อาการหัวเราะทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รู้สึกขำ หรือร้องไห้ออกมาทั้งที่ก็ไม่ได้เศร้า แบบนี้เรียกภาวะ PBA ที่อาจไม่ใช่อาการทางจิต แต่อาจเกิดจากโรคทางกายที่ผู้ป่วยเป็น มาทำความรู้จักกันว่า PBA คืออะไร
ภาพจาก Warner Bros. Entertainment
สำหรับคนที่ได้ดู Joker มา และยังคงหลอนบวกกับสงสัยในพฤติกรรมหัวเราะแบบคุมไม่อยู่ หยุดไม่ได้ของโจ๊กเกอร์ วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักโรคที่โจ๊กเกอร์เป็นกันค่ะ โดยอาการหัวเราะไม่หยุดหรืออยู่ ๆ ก็ร้องไห้ หยุดก็ไม่ได้ ทางแพทย์เรียกว่า PBA หรือชื่อเต็ม ๆ คือ Pseudobulbar affect ภาวะควบคุมการหัวเราะหรือร้องไห้ไม่ได้ ซึ่งจะว่าเป็นอาการทางจิตซะทีเดียวก็ไม่ใช่ แต่จะเกิดจากอะไรเรามาทำความเข้าใจกัน
PBA คืออะไร
ภาพจาก Warner Bros. Entertainment
PBA เกิดจากอะไร
สาเหตุของโรค PBA เชื่อกันว่าเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงของโรค ดังนี้
- การบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่ศีรษะ ซึ่งอาจกระทบกับการทำงานของสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex)
- โรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน (Stroke)
- โรคความจำเสื่อมและโรคพาร์กินสัน
- เนื้องอกในสมองบางชนิด
- โรคปลอกประสาทเสื่อม (Multiple Sclerosis)
PBA อาการเป็นยังไง
* ร้องไห้หรือหัวเราะอย่างรุนแรง และควบคุมไม่ได้
* การร้องไห้หรือหัวเราะนั้นไม่เข้ากับสถานการณ์ และส่วนมากผู้ป่วยไม่ได้รู้สึกอย่างที่แสดงออกจริง ๆ
* การแสดงสีหน้าไม่ตรงกับอารมณ์
* อาการเป็นอย่างยาวนานเกินกว่าที่คาดไว้
* มีอาการได้หลายครั้งต่อวัน
ภาพจาก Warner Bros. Entertainment
โรค PBA หรือ Pseudobulbar affect คือ ภาวะการแสดงอารมณ์ที่ควบคุมไม่ได้ โดยผู้ป่วยโรคนี้จะแสดงอาการได้ 2 แบบ คือ แบบร้องไห้ (Pathological crying) และแบบหัวเราะ (Pathological laughing) ทั้งนี้การแสดงอารมณ์ไม่ว่าจะร้องไห้หรือหัวเราะจะเกิดขึ้นโดยฉับพลัน ไม่สามารถควบคุมได้ กล่าวคือผู้ป่วยจะห้ามไม่ให้ตัวเองหัวเราะหรือร้องไห้ไม่ได้ ทั้งที่ก็ไม่ได้รู้สึกเศร้าหรือรู้สึกขำอะไรเลยก็ตาม ภาวะนี้จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
ภาพจาก Warner Bros. Entertainment
สาเหตุของโรค PBA เชื่อกันว่าเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงของโรค ดังนี้
- การบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่ศีรษะ ซึ่งอาจกระทบกับการทำงานของสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex)
- โรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน (Stroke)
- โรคความจำเสื่อมและโรคพาร์กินสัน
- เนื้องอกในสมองบางชนิด
- โรคปลอกประสาทเสื่อม (Multiple Sclerosis)
PBA อาการเป็นยังไง
* ร้องไห้หรือหัวเราะอย่างรุนแรง และควบคุมไม่ได้
* การร้องไห้หรือหัวเราะนั้นไม่เข้ากับสถานการณ์ และส่วนมากผู้ป่วยไม่ได้รู้สึกอย่างที่แสดงออกจริง ๆ
* การแสดงสีหน้าไม่ตรงกับอารมณ์
* อาการเป็นอย่างยาวนานเกินกว่าที่คาดไว้
* มีอาการได้หลายครั้งต่อวัน
อย่างไรก็ตาม จากสถิติทางการแพทย์พบว่า ภาวะ PBA แบบร้องไห้พบได้บ่อยกว่าแบบหัวเราะ และในบางคนอาจเจอภาวะ PBA ทั้งแบบร้องไห้และหัวเราะเลยก็ได้ แต่เคสนี้ก็พบได้ไม่บ่อยนัก
PBA รักษาอย่างไร
การรักษาภาวะ PBA สามารถทำได้ ดังนี้
1. พบแพทย์และอธิบายอาการกับแพทย์อย่างละเอียด เพื่อที่แพทย์จะได้แยกโรคระหว่าง PBA กับโรคทางอารมณ์อื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า หรือไบโพลาร์ได้
2. ทำไดอารี่บันทึกช่วงเวลาที่มีอาการ
3. รักษาด้วยยา ที่อาจช่วยให้อาการ PBA บรรเทาลงได้ จนผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ป่วย PBA ดูแลตัวเองอย่างไรดี
ภาวะ PBA เป็นภาวะความผิดปกติที่สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตให้ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยหลายคนจึงมักจะเก็บตัวเงียบ เพราะไม่อยากไปร้องไห้ หรืออยู่ ๆ ก็หัวเราะในที่สาธารณะ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกแปลกแยก ไม่อยากเข้าสังคม และอาจนำมาซึ่งปัญหาทางด้านอารมณ์ได้ ดังนั้นหากป่วย PBA ควรดูแลตัวเอง ดังนี้
การรักษาภาวะ PBA สามารถทำได้ ดังนี้
1. พบแพทย์และอธิบายอาการกับแพทย์อย่างละเอียด เพื่อที่แพทย์จะได้แยกโรคระหว่าง PBA กับโรคทางอารมณ์อื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า หรือไบโพลาร์ได้
2. ทำไดอารี่บันทึกช่วงเวลาที่มีอาการ
3. รักษาด้วยยา ที่อาจช่วยให้อาการ PBA บรรเทาลงได้ จนผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ป่วย PBA ดูแลตัวเองอย่างไรดี
ภาวะ PBA เป็นภาวะความผิดปกติที่สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตให้ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยหลายคนจึงมักจะเก็บตัวเงียบ เพราะไม่อยากไปร้องไห้ หรืออยู่ ๆ ก็หัวเราะในที่สาธารณะ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกแปลกแยก ไม่อยากเข้าสังคม และอาจนำมาซึ่งปัญหาทางด้านอารมณ์ได้ ดังนั้นหากป่วย PBA ควรดูแลตัวเอง ดังนี้
1. พูดคุยกับคนในครอบครัวให้เข้าใจภาวะ PBA ที่เราเป็น
2. เมื่อมีอาการ สามารถใช้วิธีปรับเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อลดอาการได้ เช่น จากนั่งอยู่ก็ให้ลุกเดิน เดินอยู่ก็ให้นั่ง เป็นต้น
3. ฝึกหายใจเข้า-ออก อย่างช้า ๆ
4. ฝึกการผ่อนคลายในทุก ๆ วัน
5. พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และพยายามอย่าขาดยา
PBA ต่างจากไบโพลาร์ หรือโรคซึมเศร้า อย่างไร
2. เมื่อมีอาการ สามารถใช้วิธีปรับเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อลดอาการได้ เช่น จากนั่งอยู่ก็ให้ลุกเดิน เดินอยู่ก็ให้นั่ง เป็นต้น
3. ฝึกหายใจเข้า-ออก อย่างช้า ๆ
4. ฝึกการผ่อนคลายในทุก ๆ วัน
5. พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และพยายามอย่าขาดยา
PBA ต่างจากไบโพลาร์ หรือโรคซึมเศร้า อย่างไร
แม้อาการ PBA จะเหมือนผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต แต่อย่างที่บอกว่า PBA ส่วนใหญ่จะเกิดจากความผิดปกติของการทำงานของสมองส่วนหน้า ที่ทำให้ผู้ป่วยควบคุมการหัวเราะหรือร้องได้ไม่ได้ ซึ่งจะต่างจากโรคซึมเศร้าหรือไบโพลาร์ ที่เกิดจากสารเคมีในสมองเปลี่ยนไป และผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหรือไบโพลาร์มักจะแสดงอารมณ์ได้ตรงกับที่รู้สึก คือ เศร้าก็ร้องไห้ สุขก็หัวเราะ และยังสามารถควบคุมการหัวเราะหรือร้องไห้ของตัวเองได้ ต่างจากผู้ป่วย PBA ที่ควบคุมอาการหัวเราะหรือร้องไห้ของตัวเองไม่ได้เลย
นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหรือไบโพลาร์ส่วนใหญ่ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ยังไปทำงานได้ ไปเรียนได้ ใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไปได้ ในขณะที่ผู้ป่วยโรค PBA อาจมีความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะผู้ป่วยจะร้องไห้โฮออกมาตอนไหนก็ไม่รู้ได้ หรือจะระเบิดเสียงหัวเราะจนทำให้คนรอบข้างแตกตื่นขึ้นมาเมื่อไรก็ไม่รู้ เป็นต้น
หากมีภาวะผิดปกติเกิดขึ้นกับเราหรือคนใกล้ตัว ทางออกที่ดีที่สุดคือเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและหาวิธีรักษาต่อไป เพื่อบรรเทาอาการหรือรักษาให้หาย เราจะได้ใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
mayoclinic
นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหรือไบโพลาร์ส่วนใหญ่ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ยังไปทำงานได้ ไปเรียนได้ ใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไปได้ ในขณะที่ผู้ป่วยโรค PBA อาจมีความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะผู้ป่วยจะร้องไห้โฮออกมาตอนไหนก็ไม่รู้ได้ หรือจะระเบิดเสียงหัวเราะจนทำให้คนรอบข้างแตกตื่นขึ้นมาเมื่อไรก็ไม่รู้ เป็นต้น
หากมีภาวะผิดปกติเกิดขึ้นกับเราหรือคนใกล้ตัว ทางออกที่ดีที่สุดคือเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและหาวิธีรักษาต่อไป เพื่อบรรเทาอาการหรือรักษาให้หาย เราจะได้ใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
mayoclinic