาดนี้คงต้องมารู้สรรพคุณของหัวไชเท้ากันหน่อยแล้วล่ะ
หัวไชเท้าเป็นพืชประเภทหัวหรือราก มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน และเริ่มมีการแพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ จากการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวจีน ดังนั้นชื่อของพืชชนิดนี้จึงมีทั้งไชเท้า ไช้โป๊ว ผักกาดหัวจีน และหัวผักกาด ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ของหัวไชเท้าคือ Raphanus sativus L. และในภาษาอังกฤษก็เรียกหัวไชเท้าว่า Chinese radish
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของหัวไชเท้า
รากหรือหัวไชเท้ามีลักษณะเป็นรูปกรวยยาว หัวมีสีขาวไปจนถึงสีแดง ปลายของรากหรือหัวจะมีรากฝอยขนาดเล็กแทงดิ่งลงด้านล่าง ลำต้นหัวไชเท้ามีขนาดสั้น กลม และเป็นข้อสั้น ไม่มีกิ่งก้าน ส่วนนี้จะโผล่พ้นผืนดินออกมา ส่วนใบของหัวไชเท้าเป็นใบเดี่ยว แทงออกบริเวณข้อของลำต้น ขอบใบมีทั้งแบบเรียบและเว้าลึก
คุณค่าทางโภชนาการของหัวไชเท้า
ข้อมูลจากกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยคุณค่าทางโภชนาการของหัวไชเท้าหรือหัวผักกาดในปริมาณ 100 กรัม ไว้ดังนี้
- พลังงาน 22 กิโลแคลอรี
- น้ำ 93.7 กรัม
- โปรตีน 0.8 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 4.8 กรัม
- ไฟเบอร์ 0.7 กรัม
- เถ้า 0.7 กรัม
- แคลเซียม 43 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม
- ไทอะมีน 0.01 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 0.5 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 26 มิลลิกรัม
รากหรือหัวไชเท้ามีลักษณะเป็นรูปกรวยยาว หัวมีสีขาวไปจนถึงสีแดง ปลายของรากหรือหัวจะมีรากฝอยขนาดเล็กแทงดิ่งลงด้านล่าง ลำต้นหัวไชเท้ามีขนาดสั้น กลม และเป็นข้อสั้น ไม่มีกิ่งก้าน ส่วนนี้จะโผล่พ้นผืนดินออกมา ส่วนใบของหัวไชเท้าเป็นใบเดี่ยว แทงออกบริเวณข้อของลำต้น ขอบใบมีทั้งแบบเรียบและเว้าลึก
คุณค่าทางโภชนาการของหัวไชเท้า
ข้อมูลจากกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยคุณค่าทางโภชนาการของหัวไชเท้าหรือหัวผักกาดในปริมาณ 100 กรัม ไว้ดังนี้
- พลังงาน 22 กิโลแคลอรี
- น้ำ 93.7 กรัม
- โปรตีน 0.8 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 4.8 กรัม
- ไฟเบอร์ 0.7 กรัม
- เถ้า 0.7 กรัม
- แคลเซียม 43 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม
- ไทอะมีน 0.01 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 0.5 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 26 มิลลิกรัม
หัวไชเท้า สรรพคุณมากมายพอตัว
ประโยชน์ของหัวไชเท้าต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง ตามมาอ่านเลย
1. ชะล้างสารพิษ
ในตำรับยาจีนกล่าวว่า หัวไชเท้ามีสรรพคุณในการกระจายสิ่งหมักหมมในร่างกาย โดยมีไฟเบอร์ที่ช่วยชำระล้างผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นผักที่ช่วยในกระบวนการย่อยอาหารและระบบขับถ่าย
2. มีส่วนช่วยลดนํ้าหนัก
หัวไชเท้าเป็นผักแคลอรีต่ำ แถมยังมีไฟเบอร์อยู่มาก เมื่อกินหัวไชเท้าจึงทำให้อิ่มไว ส่วนไฟเบอร์ก็มีส่วนช่วยในกระบวนการขับถ่าย ช่วยดีท็อกซ์ผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ ส่งผลให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
3. รักษาฝ้า
ในตำรับยาจีนกล่าวว่า หัวไชเท้ามีสรรพคุณในการกระจายสิ่งหมักหมมในร่างกาย โดยมีไฟเบอร์ที่ช่วยชำระล้างผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นผักที่ช่วยในกระบวนการย่อยอาหารและระบบขับถ่าย
2. มีส่วนช่วยลดนํ้าหนัก
