โดนแมลงสัตว์กัดต่อย ลองใช้สมุนไพรไทยแก้พิษแมลงชนิดต่าง ๆ เพราะเป็นสมุนไพรใกล้ตัว หามาบรรเทาอาการคัน บวมแดง แสบร้อนได้สบาย ๆ
พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย บางทีก็ไม่ได้เจ็บนิด ๆ เหมือนขนาดตัวแมลงเลยล่ะ และหากอยากถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย หลายคนก็เลยนึกถึงสรรพคุณของสมุนไพรขึ้นมา งั้นเรามาดูกันว่าสมุนไพรแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยมีกี่ชนิดกัน
1. ตำลึง
ตำรับยาแพทย์แผนไทยระบุว่า ใบตำลึงมีสรรพคุณบรรเทาอาการแพ้ อักเสบ จากแมลงสัตว์กัดต่อย หรือพิษจากพืชก็ช่วยบรรเทาได้ นอกจากนี้ใบตำลึงยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในการต้านอักเสบและต้านเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย โดยวิธีใช้ก็ไม่ยาก เพียงนำใบสด 1 กำมือ ล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำมาตำให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำเล็กน้อยพอใช้ทาบริเวณที่มีอาการได้
2. หอมแดง
หอมแดงมีสรรพคุณช่วยแก้พิษแมลงกัด ทาแก้อาการปวดบวมตามข้อก็ได้ เพราะช่วยแก้อาการอักเสบต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้หากต้องการใช้หอมแดงแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยให้ใช้หัวหอมแดงประมาณ 1 หัว ขยี้หรือตำให้แหลกแล้วนำมาทาบริเวณที่มีอาการ หรือใช้หัวสด ตำผสมเหล้าขาว พอกบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย
3. กระเทียม
น้ำมันในกระเทียมมีสรรพคุณลดพิษแมลงสัตว์กัดต่อยเช่นกัน โดยวิธีใช้ก็ไม่ยาก เพียงนำกลีบกระเทียมมาทุบพอแหลกให้พอมีน้ำมันกระเทียมออกมา จากนั้นนำกลีบกระเทียมมาทาบริเวณที่โดนแมลงสัตว์กัดต่อย
- สรรพคุณของกระเทียมอย่างเจ๋ง ช่วยลดความเสี่ยงได้หลายโรค
4. เสลดพังพอน
เสลดพังพอนมีสรรพคุณเด่นเรื่องถอนพิษ โดยใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมียล้างให้สะอาด ขยี้เอาแต่น้ำหรือตำใบให้พอหยาบแล้วนำมาพอกบริเวณที่ถูกมดกัดสักครู่ พิษมดตะนอยจะค่อย ๆ ถูกขับออกมา แต่ถ้าหากอาการปวดบวมเป็นมาก ให้ผสมใบเสลดพังพอนกับใบรางจืด โขลกพอแหลก แล้วผสมเหล้าขาวพอท่วม พอกทิ้งไว้ที่แผลถูกมดกัด อาการปวดบวมจะหายได้ในเวลาไม่นาน
- เสลดพังพอน สรรพคุณเด่นเรื่องถอนพิษ ที่ควรมีติดบ้าน
5. ใบพลู
ใบพลูมีน้ำมันหอมระเหยที่ประกอบไปด้วยสารยูจีนอล (Eugenol) และชาวิคอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอักเสบ สามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการแพ้ อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย โดยใช้ใบพลูตำสดผสมเหล้าขาวเล็กน้อย ทาบริเวณที่มีอาการ
6. ผักบุ้งทะเล
ใบและเถาสดของผักบุ้งทะเลใช้บรรเทาพิษแมงกะพรุน แผลคัน อาการปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ โดยนำใบสดมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาน้ำมาทาที่แผล หรือตำแล้วนำไปพอกที่แผล ซึ่งงานวิจัยระบุว่า ผักบุ้งทะเลมีฤทธิ์ต้านอักเสบ และมีปฏิกิริยากับสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น ฮีสตามีน ซีโรโทนิน และไคนิน เป็นต้น
