
การรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (โรงพยาบาลพญาไท)
โดย นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
คุณหยาดทิพย์ อายุ 31 ปี อาชีพเป็นพนักงานรับโทรศัพท์ในบริษัท ลักษณะงานที่ทำอยู่ต้องนั่งติดอยู่กับที่เป็นเวลาต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง ต้องโทรศัพท์ติดต่อกับลูกค้าวันละหลายหน นั่งทำงานอยู่อย่างนี้ทุกวัน เกิดความรู้สึกตึง ๆ เจ็บ ๆ ที่สะบัก คิดว่าน่าจะไม่มีอะไรมาก คงเป็นกล้ามเนื้อยึด ตกบ่ายอาการเริ่มเป็นมากขึ้น คราวนี้ปวดมากขึ้นที่สะบัก ร่วมกับมีอาการปวดร้าวไปที่ก้านคอ บางครั้งก็ปวดลงที่เบ้าตา หางคิ้ว มีอาการปวดและวิงเวียนศีรษะ
พอมีอาการแบบนี้นึกถึงหมอนวดแผนโบราณเป็นอันดับแรก ลองไปนวด อาการที่ปวดคอ ปวดสะบักก็ดีขึ้น หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์อาการปวดก็กลับมาเป็นอีก คราวนี้มีอาการปวดร้าวไปที่ต้นแขน ใจสั่นคล้ายอยากอาเจียน พะอืดพะอมเหมือนโรคกรดไหลย้อน แต่ก็ต้องแข็งใจนั่งทนทำงานต่อไป
ลองทานยาคลายกล้ามเนื้อแล้ว อาการปวดก็ทุเลาลงเล็กน้อย เวลาเป็นก็นอนหลับไม่สนิท ต้องตื่นขึ้นกลางดึกหลายครั้ง เพราะมีอาการปวดสะบัก ทำให้คล้ายเป็นคนอดนอน ง่วงเหงาหาวนอนบ่อย ๆ ตอนกลางวัน นานวันเข้าจากอาการที่นาน ๆ เป็นที คราวนี้เป็นตลอดเวลาโดยเฉพาะเวลานั่งทำงาน พอนั่งทำงานได้เพียงแค่ไม่เกิน 10 นาที ก็มีอาการปวดอีก เป็นอาการปวดแบบน่ารำคาญ มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มีอาการชาตามมือ วิตกกังวล ซึมเศร้า หดหู่ ชีวิตไม่เป็นปกติสุขเลย เห็นท่าจะไม่ดีเลยไปปรึกษาคุณหมอที่โรงพยาบาล ทำการตรวจร่างกาย คุณหมอพบว่า มีลักษณะอาการเข้าได้กับโรค "กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง" หรือที่เรียกว่า "Myofascial Pain Syndrome"

คุณหมอบอกว่าคนที่เป็นโรคปวดกล้ามเนื้อนี้ จะมีลักษณะป็นกลุ่มอาการหลากหลายร่วมกันได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อเป็นแถบ ๆ หรือซีกใดซีกหนึ่ง แบบปวดน้อย ๆ พอทนได้จนเป็นความปวดแบบซ้ำซาก ไปจนปวดมาก ๆ จนแทบจะทนไม่ได้ มีอาการปวดร้าวไปที่อื่น เช่น ศีรษะร้าวลงแขน หรือร้าวลงไปที่กล้ามเนื้อส่วนอื่นที่อยู่ใกล้เคียงได้ พบว่าการตรวจร่างกายจะพบอาการแสดงที่สำคัญคือ บริเวณกล้ามเนื้อที่มีจุดกดเจ็บ และจุดกดแบบกดแล้วมีอาการปวดร้าว ส่วนมากอาการปวดคอ สะบัก มักจะมีจุดกดเจ็บอยู่บริเวณตำแหน่งกระดูกคอ ต่อกับกระดูกสะบัก อยู่ในตำแหน่งกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างกระดูกคอ และกระดูกสะบักด้านบน

โรคนี้เกิดจากสาเหตุได้หลายประการ ได้แก่


หากกล้ามเนื้อไม่มีโอกาสได้คลายตัว หรือไม่ได้รับการรักษา จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งมากขึ้น เป็นเหตุให้เกิดอาการปวด แม้ว่าจะไม่ได้มีการลื่นหกล้ม หรือบาดเจ็บใด ๆ มาก่อนก็ตาม รวมถึงมีอาการเหนื่อยล้า ชาตามปลายมือและเท้าได้เหมือนขาดวิตามินบี วิตามินซีอีกด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากพฤติกรรมที่เราทำเอง จากงานประจำที่ต้องทำซ้ำ ๆ เหมือนเป็นชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว



การรักษาที่ได้ผลดี ต้องทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด เช่น การปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง อันมีสาเหตุมาจากหมอนรองกระดูกคอเสื่อม ต้องทำการรักษาที่ต้นเหตุของโรค มิฉะนั้นการรักษาแต่ปลายเหตุ อาจทำให้อาการปวดกลับมาเป็นซ้ำอีก โดยทั่วไป ได้แก่








ทั้งหมดที่กล่าวมาอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง จะสามารถรักษาได้ขึ้นกับคำว่า "เข้าใจ" และ "ปรับเปลี่ยน" กิจวัตรประจำวันที่บั่นทอนสุขภาพของเราไปทีละเล็กทีละน้อยทุก ๆ วัน
เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