หัวไชเท้าเป็นผักแคลอรีต่ำ แถมยังมีไฟเบอร์อยู่มาก เมื่อกินหัวไชเท้าจึงทำให้อิ่มไว ส่วนไฟเบอร์ก็มีส่วนช่วยในกระบวนการขับถ่าย ช่วยดีท็อกซ์ผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ ส่งผลให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
3. รักษาฝ้า
จากการศึกษาที่เผยแพร่ในเว็บไซต์สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า หัวไชเท้ามีสรรพคุณทำให้ฝ้าจางลง โดยมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชศาสตร์ที่ระบุว่า ในน้ำคั้นสดของหัวไชเท้ามีสารสกัดเมทานอลและสารสกัดเอทิลอะซิเตต ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส เอนไซม์ที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดสีและเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดฝ้า โดยใช้น้ำคั้นสดใหม่มาทาบริเวณใบหน้า
อย่างไรก็ตาม มีรายงานการเกิดอาการแพ้จากผู้ที่ใช้น้ำคั้นสดหัวไชเท้าด้วยนะคะ ดังนั้นจึงควรทดสอบการแพ้ก่อนด้วยการแต้มผิวหนังบริเวณกราม หรือใต้ท้องแขน เพื่อสังเกตอาการแพ้ เช่น มีผื่น บวม แดง แสบ คัน เป็นต้น
4. บำรุงผิวพรรณ
ไม่เพียงแต่มีสรรพคุณในการชะล้างสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารและลำไส้ ทว่าหัวไชเท้ายังมีไฟเบอร์สูง มีน้ำเป็นส่วนประกอบค่อนข้างมาก แถมยังอุดมไปด้วยวิตามินบี วิตามินซี ฟอสฟอรัส และสังกะสี ที่เป็นอาหารชั้นดีของเซลล์ผิว มีส่วนบำรุงดูแลให้ผิวพรรณมีความชุ่มชื้น มีน้ำมีนวลด้วยนะคะ
5. บำรุงปอด ขับเสมหะ แก้ไอ
อย่างไรก็ตาม มีรายงานการเกิดอาการแพ้จากผู้ที่ใช้น้ำคั้นสดหัวไชเท้าด้วยนะคะ ดังนั้นจึงควรทดสอบการแพ้ก่อนด้วยการแต้มผิวหนังบริเวณกราม หรือใต้ท้องแขน เพื่อสังเกตอาการแพ้ เช่น มีผื่น บวม แดง แสบ คัน เป็นต้น
4. บำรุงผิวพรรณ
ไม่เพียงแต่มีสรรพคุณในการชะล้างสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารและลำไส้ ทว่าหัวไชเท้ายังมีไฟเบอร์สูง มีน้ำเป็นส่วนประกอบค่อนข้างมาก แถมยังอุดมไปด้วยวิตามินบี วิตามินซี ฟอสฟอรัส และสังกะสี ที่เป็นอาหารชั้นดีของเซลล์ผิว มีส่วนบำรุงดูแลให้ผิวพรรณมีความชุ่มชื้น มีน้ำมีนวลด้วยนะคะ
5. บำรุงปอด ขับเสมหะ แก้ไอ
ตำราจีนถือว่าหัวไชเท้ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งเป็นสรรพคุณที่ดีในการกระตุ้นการทำงานของปอด แก้ไอเรื้อรัง และมีส่วนช่วยขับเสมหะอีกด้วย
6. แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก
ไฟเบอร์ในหัวไชเท้าจะช่วยปรับสมดุลในระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องเฟ้อ รวมไปถึงอาการท้องผูกด้วยนะคะ
7. เสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
หัวไชเท้าเป็นผักที่มีวิตามินซีอยู่จำนวนหนึ่ง และยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์อื่น ๆ อีกมาก ดังนั้นการกินหัวไชเท้าจึงช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
8. บรรเทาอาการอักเสบ
6. แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก
ไฟเบอร์ในหัวไชเท้าจะช่วยปรับสมดุลในระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องเฟ้อ รวมไปถึงอาการท้องผูกด้วยนะคะ
7. เสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
หัวไชเท้าเป็นผักที่มีวิตามินซีอยู่จำนวนหนึ่ง และยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์อื่น ๆ อีกมาก ดังนั้นการกินหัวไชเท้าจึงช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
8. บรรเทาอาการอักเสบ
จากการวิจัย พบว่า น้ำคั้นจากหัวไชเท้าหรือการกินหัวของพืชชนิดนี้ช่วยลดการอักเสบในร่างกายได้ และช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อจากการเล่นกีฬาได้ด้วย