สมุนไพรเหล่านี้เป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่หาได้ง่าย ๆ ใครโดนพิษแมลงตัวไหนก็ลองบรรเทาอาการคัน ปวด บวมแดง ดูนะคะ แต่หากโดนแมลงสัตว์กัดต่อยแล้วมีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ หรือมีอาการบวมมาก เคสนี้พบแพทย์ให้เร็วที่สุดจะปลอดภัยกว่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊กกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. ตำลึง
2. หอมแดง
หอมแดงมีสรรพคุณช่วยแก้พิษแมลงกัด ทาแก้อาการปวดบวมตามข้อก็ได้ เพราะช่วยแก้อาการอักเสบต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้หากต้องการใช้หอมแดงแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยให้ใช้หัวหอมแดงประมาณ 1 หัว ขยี้หรือตำให้แหลกแล้วนำมาทาบริเวณที่มีอาการ หรือใช้หัวสด ตำผสมเหล้าขาว พอกบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย
3. กระเทียม
น้ำมันในกระเทียมมีสรรพคุณลดพิษแมลงสัตว์กัดต่อยเช่นกัน โดยวิธีใช้ก็ไม่ยาก เพียงนำกลีบกระเทียมมาทุบพอแหลกให้พอมีน้ำมันกระเทียมออกมา จากนั้นนำกลีบกระเทียมมาทาบริเวณที่โดนแมลงสัตว์กัดต่อย
- สรรพคุณของกระเทียมอย่างเจ๋ง ช่วยลดความเสี่ยงได้หลายโรค
4. เสลดพังพอน
เสลดพังพอนมีสรรพคุณเด่นเรื่องถอนพิษ โดยใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมียล้างให้สะอาด ขยี้เอาแต่น้ำหรือตำใบให้พอหยาบแล้วนำมาพอกบริเวณที่ถูกมดกัดสักครู่ พิษมดตะนอยจะค่อย ๆ ถูกขับออกมา แต่ถ้าหากอาการปวดบวมเป็นมาก ให้ผสมใบเสลดพังพอนกับใบรางจืด โขลกพอแหลก แล้วผสมเหล้าขาวพอท่วม พอกทิ้งไว้ที่แผลถูกมดกัด อาการปวดบวมจะหายได้ในเวลาไม่นาน
- เสลดพังพอน สรรพคุณเด่นเรื่องถอนพิษ ที่ควรมีติดบ้าน
5. ใบพลู
ใบพลูมีน้ำมันหอมระเหยที่ประกอบไปด้วยสารยูจีนอล (Eugenol) และชาวิคอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอักเสบ สามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการแพ้ อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย โดยใช้ใบพลูตำสดผสมเหล้าขาวเล็กน้อย ทาบริเวณที่มีอาการ
6. ผักบุ้งทะเล
ใบและเถาสดของผักบุ้งทะเลใช้บรรเทาพิษแมงกะพรุน แผลคัน อาการปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ โดยนำใบสดมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาน้ำมาทาที่แผล หรือตำแล้วนำไปพอกที่แผล ซึ่งงานวิจัยระบุว่า ผักบุ้งทะเลมีฤทธิ์ต้านอักเสบ และมีปฏิกิริยากับสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น ฮีสตามีน ซีโรโทนิน และไคนิน เป็นต้น
สมุนไพรเหล่านี้เป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่หาได้ง่าย ๆ ใครโดนพิษแมลงตัวไหนก็ลองบรรเทาอาการคัน ปวด บวมแดง ดูนะคะ แต่หากโดนแมลงสัตว์กัดต่อยแล้วมีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ หรือมีอาการบวมมาก เคสนี้พบแพทย์ให้เร็วที่สุดจะปลอดภัยกว่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊กกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่