มีผื่นขึ้นซ้ำ ๆ บนใบหน้า หัวคิ้ว หลังหู ลักษณะคล้ายสิว แดง คัน อาจต้องระวังไปถึงโรคผิวหนังที่มากกว่าสิว อย่างโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน หรือเซ็บเดิร์ม
บางทีที่เราคิดว่าหน้าเป็นสิวขึ้นซ้ำ ๆ ไม่ยอมหาย รักษาสิวยังไงก็ไม่ดีขึ้น จริง ๆ แล้วผื่นที่ขึ้นหน้าหรือตามตัวเราอยู่อาจไม่ใช่สิวอย่างที่คิดก็ได้นะ เพราะอาการนี้ยังบอกถึงโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยอย่างโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน หรือที่อาจจะคุ้นชื่อกันว่าโรคเซ็บเดิร์ม เรามาลองทำความรู้จักโรคนี้กัน
โรคผื่นแพ้ต่อมไขมันหรือโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยพอสมควร โดยจัดเป็นภาวะผิวหนังอักเสบจากต่อมไขมันในชั้นผิวหนัง ทั้งนี้โรคเซ็บเดิร์มสามารถเจอได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด-2 เดือน และเด็กวัยรุ่นที่ร่างกายจะสร้างต่อมไขมันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามโรคผื่นแพ้ต่อมไขมันยังเป็นโรคเรื้อรัง ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้อีกด้วย
โรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน เซ็บเดิร์ม เกิดจากอะไร
สาเหตุของโรคเซ็บเดิร์มไม่ได้เกิดจากการแพ้สัมผัสจากภายนอก ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่จากข้อมูลทางการแพทย์สันนิษฐานได้ว่าอาจจะเกี่ยวกับปัจจัยดังต่อไปนี้
- ฮอร์โมนที่แปรปรวน
- พันธุกรรม
- ความเครียดทางจิตใจ
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ อดนอน
- การรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วน
- การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาจิตเวช
- สภาพอากาศร้อน และสภาพอากาศหนาว เช่น การออกแดดจัด ๆ การอยู่ในที่อากาศเย็น อากาศแห้ง
- การติดเชื้อในร่างกาย
- เคยผ่าตัด หรือเจ็บป่วยรุนแรง
- โรคทางสมอง
- โรคทางระบบลำไส้ เช่น ลำไส้รั่ว
- โรคอื่น ๆ เช่น HIV พาร์กินสัน เป็นต้น
โรคเซ็บเดิร์ม อาการเป็นอย่างไร
ผื่นของโรคเซ็บเดิร์มจะคล้ายกับสิว หรือผื่นแพ้อื่น ๆ อย่างโรคสะเก็ดเงิน หรือโรคกลาก แต่เราสามารถแยกโรคได้ ดังนี้
* มักจะเป็นผื่นในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น หัวคิ้ว ร่องแก้ม ข้างจมูก หลังใบหู (บริเวณไรผม) หลังส่วนบน ศีรษะ หรืออาจพบผื่นได้ตามใต้ร่มผ้า อวัยวะเพศ
* ผื่นมีลักษณะสีแดงจาง ๆ หรือมีลักษณะเป็นขุยละเอียดสีขาว ๆ หรือขุยสีเหลืองอ่อน ๆ ที่มีความมันผสมอยู่
* ผื่นนั้นอาจจะคันหรือไม่คันก็ได้
* เป็นผื่นที่ไม่มีหัวหนอง หัวดำ หรือหัวต่าง ๆ เหมือนสิว
สาเหตุของโรคเซ็บเดิร์มไม่ได้เกิดจากการแพ้สัมผัสจากภายนอก ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่จากข้อมูลทางการแพทย์สันนิษฐานได้ว่าอาจจะเกี่ยวกับปัจจัยดังต่อไปนี้
- ฮอร์โมนที่แปรปรวน
- พันธุกรรม
- ความเครียดทางจิตใจ
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ อดนอน
- การรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วน
- การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาจิตเวช
- สภาพอากาศร้อน และสภาพอากาศหนาว เช่น การออกแดดจัด ๆ การอยู่ในที่อากาศเย็น อากาศแห้ง
- การติดเชื้อในร่างกาย
- เคยผ่าตัด หรือเจ็บป่วยรุนแรง
- โรคทางสมอง
- โรคทางระบบลำไส้ เช่น ลำไส้รั่ว
- โรคอื่น ๆ เช่น HIV พาร์กินสัน เป็นต้น
โรคเซ็บเดิร์ม อาการเป็นอย่างไร
ผื่นของโรคเซ็บเดิร์มจะคล้ายกับสิว หรือผื่นแพ้อื่น ๆ อย่างโรคสะเก็ดเงิน หรือโรคกลาก แต่เราสามารถแยกโรคได้ ดังนี้
* มักจะเป็นผื่นในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น หัวคิ้ว ร่องแก้ม ข้างจมูก หลังใบหู (บริเวณไรผม) หลังส่วนบน ศีรษะ หรืออาจพบผื่นได้ตามใต้ร่มผ้า อวัยวะเพศ
* ผื่นมีลักษณะสีแดงจาง ๆ หรือมีลักษณะเป็นขุยละเอียดสีขาว ๆ หรือขุยสีเหลืองอ่อน ๆ ที่มีความมันผสมอยู่
* ผื่นนั้นอาจจะคันหรือไม่คันก็ได้
* เป็นผื่นที่ไม่มีหัวหนอง หัวดำ หรือหัวต่าง ๆ เหมือนสิว
อย่างไรก็ตาม อาการของโรคเซ็บเดิร์มจะคล้ายกับอาการของโรคผิวหนังหลาย ๆ โรค โดยเฉพาะโรคผื่นแพ้สัมผัสที่เกิดจากการแพ้สิ่งกระตุ้นภายนอก เช่น แพ้ครีม แพ้ยา แพ้แชมพู ยาสีฟัน เป็นต้น นอกจากนี้โรคเซ็บเดิร์มยังอาจสัมผัสกับการเกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้ด้วย ดังนั้นหากมีอาการหน้าเป็นผื่น มีผื่นขึ้นผิดปกติก็ลองไปปรึกษาแพทย์ผิวหนังก่อนจะดีกว่า
ผื่นแพ้ผิวหนัง เซ็บเดิร์ม รักษาอย่างไร
แม้โรคนี้จะไม่ได้ติดต่อ แต่ก็รักษาให้หายขาดไม่ได้ ทำได้เพียงควบคุมผื่นให้ไม่เห่อ วิธีก็ตามนี้เลยค่ะ
* พยายามอย่าเครียด เพราะเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นกำเริบ
* พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้แข็งแรง
* หลีกเลี่ยงแดดจัด ๆ หรือที่ที่มีอากาศแห้ง เช่น ห้องแอร์
* งดใช้เครื่องสำอางทุกชนิด เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดผื่นเซ็บเดิร์มได้
* หลีกเลี่ยงการใช้ครีมหรือเครื่องสำอางที่มีวิตามิน A และ AHA
* ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของ Zinc Pyrithione, แชมพูคีโตโคนาโซล (ketoconazole) หรือโฟม โลชั่น ที่มีส่วนผสมของ Salicylic acid และ Coal Tar โดยเฉพาะผู้ชายที่ต้องการโกนหนวดเครา อาจใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแทนน้ำยาโกนหนวด
* รักษาด้วยยาสเตียรอยด์อ่อน ๆ หรือยาทาฆ่าเชื้อรา ซึ่งควรให้แพทย์หรือเภสัชกรเป็นผู้สั่งยาให้
แม้โรคเซ็บเดิร์ม หรือผื่นแพ้ต่อมไขมันจะรักษาไม่หายขาด แต่เราก็สามารถควบคุมไม่ให้อาการกำเริบได้ ทั้งนี้หากเป็นเซ็บเดิร์มหรือสงสัยว่าตัวเองเป็นเซ็บเดิร์ม ก็ควรไปพบแพทย์ผิวหนังอย่างที่บอก และหมั่นออกกำลังกาย ดื่มน้ำเยอะ ๆ พักผ่อนให้เพียงพอด้วยค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
โรงพยาบาลผิวหนังอโศก
โรงพยาบาลสิริโรจน์
โรงพยาบาลปิยะเวท
สถาบันโรคผิวหนัง
แม้โรคนี้จะไม่ได้ติดต่อ แต่ก็รักษาให้หายขาดไม่ได้ ทำได้เพียงควบคุมผื่นให้ไม่เห่อ วิธีก็ตามนี้เลยค่ะ
* พยายามอย่าเครียด เพราะเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นกำเริบ
* พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้แข็งแรง
* หลีกเลี่ยงแดดจัด ๆ หรือที่ที่มีอากาศแห้ง เช่น ห้องแอร์
* งดใช้เครื่องสำอางทุกชนิด เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดผื่นเซ็บเดิร์มได้
* หลีกเลี่ยงการใช้ครีมหรือเครื่องสำอางที่มีวิตามิน A และ AHA
* ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของ Zinc Pyrithione, แชมพูคีโตโคนาโซล (ketoconazole) หรือโฟม โลชั่น ที่มีส่วนผสมของ Salicylic acid และ Coal Tar โดยเฉพาะผู้ชายที่ต้องการโกนหนวดเครา อาจใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแทนน้ำยาโกนหนวด
* รักษาด้วยยาสเตียรอยด์อ่อน ๆ หรือยาทาฆ่าเชื้อรา ซึ่งควรให้แพทย์หรือเภสัชกรเป็นผู้สั่งยาให้
แม้โรคเซ็บเดิร์ม หรือผื่นแพ้ต่อมไขมันจะรักษาไม่หายขาด แต่เราก็สามารถควบคุมไม่ให้อาการกำเริบได้ ทั้งนี้หากเป็นเซ็บเดิร์มหรือสงสัยว่าตัวเองเป็นเซ็บเดิร์ม ก็ควรไปพบแพทย์ผิวหนังอย่างที่บอก และหมั่นออกกำลังกาย ดื่มน้ำเยอะ ๆ พักผ่อนให้เพียงพอด้วยค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
โรงพยาบาลผิวหนังอโศก
โรงพยาบาลสิริโรจน์
โรงพยาบาลปิยะเวท
สถาบันโรคผิวหนัง