9. แก้หวัด
ต้มจืดหัวไชเท้าร้อน ๆ สักถ้วยยามเป็นหวัดน่าจะช่วยให้รู้สึกคล่องคอมากขึ้นได้ง่าย ๆ อีกทั้งวิตามินซีและสารอาหารเปี่ยมประโยชน์ในหัวไชเท้ายังมีส่วนช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้ดี ยิ่งหากในต้มจืดหัวไชเท้าใส่เห็ดหอมช่วยบำรุงร่างกายด้วยก็จะยิ่งอร่อยและได้คุณค่าทางสารอาหารมากขึ้นไปอีกนะ
10. ขับปัสสาวะ
เนื่องจากหัวไชเท้าเป็นผักที่มีน้ำมาก การกินหัวไชเท้าจึงช่วยขับปัสสาวะได้นั่นเองค่ะ และยังช่วยให้ปัสสาวะใส ไม่ขุ่นด้วยนะคะ แต่ทั้งนี้ก็ควรดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอร่วมด้วย
สรรพคุณของหัวไชเท้าก็ไม่น้อยหน้าผักชนิดอื่น ๆ สักเท่าไร แถมยังอร่อย ทำอาหารได้หลากหลาย ลองมาดูเมนูหัวไชเท้ากันเลย
9. แก้หวัด
ต้มจืดหัวไชเท้าร้อน ๆ สักถ้วยยามเป็นหวัดน่าจะช่วยให้รู้สึกคล่องคอมากขึ้นได้ง่าย ๆ อีกทั้งวิตามินซีและสารอาหารเปี่ยมประโยชน์ในหัวไชเท้ายังมีส่วนช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้ดี ยิ่งหากในต้มจืดหัวไชเท้าใส่เห็ดหอมช่วยบำรุงร่างกายด้วยก็จะยิ่งอร่อยและได้คุณค่าทางสารอาหารมากขึ้นไปอีกนะ
10. ขับปัสสาวะ
เนื่องจากหัวไชเท้าเป็นผักที่มีน้ำมาก การกินหัวไชเท้าจึงช่วยขับปัสสาวะได้นั่นเองค่ะ และยังช่วยให้ปัสสาวะใส ไม่ขุ่นด้วยนะคะ แต่ทั้งนี้ก็ควรดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอร่วมด้วย
สรรพคุณของหัวไชเท้าก็ไม่น้อยหน้าผักชนิดอื่น ๆ สักเท่าไร แถมยังอร่อย ทำอาหารได้หลากหลาย ลองมาดูเมนูหัวไชเท้ากันเลย
เมนูหัวไชเท้า ของอร่อยมีประโยชน์
- 11 เมนูหัวไชเท้า หวานอร่อยได้คุณค่า ทำอะไรก็ชวนหิว
ข้อควรระวังในการกินหัวไชเท้า
หัวไชเท้ามีข้อควรระวังในการกินและใช้ด้วยนะคะ ตามนี้เลย
- 11 เมนูหัวไชเท้า หวานอร่อยได้คุณค่า ทำอะไรก็ชวนหิว
ข้อควรระวังในการกินหัวไชเท้า
หัวไชเท้ามีข้อควรระวังในการกินและใช้ด้วยนะคะ ตามนี้เลย
* ไม่ควรกินร่วมกับโสมหรือตังกุย เพราะอาจไปสะเทินฤทธิ์กันเอง เนื่องจากหัวไชเท้ามีรสร้อน
* หากใช้หัวไชเท้าสดต้องระวัง โดยเฉพาะหากใช้กับผิวพรรณ ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ทุกครั้ง
* ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ไม่ควรรับประทานหัวไชเท้า เพราะมีสารกอยโตรเจน (goitrogen) ที่เป็นตัวไปขวางการจับไอโอดีนของต่อมไทรอยด์ เพื่อสร้างฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxin) ซึ่งจะทำให้เกิดคอหอยพอกนั่นเอง
หัวไชเท้าเป็นผักที่มีให้กินทุกฤดู ราคาไม่แพง ทำอาหารหรือขนมก็อร่อยน่ารับประทานไปหมด ที่สำคัญคือประโยชน์ต่อสุขภาพก็เยอะอีกด้วยล่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
กองโภชนาการ กรมอนามัย
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
พืชเกษตร
ประโยชน์ดอทคอม
* หากใช้หัวไชเท้าสดต้องระวัง โดยเฉพาะหากใช้กับผิวพรรณ ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ทุกครั้ง
* ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ไม่ควรรับประทานหัวไชเท้า เพราะมีสารกอยโตรเจน (goitrogen) ที่เป็นตัวไปขวางการจับไอโอดีนของต่อมไทรอยด์ เพื่อสร้างฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxin) ซึ่งจะทำให้เกิดคอหอยพอกนั่นเอง
หัวไชเท้าเป็นผักที่มีให้กินทุกฤดู ราคาไม่แพง ทำอาหารหรือขนมก็อร่อยน่ารับประทานไปหมด ที่สำคัญคือประโยชน์ต่อสุขภาพก็เยอะอีกด้วยล่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
กองโภชนาการ กรมอนามัย
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
พืชเกษตร
ประโยชน์ดอทคอม