แพทย์เตือนเลี่ยงกินเมนูหมูดิบ เสี่ยงโรคหูดับ หรือ ไข้หูดับ ติดเชื้อส่อตัดขาหรือเสียชีวิต เผยสถิติปี 62 ผ่านไป 3 เดือน ดับเพราะติดเชื้อแล้ว 10 ศพ
จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้หูดับปี 2561
มีผู้ป่วยทั้งหมด 338 ราย เสียชีวิต 29 ราย เดือนที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ เดือนพฤษภาคม จำนวน 50 ราย รองลงมาคือ เดือนเมษายน
จำนวน 45 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หูดับมากที่สุดคือ เดือนเมษายน จำนวน 5
ราย สำหรับปี 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 28 มีนาคม
มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้หูดับแล้ว 50 ราย เสียชีวิต 10 ราย
ส่วนกรณีหนุ่มสุโขทัยที่แชร์เรื่องราวที่กินหลู้ดิบ
ก่อนจะติดเชื้อในกระแสเลือดจนต้องตัดขา เพราะโรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
สเตรปโตค็อกคัส ซูอิส ติดต่อได้ 2 ทาง คือ การสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ
ติดต่อสู่คนทางบาดแผล หรือทางเยื่อบุตา อีกสาเหตุคือ
การบริโภคเนื้อหมูปรุงดิบที่มีเชื้ออยู่ โดยผู้ป่วยจะมีอาการหลังรับประทาน
3-5 วัน จะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้
อาเจียน คอแข็ง หูหนวก ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ขอให้รีบพบแพทย์ทันที
และบอกประวัติการกินหมูดิบจะช่วยลดอัตราการหูหนวกและการเสียชีวิตได้
สำหรับวิธีการป้องกันโรคคือ กินหมูสุกเท่านั้น โดยปรุงเนื้อหมูให้สุกทั่วถึงจนเนื้อไม่มีสีแดง ไม่เติมหรือใส่เลือดดิบในอาหาร และควรเลือกซื้อเนื้อหมูที่ไม่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากโรงฆ่าสัตว์ ส่วนผู้ที่มีโอกาสสัมผัสกับหมูที่ติดโรค ต้องสวมเสื้อที่รัดกุมระหว่างทำงาน หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด และล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ตีสิบเดย์ At Ten Day
วันที่ 10 เมษายน 2562 เดลินิวส์ รายงานว่า นพ.สุวรรณชัย
วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ออกมาเตือนในช่วงใกล้เทศกาลสงกรานต์
ที่ประชาชนเตรียมเดินทางกลับภูมิลำเนา
ซึ่งอาจมีการจัดเลี้ยงหรือทำอาหารด้วยเนื้อหมูดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ลาบ
หลู้หมูดิบ ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านใส่เลือดหมูดิบผสม หรือการปิ้งย่างไม่สุก
ซึ่งเสี่ยงติดเชื้อโรคไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส ซูอิส
และอาจทำให้หูหนวกถาวรหรือเสียชีวิตได้
สำหรับวิธีการป้องกันโรคคือ กินหมูสุกเท่านั้น โดยปรุงเนื้อหมูให้สุกทั่วถึงจนเนื้อไม่มีสีแดง ไม่เติมหรือใส่เลือดดิบในอาหาร และควรเลือกซื้อเนื้อหมูที่ไม่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากโรงฆ่าสัตว์ ส่วนผู้ที่มีโอกาสสัมผัสกับหมูที่ติดโรค ต้องสวมเสื้อที่รัดกุมระหว่างทำงาน หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด และล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก