ถุงน้ำรังไข่แตก หรือซีสต์แตก เป็นภัยเงียบที่สาว ๆ ทุกวัยต้องระวังให้ดี ยิ่งถ้าปวดท้องน้อยเฉียบพลันมาก ๆ รีบพบแพทย์เลย
เรื่องภายในของสาว ๆ เป็นเรื่องซับซ้อน ที่ต้องคอยสังเกตอาการผิดปกติของตัวเองให้ดี ยิ่งถ้ามีอาการปวดท้องน้อยหนักมากแบบไม่มีสาเหตุ ก่อนจะลามไปปวดทั่วทั้งท้อง พร้อมอาการผิดปกติอื่น ๆ ตามมา เคสแบบนี้อาจเป็นอาการถุงน้ำรังไข่แตก (Ruptured Ovarian Cyst) หรือซีสต์แตก ก็เป็นได้
ถุงน้ำรังไข่แตก สาเหตุคืออะไร
ก่อนอื่นเราควรมาทำความรู้จักถุงน้ำรังไข่กันก่อน โดยถุงน้ำรังไข่หรือซีสต์รังไข่ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ฟังก์ชันนัล ซีสต์ (Functional Cyst)
ถุงน้ำที่เกิดจากการทำงานตามปกติของรังไข่ โดยจะทำหน้าที่สร้างไข่เพื่อเป็นเซลล์สืบพันธุ์ในเพศหญิง โดยในช่วงหนึ่งของรอบเดือนถุงน้ำในรังไข่จะโตขึ้นแล้วก็แตก เพื่อให้ไข่ไหลออกมารอการปฏิสนธิ แต่หลังจากนั้นซีสต์หรือถุงน้ำดังกล่าวจะยุบตัวลงไปเองโดยอัตโนมัติ
2. เนื้องอกในถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Tumor หรือ Ovarian Cyst)
ในบางคนอาจเจอเนื้องอกถุงน้ำรังไข่ที่มีของเหลวอยู่ภายใน โดยเนื้องอกที่เกิดขึ้นอาจเป็นเนื้องอกที่ไม่อันตราย หรือมีอันตรายก็ได้ ซึ่งหากเจอเนื้องอกในรังไข่ก็จำเป็นต้องให้สูตินรีแพทย์ตรวจเช็กอีกที
3. ถุงน้ำที่คล้ายเนื้องอก (Tumor like condition)
ถุงน้ำชนิดนี้เป็นถุงน้ำที่เกิดจากเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ โดยจะพบได้ที่รังไข่ และเมื่อมีรอบเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะมีเลือดซึมออกมาสะสมในถุงน้ำเรื่อย ๆ จนเป็นเลือดเก่า ๆ ข้น ๆ คล้ายสีช็อกโกแลต หรือที่รู้จักกันในชื่อ ช็อกโกแลตซีสต์ นั่นเอง
จะเห็นได้ว่าถุงน้ำในรังไข่เป็นกระบวนการปกติของการปฏิสนธิ และอาจเกิดจากความผิดปกติของตัวรังไข่เอง ที่อาจเกิดการแบ่งตัวของเซลล์บริเวณรังไข่ที่มีการพัฒนาจนกลายเป็นถุงน้ำรังไข่ และอาจเกิดจากการยุบตัวของผิวเนื้อจนทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ แต่ทั้งนี้การที่ถุงน้ำรังไข่แตกหรือซีสต์แตกแบบผิดปกติ อาจเกิดได้จากสาเหตุ ดังนี้
* การขยับตัวแรง ๆ หรือการออกกำลังกายหักโหม จนทำให้เกิดการบิดเกลียวของปีกมดลูก
* การเคลื่อนไหวร่างกายในท่าไม่เหมาะสม ทำให้ปีกมดลูกเกิดการบิดเกลียว หรือถุงน้ำรังไข่บิดขั้ว
* ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก
1. ฟังก์ชันนัล ซีสต์ (Functional Cyst)
ถุงน้ำที่เกิดจากการทำงานตามปกติของรังไข่ โดยจะทำหน้าที่สร้างไข่เพื่อเป็นเซลล์สืบพันธุ์ในเพศหญิง โดยในช่วงหนึ่งของรอบเดือนถุงน้ำในรังไข่จะโตขึ้นแล้วก็แตก เพื่อให้ไข่ไหลออกมารอการปฏิสนธิ แต่หลังจากนั้นซีสต์หรือถุงน้ำดังกล่าวจะยุบตัวลงไปเองโดยอัตโนมัติ
2. เนื้องอกในถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Tumor หรือ Ovarian Cyst)
ในบางคนอาจเจอเนื้องอกถุงน้ำรังไข่ที่มีของเหลวอยู่ภายใน โดยเนื้องอกที่เกิดขึ้นอาจเป็นเนื้องอกที่ไม่อันตราย หรือมีอันตรายก็ได้ ซึ่งหากเจอเนื้องอกในรังไข่ก็จำเป็นต้องให้สูตินรีแพทย์ตรวจเช็กอีกที
3. ถุงน้ำที่คล้ายเนื้องอก (Tumor like condition)
ถุงน้ำชนิดนี้เป็นถุงน้ำที่เกิดจากเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ โดยจะพบได้ที่รังไข่ และเมื่อมีรอบเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะมีเลือดซึมออกมาสะสมในถุงน้ำเรื่อย ๆ จนเป็นเลือดเก่า ๆ ข้น ๆ คล้ายสีช็อกโกแลต หรือที่รู้จักกันในชื่อ ช็อกโกแลตซีสต์ นั่นเอง
จะเห็นได้ว่าถุงน้ำในรังไข่เป็นกระบวนการปกติของการปฏิสนธิ และอาจเกิดจากความผิดปกติของตัวรังไข่เอง ที่อาจเกิดการแบ่งตัวของเซลล์บริเวณรังไข่ที่มีการพัฒนาจนกลายเป็นถุงน้ำรังไข่ และอาจเกิดจากการยุบตัวของผิวเนื้อจนทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ แต่ทั้งนี้การที่ถุงน้ำรังไข่แตกหรือซีสต์แตกแบบผิดปกติ อาจเกิดได้จากสาเหตุ ดังนี้
* การขยับตัวแรง ๆ หรือการออกกำลังกายหักโหม จนทำให้เกิดการบิดเกลียวของปีกมดลูก
* การเคลื่อนไหวร่างกายในท่าไม่เหมาะสม ทำให้ปีกมดลูกเกิดการบิดเกลียว หรือถุงน้ำรังไข่บิดขั้ว
* ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก
สังเกตอย่างไรว่ามีถุงน้ำในรังไข่
ผู้หญิงที่มีซีสต์หรือถุงน้ำในรังไข่ จะมีอาการแสดงให้เห็น เช่น
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจมามาก มาน้อย มาไม่ตรงรอบ
- ปวดประจำเดือนมากผิดปกติ และปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ
- ปวดหน่วงท้องน้อย อาจปวดแบบแปล๊บ ๆ เป็น ๆ หาย ๆ หรือปวดตื้อ ๆ นาน ๆ ในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน
- พุงป่อง ท้องโต รอบเอวหนาขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งที่รับประทานอาหารเท่าเดิม
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- ท้องผูก ท้องอืด
- คลำเจอก้อนที่หน้าท้อง
- ปวดหลังส่วนล่างและบริเวณต้นขา
- รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
ถุงน้ำรังไข่แตก อาการเป็นยังไง
แม้จะเป็นภัยเงียบที่อยู่ภายในร่างกาย แต่อาการถุงน้ำรังไข่แตก หรือซีสต์แตก อาการสังเกตจะมีตามนี้เลย
1. ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน บริเวณข้างใดข้างหนึ่งหรือตรงบริเวณปีกมดลูก
2. คลำได้ก้อนถุงน้ำบริเวณหน้าท้อง กดเจ็บ ในรายที่ผอมมาก ๆ
3. ตรวจพบเชิงกรานโป่งนูนเนื่องจากมีเลือดคั่งอยู่
4. มีอาการปวดทั่วทั้งท้อง ในกรณีที่มีเลือดออกมาก ร่วมกับอาการเยื่อบุช่องท้องอักเสบ
5. ความดันโลหิตต่ำ ซีด เนื่องจากเสียเลือด
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจมามาก มาน้อย มาไม่ตรงรอบ
- ปวดประจำเดือนมากผิดปกติ และปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ
- ปวดหน่วงท้องน้อย อาจปวดแบบแปล๊บ ๆ เป็น ๆ หาย ๆ หรือปวดตื้อ ๆ นาน ๆ ในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน
- พุงป่อง ท้องโต รอบเอวหนาขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งที่รับประทานอาหารเท่าเดิม
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- ท้องผูก ท้องอืด
- คลำเจอก้อนที่หน้าท้อง
- ปวดหลังส่วนล่างและบริเวณต้นขา
- รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
ถุงน้ำรังไข่แตก อาการเป็นยังไง
แม้จะเป็นภัยเงียบที่อยู่ภายในร่างกาย แต่อาการถุงน้ำรังไข่แตก หรือซีสต์แตก อาการสังเกตจะมีตามนี้เลย
1. ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน บริเวณข้างใดข้างหนึ่งหรือตรงบริเวณปีกมดลูก
2. คลำได้ก้อนถุงน้ำบริเวณหน้าท้อง กดเจ็บ ในรายที่ผอมมาก ๆ
3. ตรวจพบเชิงกรานโป่งนูนเนื่องจากมีเลือดคั่งอยู่
4. มีอาการปวดทั่วทั้งท้อง ในกรณีที่มีเลือดออกมาก ร่วมกับอาการเยื่อบุช่องท้องอักเสบ
5. ความดันโลหิตต่ำ ซีด เนื่องจากเสียเลือด
ถุงน้ำรังไข่แตก อันตรายไหม
ภาวะมีเลือดออกในช่องท้อง ไม่บอกก็รู้ว่าอันตรายพอสมควร และหากถุงน้ำรังไข่แตก และทำให้เส้นเลือดฉีกขาดจนตกเลือดในช่องท้อง เคสนี้ก็เสี่ยงต่ออันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะหากทำการรักษาไม่ทัน
ถุงน้ำรังไข่แตก รักษาได้ไหม
ซีสต์แตกสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเอาซีสต์ออก และหากถุงน้ำรังไข่แตกแบบมีเลือดออกในช่องท้องด้วย ก็ต้องทำการผ่าตัดโดยด่วนเพื่อไม่ให้เลือดคั่งในช่องท้องและลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ
ทว่าในกรณีที่ซีสต์แตกไม่มาก ตรวจแล้วไม่พบว่าอันตราย แพทย์อาจให้ฮอร์โมนเพื่อปรับการทำงานของรังไข่ และอาจให้พักดูอาการในโรงพยาบาลโดยไม่ต้องทำการผ่าตัดก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่อาการของถุงน้ำในรังไข่ของแต่ละคนด้วย
ซีสต์แตกหรือถุงน้ำรังไข่แตก ก็เป็นภาวะอันตรายสำหรับสาว ๆ เหมือนกันนะคะ ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องน้อยมาก ปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็อย่านิ่งนอนใจเลยดีกว่า
ขอบคุณข้อมูลจาก
รามา แชนแนล
mutualselfcare.org
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โรงพยาบาลพญาไท
ภาวะมีเลือดออกในช่องท้อง ไม่บอกก็รู้ว่าอันตรายพอสมควร และหากถุงน้ำรังไข่แตก และทำให้เส้นเลือดฉีกขาดจนตกเลือดในช่องท้อง เคสนี้ก็เสี่ยงต่ออันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะหากทำการรักษาไม่ทัน
ถุงน้ำรังไข่แตก รักษาได้ไหม
ซีสต์แตกสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเอาซีสต์ออก และหากถุงน้ำรังไข่แตกแบบมีเลือดออกในช่องท้องด้วย ก็ต้องทำการผ่าตัดโดยด่วนเพื่อไม่ให้เลือดคั่งในช่องท้องและลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ
ทว่าในกรณีที่ซีสต์แตกไม่มาก ตรวจแล้วไม่พบว่าอันตราย แพทย์อาจให้ฮอร์โมนเพื่อปรับการทำงานของรังไข่ และอาจให้พักดูอาการในโรงพยาบาลโดยไม่ต้องทำการผ่าตัดก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่อาการของถุงน้ำในรังไข่ของแต่ละคนด้วย
ซีสต์แตกหรือถุงน้ำรังไข่แตก ก็เป็นภาวะอันตรายสำหรับสาว ๆ เหมือนกันนะคะ ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องน้อยมาก ปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็อย่านิ่งนอนใจเลยดีกว่า
ขอบคุณข้อมูลจาก
รามา แชนแนล
mutualselfcare.org
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โรงพยาบาลพญาไท